สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
สิ่งที่ทำให้อุณหภูมิช่วงหน้าร้อนของภาคเหนือรวมไปถึงอีสานหลายๆจังหวัดสูงกว่าแถวบริเวณภาคกลางหรือภาคใต้ก็คือ “ความชื้น” ครับ
ยิ่งลึกเข้าไปในภาคพื้นทวีปเท่าไหร่ ความชื้นจากทะเลก็จะถูกพาไปถึงได้ยากขึ้นเท่านั้น ซึ่งเหตุผลก็ง่ายๆ คือหากมีความชื้นในอากาศมากพอ เมื่ออุณหภูมิสูงถึงค่านึง อากาศที่มีความชื้นนั้นก็จะลอยตัวสูงขึ้นไปในชั้นบรรยากาศจนสามารถกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำ เมื่อไอน้ำมีมากเข้าก็รวมตัวกันเป็นเมฆ และเมฆพวกนี้ก็ทำหน้าที่เหมือนกับร่ม คอยกางกันแดดไม่ให้อุณหภูมิร้อนไปมากกว่านี้สักเท่าไหร่นั่นเองครับ (ลองสังเกตดูว่าถ้าวันไหนฟ้าโล่งโปร่งช่วงหน้าร้อน วันนั้นตอนกลางวันอุณหภูมิจะพุ่งขึ้นได้สูงมาก) แต่ถ้าหากอุณหภูมิจะยังดึงดันร้อนมากขึ้นไปอีก ปริมาณเมฆที่อุ้มน้ำเหล่านั้นก็จะมากขึ้นๆเรื่อยๆ จนท้ายที่สุดก็ไม่สามารถเก็บน้ำไว้ได้อีกต่อ กลายเป็นฝนตกลงมาให้ชุ่มฉ่ำเลยนั่นเองครับ
เพราะงั้นเราจะไม่เคยได้ยินเลยว่าแถว มาเลเซีย สิงค์โปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนิเซีย อะไรพวกนี้เค้าร้อนกันจัด ทั้งๆที่ละติจูดก็พอๆกับบ้านเรา ในขณะเดียวกันกลับเป็นทางพม่าแถวกลางประเทศที่น่าจะครองสถิติอุณหภูมิสูงสุดของอาเซียน ซึ่งก็เพราะมีแนวเทือกเขาที่วางกั้นความชื้นไว้ แถมตั้งอยู่ลึกเข้าไปในพื้นทวีป จึงทำให้ความชื้นบริเวณกลางประเทศพม่าต่ำมาก หน้าร้อนยังงี้เลยร้อนกันตับแลบสุดๆ (พม่า กลางๆประเทศนี่ภูมิอากาศกึ่งทะเลทรายเลยทีเดียว)
มาทางบ้านเรา บริเวณที่ขึ้นชื่อว่าร้อนที่สุดก็ต้องพวก ตาก ลำปาง และแนวๆอำเภอต่อเขตจังหวัดดังกล่าว สาเหตุก็ดังที่กล่าวไปข้างต้น บริเวณแถวนี้ขึ้นชื่อว่าเป็น “เงาฝน” เนื่องด้วยมีเทือกเขาถนนธงชัยกั้นทางซีกตะวันตก เพราะงั้นความชื้นที่มาจากทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จึงไปกองอยู่ซีกเขาด้านตะวันตกหมดแล้ว เมื่ออากาศไหลข้ามเทือกเขามาทางซีกตะวันออก ก็เหลือแต่อากาศแห้งๆร้อนๆ ประกอบกับแถว อำเภอสามเงา แม่พริก เถิน ลำปาง พวกนี้ สภาพทางธรณีคือ เป็นหินแกรนิตเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้พืชที่คลุมก็เป็นแต่ป่าโปร่งๆ จะให้ดูดซับความร้อนสู้พวกป่าดิบที่ต้นไม้เยอะๆก็เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว หินแกรนิตพวกนี้ยิ่งอมความร้อนได้ง่ายอยู่ด้วย เลยผสมโรงร้อนหนักกันเข้าไปอีก ยิ่งถ้าเป็นแถวตั้งแต่สามเงา เขื่อนภูมิพล เถิน พวกนี้ที่ตั้งอยู่กลางหุบเขา, หากไม่มีลมบนที่พาความเย็นมาผ่าน, อากาศร้อนมันก็จะวนกันอยู่ในหุบเขาร้อนๆไม่หายไปไหน เลยยิ่งพากันร้อนหนักสุดๆเป็นผลลัพธ์นั่นเองครับ
สรุปก็คือปัจจัยหลักๆ(ไล่จากสำคัญมากไปน้อย)ที่ทำให้อุณหภูมิสูงนั้น เกิดจาก
1.ความชื้นต้องต่ำ เพราะไม่งั้นจะมีเมฆมาบังแดด พอมีร่มที่ชื่อว่าเมฆมาบังอุณหภูมิก็จะไม่พุ่งสูงมาก
2.สภาพภูมิประเทศ หากเป็นหุบเขา ยิ่งลึกยิ่งมีโอกาสทำให้อากาศร้อนจมตัวอยู่อย่างนั้น พออากาศร้อนจมตัว ก็เหมือนเตาอบปิดฝาไว้ ต้องรอให้ลมเหนือหุบเขาพัดแรงๆมาเปิด “ฝาเตาอบ” นั้นออก จึงจะทำให้อากาศถ่ายเทได้
3.สภาพทางธรณีวิทยา หินบางประเภทส่งผลต่อการเติบโตของพืชที่คลุมดิน รวมไปถึงความสามารถในการจุความร้อนก็ไม่เท่ากันด้วย (เทียบง่ายๆ พื้นหินอ่อนที่แน่นปั้กพอตากแดดทิ้งไว้อุณหภูมิจะสูงขึ้นเร็วมาก เหยียบทีเท้าแทบสุก แต่หากเป็นดินที่ไม่หนาแน่นเท่า ยังไงก็ไม่มีทางร้อนเท่าหินแน่นๆพวกนี้) บริเวณที่มีหินแข็งๆรายล้อมนี่ตัวดูดความร้อนชั้นดีเลยครับ
ปล.แม้ว่าอุณหภูมิที่วัดได้บริเวณภาคเหนือ หรืออีสานจะสูงกว่าแถว กทม. และภาคกลางที่ใกล้ทะเล แต่ความสามารถในการระบายความร้อนโดยการคายเหงื่อแถวภาคเหนือก็สามารถทำได้ดีกว่าเยอะ ซึ่งก็มาจากสาเหตุเดิม คือ อากาศมันแห้งกว่า ความชื้นจึงสามารถระเหยกลายเป็นไอได้มากกว่านั่นเอง ส่วนกทม.นี่อุณหภูมิตามมาตรวัดอาจแค่ 38-39 องศาแต่ความชื้นสัมพัทธ์แตะๆเกือบ 100% ตลอด เหงื่อระเหยยากมาก เพราะงั้นกทม.จึงอาจรู้สึกร้อนได้มากกว่าเสียอีกครับ
ปล.2 เรื่องความชื้นเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ประเทศแถวตะวันออกกลางช่วงหน้าร้อน ร้อนกันได้สุดๆ; ความชื้นต่ำมากๆ (ต่ำกว่าบ้านเราเยอะ) ประกอบกับช่วงกลางวันที่ยาวนาน อุณหภูมิเลยสะสมทำให้ร้อนกันได้สุดๆนั่นเองครับ
ยิ่งลึกเข้าไปในภาคพื้นทวีปเท่าไหร่ ความชื้นจากทะเลก็จะถูกพาไปถึงได้ยากขึ้นเท่านั้น ซึ่งเหตุผลก็ง่ายๆ คือหากมีความชื้นในอากาศมากพอ เมื่ออุณหภูมิสูงถึงค่านึง อากาศที่มีความชื้นนั้นก็จะลอยตัวสูงขึ้นไปในชั้นบรรยากาศจนสามารถกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำ เมื่อไอน้ำมีมากเข้าก็รวมตัวกันเป็นเมฆ และเมฆพวกนี้ก็ทำหน้าที่เหมือนกับร่ม คอยกางกันแดดไม่ให้อุณหภูมิร้อนไปมากกว่านี้สักเท่าไหร่นั่นเองครับ (ลองสังเกตดูว่าถ้าวันไหนฟ้าโล่งโปร่งช่วงหน้าร้อน วันนั้นตอนกลางวันอุณหภูมิจะพุ่งขึ้นได้สูงมาก) แต่ถ้าหากอุณหภูมิจะยังดึงดันร้อนมากขึ้นไปอีก ปริมาณเมฆที่อุ้มน้ำเหล่านั้นก็จะมากขึ้นๆเรื่อยๆ จนท้ายที่สุดก็ไม่สามารถเก็บน้ำไว้ได้อีกต่อ กลายเป็นฝนตกลงมาให้ชุ่มฉ่ำเลยนั่นเองครับ
เพราะงั้นเราจะไม่เคยได้ยินเลยว่าแถว มาเลเซีย สิงค์โปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนิเซีย อะไรพวกนี้เค้าร้อนกันจัด ทั้งๆที่ละติจูดก็พอๆกับบ้านเรา ในขณะเดียวกันกลับเป็นทางพม่าแถวกลางประเทศที่น่าจะครองสถิติอุณหภูมิสูงสุดของอาเซียน ซึ่งก็เพราะมีแนวเทือกเขาที่วางกั้นความชื้นไว้ แถมตั้งอยู่ลึกเข้าไปในพื้นทวีป จึงทำให้ความชื้นบริเวณกลางประเทศพม่าต่ำมาก หน้าร้อนยังงี้เลยร้อนกันตับแลบสุดๆ (พม่า กลางๆประเทศนี่ภูมิอากาศกึ่งทะเลทรายเลยทีเดียว)
มาทางบ้านเรา บริเวณที่ขึ้นชื่อว่าร้อนที่สุดก็ต้องพวก ตาก ลำปาง และแนวๆอำเภอต่อเขตจังหวัดดังกล่าว สาเหตุก็ดังที่กล่าวไปข้างต้น บริเวณแถวนี้ขึ้นชื่อว่าเป็น “เงาฝน” เนื่องด้วยมีเทือกเขาถนนธงชัยกั้นทางซีกตะวันตก เพราะงั้นความชื้นที่มาจากทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จึงไปกองอยู่ซีกเขาด้านตะวันตกหมดแล้ว เมื่ออากาศไหลข้ามเทือกเขามาทางซีกตะวันออก ก็เหลือแต่อากาศแห้งๆร้อนๆ ประกอบกับแถว อำเภอสามเงา แม่พริก เถิน ลำปาง พวกนี้ สภาพทางธรณีคือ เป็นหินแกรนิตเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้พืชที่คลุมก็เป็นแต่ป่าโปร่งๆ จะให้ดูดซับความร้อนสู้พวกป่าดิบที่ต้นไม้เยอะๆก็เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว หินแกรนิตพวกนี้ยิ่งอมความร้อนได้ง่ายอยู่ด้วย เลยผสมโรงร้อนหนักกันเข้าไปอีก ยิ่งถ้าเป็นแถวตั้งแต่สามเงา เขื่อนภูมิพล เถิน พวกนี้ที่ตั้งอยู่กลางหุบเขา, หากไม่มีลมบนที่พาความเย็นมาผ่าน, อากาศร้อนมันก็จะวนกันอยู่ในหุบเขาร้อนๆไม่หายไปไหน เลยยิ่งพากันร้อนหนักสุดๆเป็นผลลัพธ์นั่นเองครับ
สรุปก็คือปัจจัยหลักๆ(ไล่จากสำคัญมากไปน้อย)ที่ทำให้อุณหภูมิสูงนั้น เกิดจาก
1.ความชื้นต้องต่ำ เพราะไม่งั้นจะมีเมฆมาบังแดด พอมีร่มที่ชื่อว่าเมฆมาบังอุณหภูมิก็จะไม่พุ่งสูงมาก
2.สภาพภูมิประเทศ หากเป็นหุบเขา ยิ่งลึกยิ่งมีโอกาสทำให้อากาศร้อนจมตัวอยู่อย่างนั้น พออากาศร้อนจมตัว ก็เหมือนเตาอบปิดฝาไว้ ต้องรอให้ลมเหนือหุบเขาพัดแรงๆมาเปิด “ฝาเตาอบ” นั้นออก จึงจะทำให้อากาศถ่ายเทได้
3.สภาพทางธรณีวิทยา หินบางประเภทส่งผลต่อการเติบโตของพืชที่คลุมดิน รวมไปถึงความสามารถในการจุความร้อนก็ไม่เท่ากันด้วย (เทียบง่ายๆ พื้นหินอ่อนที่แน่นปั้กพอตากแดดทิ้งไว้อุณหภูมิจะสูงขึ้นเร็วมาก เหยียบทีเท้าแทบสุก แต่หากเป็นดินที่ไม่หนาแน่นเท่า ยังไงก็ไม่มีทางร้อนเท่าหินแน่นๆพวกนี้) บริเวณที่มีหินแข็งๆรายล้อมนี่ตัวดูดความร้อนชั้นดีเลยครับ
ปล.แม้ว่าอุณหภูมิที่วัดได้บริเวณภาคเหนือ หรืออีสานจะสูงกว่าแถว กทม. และภาคกลางที่ใกล้ทะเล แต่ความสามารถในการระบายความร้อนโดยการคายเหงื่อแถวภาคเหนือก็สามารถทำได้ดีกว่าเยอะ ซึ่งก็มาจากสาเหตุเดิม คือ อากาศมันแห้งกว่า ความชื้นจึงสามารถระเหยกลายเป็นไอได้มากกว่านั่นเอง ส่วนกทม.นี่อุณหภูมิตามมาตรวัดอาจแค่ 38-39 องศาแต่ความชื้นสัมพัทธ์แตะๆเกือบ 100% ตลอด เหงื่อระเหยยากมาก เพราะงั้นกทม.จึงอาจรู้สึกร้อนได้มากกว่าเสียอีกครับ
ปล.2 เรื่องความชื้นเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ประเทศแถวตะวันออกกลางช่วงหน้าร้อน ร้อนกันได้สุดๆ; ความชื้นต่ำมากๆ (ต่ำกว่าบ้านเราเยอะ) ประกอบกับช่วงกลางวันที่ยาวนาน อุณหภูมิเลยสะสมทำให้ร้อนกันได้สุดๆนั่นเองครับ
แสดงความคิดเห็น
ทำไม จังหวัดที่ร้อนจัดมาก 40 องศา + ถึงมีที่ภาคเหนือ อีสาน กลางบน แทบทั้งนั้น ?
เวลาดูรายการ หรือ ข่าวอากาศร้อนจัดมากแบบ 40 องศาขึ้นไป
มักจะเห็นภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลางตอนบนๆ
เราจะไม่ค่อยเห็นภาคกลางล่าง ภาคตะวันออก - ตก
( ภาคกลาง ยังมีให้เห็นบ้าง บางครั้งบางครา )
หรือ แม้แต่จะเห็นภาคใต้โผล่มาเลย
แต่ต้องยอมรับว่า ส่วนใหญ่เป็นภาคเหนือ อีสาน
ภาคกลางโซนบนๆจริง
โดยเฉพาะละแวก สุโขทัย ลำปาง อุตรดิตถ์ นี่สุดมาก
43 องศา ยังเคยมีให้เห็น
หรือโซนอีสานหลายจังหวัด ก็มี 40 องศาขึ้นไป
ภาคกลางตอนบน นครสวรรค์ อุทัยธานี ตาก
ก็มี 40 องศาให้เห็น