เห็นหลายกระทู้ที่บอกว่างานราชการเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนประเทศนั้น
ในมุมของผม บอกได้เลยว่าไม่จริง เพราะราชการคือหน่วยราชการใต้การบังคับบัญชากำกับดูแลของฝ่ายบริหาร ( 1 ใน 3 อำนาจ ) ผ่านการเลือกตั้งของประชาชน ที่แต่ละรัฐบาลมีนโยบายเศรษฐกิจและการขับเคลื่อนประเทศไม่เหมือนกัน ฝ่ายบริหารคือตัวนำนโยบาย ราชการต้องทำตามนโยบาย ซึ่งนโยบายเหล่านี้อาจมาจากฝ่ายเอกชนหรือราชการที่ร่วมกันนำเสนอรัฐบาล หรืออาจเป็นนโยบายของพรรคการเมืองที่เข้ารับตำแหน่งอยู่ตั้งแต่ช่วงหาเสียง ที่เน้นหลักในด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ เพราะมันคือหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนประเทศ
และในมุมมองของผม จากการอ่านบทความหลายๆชิ้น เอกชนเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนประเทศที่สำคัญที่สุดของประเทศ
นโยบายขับเคลื่อนประเทศต้องมีงบประมาณ และงบประมาณมากหรือน้อยก็มาจากเศรษฐกิจดีหรือไม่ดี
ข้าราชการสร้างเศรษฐกิจไม่ได้และต่อให้ทำได้ก็คงไม่เทียบเท่าบริษัทเอกชนที่มีหน้าที่หลักตามบริบททางสังคมและเศรษฐกิจคือการค้าขาย สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และจ่ายภาษีนิติบุคคลในนามของบริษัทให้แก่ภาครัฐนำไปขับเคลื่อนประเทศและสร้างสวัสดิการ
อีกทางหลักคือภาษีมูลค่าเพิ่มที่จ่ายการซื้อสินค้าและบริการของประชาชนทั่วประเทศ
เพราะไม่ว่าการจ่ายภาษีนิติบุคคล การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ สร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ลงทุนในต่างประเทศ จ่ายค่าแรง เงินเดือนให้กับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ทำให้ GDP และศักยภาพของประเทศเพิ่มขึ้นเป็นตัวหลัก ในการขับเคลื่อนประเทศ
ตัวรองคือราชการที่ต้องอำนวยความสะดวกให้แก่เอกชน คอยคุ้มครองให้ความปลอดภัย ช่วยเหลือตามที่นโยบายของฝ่ายบริหาร ( รัฐบาล ) และกฎหมายกำหนดเอาไว้เท่านั้น
เห็นได้ชัดว่าราชการไม่อาจเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้เมื่อเทียบกับบริษัทเอกชน ที่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจผ่านการส่งออกสินคาและบริการ เพราะหน้าที่หลักของข้าราชการไม่ได้ถูกออกแบบให้มีหน้าที่ขับเคลื่อนประเทศ แต่เป็นการให้ความสะดวกและคุ้มครองประชาชนเป็นหน้าที่หลัก ( ยกเว้น สภาพัฒน์ที่ถูกสร้างเพื่อให้คำแนะนำทางเศรษฐกิจแก่รัฐบาล เพื่อเป็นหน้าที่หลักที่ฝ่ายบริหารกำหนดให้หน่วยงานราชการนี้จัดทำแผนเศรษฐกิจ ส่วนรัฐจะทำตามหรือไม่ก็หรือแต่นโยบายรัฐบาลแต่ละยุคสมัย )
การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานในแต่ละท้องถิ่นก็ไม่ใช่มาจากนายอำเภอหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แต่มาจาก นายก อบจ. นายก อบต. นายกเทศมนตรีเป็นหลัก ซึ่งจะเรียกว่าข้าราชการก็คงพูดได้ไม่เต็มปาก เป็นข้าราชการนักการเมืองที่เข้ามาและออกไป แต่ข้าราชการประจำระดับสูงจะมีส่วนร่วมในการลงชื่อในการอนุมัติงบประมาณมากกว่า ยกเว้นการคมนาคมที่เรายังมีกรมทางหลวงกับกรมทางหลวงชนบทอยู่ ซึ่งก็จะเปิดประมูลจัดจ้างเอกชนมาทำ เพราะราชการไม่มีเครื่องมือและวิศวกรที่มีประสบการณ์และคุณภาพมากพอเมื่อเทียบกับบริษัทรับเหมาก่อสร้างเอกชน
หลายๆคนบอกว่าอยากเป็นข้าราชการเพื่อพัฒนาประเทศ บอกเลยว่าเป็นไปไม่ได้ โครงสร้างอำนาจไม่ได้ออกแบบมาให้ข้าราชการทำงานเพื่อพัฒนาประเทศเป็นหลัก ถูกออกแบบมาให้ทำตามกฎหมายและนโยบายฝ่ายรัฐบาล และนโยบายพัฒนาหรือขับเคลื่อนประเทศขึ้นอยู่กับรัฐบาลครับ
ถ้าพูดแบบตรงไปตรงมา ข้าราชการคือลูกจ้างที่รัฐจ้างเอาไว้เป็นเครื่องมือเครื่องไม้ในการใช้งานนั้นเอง ส่วนประเทศจะพัฒนามากแค่ไหนก็ต้องดูนโยบายของรัฐบาลก่อน
แนวคิดว่าราชการ กับเอกชน ใครสามารถขับเคลื่อนประเทศได้มากกว่ากัน
ในมุมของผม บอกได้เลยว่าไม่จริง เพราะราชการคือหน่วยราชการใต้การบังคับบัญชากำกับดูแลของฝ่ายบริหาร ( 1 ใน 3 อำนาจ ) ผ่านการเลือกตั้งของประชาชน ที่แต่ละรัฐบาลมีนโยบายเศรษฐกิจและการขับเคลื่อนประเทศไม่เหมือนกัน ฝ่ายบริหารคือตัวนำนโยบาย ราชการต้องทำตามนโยบาย ซึ่งนโยบายเหล่านี้อาจมาจากฝ่ายเอกชนหรือราชการที่ร่วมกันนำเสนอรัฐบาล หรืออาจเป็นนโยบายของพรรคการเมืองที่เข้ารับตำแหน่งอยู่ตั้งแต่ช่วงหาเสียง ที่เน้นหลักในด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ เพราะมันคือหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนประเทศ
และในมุมมองของผม จากการอ่านบทความหลายๆชิ้น เอกชนเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนประเทศที่สำคัญที่สุดของประเทศ
นโยบายขับเคลื่อนประเทศต้องมีงบประมาณ และงบประมาณมากหรือน้อยก็มาจากเศรษฐกิจดีหรือไม่ดี
ข้าราชการสร้างเศรษฐกิจไม่ได้และต่อให้ทำได้ก็คงไม่เทียบเท่าบริษัทเอกชนที่มีหน้าที่หลักตามบริบททางสังคมและเศรษฐกิจคือการค้าขาย สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และจ่ายภาษีนิติบุคคลในนามของบริษัทให้แก่ภาครัฐนำไปขับเคลื่อนประเทศและสร้างสวัสดิการ
อีกทางหลักคือภาษีมูลค่าเพิ่มที่จ่ายการซื้อสินค้าและบริการของประชาชนทั่วประเทศ
เพราะไม่ว่าการจ่ายภาษีนิติบุคคล การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ สร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ลงทุนในต่างประเทศ จ่ายค่าแรง เงินเดือนให้กับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ทำให้ GDP และศักยภาพของประเทศเพิ่มขึ้นเป็นตัวหลัก ในการขับเคลื่อนประเทศ
ตัวรองคือราชการที่ต้องอำนวยความสะดวกให้แก่เอกชน คอยคุ้มครองให้ความปลอดภัย ช่วยเหลือตามที่นโยบายของฝ่ายบริหาร ( รัฐบาล ) และกฎหมายกำหนดเอาไว้เท่านั้น
เห็นได้ชัดว่าราชการไม่อาจเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้เมื่อเทียบกับบริษัทเอกชน ที่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจผ่านการส่งออกสินคาและบริการ เพราะหน้าที่หลักของข้าราชการไม่ได้ถูกออกแบบให้มีหน้าที่ขับเคลื่อนประเทศ แต่เป็นการให้ความสะดวกและคุ้มครองประชาชนเป็นหน้าที่หลัก ( ยกเว้น สภาพัฒน์ที่ถูกสร้างเพื่อให้คำแนะนำทางเศรษฐกิจแก่รัฐบาล เพื่อเป็นหน้าที่หลักที่ฝ่ายบริหารกำหนดให้หน่วยงานราชการนี้จัดทำแผนเศรษฐกิจ ส่วนรัฐจะทำตามหรือไม่ก็หรือแต่นโยบายรัฐบาลแต่ละยุคสมัย )
การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานในแต่ละท้องถิ่นก็ไม่ใช่มาจากนายอำเภอหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แต่มาจาก นายก อบจ. นายก อบต. นายกเทศมนตรีเป็นหลัก ซึ่งจะเรียกว่าข้าราชการก็คงพูดได้ไม่เต็มปาก เป็นข้าราชการนักการเมืองที่เข้ามาและออกไป แต่ข้าราชการประจำระดับสูงจะมีส่วนร่วมในการลงชื่อในการอนุมัติงบประมาณมากกว่า ยกเว้นการคมนาคมที่เรายังมีกรมทางหลวงกับกรมทางหลวงชนบทอยู่ ซึ่งก็จะเปิดประมูลจัดจ้างเอกชนมาทำ เพราะราชการไม่มีเครื่องมือและวิศวกรที่มีประสบการณ์และคุณภาพมากพอเมื่อเทียบกับบริษัทรับเหมาก่อสร้างเอกชน
หลายๆคนบอกว่าอยากเป็นข้าราชการเพื่อพัฒนาประเทศ บอกเลยว่าเป็นไปไม่ได้ โครงสร้างอำนาจไม่ได้ออกแบบมาให้ข้าราชการทำงานเพื่อพัฒนาประเทศเป็นหลัก ถูกออกแบบมาให้ทำตามกฎหมายและนโยบายฝ่ายรัฐบาล และนโยบายพัฒนาหรือขับเคลื่อนประเทศขึ้นอยู่กับรัฐบาลครับ
ถ้าพูดแบบตรงไปตรงมา ข้าราชการคือลูกจ้างที่รัฐจ้างเอาไว้เป็นเครื่องมือเครื่องไม้ในการใช้งานนั้นเอง ส่วนประเทศจะพัฒนามากแค่ไหนก็ต้องดูนโยบายของรัฐบาลก่อน