ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 4
...บันไดที่ออกแบบ เป็นบันไดตรงรูปตัว L และมีการทำขั้นชานพักเป็นขั้นบันไดแบบ Winders ในระดับการที่ 2 โดยนำระยะส่วนหนึ่งของช่วงบันไดล่าง-บน(ช่วงละ 112 mm )มาช่วย เพื่อเพิ่มขั้น Winders เป็น 4 ขั้น ทำให้ขั้นไม่เป็นขั้นมุมแหลมที่จุดหักมุม จึงนับเป็นบันได 13 ขั้น 12 ขั้นลูกนอน 1 ขั้นพื้นชั้นบน
ตามรูปไม่ทราบความสูงระหว่างชั้น(ไม่บอกมา) จึงไม่ทราบความสูงขั้นหรือระยะตั้งของขั้นบันได แต่จากการเทียบวัดอัตราส่วนและคำนวณ ความลึกขั้นหรือระยะนอนหรือความกว้างลูกนอนไม่รวมระยะเหลื่อม(จมูกบันได) มีค่าประมาณ 225 mm
ความยาวบันไดช่วงแรกรวมชานพัก = 2x225+112+860=1,422 mm (มากกว่าระยะตามรูป 1 mm)
ความยาวบันไดช่วงที่ 2 รวมชานพัก= 6x225+112+860=2,322 mm
ความลึกขั้น 225 mm หากเป็น "บันไดหลัก" ช่วงความสูงขั้นที่เหมาะสม 192.5 mm ถึง 200 mm (ค่าอนุโลมใช้ 187.5 mm ถึง 200 mm ได้บันไดชัน 39 80557 ํ ถึง 41.63354 ํ)
แต่การออกแบบบันไดนี้ กำหนดความกว้างบันไดจากขอบนอกราวบันไดถึงขอบนอกบันไดที่มีกรอบ(ไม่ทราบคืออะไร)กว้างประมาณ 35 mm และออกแบบแผงราวบันไดแบบ Post to Post Handrail ซึ่งจะมีเสาราวบันไดที่ปลายช่วง(ตามรูปขนาดประมาณ 90 mm x 90 mm) ทำให้ความกว้างสุทธิบันไดจะได้ต่ำกว่า 800 mm ผิดข้อกำหนดตามกฎกระทรวง หากท้องถิ่นที่อยู่ใช้ข้อกำหนดตามข้อบัญญัติ กทม. ตัวบันไดต้องกว้างไม่น้อยกว่า 900 mm
ควรใช้แผงราวบันไดแบบ Over Post Handrail ที่มีเสาราวบันไดอยู่ใต้ราวบันได กำหนดรับเป็นช่วงๆ และมีขนาดเล็กลงได้
ส่วนบันไดที่ ผรม. ทำเป็นบันได 16 ชั้น 15 ขั้นลูกนอน เพิ่มช่วงแรกมา 2 ขั้น มีการขยายความยาวช่วงออกไปเป็นขั้นบันไดตรง 4 ขั้น ช่วงที่ 2 เพิ่ม 1 ชั้นเป็นขั้นบันไดตรง 7 ขั้น
สิ่งที่ตามมาคือขนาดขั้นบันไดเปลี่ยน ดังนี้
ความสูงขั้นเดิม= ความสูงระหว่างชั้น/13
ความสูงขั้นใหม่=ความสูงระหว่างชั้น/16 ได้ความสูงขั้นต่ำลง
ขณะเดียวกันความลึกขั้นหรือระยะนอน=(2,322-860)/7 =208.86 mm น้อยกว่าเดิมและต่ำกว่าค่า 220 mm ที่กำหนดเป็นค่าตามมาตรฐานขั้นต่ำตามกฎกระทรวงและข้อบัญญัติ กทม. ของบันไดบ้านพักอาศัยทั่วไป
จากค่าของขนาดขั้นบันได น่าจะได้บันไดเด็กเล็กที่มีค่าการย่างก้าวต่ำ คนทั่วไปเดินสดุดตกบันไดได้ง่าย และมีค่าความชันบันไดที่เปลี่ยนไปจากเดิม
อีกทั้งขั้น winders ก็ผิดเพี้ยน บิดแนวทางเดินบนขั้นบันไดที่เป็นบันได 1 ทางจร
ดังนั้นควรรื้อทิ้งสร้างใหม่
เนื่องจากไม่ทราบความสูงระหว่างชั้น ขนาดของช่องบันไดที่พื้นชั้นบน และพื้นที่ที่บันไดจะตั้งอยู่ได้ จึงไม่สามารถให้คำแนะนำในเชิงลึกมากกว่านี้ได้
ตามรูปไม่ทราบความสูงระหว่างชั้น(ไม่บอกมา) จึงไม่ทราบความสูงขั้นหรือระยะตั้งของขั้นบันได แต่จากการเทียบวัดอัตราส่วนและคำนวณ ความลึกขั้นหรือระยะนอนหรือความกว้างลูกนอนไม่รวมระยะเหลื่อม(จมูกบันได) มีค่าประมาณ 225 mm
ความยาวบันไดช่วงแรกรวมชานพัก = 2x225+112+860=1,422 mm (มากกว่าระยะตามรูป 1 mm)
ความยาวบันไดช่วงที่ 2 รวมชานพัก= 6x225+112+860=2,322 mm
ความลึกขั้น 225 mm หากเป็น "บันไดหลัก" ช่วงความสูงขั้นที่เหมาะสม 192.5 mm ถึง 200 mm (ค่าอนุโลมใช้ 187.5 mm ถึง 200 mm ได้บันไดชัน 39 80557 ํ ถึง 41.63354 ํ)
แต่การออกแบบบันไดนี้ กำหนดความกว้างบันไดจากขอบนอกราวบันไดถึงขอบนอกบันไดที่มีกรอบ(ไม่ทราบคืออะไร)กว้างประมาณ 35 mm และออกแบบแผงราวบันไดแบบ Post to Post Handrail ซึ่งจะมีเสาราวบันไดที่ปลายช่วง(ตามรูปขนาดประมาณ 90 mm x 90 mm) ทำให้ความกว้างสุทธิบันไดจะได้ต่ำกว่า 800 mm ผิดข้อกำหนดตามกฎกระทรวง หากท้องถิ่นที่อยู่ใช้ข้อกำหนดตามข้อบัญญัติ กทม. ตัวบันไดต้องกว้างไม่น้อยกว่า 900 mm
ควรใช้แผงราวบันไดแบบ Over Post Handrail ที่มีเสาราวบันไดอยู่ใต้ราวบันได กำหนดรับเป็นช่วงๆ และมีขนาดเล็กลงได้
ส่วนบันไดที่ ผรม. ทำเป็นบันได 16 ชั้น 15 ขั้นลูกนอน เพิ่มช่วงแรกมา 2 ขั้น มีการขยายความยาวช่วงออกไปเป็นขั้นบันไดตรง 4 ขั้น ช่วงที่ 2 เพิ่ม 1 ชั้นเป็นขั้นบันไดตรง 7 ขั้น
สิ่งที่ตามมาคือขนาดขั้นบันไดเปลี่ยน ดังนี้
ความสูงขั้นเดิม= ความสูงระหว่างชั้น/13
ความสูงขั้นใหม่=ความสูงระหว่างชั้น/16 ได้ความสูงขั้นต่ำลง
ขณะเดียวกันความลึกขั้นหรือระยะนอน=(2,322-860)/7 =208.86 mm น้อยกว่าเดิมและต่ำกว่าค่า 220 mm ที่กำหนดเป็นค่าตามมาตรฐานขั้นต่ำตามกฎกระทรวงและข้อบัญญัติ กทม. ของบันไดบ้านพักอาศัยทั่วไป
จากค่าของขนาดขั้นบันได น่าจะได้บันไดเด็กเล็กที่มีค่าการย่างก้าวต่ำ คนทั่วไปเดินสดุดตกบันไดได้ง่าย และมีค่าความชันบันไดที่เปลี่ยนไปจากเดิม
อีกทั้งขั้น winders ก็ผิดเพี้ยน บิดแนวทางเดินบนขั้นบันไดที่เป็นบันได 1 ทางจร
ดังนั้นควรรื้อทิ้งสร้างใหม่
เนื่องจากไม่ทราบความสูงระหว่างชั้น ขนาดของช่องบันไดที่พื้นชั้นบน และพื้นที่ที่บันไดจะตั้งอยู่ได้ จึงไม่สามารถให้คำแนะนำในเชิงลึกมากกว่านี้ได้
แสดงความคิดเห็น
ช่วยด้วยครับ บันไดแบบนี้ แก้ไขยังไงดี ?
รบกวน ขอความช่วยเหลือ เรื่องบันได หน่อยครับ
ผม ได้ว่าจ้าง ผรม เจ้านึง มาสร้างบ้านใหม่
แต่ด้วยความที่บ้าน แคบ เพียง 4x12 เมตร
ทำให้ต้องสร้างบันได แบบตัว L
ซึ่ง บันไดที่สร้างออกมา ไม่ตรงตามแบบที่คิดไว้
สามารถแก้ไขอย่างไรได้บ้างครับ ?
ถ้าไม่ต้องทุบ ทำใหม่
ขอบคุณครับ