จากครั้งสุดท้ายที่ได้ดูภาพยนตร์ที่ไม่ใช้คนแสดง (จะเรียกการ์ตูน/ Animation/ Anime ก็ตาม) ในโรง คงต้องย้อนไปถึง Ratatouille เมื่อปี 2007 กว่า 15 ปีมาแล้ว (เวลาช่างผ่านไปเร็วเหลือเกิน)
แต่พอมีโอกาสอีกครั้ง ก็ได้ดูถึงสองเรื่องรวด และเป็นสองเรื่องที่ตั้งตารอมาหลายปี
หลังจาก 26 ปี ของการ์ตูนอันเป็นที่รักจบลงไป การ์ตูนที่เติมเต็มชีวิตวัยเด็กสู่วัยรุ่นให้ไม่หลงทาง ด้วยความรักที่มีต่อบาสเก็ตบอล เป็นมังงะที่รักที่สุดในชีวิต ต้องขอบคุณการเล่าเรื่องชั้นครูของ Takehiko Inoue
และเป็นเวลา 4 ปีหลังจากรู้จักงาน Anime ของ Makoto Shinkai ทั้งงานกระชากความรู้สึกของชีวิตจริงอย่าง 5cm per Second (2007) และ The Garden of Words (2013) หรืองานเล่าเรื่องความรักความหวังเหนือจริงที่ประสบความสำเร็จสูงอย่าง Your Name (2016) และ Weathering with You (2019) เป็นเหล่า Anime ที่รักที่สุดเช่นกัน
เมื่องานทั้งคู่มาเข้าโรงในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน แถมประเด็นที่ทั้งสองเรื่องต้องการสื่อคล้ายคลึงกันมาก จึงขอเขียนความรู้สึกที่ได้รับชมไปพร้อมกัน เท่าที่จะไม่เปิดเผยเนื้อหาของหนัง
ประเด็นหลักของทั้งสองเรื่องพูดถึง ความสูญเสียเจ็บปวดในอดีต การเรียนรู้ต่อสู้เพื่อเติบโต และก้าวผ่านไปเป็นคนที่สมบูรณ์ขึ้น
ใน Slam Dunk เล่าเรื่องนี้สลับไปกับการแข่งขันนัดสำคัญที่สุดในมังงะ ขณะที่ Suzume เล่าไปกับการเดินทางของตัวละครหลัก
สิ่งที่ อ.Inoue เล่าใน Slam Dunk นั้นมีความ "แมน" และตรงไปตรงมาชัดเจน ต่างจากสิ่งที่ อ.Shinkai พยายามเล่าโดยใช้ความรักของตัวเอกและความเชื่อโบราณเป็นฉากหน้า จึงทำให้เรื่องดูมีความเป็นสตรีนิยมและอ้อมค้อม
ทำให้จริตของผมที่มีต่อ The 1st Slam Dunk นั้นเป็นงานที่ยอดเยี่ยมมาก และทำให้เรื่อง Suzume เป็นงานที่ผมชอบน้อยที่สุดของ อ.Shinkai
งาน Mainstream 4 เรื่องหลังของ อ.Shinkai เล่าเรื่องประเด็นความรักและการเติบโตเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น รักฝังใจและการปล่อยวาง, รักที่เติมเต็มช่องว่างแก่กัน, รักจากพรหมลิขิต, การต่อสู้และแลกมาเพื่อรัก ซึ่ง อ.Shinkai ก็เล่าเรื่องสร้างจังหวะได้ดีมากทุกเรื่อง
ผมเคยเขียนว่าชอบ Weathering with You น้อยกว่า Your Name แต่เวลาผ่านไปกลับชอบมากขึ้นจากหลายสารที่ซ่อนอยู่ระหว่างบรรทัด แต่ความรู้สึกนี้ไม่น่าจะเกิดกับ Suzume
จากรอบสัมภาษณ์ที่ผมได้ไปฟัง อ.เล่าความเป็นมา โจทย์ของ Suzume ถูกเขียนสคริปต์จากความสูญเสียในภูมิภาคโทโฮกุเมื่อ 12 ปีก่อน ประเด็นของเรื่องจึงมุ่งไปเรื่องการสูญเสียและเติบโต ความรู้สึกต่อพระนางเรื่องนี้สำหรับผมมันจึงเบาบางและเลื่อนลอย
ขณะที่ Subplots ในเรื่องก็เบาบางไม่ต่างกัน ไม่เหมือนสเน่ห์ของตัวละครจากเรื่องอื่นก่อนหน้า ก็คือดูได้เพลิน ๆ แต่ไม่ได้ผูกพัน ความดีงามจึงไปอยู่ที่งานภาพและเสียงที่ทำได้ตามมาตรฐานของ อ. แต่ก็ไม่ได้รู้สึกว้าวเหมือนงานชิ้นก่อน
ในขณะที่ อ.Inoue เล่าใน The 1st Slam Dunk ก็เป็นประเด็นของการสูญเสียและเติบโตไม่ต่างกัน แถมยังใช้การแข่งขันที่คนเคยอ่านต่างรู้ผลแต่ต้นจนจบอยู่แล้วว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่ อ.Inoue ก็กล้าและเก่งพอจะเล่าให้คนดูเกิด Impact ราวกับดูการแข่งขันสดตรงหน้า
โดยใช้ตัวละครรองในเนื้อเรื่องหลัก มาเป็นตัวเอก ใช้วัตถุดิบในงานที่เขียนไว้เมื่อ 26 ปีก่อน มาขยายปมของตัวละครนั้น และเล่าอย่างไม่อ้อมค้อมในสารที่ต้องการสื่อ เป็นความตรงไปตรงมาชัดเจนและได้ผล
ขณะที่งานภาพและเสียง ถึงไม่มีฉากแฟนตาซี มีเพียงการแข่งขันในสนามตัดกับผืนฟ้าท้องทะเล แต่งาน Animation จาก 2D เป็น 3D นั้นกลับมีชีวิตจริง เราสามารถรับรู้ได้ว่าตัวละครเลี้ยงลูกบาส วิ่งในสนามมีน้ำหนักมีเสียงแวดล้อมไม่ต่างจากชีวิตจริง การแข่งขันที่ดำเนินไปรวดเร็วทุกจังหวะ ไม่ใช่การยืดเวลาเพื่อให้ตัวละครนึกคิดบ่นเช่นการ์ตูนทั่วไป ที่ทำให้ผมทึ่งว่าเป็นการเอางานมังงะมาทำให้เคลื่อนไหวโดยไม่เสียรสของเรื่องราว แต่กลับทำให้รู้สึกจริงได้ยิ่งขึ้น เพลงประกอบที่เร้า และความเงียบที่ยิ่งเร้าระทึก ต่อให้เราเคยรู้สิ่งที่จะเกิดขึ้นอยู่แล้ว
งานนี้ยิ่งตอกย้ำความเทพของ อ.Inoue ที่เป็นนักเล่าเรื่องที่เก่งมาตลอด และไม่ลดลงเลยไม่ว่าจะมาทำสื่อใด
ใกล้ความสมบูรณ์แบบ คือสิ่งที่ผมให้ The 1st Slam Dunk บวกคะแนนการปลุกไฟครั้งยังเด็กจนกลายเป็นเด็กหนวดกลับมา จึงเป็นงานพิเศษที่ใครเคยเติบโตร่วมยุคมาไม่ควรพลาด (9+1/10) เอาไปเต็มจนอยากให้เกินเลยครับ
ส่วน Suzume คืองานตามมาตรฐาน (ที่สูงอยู่แล้ว) ของ อ.Shinkai แต่คงไม่ใช่งานที่ฝังใจเท่าเรื่องก่อนหน้า ยังมีกลิ่นเอกลักษณ์ของ อ. แทรกอยู่ แต่เรื่องราวโดยรวมทำให้รู้สึกว่าหาได้จากงาน Anime อื่นไม่ต่างเท่าใด (8/10)
ขอบคุณที่โลกนี้มีภาพยนตร์
The First Slam Dunk: (9+1/10) Suzume no Tojimari: (8/10) สูญเสีย-เจ็บปวด-เรียนรู้-ยอมรับ-เติบโต
แต่พอมีโอกาสอีกครั้ง ก็ได้ดูถึงสองเรื่องรวด และเป็นสองเรื่องที่ตั้งตารอมาหลายปี
หลังจาก 26 ปี ของการ์ตูนอันเป็นที่รักจบลงไป การ์ตูนที่เติมเต็มชีวิตวัยเด็กสู่วัยรุ่นให้ไม่หลงทาง ด้วยความรักที่มีต่อบาสเก็ตบอล เป็นมังงะที่รักที่สุดในชีวิต ต้องขอบคุณการเล่าเรื่องชั้นครูของ Takehiko Inoue
และเป็นเวลา 4 ปีหลังจากรู้จักงาน Anime ของ Makoto Shinkai ทั้งงานกระชากความรู้สึกของชีวิตจริงอย่าง 5cm per Second (2007) และ The Garden of Words (2013) หรืองานเล่าเรื่องความรักความหวังเหนือจริงที่ประสบความสำเร็จสูงอย่าง Your Name (2016) และ Weathering with You (2019) เป็นเหล่า Anime ที่รักที่สุดเช่นกัน
เมื่องานทั้งคู่มาเข้าโรงในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน แถมประเด็นที่ทั้งสองเรื่องต้องการสื่อคล้ายคลึงกันมาก จึงขอเขียนความรู้สึกที่ได้รับชมไปพร้อมกัน เท่าที่จะไม่เปิดเผยเนื้อหาของหนัง
ประเด็นหลักของทั้งสองเรื่องพูดถึง ความสูญเสียเจ็บปวดในอดีต การเรียนรู้ต่อสู้เพื่อเติบโต และก้าวผ่านไปเป็นคนที่สมบูรณ์ขึ้น
ใน Slam Dunk เล่าเรื่องนี้สลับไปกับการแข่งขันนัดสำคัญที่สุดในมังงะ ขณะที่ Suzume เล่าไปกับการเดินทางของตัวละครหลัก
สิ่งที่ อ.Inoue เล่าใน Slam Dunk นั้นมีความ "แมน" และตรงไปตรงมาชัดเจน ต่างจากสิ่งที่ อ.Shinkai พยายามเล่าโดยใช้ความรักของตัวเอกและความเชื่อโบราณเป็นฉากหน้า จึงทำให้เรื่องดูมีความเป็นสตรีนิยมและอ้อมค้อม
ทำให้จริตของผมที่มีต่อ The 1st Slam Dunk นั้นเป็นงานที่ยอดเยี่ยมมาก และทำให้เรื่อง Suzume เป็นงานที่ผมชอบน้อยที่สุดของ อ.Shinkai
งาน Mainstream 4 เรื่องหลังของ อ.Shinkai เล่าเรื่องประเด็นความรักและการเติบโตเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น รักฝังใจและการปล่อยวาง, รักที่เติมเต็มช่องว่างแก่กัน, รักจากพรหมลิขิต, การต่อสู้และแลกมาเพื่อรัก ซึ่ง อ.Shinkai ก็เล่าเรื่องสร้างจังหวะได้ดีมากทุกเรื่อง
ผมเคยเขียนว่าชอบ Weathering with You น้อยกว่า Your Name แต่เวลาผ่านไปกลับชอบมากขึ้นจากหลายสารที่ซ่อนอยู่ระหว่างบรรทัด แต่ความรู้สึกนี้ไม่น่าจะเกิดกับ Suzume
จากรอบสัมภาษณ์ที่ผมได้ไปฟัง อ.เล่าความเป็นมา โจทย์ของ Suzume ถูกเขียนสคริปต์จากความสูญเสียในภูมิภาคโทโฮกุเมื่อ 12 ปีก่อน ประเด็นของเรื่องจึงมุ่งไปเรื่องการสูญเสียและเติบโต ความรู้สึกต่อพระนางเรื่องนี้สำหรับผมมันจึงเบาบางและเลื่อนลอย
ขณะที่ Subplots ในเรื่องก็เบาบางไม่ต่างกัน ไม่เหมือนสเน่ห์ของตัวละครจากเรื่องอื่นก่อนหน้า ก็คือดูได้เพลิน ๆ แต่ไม่ได้ผูกพัน ความดีงามจึงไปอยู่ที่งานภาพและเสียงที่ทำได้ตามมาตรฐานของ อ. แต่ก็ไม่ได้รู้สึกว้าวเหมือนงานชิ้นก่อน
ในขณะที่ อ.Inoue เล่าใน The 1st Slam Dunk ก็เป็นประเด็นของการสูญเสียและเติบโตไม่ต่างกัน แถมยังใช้การแข่งขันที่คนเคยอ่านต่างรู้ผลแต่ต้นจนจบอยู่แล้วว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่ อ.Inoue ก็กล้าและเก่งพอจะเล่าให้คนดูเกิด Impact ราวกับดูการแข่งขันสดตรงหน้า
โดยใช้ตัวละครรองในเนื้อเรื่องหลัก มาเป็นตัวเอก ใช้วัตถุดิบในงานที่เขียนไว้เมื่อ 26 ปีก่อน มาขยายปมของตัวละครนั้น และเล่าอย่างไม่อ้อมค้อมในสารที่ต้องการสื่อ เป็นความตรงไปตรงมาชัดเจนและได้ผล
ขณะที่งานภาพและเสียง ถึงไม่มีฉากแฟนตาซี มีเพียงการแข่งขันในสนามตัดกับผืนฟ้าท้องทะเล แต่งาน Animation จาก 2D เป็น 3D นั้นกลับมีชีวิตจริง เราสามารถรับรู้ได้ว่าตัวละครเลี้ยงลูกบาส วิ่งในสนามมีน้ำหนักมีเสียงแวดล้อมไม่ต่างจากชีวิตจริง การแข่งขันที่ดำเนินไปรวดเร็วทุกจังหวะ ไม่ใช่การยืดเวลาเพื่อให้ตัวละครนึกคิดบ่นเช่นการ์ตูนทั่วไป ที่ทำให้ผมทึ่งว่าเป็นการเอางานมังงะมาทำให้เคลื่อนไหวโดยไม่เสียรสของเรื่องราว แต่กลับทำให้รู้สึกจริงได้ยิ่งขึ้น เพลงประกอบที่เร้า และความเงียบที่ยิ่งเร้าระทึก ต่อให้เราเคยรู้สิ่งที่จะเกิดขึ้นอยู่แล้ว
งานนี้ยิ่งตอกย้ำความเทพของ อ.Inoue ที่เป็นนักเล่าเรื่องที่เก่งมาตลอด และไม่ลดลงเลยไม่ว่าจะมาทำสื่อใด
ใกล้ความสมบูรณ์แบบ คือสิ่งที่ผมให้ The 1st Slam Dunk บวกคะแนนการปลุกไฟครั้งยังเด็กจนกลายเป็นเด็กหนวดกลับมา จึงเป็นงานพิเศษที่ใครเคยเติบโตร่วมยุคมาไม่ควรพลาด (9+1/10) เอาไปเต็มจนอยากให้เกินเลยครับ
ส่วน Suzume คืองานตามมาตรฐาน (ที่สูงอยู่แล้ว) ของ อ.Shinkai แต่คงไม่ใช่งานที่ฝังใจเท่าเรื่องก่อนหน้า ยังมีกลิ่นเอกลักษณ์ของ อ. แทรกอยู่ แต่เรื่องราวโดยรวมทำให้รู้สึกว่าหาได้จากงาน Anime อื่นไม่ต่างเท่าใด (8/10)
ขอบคุณที่โลกนี้มีภาพยนตร์