กระทรวงวัฒนธรรมจัดงาน “สืบสานสงกรานต์วิถีไทย ร่วมสานใจ สู่สากล” ชวนประชาชน นักท่องเที่ยวร่วมงาน
สงกรานต์วัดสุทัศน์-คลองผดุงกรุงเกษม-กทม. 50 เขต และ 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ
เน้นเสริมสิริมงคลรับปีใหม่ไทย แต่งผ้าไทย สนับสนุนการแสดงพื้นบ้าน สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ประเทศ
วันที่ 13 เมษายน 66 นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม พร้อมผู้บริหารวธ. เครือข่ายวัฒนธรรม ร่วมงานประเพณีสงกรานต์ พุทธศักราช 2566 “สืบสานสงกรานต์วิถีไทย ร่วมสานใจ สู่สากล” ณ วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
ในเวลา 14.00 น. ก่อนเริ่มพิธีเปิดงานสืบสานประเพณีสงกรานต์ พุทธศักราช 2566 ณ วัดสุทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม พร้อมคณะผู้บริหารวธ. เข้าร่วมพิธีสรงน้ำพระสงฆ์ ทรงสมณศักดิ์ 10 รูป ณ พระวิหารหลวง วัดสุทัศน์ฯ จากนั้น เป็นพิธีเปิดงาน โดยได้รับความเมตตาจาก พระพรหมวชิรมุนี เจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร กล่าวให้โอวาทและอวยพรให้ประชาชนที่มาร่วมงาน เนื่องในโอกาสประเพณีสงกรานต์ ปีใหม่ของไทย ในการนี้ นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า วธ.จัดงาน “สืบสานสงกรานต์วิถีไทย ร่วมสานใจ สู่สากล” ณ วัดสุทัศนเทพวราราม โดยมุ่งเน้นเรื่องคุณค่าและสาระของวัฒนธรรม ประเพณีสงกรานต์ที่มีสืบทอดมาอย่างต่อเนื่อง เป็นหนึ่งใน Soft Power ด้านการอนุรักษ์และขับเคลื่อนเทศกาลประเพณีสู่ระดับโลกของรัฐบาล โดยอาศัยการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ประกอบด้วยภาครัฐบาล ภาคเอกชนและประชาชน และยังสร้างการตระหนักรู้ต่อประชาชน ได้ร่วมเผยแพร่คุณค่าสาระที่แท้จริง ได้เกิดความภาคภูมิใจและหวงแหนวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า ประเพณียอดนิยมของชาวต่างชาติ และมีโอกาสได้รับการพิจารณาจากยูเนสโก (UNESCO) รองรับการเสนอให้ขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ
ด้าน นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า งานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณีสงกรานต์ในฐานะที่เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของประเทศไทย ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากท่านเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม ในเรื่องสถานที่การจัดงานและสิ่งอำนวยความสะดวกภายในงาน และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี โดยในส่วนกิจกรรมที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมทั้ง 5 วัน ประกอบด้วย การแสดงทางศิลปวัฒนธรรม 4 ภาค อาทิ การแสดงดนตรีไทยจากนักเรียนในโครงการดนตรีไทย 100 % เพลงฉ่อย เพลงเรือ ฟ้อนมาลัย เซิ้งโปงลาง และโนรา การสาธิตทางวัฒนธรรม ร้านของดี 50 เขต และการไหว้พระสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด นอกจากนี้ ยังจะมีการมอบรางวัลให้แก่ผู้ได้รับรางวัลจากกิจกรรมการประกวดก่อพระเจดีย์ทรายและการประกวดพานรดน้ำ รวม 20 รางวัล โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และรางวัลขวัญใจอนุรักษ์วัฒนธรรม มอบโดยท่านเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม อีกด้วย
งานสืบสานประเพณีสงกรานต์ ณ วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร นี้ จัดระหว่างวันที่ 12-16 เมษายน 2566 เวลา 16.00-20.00 น. นอกจากกิจกรรมการแสดงทางวัฒนธรรมที่หาชมได้ยากแล้ว ยังมีกิจกรรมสาธิตทางวัฒนธรรม อาทิ การสาธิตเครื่องหอมไทยในเทศกาลสงกรานต์ การสาธิตข้าวแช่ชาววัง และมะยงชิดลอยแก้ว การสาธิตงานหัตถศิลป์ปีใหม่ไทย : พัดบุหงา / บุหงารำไป / มาลัยผ้าเช็ดหน้า / การพับใบเตยหอม การสาธิตกวนกาละแม การสาธิตการละเล่นสะบ้ามอญ/บ่อนสะบ้า การสาธิตการทำตุงไส้หมู (ภาคเหนือ) การสาธิตการทำมาลัยกรจากผ้าขาวม้า (ภาคกลาง) และการสาธิตการทำลูกปัดโนรา-สืบสานตำนานโนราเติม วิน วาด (ภาคใต้) ได้สร้างความสุขให้ประชาชนและสร้างความประทับใจให้นักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม และหน่วยงานในสังกัด ร่วมกับภาคี ยังได้จัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนรวมถึงนักท่องเที่ยว ได้ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2566 ภายใต้แนวคิด “สืบสานสงกรานต์วิถีไทย ร่วมสานใจ สู่สากล” อาทิ
-งานสืบสานประเพณีสงกรานต์ไทย พุทธศักราช 2566 ระหว่างวันที่ 8 - 15 เมษายน 2566 ณ ริมคลองผดุงกรุงเกษม ฝั่งสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ประกอบด้วย สรงน้ำพระพุทธรูป ออกร้านอาหารไทย สินค้าทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น การการแสดงพื้นบ้าน 4 ภาค ประกอบด้วย ระบำตารีกีปัส ระบำตุมปัง ฟ้อนขันดอก ฟ้อนนกกิงกะหร่า เอิ้นขวัญ ภูไทสามเผ่า เอ้ดอกคูณ และเพลงพื้นบ้านภาคกลาง
-สนับสนุนสภาวัฒนธรรม 50 เขต ในกรุงเทพมหานคร ร่วมจัดกิจกรรมสืบสานคุณค่าสาระประเพณีสงกรานต์ กับสำนักงานเขต 50 เขต ของกทม. ในช่วงประเพณีสงกรานต์
-วธ.โดยกรมศิลปากร ร่วมกับสยามพารากอนจัดงาน "สงกรานต์ประเพณีไทย สายน้ำแห่งวัฒนธรรม" โดยอันเชิญพระพุทธรูป สำคัญ 9 องค์ มาให้ประชาชนได้สักการะ รดน้ำขอพร เพื่อความเป็นสิริมงคล เนื่องในประเพณีสงกรานต์ ปี 2566 วันที่ 12-16 เมษายน 2566 ณ แฟชั่น แกลลอรี่ ชั้น 1 ศูนย์การค้าสยามพารากอน ประกอบด้วย 1.พระพุทธรูปปางถวายเนตร 2. พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร 3. พระพุทธรูปไสยาสน์ 4. พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร 5. พระพุทธรูปปางป่าเลไลย์ (พระพุทธรูปบูชาแทนพระราหู) 6. พระพุทธสิหิงค์จำลอง (ปางสมาธิ) 7. พระพุทธรูปปางรำพึง 8. พระพุทธรูปปางนาคปรก และ 9.พระเกตุพระหายโศก ปางสมาธิเพชร (พระพุทธรูปบูชาแทนพระเกตุ) โดยมีการสาธิตน้ำอบน้ำปรุง การทำแป้งพวง และการร้อยมาลัยดอกไม้ด้วย
-งานเทศกาล “สงกรานต์วัดพระเชตุพน” ประจำปี 2566 พร้อมชมการสาธิตศิลปะแม่ไม้มวยไทย โดยแชมป์มวยไทย เยี่ยมชมกิจกรรมและการออกร้านภายในวัดอีกมากมาย
-ในส่วนภูมิภาค กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ร่วมกับเครือข่ายจังหวัด จัดงาน “สืบสานประเพณีสงกรานต์วิถีไทย ร่วมสานใจสู่สากล” ใน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ “สืบสานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองวิถีไทย ร่วมสานใจสู่สากล” 12-15 เม.ย. 66 ณ วัดโลกโมฬี จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดขอนแก่น “สืบสานสงกรานต์วิถีไทย ร่วมสานใจสู่สากล” 12-16 เมษายน 2566 ณ เฮือนโบราณวิถีไทบ้านขอนแก่น หน้าศาลากลางจังหวัดขอนแก่น จังหวัดชลบุรี ประเพณีก่อพระทรายวันไหลบางแสน 16-17 เม.ย. 66 ณ บริเวณชายหาดบางแสน และ วัดจุฑาทิศธรรม อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดสมุทรปราการ ประเพณีสงกรานต์พระประแดง ระหว่าง 21-23 เม.ย. 66 ณ ลานที่ว่าการอำเภอพระประแดง จังหวัดนครศรีธรรมราช งานเทศกาลมหาสงกรานต์ แห่นางดานเมืองนคร(วิถีพุทธ-พราหมณ์) 13-14 เม.ย. 66 และ จังหวัดกระบี่ สืบสานสงกรานต์วิถีไทย ร่วมสานใจสู่สากล วันที่ 10-11 เมษายน 2566 ณ บริเวณศาลากลางจังหวัด อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่
นอกจากนี้ สวธ. ยังได้จัดพิมพ์หนังสือประเพณีสงกรานต์ 2566 ในแบบ 2 ภาษาไทยและอังกฤษ และวีดิทัศน์รณรงค์เพื่อเผยแพร่สร้างความรู้ ความเข้าในประเพณีสงกรานต์ให้คนไทยและชาวต่างชาติ โดยสามารถติดตามรายละเอียดกิจกรรมทางวัฒนธรรม และข้อมูลทางวัฒนธรรมได้ทาง
www.culture.go.th หรือ เฟสบุ๊คกรมส่งเสริมวัฒนธรรมและ line@วัฒนธรรม
งาน “สืบสานสงกรานต์วิถีไทย ร่วมสานใจ สู่สากล” ชวนประชาชน นักท่องเที่ยวร่วมงานสงกรานต์วัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหาร
ในเวลา 14.00 น. ก่อนเริ่มพิธีเปิดงานสืบสานประเพณีสงกรานต์ พุทธศักราช 2566 ณ วัดสุทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม พร้อมคณะผู้บริหารวธ. เข้าร่วมพิธีสรงน้ำพระสงฆ์ ทรงสมณศักดิ์ 10 รูป ณ พระวิหารหลวง วัดสุทัศน์ฯ จากนั้น เป็นพิธีเปิดงาน โดยได้รับความเมตตาจาก พระพรหมวชิรมุนี เจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร กล่าวให้โอวาทและอวยพรให้ประชาชนที่มาร่วมงาน เนื่องในโอกาสประเพณีสงกรานต์ ปีใหม่ของไทย ในการนี้ นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า วธ.จัดงาน “สืบสานสงกรานต์วิถีไทย ร่วมสานใจ สู่สากล” ณ วัดสุทัศนเทพวราราม โดยมุ่งเน้นเรื่องคุณค่าและสาระของวัฒนธรรม ประเพณีสงกรานต์ที่มีสืบทอดมาอย่างต่อเนื่อง เป็นหนึ่งใน Soft Power ด้านการอนุรักษ์และขับเคลื่อนเทศกาลประเพณีสู่ระดับโลกของรัฐบาล โดยอาศัยการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ประกอบด้วยภาครัฐบาล ภาคเอกชนและประชาชน และยังสร้างการตระหนักรู้ต่อประชาชน ได้ร่วมเผยแพร่คุณค่าสาระที่แท้จริง ได้เกิดความภาคภูมิใจและหวงแหนวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า ประเพณียอดนิยมของชาวต่างชาติ และมีโอกาสได้รับการพิจารณาจากยูเนสโก (UNESCO) รองรับการเสนอให้ขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ
งานสืบสานประเพณีสงกรานต์ ณ วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร นี้ จัดระหว่างวันที่ 12-16 เมษายน 2566 เวลา 16.00-20.00 น. นอกจากกิจกรรมการแสดงทางวัฒนธรรมที่หาชมได้ยากแล้ว ยังมีกิจกรรมสาธิตทางวัฒนธรรม อาทิ การสาธิตเครื่องหอมไทยในเทศกาลสงกรานต์ การสาธิตข้าวแช่ชาววัง และมะยงชิดลอยแก้ว การสาธิตงานหัตถศิลป์ปีใหม่ไทย : พัดบุหงา / บุหงารำไป / มาลัยผ้าเช็ดหน้า / การพับใบเตยหอม การสาธิตกวนกาละแม การสาธิตการละเล่นสะบ้ามอญ/บ่อนสะบ้า การสาธิตการทำตุงไส้หมู (ภาคเหนือ) การสาธิตการทำมาลัยกรจากผ้าขาวม้า (ภาคกลาง) และการสาธิตการทำลูกปัดโนรา-สืบสานตำนานโนราเติม วิน วาด (ภาคใต้) ได้สร้างความสุขให้ประชาชนและสร้างความประทับใจให้นักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม และหน่วยงานในสังกัด ร่วมกับภาคี ยังได้จัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนรวมถึงนักท่องเที่ยว ได้ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2566 ภายใต้แนวคิด “สืบสานสงกรานต์วิถีไทย ร่วมสานใจ สู่สากล” อาทิ
-งานสืบสานประเพณีสงกรานต์ไทย พุทธศักราช 2566 ระหว่างวันที่ 8 - 15 เมษายน 2566 ณ ริมคลองผดุงกรุงเกษม ฝั่งสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ประกอบด้วย สรงน้ำพระพุทธรูป ออกร้านอาหารไทย สินค้าทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น การการแสดงพื้นบ้าน 4 ภาค ประกอบด้วย ระบำตารีกีปัส ระบำตุมปัง ฟ้อนขันดอก ฟ้อนนกกิงกะหร่า เอิ้นขวัญ ภูไทสามเผ่า เอ้ดอกคูณ และเพลงพื้นบ้านภาคกลาง
-สนับสนุนสภาวัฒนธรรม 50 เขต ในกรุงเทพมหานคร ร่วมจัดกิจกรรมสืบสานคุณค่าสาระประเพณีสงกรานต์ กับสำนักงานเขต 50 เขต ของกทม. ในช่วงประเพณีสงกรานต์
-วธ.โดยกรมศิลปากร ร่วมกับสยามพารากอนจัดงาน "สงกรานต์ประเพณีไทย สายน้ำแห่งวัฒนธรรม" โดยอันเชิญพระพุทธรูป สำคัญ 9 องค์ มาให้ประชาชนได้สักการะ รดน้ำขอพร เพื่อความเป็นสิริมงคล เนื่องในประเพณีสงกรานต์ ปี 2566 วันที่ 12-16 เมษายน 2566 ณ แฟชั่น แกลลอรี่ ชั้น 1 ศูนย์การค้าสยามพารากอน ประกอบด้วย 1.พระพุทธรูปปางถวายเนตร 2. พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร 3. พระพุทธรูปไสยาสน์ 4. พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร 5. พระพุทธรูปปางป่าเลไลย์ (พระพุทธรูปบูชาแทนพระราหู) 6. พระพุทธสิหิงค์จำลอง (ปางสมาธิ) 7. พระพุทธรูปปางรำพึง 8. พระพุทธรูปปางนาคปรก และ 9.พระเกตุพระหายโศก ปางสมาธิเพชร (พระพุทธรูปบูชาแทนพระเกตุ) โดยมีการสาธิตน้ำอบน้ำปรุง การทำแป้งพวง และการร้อยมาลัยดอกไม้ด้วย
-งานเทศกาล “สงกรานต์วัดพระเชตุพน” ประจำปี 2566 พร้อมชมการสาธิตศิลปะแม่ไม้มวยไทย โดยแชมป์มวยไทย เยี่ยมชมกิจกรรมและการออกร้านภายในวัดอีกมากมาย
-ในส่วนภูมิภาค กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ร่วมกับเครือข่ายจังหวัด จัดงาน “สืบสานประเพณีสงกรานต์วิถีไทย ร่วมสานใจสู่สากล” ใน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ “สืบสานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองวิถีไทย ร่วมสานใจสู่สากล” 12-15 เม.ย. 66 ณ วัดโลกโมฬี จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดขอนแก่น “สืบสานสงกรานต์วิถีไทย ร่วมสานใจสู่สากล” 12-16 เมษายน 2566 ณ เฮือนโบราณวิถีไทบ้านขอนแก่น หน้าศาลากลางจังหวัดขอนแก่น จังหวัดชลบุรี ประเพณีก่อพระทรายวันไหลบางแสน 16-17 เม.ย. 66 ณ บริเวณชายหาดบางแสน และ วัดจุฑาทิศธรรม อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดสมุทรปราการ ประเพณีสงกรานต์พระประแดง ระหว่าง 21-23 เม.ย. 66 ณ ลานที่ว่าการอำเภอพระประแดง จังหวัดนครศรีธรรมราช งานเทศกาลมหาสงกรานต์ แห่นางดานเมืองนคร(วิถีพุทธ-พราหมณ์) 13-14 เม.ย. 66 และ จังหวัดกระบี่ สืบสานสงกรานต์วิถีไทย ร่วมสานใจสู่สากล วันที่ 10-11 เมษายน 2566 ณ บริเวณศาลากลางจังหวัด อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่