Solar Cell ติดตั้งโซล่าเซลล์แบบทำเอง ขนาด10kwh จะคุ้มทุนไหม ประหยัดได้แค่ไหน วิธีการเป็นเช่นไร มาดูกัน

ชนาด 10kwh +แบตเตอร์รี่ขนาด24-28kwh(498Ah/48V) งบ 220,000บาท (เนื้อหาในกระทู้ยังไม่จบนะครับ ผมยังแทรกข้อมูลแก้ใข และเพิ่มข้อมูลอยู่ ล่าสุด งบลามไปถึง3แสนแล้ว )
ขอออกตัวไว้ก่อนว่า กระบวนการทั้งหมดในนี้คือผมทำเองล้วนๆเพราะงั้นราคาจึงเป็นราคาทุน อย่าไปขิ่งราคากับ บริษัท หรือร้านรับติดตั้ง 
ผมจะลงราคาวัสดุเอาไว้ แต่จะปิดป้ายยี่ห้อ เดี๋ยวจะผิดกฏของพันธิป และรูปผมได้ถ่ายตอนทำไว้ไม่มากเท่าไหร่ ถ้าอยากให้เสริมส่วนไหน ขอมาได้ครับ 
(ผมพิมพ์สดๆ หากมีคำผิดจะมาแก้ภายหลัง)
สารบัญคร่าวๆ อาจรวมกันหรืออาจไม่ได้แยกบท อาจเล่าสั้นๆในบางขั้นตอนเพื่อให้ง่าย
1 จุดเริ่มต้น วิธีคิด การตัดสินใจ 
2 วิธีหาข้อมูลและปัญหา 
3 หาเงินทุน และลงมือ 
4 อุปสัก และขั้นตอนการกรองข้อมูล วิธีคิดสูตรเพื่อวางแผนการทำงาน ข้อกฏหมาย คณิตศาสตร์ และ pantip แบตเตอร์รี่ 
5 ซื้ออุปกรณ์ การคัดสรรค์ อายุการใช้งาน 
6 ลงมือติดตั้ง  ทดสอบใช้งาน  เขียนแอป 
7 ปัญหา และการแก้ใข 
8 การเพิ่มเติม ต่อเติม  และการขาดสามัญสำนึกในการประหยัดพลังงาน
9 บทสรุป  คุ้มหรือไม่คุ้ม



ผ่านมา4เดือน ก็ พอจะมองเห็นอะไรได้บ้าง 
เดือนแรก

เดือนต่อมา




---------------------------------------------------------------------------------------------------
เริ่มแรก ปัญหา หรือความคิดที่ใครหลายๆคนอยากหันมาใช้โซล่าเซลลคงมีไม่กี่เหตุผล อย่างแรกๆเลยก็คงอยากช่วยโลกลดมลพิษ ซึ่งคงมีคนน้อยมากๆที่จะอยู่ในสถานะนั้น อย่างที่สอง ทำเพื่อสร้างรายได้ ทั้งการรวมทุนระดับบุคคลหรือหมู่บ้าน หรือระดับองค์กรณ์ ทำเพื่อสร้างรายได้ทั้งการขายไฟ หรือรับติดตั้ง ทำมาหาเลี้ยงชีพ ย่างที่สามคือ อยากลดค่าใช้จ่าย เพราะเราไม่รู้ว่าอนาคตเราจะมีรายได้ที่เพียงพอหรือเสม่ำเสมอในการเอามาจ่ายค่าไฟหรือเปล่า  จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม แต่เหตุผลของผมคือ ค่าไฟมันแพงขึ้นทุกวัน และผมก็มีแนวโน้มที่จะใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น  และอีกเหตุผลคือเหตุการที่ศรีลังกา ต่อให้เรามีเงินมากแค่ไหนก็ไม่สามารถซื้อน้ำมันมาเติมรถ ต่อให้มีเงินก็ไม่มีไฟฟ้ามาให้ใช้  

บ้านผมใช้ไฟตกเดือนละ5000+(ตอนก่อนติดตั้ง) ถ้าคูณออกมา1ปี 6หมื่นกว่าบาท ถ้าโซล่าเซลล์สามารถลดได้สัก70-80% ก็ราวๆ45000-50000 (ความคิดในตอนนั้น)แค่นี้ก็เพียงพอที่จะตัดสินใจได้แล้ว 
(ปัจจุบัญหลังติดตั้งมา8เดือน บ้านผมใช้พลังงานไฟฟ้าต่อเดือนราวๆ 1950-2100หน่วย เพิ่มขึ้นจากก่อนติดตั้งพันกว่าหน่วย แต่ดึงไฟจากการไฟฟ้ามาใช้ราวๆ120-250หน่วยต่อเดือน เกิดพฤติกรรมใช้พลังงานอย่างไม่ประหยัด บ้านไม่อยู่แอร์ก็ไม่ยอมปิด)
ถ้าลงทุนสัก3แสน ก็จะใช้เวลาสัก6ปีถึงจะคุ้มทุน แต่มันจะลดได้อย่างงั้นรึ  ก็คิดอยู่เป็นปี ระหว่างนั้นก็สะสมเงินและสะสมความรู้จากอินเตอร์เน็ต 
ผมสรุปให้ตรงนี้เลยว่า หลังจากติดตั้งแล้ว ผมลดค่าไฟได้95% ในช่วงแรก เดือนที่2 จากค่าๆฟเดือนละ5200 เหลือ400บาท แต่ตอนที่กำลังทำอยู่ก็กังวลมากมาย เอาละ มาเข้าเนื้อหาทางวิชาการดีกว่า ว่ามันจะทำได้อย่างไร และต้องเตรียมตัวอย่างไร 
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
ปัจจุบัญ1ปีผ่านมา มีการอัพเกรดระบบเข้าไปจนไฟที่ผลิตได้และแบตมีเหลือเกินจำเป็น นอกจากเครื่องทำน้ำอุ่นแล้ว ไฟในบ้านสามารถใช้ของโซล่าเซลล์และจากแบตได้ 100% แถมเหลืออีกตะหาก ตอนนี้ไม่อยู่บ้านก็ต้องเปิดแอร์ทิ้งไว้ เพราะไฟที่ผลิตได้มันมากเกินไป ผมกลัวว่าระบบชาร์จแบตมันจะทำงานผิดพลาดแล้วกระแสจะอัดลงแบตมากเกิน เพราะงั้นถ้าไม่อยู่บ้านหลายวันผมจะปิดระบบทั้งหมด หรือถ้าไม่อยู่แค่วันเดียวผมจะต้องเปิดแอร์ทิ้งไว้ 2ห้องเพื่อใช้ไฟส่วนเกิน 
จากการปรับแต่งอัพเกรดบางอย่าง เดือนล่าสุด(18/12/66) pzem04  วัดได้ 2011หน่วย (ความแม่นยำอาจจะไม่100%) แต่ของการไฟฟ้าเหลือ37หน่วย




มากันไกลครับ บ้านแม่ยายจากแอร์2ตัว ตอนนี้ทั้งหลังมี6ตัว เครื่องทำน้ำอุ่น3
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
บทสรุป คุ้มไหมเนี๊ยะ

โอเค ก็มาถึงบทสรุป  ถามว่าคุ้มค่าไหมกับการลงทุน
ผมก็ตอบจากตัวเงินไม่ได้ อีกอย่าง ตัวแผงมีประกันให้10ปี อายุการใช้งานที่บ.เขาโม้ไว้คือ 25ปี ส่วนตัวผมคิดว่า ถ้าได้สัก10ปีผมก็รื้อทิ้งเปลี่ยนใหม่ละ ที่ยังไม่รู้ชะตากรรมก็คือแบต แต่ผมเซ้ตค่าให้ใช้งานมันน้อยกว่าประสิทธิภาพของมันหลายเท่าก็น่าเพิ่มอายุให้มันได้อีก อย่างน้อยๆผมขอสัก12ปี ทั้งสูตรการชาร์จ ทั้งจำนวนการดึงไฟออกมาใช้ ผมเหลือไฟไว้ในแบตราวๆ40% และชาร์จคิดว่าถ้าแผงมีพอแล้ว อาจจะชาร์จให้ได้แค่90%

สรุปตอนนี้ผมใช้เงินไปราวๆ220000บาท กับระบบทั้งหมด แล้วผมจะคุ้มทุนในกี่ปี  ก็ถ้าในอัตตราการใช้ไฟแบบนี้ เดือนที่แล้วผมใช้ไฟไป1800หน่วย ใช้ของการไฟฟ้า330หน่วย หรือคิดเฉพาะของโซล่าเซลลที่ผมใช้ไฟคือ1470-1500หน่วย คิดเป็นที่หน่วยละ5บาท ก็ราวๆ7300-7400บาทต่อเดือน ตกแล้ว 88200บาทต่อปี ก็จะคุ้มทุนที่2.5ปี หรือ29เดือนคุ้มทุน    แต่ว่านะ ผมว่าจะเพิ่มแผงอีก6แผงให้ได้กำลังผลิต ค่าไฟผมอาจจะเหลือ140บาท(ค่าเครื่องทำน้ำอุ่น) นั่นเท่ากับผมจะลดค่าไฟได้เดือนอนละเป็นหมื่นก็เป็นได้

ผมคงสรุปเป็นตัวเงินไม่ได้ว่าคุ้มไม่คุ้ม แต่ทุกวันนี้ผมหันมองหน้าลูกชายและภรรยาแล้ว ผมว่าพวกเขาแฮปปี้นะ แค่นั้นสำหรับผมก็คุ้มค่าแล้ว เมื่อปีที่แล้วพวกเรายังนั่งตัวเหม็นเหงื่อเพราะอากาศร้อน และเราต้องพยายามอดทนกับมันเนื่องจากเราสู้ค่าไฟไม่ไหว ตอนนี้กลางวันบ้านแทบไม่ได้ปิดแอร์ จะนั่งจะนอนตรงไหนก็ไม่เหนียวไม่หงุดหงิด  ใครจะคิดยังไงผมไม่รู้ ผมรู้แค่ว่าสำหรับผมแล้วมันคุ้มค่า เราก็ค่อยๆเก็บเงินเอาไว้สำรองถ้ามันเกิดเสียขึ้นมา
ขออวยเพิ่มนิดหนึ่ง
ใครที่ยังไม่เคยคิดระบบโซล่าเซลล์ในระบบไฮบริดออฟกริด อยากบอกว่ามันช่วยเรื่องไฟตกไฟดับได้ดีมากๆเลย ผมมีงานที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ทำงานหลายเครื่อง เวลาไฟตกคอมพิวเตอร์มันก็ดับ ต้องหาups มาใส่กันไฟตก แต่พอติดโซล่าเซลล์ระบบนี้แล้ว ผมถอด upsของคอมพิวเตอร์  ออกหมดเลย เพราะมันค่อนข้างจะรักษาระดับไฟได้เสตเบิลมากๆอย่างน่าประหลาดใจ ไฟบ้านอื่นๆตกบ้าง ดับบ้าง แต่บ้านผมนิ่งเรียบมาก ไฟมา230v 50hz แบบไม่ผิดเพี้ยนเลย แล้วช่วงมันสลับไฟจากแผงไปใช้แบต จากแบตไปใช้การไฟฟ้า ไฟในบ้านไม่มีกระพริบเลยครับ ผมคิดว่าตรงนี้มันทำได้ดีมากๆ อาจจะเป็นที่ยี่ห้อที่ผมเลือกใช้หรือเปล่า อันนี้ต้องถามประสปการณ์ของคนอื่นๆที่ใช้ต่างยี่ห้อกัน

แถม
ผมมีเพื่อนที่บ่นว่าค่าไฟแพง จ่ายค่าไฟเดือนละ5-6พันเหมือนกันกับผม ผมก็ชักนำให้ติดโซล่าเซลล์แต่เขาไม่กล้า บอกว่าต้องใช้เงินเยอะเกินไป แต่เขาเพิ่งไปออก iphone14 pro max ตัวท๊อปสุดมาโชว์ แถมทั้งบ้าน(ครอบครัว)มีมากกว่า8เครื่อง ตัวล่าสุดทั้งนั้นเลย ผมลองคิดในใจ รวมๆแล้วอาจจะใช้เงินมากกว่าผมทำโซล่าเซลล์อีกนะ แต่อย่างว่า ความสุขของแต่ละคนมันไม่เหมือนกัน ผมก็เคารพในความเป็นปัจเจกบุคคล ความสุขที่แท้จริงอาจจะแค่นั่งดูหนังกับลูกอยู่ที่บ้าน หรือแย่งกันกินก๊วยเตี๋ยวชามเดียวกัน ผมคิดว่าความสุขถ้าเราหามันเจอ เราก็มีความสุข ส่วนชีวิตผมน่าจะแค่ลดค่าใช้จ่ายมันเป็ฯการเพิ่มรายได้ทางอ้อม และสดวกสบายในการใช้ชีวิตขึ้น แค่นั้นก็เพียงพอแล้ว



สุขสันต์วันสงกรานต์รับทุกคน
(น่าจะมีคำผิดเยอะ ไว้มีเวลาจะมาแก้ให้ครับ ขออภัยด้วย)
ความคิดเห็นที่ 1
ขอพูดทางทฤษฏีก่อนนะ อาจจน่าเบื่อสักนิด
ก่อนจะทำ"ระบบโซล่าเซลล์" ไว้ใช้งาน ต้องรู้ก่อนว่า โซล่าเซลลมีทั้งหมดกี่ระบบ แต่ผมจะไม่ลงลึกไปว่าแผงมีกี่ชนิด จะลงแค่แต่ละระบบมันต่างกันยังไง และต้องเข้าใจนะครับว่า แผงโซล่าเซลล์ผลิตไฟจากแสง ไม่ได้ผลิตไฟจากแดด จำเรื่องนี้ไว้ครับ เพราะในวันที่ฟ้าหลัว มีเมฆบางๆ อากาศดีๆแดดไม่แรงจะผลิตไฟได้ดีกว่าแดดจัดๆอากาศร้อนๆ
ออนกริด ออฟกริด และทั้งสองแบบจะมีแบบไฮบริดด้วย
และผู้สนใจควรศึกษาเพิ่มเติมนะครับว่า  "ขนานและอนุกรม คืออะไร"


ออนกริด ongrid /grid tie  ระบบนี้คือระบบที่ใช้การขนานกับการไฟฟ้า พูดภาษาชาวบ้านก็คือ ต่อเสริมเข้ากับสายไฟของการไฟฟ้า เมื่อมีแดดมันก็ผลิตไฟแล้วอัดเข้าไปในระบบไฟของบ้านเดิม  โดยวิธีการทำงานของมันคือ ระบบในinverter จะตรวจสอบถามถี่ของไฟ(Hz) แล้วผลิตแรงดันที่มีความถี่ที่เท่ากัน เหมือนกันเป๊ะๆแล้วปล่อยกระแสเข้าไป"ร่วม"กับการไฟฟ้า โดยจะมีคอยล์เอาไว้ตรวจจับกระแส ถ้าอินเวอร์เตอร์ที่ผ่านการรับรองจากการไฟฟ้าของไทย จะมีตัวหยุดไม่ให้กระแสที่มากเกินกว่าโหลดหลุดเข้าไป เพื่อไม่ให้กระแสมันย้อนหลับเข้าไปยังระบบของการไฟฟ้า
คอยล์วัดกระแส ใช้คีบยังสายไฟ วัดได้ทั้งสายN  หรือจะวัด L ก็ได้ แต่โดยปกติ งานระบบจะวัดที่สาย L
วิธีสร้างความถี่ให้เท่ากัน ผมนึกถึงกระทู้หนึ่งในพันธิปที่เล่าถึงวิธีแก้ปัญหาในปืนกลหน้าของเครื่องบินรบที่ต้องยิงกระสุนผ่านใบพัดตัวเองโดยไม่ยิงเข้ากับใบพัดตัวเอง คิดแล้วก็น่าทึ่งนะว่าจะทำยังไงให้ความถี่มันเท่ากันเป๊ะๆ เพราะบางช่วง การไฟฟ้าเองก็ต้องมีผิดเพี้ยนมาบ้างแหละ ความเห็นที่3จากกระทู้นี้


การทำงานของระบบพวกนี้ ปัจจุบัญมันถูกออกแบบและประกอบสำเร็จอยู่ภายใน inverter  อยู่แล้ว  
ข้อดีของระบบนี้คือ ราคาถูก เมื่อเทียบกับระบบอื่นๆ ข้อเสียคือ ระบบยังไม่มีการแบคอัพไฟเอาไว้ใช้ และระบบนี้ต้องแจ้งขออณุญาติจาก กกพ  เพื่อขออณุญาติ"ขนานไฟ" กับการไฟฟ้า  ผมไม่อยากพูดถึงการขายไฟให้กับการไฟฟ้านะที่จากเดิมขายคืนที่หน่วยละ 1.68บาท ขึ้นมาเป็น2.2บาท และเงื่อนใขคือ ถ้าเป็นบ้านอยู่อาศัย มีไฟ1เฟสเข้าบ้าน จะติดตั้งระบบได้ไม่เกิน5kw  ส่วน3เฟส ได้ไม่เกิน10kw

ออฟกริด off grid  ระบบนี้คือตรงตามชื่อคือระบบปิด ทำโซล่าเซลล์ใช้เองในบ้านโดยไม่ไปยุ่งกับระบบของการไฟฟ้า ไม่ต้องไปกลัวว่าเราจะสร้างพาวเวอร์แฟคเตอร์ให้กับระบบของการไฟฟ้า และสามารถกักเก็บพลังงานเอาไว้ใช้งานในแบตได้ แต่ข้อเสียคือ แบตเตอร์รี่นั้นแพงเกินไป(มีพูดถึงรายละเอียดแน่ๆ เตรียมเครื่องคิดเลขไว้ดีๆ) และข้อเสียของระบบออฟกริดคือ เมื่อแหล่งจ่ายอย่างแบตเตอร์รี่หรือแดดไม่พอ มันก็หยุดการทำงาน มันเหมาะกับเอาไปใช้ในป่า ในเขา บนเกาะหรือที่ห่างไกล หรือชาวนาบางคนก็เอามาทำเป็นระบบระบบเพื่อการเกษตร ซึ่งผมจะไม่พูดถึงนะ (แต่ถ้าอยากให้เขียนก็บอก ข้อมูลผมพร้อมยันขนาดใบและแรงของซับเมิร์ส)
ข้อดีคือ เราไม่ต้องไปแจ้งการไฟฟ้า แต่อาจต้องแจ้งหน่วยงานท้องถิ่น เช่น อบต เทศบาล เพราะมันเกี่ยวกับโครงสร้างถ้าติดตั้งไว้บนหลังคาบ้าน หรือบนตัวตึก โดยที่เข้าใจของผมคือ กฏจากส่วนกลาง(ไม่ใช่ท้องถิ่น) ต้องมีพื้นที่ติดตั้งไม่เกิน160ตารางเมตร และน้ำหนักต้องไม่เกิน 20กิโลกรัมต่อ1ตารางเมตร ซึ่งจะมีเรื่องของท้องถิ่นอีกที่บางที่อาจจะตั้งกฏกันเองอีกตะหาก(แค่ได้ยินมา) (ใบ ข1 ท้องถิ่น )
-----------------------------------------------


แต่ระบบที่น่าใช้ที่สุดคือระบบ ออฟกริด ไฮบริดครับ  อย่าสับสนนะครับ ออนกริดไฮบริด กับ ออฟกริดไฮบริด ทำงานต่างกันและราคาที่ต่างกัน
ตัวไฮบริดก็ตามชื่อครับ อย่าคิดเยอะว่าระบบมันซับซ้อนอะไร มันก็แค่ inverter  ตัวหนึ่งเท่านั้นที่เรามีหน้าที่แค่เลือกใช้มัน ระบบข้างในมันถูกสร้างออกมาสำเร็จให้พร้อมใช้อยู่แล้ว ชื่อของมันคือไฮบริด หรืออธิบายแบบชาวบ้านว่า มันจะสลับแหล่งจ่ายไฟให้อัตโนมัต ถ้าเป็นไฮบริดออฟกริด ก็แค่เอาระบบออนกริดมาเพิ่มศักยภาพให้มันสามารถรับแหล่งจ่ายมาจากการไฟฟ้าได้ด้วย ส่วนไฮบริดออนกริด มันจะสามารถมีแหล่งจ่ายมาจากแบตเตอรรี่แบคอัพได้ด้วย แต่ราคามันแพงมากสำหรับระบบ ไฮบริด ออนกริด อีกอย่างผู้ผลิตมีเงื่นใขการใช้งานและเรื่องประกันที่ทำให้ คนธรรมดาๆอย่างผมไม่อาจเอื้อมถึง


ในรายละเอียดของ ไฮบริดออนกริด มันก็ทำงานคล้ายกันกับระบบออนกริด คือแผงผลิตไฟได้เท่าไหร่ไม่สำคัญ แค่เอากระแสที่ได้มาสร้างแรงดันและความถี่ให้พอดีแป๊ะๆเพื่อจ่ายขนานกันไปกับระบบของการไฟฟ้า แต่ไฮบริดจะมี mppt เอาไฟที่เหลือใช้มาชาร์จเก็บไว้ในระบบแบตเตอร์รี่ ซึ่งมันดูดีในความคิด แต่หลายๆบริษัทผลิตสินค้าออกมาราคาแพงมากเกินไปกว่าระบบอื่นๆหลายเท่า และพ่วงเงื่อนใขว่า ห้ามเอาแบติเตอร์รี่ยี่ห้ออื่นมาใส่ร่วมกันกับระบบของเขา ก็ดีแล้วนี่ แต่ทำไมถึงว่าไม่ดี  นั่นคือเรื่องของราคาครับ  สมมุต ยี่ห้อ H อาจทำตัวhybrid ongrid แบบใส่แบตแบคอัพได้ด้วย ตัวอินเวอร์เตอร์อาจจะขายที่ราคา5หมื่นกว่าบาท แต่แบตขนาด100ah/48v  อาจขายมาในราคาแบตชุดละ110,000บาท เพราะถ้าในราคานั้น คนที่มีความรู้ทางอิเล็คโทรนิคส์สามารถใช้เงินส่วนนั้น ประกอบแบตขึ้นมาได้ถึง500Ah/48v มันต่างกัน5เท่าเลย หรือพูดกลับกันว่า ถ้าใช้แบรนยี่ห้อเดียวกัน  ถ้าจะเอาแบตขนาด 500Ah/48v(24-25kw)กลับต้องใช้เงิน4-5แสน มันไม่ไหวหรอกนาย
แล้วถ้าจะเอาแบตอื่นมาใส่ละ ใส่ได้ไหม  ตอบว่าได้ครับ แต่แบรนด์นั้นๆจะตัดสิทธิ์ประกันทันที นั่นคือ ประกันขาดครับ และอีกอย่าง มันมีเรื่อง protocal  ในการคุยกันระหว่า อินเวอร์เตอร์และแบตเตอร์รี่ เพราะถ้ามันคุยกัน คอยถามไถ่กัน สุขภาพมันจะดีอยู่ตลอดเวลา ทั้งแบตและอินเวอร์เตอร์  คำแนะนำผมนะ ถ้าจะทำออนกริด ก็ทำออนกริดไปเลย ไม่ต้องมาทำไฮบริด ถ้าอยากทำไฮบริด ไปที่ ไฮบริด ออฟกริดเลย


เพิ่มเนื้อหาให้อีกนิด ถามว่าแล้วทำไมถึงอยากใส่แบต ออนกริดไม่ต้องใส่ก็ได้นี่  นั่นเพราะว่าพฤติกรรมการใช้ไฟครับ เราอาจไม่ได้ใช้ไฟในปริมาณที่สม่ำเสมอตลอด เช่นเราอาจทำระบบ3-5kw เพราะเรามีช่วงที่ใช้ไฟสูงๆถึง5kw แต่เราใช้จริงอาจแค่1-2kw มีใช้3-5kw บ้าง ในระบบออนกริดแบบมีระบบกันไฟย้อน ระบบมันจะบังคับจ่ายไฟออกมาแค่ตามที่โหลดเราร้องขอ สมมุติมีการใช้ไฟ1500w แต่แผงตอนนั้นผลิตได้4000w มันก็จะจ่ายให้ระบบแค่1499w คือมันจะไม่ยอมให้ไฟใหลย้อนกลับเข้าระบบของการไฟฟ้าเด็ดขาด(มีเรื่องกฏของการไฟฟ้าค่าปรับบานนะ) ทีนี้แล้วเมื่อมันผลิตได้4000 แต่ใช้แค่1500 แล้วอีก3850w เอาไปไหน ก็ทิ้งไปดื้อๆครับ เป็นค่า voc ในระบบทิ้งไป และตอนที่แสงผลิตไม่พอ ก็ดึงจากการไฟฟ้ามาใช้ ส่วนตอนที่ใช้เกิน ก็ทิ้งๆไป ก็สามารถขายส่วนเกินตรงนั้นให้กับการไฟฟ้าได้ด้วยนะ 1000w 2.2บาท แต่ต้องยื่นเรื่องขอที่ กกพ  และซื้อมิเตอร์ใหม่ งบประมาณราวๆ9500สำหรับมิเตอร์แบบขายไฟให้การไฟฟ้าได้ แต่ปัญหาอยู่ที่การขออณุญาติกับทาง กกพ ครับ อาจช้าได้ถึง90-180วัน  
มันจะดีแค่ไหนถ้าเราสามารถเอาไฟที่เหลือนั้นเก็บไว้ได้ ใช่ครับ มันคืออุดมคติที่สวยหรู แต่ราคานั้นแพงเกินสวยงามสำหรับระบบออนกริด(ต้องใช้แบรนด์เนมครับ ทั้งของอีลอน หรือของรัฐบาลจีนอย่างยี่ห้อH ซึ่งเงื่อนใขตามที่บอก ต้องใช้กับยี่ห้อเขาเท่านั้น ราคามันสูงเกินสำสำหรับปริมาณนั้น คนมีเงินมาๆสบายๆครับ (แต่ผมไม่สบาย)
เพราะงั้น แบตเตอรรี่แบคอัพจึงนิยมใช้ในระบบออฟกริดไฮบริดมากกว่า เพราะเราดัดแปลงได้มากมาย


พระเอกสำหรับผม ต้อง ไฮบริด ออฟกริด !!!?  


ทำไมต้องระบบนี้  ไฮบริดออฟกริด  ในระบบไฮบริดออฟกริดก็คล้ายคลึงกันกับระบบออฟกริด แต่ที่เพิ่มมาคือ มีช่องทางให้เราเอาไฟจากการไฟฟ้ามาต่อ"อนุกรม"กับระบบออฟกริดได้ โดยที่ตัวอินเวอร์เตอร์ในระบบออฟกริดไม่ต้องจดแจ้งกับการไฟฟ้า เพราะมันมีฐานะเป็นแค่เครื่องใช้ไฟฟ้า เพราะใช้ไฟจากการไฟฟ้ามาผ่านตัวมัน  


สิ่งที่เราต้องเข้าใจในระบบนี้ก็คือ เราต้องรู้จักโหลดของเรา หรือตามภาษาบ้านๆก็คือ เราต้องรู้ว่าบ้านเราใช้ไฟ"สูงสุด" ตอนไหน ใช้เท่าไหร่ เพราะระบบออฟกริดไฮบริดคือ มันมีความสามารถในการจ่ายไฟให้โหลดได้เท่าที่ตัวมันถูกออกแบบมา สมมุติ ยี่ห้อ G ผลิตมาให้มันจ่ายไฟให้โหลดได้ที่ 5kwh ตัวมันก็จะสามารถจ่ายให้กับโหลดได้แค่นั้น(ถ้าแหล่งผลิตมีพอนะ สมมุตว่ามีแผงที่ผลิตได้6000w  และตอนนั้นมันผลิตได้4000w  มันก็จะจ่ายได้4000w ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าใช้ที่4800w  เครื่องก็จะจ่ายให้ได้แค่4800w   ทีนี้ ถ้ามีแบคอัพจากแบต หรือจากการไฟฟ้า ในอินเวอร์เตอร์ยี่ห้ออดังๆ เช่นยี่ห้อ G หรือยี่ห้อ H  ก็จะไปดึงไฟจากแบต หรือจากการไฟฟ้ามาเพิ่มให้อีก800w  (ทั้งนี้อยู่ที่ความสารมารถของอินเวอร์เตอร์ยี่ห้อนั้นๆ หรือรุ่นนั้นๆ)

แถ้าถ้าโหลดมันเกินละ สมมุตมีการใช้ไฟในบ้าน 5800w  อันนี้แหละครับ อินเวอร์เอตรืของเราจะลาโลกเอาง่ายๆ แน่นอนว่าตัวคอนล์ข้างในและระบบอิเล็คโทรนิคในการทำงานอาจจะมีความสามารถมากกว่าที่ บ.ระบุเอาไว้ แต่ถ้าเกินไปนานๆมันจะร้อนและพัง หรือบางยี่ห้อที่เขาเซ็นซิทีพกับเรื่องนี้ เขาก็จะตั้งระบบมาให้หยุดการทำงาน หรือไปบายพาสเองก็แล้วแต่ยี่ห้อ  เราจึงต้องมีระบบสลับไปสำรองแทรก เช่น ATS  ที่จะไว้อธิบายในตอนติดตั้ง อันนี้เอาทิฤฏีก่อน

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าบ้านเราใช้ไฟเท่าไหร่  
ก็แนะนำให้หาคลิปแอมมิเตอร์มาคีบสายไฟจากการไฟฟ้าก่อนเข้าบ้านครับ แล้วเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อเช็คว่าบ้านเรามีเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดมันกินไฟแค่ไหน ถ้าใช้พร้อมกัน
แล้วเราก็เลือกหาซื้ออินเวอร์เตอร์ให้เกินจากโหลดสัดนิด หรือมากกว่าก็แล้วแต่ทรัพย์ของเรา

ในระบบสมัยนี้ อินเวอร์เตอร์แบบ hybrid off grid มักผลิตมาแบบ 3.3kw 5kw  แต่ไม่ค่อยมีใครผลิต10 kw นั่นเพราะระบบขนาด10kw ในตัวเดียว มันจะสร้างความร้อนสะสมเยอะ และตัวมันจะใหญ่เทอะทะมาก เขาขึงใช้วิธีแยกกันอยู่ เช่นถ้าเราต้องการขนาด10kwh ก็ใช้ 5kwh 2ตัวมาต่อขนานกัน(ทั้งนี้อยู่ที่อินเวอร์เตอร์ยี่ห้อนั้นๆนะครับ)
1ตัวก็ 5kw 2ตัวก็ 10kwh

5 ตัวก็25kw  คือมันก็ต่อเพิ่มได้เรื่อยๆ หรือตามเสป็คมัน แต่หลายๆยี่ห้อมักต่อได้ไม่เกิน6ตัว หรือ 30kwh


เราสามารถติดตั้งได้แบบนี้เลย



เออ แล้วสิ่งที่ผมลืมบอกไปคือ นอกจากประเภทของอินเวอร์เตอร์แล้วยังมีเรื่องแรงดันของระบบ เช่น ระบบ 12v 24v 48v 72v 96v มันเกี่ยวข้องกับแบตเตอร์รี่และชนิดของแผง สมัยนี้แล้ว มันต้องใช้ชนิดระบบเป็นแบบไฮโวลต์แล้วละครับ ใครทำใหม่แล้วยังไช้12 หรือ24อยู่คงไม่ไหว ในรถบ้าน หรือระบบนอนนามันพอไหวครับ แต่ใช้ในบ้าน ในโรงงานคงไม่ไหว ระบบไฟต่ำเวลาระบบมันต้องแปลงไฟจาก12ไป220v  ระบบมันไม่เหมาะกับการเอามาใช้งานหนักๆนานๆ
คือว่าที่ผมพูดถึงทั้งหมดข้างบน เป็น inverter ที่ผลิตมาเพื่อระบบโซล่าเซลล์โดยเฉพาะครับ มันเป็นอินเวอร์เตอร์แบบไฮโวลต์แบบอินเวอร์เตอร์ระบบสวิทชิ่ง เพราะว่าแหล่งจ่ายของเราเป็นแผงโซล่าเซลลแบบไฮโวลต์ที่จ่ายแรงดันมาตั้งแต่48-500โวลต์ ไปศึกษาต่อที่เรื่อง igbtครับ ถ้าสนใจเชิงลึก
ส่วนในตลาดคนจะสับสนกับอินเวอ์เตอร์อีกชนิด ที่มันหน้าตาแบบนี้ครับ มันเป็นอินเวอร์เตอร์แบบหม้อแปลง ซึ่งมันโบราณมากแล้ว

ซึ่ง มันเป็นอินเวอร์เตอร์แบบเก่า อ่านต่อที่นี่
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่