ตอนนี้ยังทัน อีก 2 วัน ร่วมลงชื่อ ยื่นฟ้อง 'ประยุทธ์' ไม่แก้ฝุ่นพิษ PM2.5 ที่ นิติฯ มช.
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7602631
ตอนนี้ยังทัน อีก 2 วัน เครือข่ายประชาชนภาคเหนือ ล่าชื่อ ยื่นฟ้อง ‘ประยุทธ์’ ไม่แก้ฝุ่นพิษ PM2.5 ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หลัง เครือข่ายประชาชนภาคเหนือ รวมตัวกันฟ้องนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ให้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ, แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง, พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้ปฏิบัติการตามกฎหมายและนโยบายที่จัดทำไว้ เพื่อลดทอนความรุนแรงของสถานการณ์ฝุ่นที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ โดยจะยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เชียงใหม่ วันที่ 10 เม.ย.2566 เวลา 10.00 น.
สำหรับผู้ที่จะสนับสนุนการฟ้องในครั้งนี้ สามารถลงชื่อได้ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนากฎหมาย (ชั้น 1) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยร่วมลงชื่อได้ถึงวันที่ 9 เม.ย. 66
ขณะที่สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ใน จ.เชียงใหม่ ยกคงส่งผลกระทบต่อชีวิตประชาชนอย่างหนัก โดยล่าสุดวันนี้ (8 เม.ย.) พบว่าในพื้นที่ เชียงใหม่ จากการรายงานการตรวจวัดคุณภาพอากาศและการจัดการเมืองที่มีคุณภาพอากาศแย่ที่สุดของโลก US AQI พบว่าจังหวัดเชียงใหม่ อยู่อันดับ 1 มีค่า 274 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เข้าสู่วันที่ 4 รั้งอันดับ 1
ผู้สมัครก้าวไกล งง เจอตำรวจสั่งห้ามชู 3 นิ้ว ทั้งๆที่จับได้เบอร์ 3
https://www.matichon.co.th/politics/news_3917573
ผู้สมัครก้าวไกล งง เจอตร.สั่งห้ามชู 3 นิ้ว กลางแยกคปอ. ทั้งๆที่จับได้เบอร์ 3
เมื่อวันที่ 7 เมษายน น.ส.
ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ หรือ
ทนายแจม ทนายนักสิทธิมนุษยชน ผู้สมัคร ส.ส. พรรคก้าวไกล หมายเลข 3 เขตสายไหม ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “
ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ – ทนายแจม – Sasinan Thamnithinan” โดยระบุว่า ขณะหาเสียงอยู่ริมถนนบริเวณแยก คปอ. เขตสายไหม มีเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่ในป้อมตำรวจมาขอความร่วมมือห้ามไม่ให้ทนายแจมชู 3 นิ้ว โดยทางเจ้าหน้าที่ให้เหตุผลว่า
“เพราะเป็นเขตทหาร” ซึ่งทนายแจมได้พยายามอธิบายให้เจ้าหน้าที่ตำรวจฟังว่า เป็นการชู 3 นิ้ว เพื่อการหาเสียงเลือกตั้ง เนื่องจากตนเองจับได้หมายเลข 3 มิใช่การชู 3 นิ้ว เพื่อการชุมนุมแต่อย่างใด
https://www.facebook.com/sasinanjam/posts/184435811052668
จีนส่งทุเรียนซานย่าบุกตลาด ผุดนิคมครบวงจรจ่อลดนำเข้า
https://www.prachachat.net/economy/news-1257247
จับตาจีนส่ง “ทุเรียนซานย่า” ลงสนามปีแรก ชาวเน็ตแดนมังกรกระหน่ำทุบราคาทุเรียนนำเข้า แง้มแผนจีนคิดการใหญ่พัฒนา 100 สายพันธุ์ เตรียมตั้ง “นิคมทุเรียน” 2 หมื่นไร่ พร้อมอุตสาหกรรมแปรรูปครบวงจร นักวิชาการ คาดปี’66 ไทยส่งออกได้ 8.5 แสนตัน แนะชาวสวนตั้งรับคุมคุณภาพด่วนก่อนเสียตลาด ล่าสุดราคาส่งออกหมอนทองไทย 300 บาท/กก. เบียดเวียดนาม
สื่อไห่หนานเดลี่ รายงานข่าว การผลิตทุเรียนจากเมืองซานย่า มณฑลไห่หนาน ประเทศจีน หรือที่เรียกกันว่า ทุเรียนซานย่า ที่ประเทศจีนใช้เวลาในการทดลองปลูกมา 3 ปี นับจากปี 2562 จะเริ่มให้ผลผลิตออกสู่ตลาดในช่วงฤดูร้อนปีนี้เป็นปีแรก คาดว่าจะมีพื้นที่ที่ให้ผลผลิต 1,400 ไร่ จากทั้งหมด 7,000 ไร่
และหลังจากนี้ ผลผลิตจะทยอยออกสู่ตลาดในปีที่ 5 ของการปลูก หรือในปี 2568 อีก 3.5 ตันหรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 5 แสนบาท ที่สำคัญ ผลผลิตทุเรียนที่ผลิตได้ในรอบนี้มีคุณและรสชาติดีขึ้นจากในอดีต
กระแสข่าวดังกล่าวทำให้ชาวเน็ตประเทศจีนต่างออกมาให้ความเห็นว่า ทุเรียนฟรีมาแล้ว และยังคาดหวังว่าพวกเขาจะมีโอกาสบริโภคทุเรียนได้ในราคา 3 กิโลกรัม 50 บาท (3 กก. 10 หยวน) ในอีกไม่นานนี้ เพราะผู้บริโภคชาวจีนให้ความนิยมว่าทุเรียนเป็นราชาผลไม้ ที่ผ่านมาจีนไม่สามารถปลูกทุเรียนได้ จึงนำเข้าจากประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน โดยเฉพาะไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย
โดยในปี 2565 นำเข้าทุเรียน 822,000 ตัน มูลค่า 2,800 ล้านหยวน หรือ 14,000 ล้านบาท ทำให้จีนต้องหาวิธีปลูกทุเรียน โดยการเพิ่มพื้นที่ปลูกในมณฑลไห่หนาน มาเป็นเวลานานกว่า 3 ปี เพื่อผลิตและจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ
ปั้นนิคมทุเรียน 2 หมื่นไร่
ขณะที่หนังสือพิมพ์ Sanya Daily รายงานว่า ปัจจุบัน บริษัท Hainan Youqi Agricultural Co., Ltd. คือ บริษัทที่เพาะปลูกทุเรียนพื้นที่ขนาดใหญ่ในเมืองซานย่า บริษัทนี้ก่อตั้งเมื่อปี 2561 เป็นหน่วยงานของประธานสมาคมทุเรียนมณฑลไห่หนาน และสมาคมทุเรียนเมืองซานย่า ซึ่งได้ลงทุนจ้างเจ้าหน้าที่เทคนิคมืออาชีพ 30 กว่าคน
และวางเป้าหมายว่า เมืองซานย่าจะใช้เวลา 3-5 ปี สร้าง “
นิคมอุตสาหกรรมทุเรียน” 50,000 หมู่ (ประมาณ 20,833 ไร่) คาดว่าจะเพิ่มมูลค่าการผลิต5,000 ล้านหยวน หรือ 25,000 ล้านบาท ถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ใหญ่เทียบกับ “
มะม่วงซานย่า” ที่เคยสร้างชื่อเสียงให้กับเมืองซานย่ามาแล้ว
นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะจัดตั้งโครงการนิคมอุตสาหกรรม การเกษตรสมัยใหม่ยู่ไฉ เมืองซานย่า เพื่อสร้างเป็นฐานการผลิตแปรรูปทุเรียน แบบครบวงจร
เพาะกล้าทุเรียนกว่า 100 สายพันธุ์
สำหรับการเพาะต้นกล้าทุเรียนลอตนี้อยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท Hainan Youqi Agricultural Co., Ltd. รวมถึงแปลงในเมืองซานย่า มีทุเรียนพันธุ์ใหม่และพันธุ์ต่าง ๆ กว่า 100 สายพันธุ์จากประเทศไทย มาเลเซีย และเวียดนาม ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการในการเพาะปลูกต้นกล้าทุเรียนได้ประมาณ 41,667 ไร่ ตามแผนงานเมืองซานย่า จะใช้เขตนิเวศวิทยายู่ไฉเป็นศูนย์กลาง
โดยมีฐานการเพาะปลูก ดําเนินการตามรูปแบบบริษัท+เกษตรกร สร้างอุตสาหกรรมทุเรียนในมณฑล เพื่อลดแรงกดดันในการพึ่งพาการนําเข้าทุเรียนจากอาเซียน พร้อมสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรโดยรอบบริเวณ เป็นตัวอย่าง การพัฒนาด้านการเพาะปลูกผลไม้เขตร้อนให้กับมณฑลไห่หนาน
นาย
ตู้ ไป่จง ผู้รับผิดชอบฐานการเพาะปลูกทุเรียนเขตนิเวศวิทยายู่ไฉ เมืองซานย่า ระบุว่า มณฑลไห่หนานนําทุเรียนเข้ามาปลูกกว่า 60 ปีแล้ว แต่จีนไม่เคยเพาะปลูกทุเรียนบนพื้นที่ขนาดใหญ่มาก่อน จึงไม่มีองค์ความรู้ ตอนแรกต้นกล้าทุเรียนมีอัตรารอดเพียง 60% แต่ตอนนี้พัฒนาจนมีอัตรารอด 98% หลังจากมีการบริหารจัดการ การให้น้ำและปุ๋ย การควบคุมโรคและศัตรูพืช
ทั้งนี้ ปัจจุบันซานย่ามีการปลูกทุเรียนแล้ว 10,000 ไร่ และค่อย ๆ พัฒนาเทคนิคการปลูกโดยเฉพาะระบบการรดน้ำทุเรียน จากเดิมเป็นแบบน้ำหยด เป็นการใช้ระบบฉีดน้ำหมุนที่สามารถตั้งเวลาได้ และยังมีฟังก์ชั่นอื่น ๆ อีก ทำให้สามารถลดระยะเวลาในการให้ผลผลิตเร็วขึ้น จากเดิมต้องปลูก 6-8 ปีจึงได้ผล แต่ตอนนี้เหลือแค่ 3-4 ปีเท่านั้น
ทูตพาณิชย์-เกษตรยังไม่ห่วง
แหล่งข่าวจากฝ่ายเกษตร ประจำกว่างโจว มองว่า สื่อของจีนส่วนใหญนำเสนอข่าวเชิงบวกเกี่ยวกับผลผลิตของทุเรียนที่เพาะปลูกในเมืองซานย่า ว่าจะสามารถให้ผลผลิตได้สูงถึง 4,200 กก./ไร่ ในอนาคต มีเพียงบางสื่อที่รายงานว่า ในเบื้องต้นคาดว่าจะมีผลผลิตต่อไร่ราว 1,200 กก./ไร่ อย่างไรก็ดี ในช่วงปีที่ผ่านมาก็มีการรายงานข่าวว่า หลายพื้นที่ในมณฑลไห่หนาน และมณฑลกวางตุ้ง ต้นทุเรียนมีการติดดอกและออกผล แต่ก็ไม่ได้มีข่าวในเรื่องการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ได้จริง
เนื่องจากปริมาณพื้นที่การเพาะปลูกไม่ได้มาก ดังเช่นเมืองซานย่าของมณฑลไห่หนาน จึงยังไม่มีการเปรียบเทียบคุณภาพและรสชาติของทุเรียนที่จีนผลิตได้ในวงกว้าง ทั้งนี้ ผลผลิตที่จะเก็บเกี่ยวได้จริงในฐานการเพาะปลูกดังกล่าวของเมืองซานย่า ฝ่ายเกษตร ประจำกว่างโจว คาดว่าจะมีปริมาณน้อยกว่าที่คาดการณ์ เนื่องจากต้นทุเรียนมีอายุเพียง 3-4 ปี
แต่ก็ถือได้ว่าเป็นครั้งแรกของการเพาะปลูกทุเรียนของจีนที่สามารถเห็นผลของการเพาะปลูกในพื้นที่เพาะปลูกขนาดใหญ่ ซึ่งคาดว่าจะนําไปสู่การเปรียบเทียบคุณภาพและรสชาติของทุเรียนที่ปลูกในจีน กับทุเรียนที่นําเข้าจากต่างประเทศ รวมถึงต้นทุนและราคาในการจําหน่ายทุเรียนของจีนในอนาคตต่อไป
อย่างไรก็ตาม เกษตรกรและผู้ประกอบการของไทยในห่วงโซ่อุตสาหกรรมทุเรียนควรให้ความสําคัญกับการควบคุณภาพของทุเรียนไทยตลอดห่วงโซ่อุปทานอย่างเข้มงวด ซึ่งจะเป็นการสร้างจุดแข็งด้านคุณภาพให้กับทุเรียนไทยต่อผู้บริโภคชาวจีน ให้สามารถแข่งขันในตลาดจีนได้อย่างยั่งยืนในสถานการณ์ที่หลายประเทศต่างเข้ามาช่วงชิงตลาดทุเรียนในจีน
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า หากพิจารณาถึงสถานการณ์การผลิตทุเรียนไห่หนานปีนี้ยังมีผลผลิตไม่มาก จึงยังไม่ส่งผลกระทบต่อทุเรียนไทย แต่ว่าหากมีการเพิ่มผลผลิตในอนาคต ทำให้มีทุเรียนออกสู่ตลาดได้มากขึ้น จะทำให้ทุเรียนจีนมีความได้เปรียบในแง่ของระยะเวลาการขนส่ง ดังนั้นผู้ประกอบการทุเรียนไทยต้องรักษาคุณภาพทุเรียน และกำหนดราคาให้เหมาะสมเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในอนาคต
นักวิชาการเตือน
ด้าน รศ.ดร.
อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า แนวโน้มผลผลิตทุเรียนไทยในปี 2566 ทั้งประเทศ คาดว่าจะมีจำนวน 1.38 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 5% จากปี 2565 ที่มีจำนวน 1.32 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นจำนวน 70,000-100,000 ตัน ซึ่งยังคาดว่าจีนจะมีการนำเข้าทุเรียนไทยจำนวน 800,000-850,000 ตันในปีนี้ อาจจะไม่ถึงเป้าหมาย 1 ล้านตัน เพราะมีคู่แข่งเพิ่มขึ้น จากเดิมมีเวียดนามและมาเลเซีย
ซึ่งก็มีแนวโน้มจะส่งออกมากขึ้น แต่มาปีนี้จะมีคู่แข่งใหม่ คือ อินโดนีเซีย และกัมพูชา ที่จะค่อย ๆ เจาะตลาดจีนเพิ่มขึ้น ไม่นับรวมทุเรียนที่ผลิตได้ในประเทศจีน สำหรับแนวโน้มราคาทุเรียนในประเทศจีน ที่ตลาดเจียงหนาน เมืองกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง คาดว่าอยู่ที่ 250-270 บาท/กก. ขณะที่ราคาทุเรียนในประเทศไทยอยู่ระหว่าง 120-130 บาท/กก.
อย่างไรก็ตาม ไทยต้องเตรียมทางหนีทีไล่ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า เพราะมีปัจจัยเสี่ยงคือ คุณภาพทุเรียนไทย และยังมีทุเรียนจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาสวมสิทธิ ทำให้ชื่อเสียงทุเรียนไทยเสียหาย ส่วนจำนวนแรงงานมีจำกัด ทุเรียนจากประเทศคู่แข่งทั้งเก่าและใหม่ ต้องการทำตลาดจีนมากขึ้น ดังนั้นไทยต้องปรับตัว โดยการควบคุมปริมาณผลผลิตให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดจีน และต้องมุ่งหาตลาดใหม่ที่นอกเหนือจากตลาดจีนไว้ เพื่อกระจายความเสี่ยง
นอกจากนี้ ไทยต้องผลักดันให้เกิดการแปรรูปมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เน้นผลิตทุเรียนคุณภาพและมีมาตรฐานเท่านั้น รวมถึงต้องจัดทำแผนการจัดหาแรงงานในธุรกิจทุเรียน คาดว่าในอนาคตแรงงานจะขาดแคลนไม่สอดคล้องกับปริมาณทุเรียนที่ผลิตออกมามาก
ราคาส่งออกล่าสุด
ทั้งนี้ แม้ว่าการเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียนหมอนทองไทยที่กำลังจะเริ่มอย่างเป็นทางการช่วงวันที่ 15 เมษายน 2566 แต่ปัจจุบันไทยได้เริ่มมีการส่งออกทุเรียนไปที่ประเทศจีนแล้ว นับจาก 1 ก.พ.-29 มี.ค. 2566 มีการส่งออกทุเรียนไปจีนรวมทุกด่าน 1,949 ชิปเมนต์ โดยเส้นทางบกผ่านเชียงของ เป็นเส้นทางหลักที่ได้รับความนิยมสูงสุด รองลงมาคือเส้นทางอากาศ และเส้นทางเรือ
ขณะที่ราคาทุเรียนขนาดกล่องบรรจุ 16-18 กก. ในเดือนมีนาคม 2566 ที่จีนรับซื้อนั้น ปรากฏว่าราคาไทยยังสูงกว่าราคาเวียดนามเล็กน้อย โดยทุเรียนหมอนทองไทย 900-1,500 หยวนต่อกล่อง หรือประมาณ 280-460 บาทต่อ กก. ส่วนทุเรียนหมอนทองเวียดนาม 950-1,300 หยวนต่อกล่อง หรือประมาณ 296-406 บาทต่อ กก. ขณะที่ทุเรียนก้านยาวไทย 380-700 หยวนต่อกล่อง หรือ 118-218 บาทต่อ กก. ส่วนราคาทุเรียนก้านยาวเวียดนาม 300-500 หยวนต่อกล่อง หรือ 93-156 บาทต่อ กก.
JJNY : ร่วมลงชื่อ ยื่นฟ้อง'ประยุทธ์'│ก้าวไกลงง เจอตร.ห้ามชู 3 นิ้ว│จีนส่งทุเรียนซานย่าบุกตลาด│ยูเครนหารือปมเอกสารลับรั่ว
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7602631
ตอนนี้ยังทัน อีก 2 วัน เครือข่ายประชาชนภาคเหนือ ล่าชื่อ ยื่นฟ้อง ‘ประยุทธ์’ ไม่แก้ฝุ่นพิษ PM2.5 ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หลัง เครือข่ายประชาชนภาคเหนือ รวมตัวกันฟ้องนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ให้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ, แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง, พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้ปฏิบัติการตามกฎหมายและนโยบายที่จัดทำไว้ เพื่อลดทอนความรุนแรงของสถานการณ์ฝุ่นที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ โดยจะยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เชียงใหม่ วันที่ 10 เม.ย.2566 เวลา 10.00 น.
สำหรับผู้ที่จะสนับสนุนการฟ้องในครั้งนี้ สามารถลงชื่อได้ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนากฎหมาย (ชั้น 1) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยร่วมลงชื่อได้ถึงวันที่ 9 เม.ย. 66
ขณะที่สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ใน จ.เชียงใหม่ ยกคงส่งผลกระทบต่อชีวิตประชาชนอย่างหนัก โดยล่าสุดวันนี้ (8 เม.ย.) พบว่าในพื้นที่ เชียงใหม่ จากการรายงานการตรวจวัดคุณภาพอากาศและการจัดการเมืองที่มีคุณภาพอากาศแย่ที่สุดของโลก US AQI พบว่าจังหวัดเชียงใหม่ อยู่อันดับ 1 มีค่า 274 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เข้าสู่วันที่ 4 รั้งอันดับ 1
ผู้สมัครก้าวไกล งง เจอตำรวจสั่งห้ามชู 3 นิ้ว ทั้งๆที่จับได้เบอร์ 3
https://www.matichon.co.th/politics/news_3917573
ผู้สมัครก้าวไกล งง เจอตร.สั่งห้ามชู 3 นิ้ว กลางแยกคปอ. ทั้งๆที่จับได้เบอร์ 3
เมื่อวันที่ 7 เมษายน น.ส.ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ หรือ ทนายแจม ทนายนักสิทธิมนุษยชน ผู้สมัคร ส.ส. พรรคก้าวไกล หมายเลข 3 เขตสายไหม ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ – ทนายแจม – Sasinan Thamnithinan” โดยระบุว่า ขณะหาเสียงอยู่ริมถนนบริเวณแยก คปอ. เขตสายไหม มีเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่ในป้อมตำรวจมาขอความร่วมมือห้ามไม่ให้ทนายแจมชู 3 นิ้ว โดยทางเจ้าหน้าที่ให้เหตุผลว่า “เพราะเป็นเขตทหาร” ซึ่งทนายแจมได้พยายามอธิบายให้เจ้าหน้าที่ตำรวจฟังว่า เป็นการชู 3 นิ้ว เพื่อการหาเสียงเลือกตั้ง เนื่องจากตนเองจับได้หมายเลข 3 มิใช่การชู 3 นิ้ว เพื่อการชุมนุมแต่อย่างใด
https://www.facebook.com/sasinanjam/posts/184435811052668
จีนส่งทุเรียนซานย่าบุกตลาด ผุดนิคมครบวงจรจ่อลดนำเข้า
https://www.prachachat.net/economy/news-1257247
จับตาจีนส่ง “ทุเรียนซานย่า” ลงสนามปีแรก ชาวเน็ตแดนมังกรกระหน่ำทุบราคาทุเรียนนำเข้า แง้มแผนจีนคิดการใหญ่พัฒนา 100 สายพันธุ์ เตรียมตั้ง “นิคมทุเรียน” 2 หมื่นไร่ พร้อมอุตสาหกรรมแปรรูปครบวงจร นักวิชาการ คาดปี’66 ไทยส่งออกได้ 8.5 แสนตัน แนะชาวสวนตั้งรับคุมคุณภาพด่วนก่อนเสียตลาด ล่าสุดราคาส่งออกหมอนทองไทย 300 บาท/กก. เบียดเวียดนาม
สื่อไห่หนานเดลี่ รายงานข่าว การผลิตทุเรียนจากเมืองซานย่า มณฑลไห่หนาน ประเทศจีน หรือที่เรียกกันว่า ทุเรียนซานย่า ที่ประเทศจีนใช้เวลาในการทดลองปลูกมา 3 ปี นับจากปี 2562 จะเริ่มให้ผลผลิตออกสู่ตลาดในช่วงฤดูร้อนปีนี้เป็นปีแรก คาดว่าจะมีพื้นที่ที่ให้ผลผลิต 1,400 ไร่ จากทั้งหมด 7,000 ไร่
และหลังจากนี้ ผลผลิตจะทยอยออกสู่ตลาดในปีที่ 5 ของการปลูก หรือในปี 2568 อีก 3.5 ตันหรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 5 แสนบาท ที่สำคัญ ผลผลิตทุเรียนที่ผลิตได้ในรอบนี้มีคุณและรสชาติดีขึ้นจากในอดีต
กระแสข่าวดังกล่าวทำให้ชาวเน็ตประเทศจีนต่างออกมาให้ความเห็นว่า ทุเรียนฟรีมาแล้ว และยังคาดหวังว่าพวกเขาจะมีโอกาสบริโภคทุเรียนได้ในราคา 3 กิโลกรัม 50 บาท (3 กก. 10 หยวน) ในอีกไม่นานนี้ เพราะผู้บริโภคชาวจีนให้ความนิยมว่าทุเรียนเป็นราชาผลไม้ ที่ผ่านมาจีนไม่สามารถปลูกทุเรียนได้ จึงนำเข้าจากประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน โดยเฉพาะไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย
โดยในปี 2565 นำเข้าทุเรียน 822,000 ตัน มูลค่า 2,800 ล้านหยวน หรือ 14,000 ล้านบาท ทำให้จีนต้องหาวิธีปลูกทุเรียน โดยการเพิ่มพื้นที่ปลูกในมณฑลไห่หนาน มาเป็นเวลานานกว่า 3 ปี เพื่อผลิตและจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ
ปั้นนิคมทุเรียน 2 หมื่นไร่
ขณะที่หนังสือพิมพ์ Sanya Daily รายงานว่า ปัจจุบัน บริษัท Hainan Youqi Agricultural Co., Ltd. คือ บริษัทที่เพาะปลูกทุเรียนพื้นที่ขนาดใหญ่ในเมืองซานย่า บริษัทนี้ก่อตั้งเมื่อปี 2561 เป็นหน่วยงานของประธานสมาคมทุเรียนมณฑลไห่หนาน และสมาคมทุเรียนเมืองซานย่า ซึ่งได้ลงทุนจ้างเจ้าหน้าที่เทคนิคมืออาชีพ 30 กว่าคน
และวางเป้าหมายว่า เมืองซานย่าจะใช้เวลา 3-5 ปี สร้าง “นิคมอุตสาหกรรมทุเรียน” 50,000 หมู่ (ประมาณ 20,833 ไร่) คาดว่าจะเพิ่มมูลค่าการผลิต5,000 ล้านหยวน หรือ 25,000 ล้านบาท ถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ใหญ่เทียบกับ “มะม่วงซานย่า” ที่เคยสร้างชื่อเสียงให้กับเมืองซานย่ามาแล้ว
นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะจัดตั้งโครงการนิคมอุตสาหกรรม การเกษตรสมัยใหม่ยู่ไฉ เมืองซานย่า เพื่อสร้างเป็นฐานการผลิตแปรรูปทุเรียน แบบครบวงจร
เพาะกล้าทุเรียนกว่า 100 สายพันธุ์
สำหรับการเพาะต้นกล้าทุเรียนลอตนี้อยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท Hainan Youqi Agricultural Co., Ltd. รวมถึงแปลงในเมืองซานย่า มีทุเรียนพันธุ์ใหม่และพันธุ์ต่าง ๆ กว่า 100 สายพันธุ์จากประเทศไทย มาเลเซีย และเวียดนาม ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการในการเพาะปลูกต้นกล้าทุเรียนได้ประมาณ 41,667 ไร่ ตามแผนงานเมืองซานย่า จะใช้เขตนิเวศวิทยายู่ไฉเป็นศูนย์กลาง
โดยมีฐานการเพาะปลูก ดําเนินการตามรูปแบบบริษัท+เกษตรกร สร้างอุตสาหกรรมทุเรียนในมณฑล เพื่อลดแรงกดดันในการพึ่งพาการนําเข้าทุเรียนจากอาเซียน พร้อมสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรโดยรอบบริเวณ เป็นตัวอย่าง การพัฒนาด้านการเพาะปลูกผลไม้เขตร้อนให้กับมณฑลไห่หนาน
นายตู้ ไป่จง ผู้รับผิดชอบฐานการเพาะปลูกทุเรียนเขตนิเวศวิทยายู่ไฉ เมืองซานย่า ระบุว่า มณฑลไห่หนานนําทุเรียนเข้ามาปลูกกว่า 60 ปีแล้ว แต่จีนไม่เคยเพาะปลูกทุเรียนบนพื้นที่ขนาดใหญ่มาก่อน จึงไม่มีองค์ความรู้ ตอนแรกต้นกล้าทุเรียนมีอัตรารอดเพียง 60% แต่ตอนนี้พัฒนาจนมีอัตรารอด 98% หลังจากมีการบริหารจัดการ การให้น้ำและปุ๋ย การควบคุมโรคและศัตรูพืช
ทั้งนี้ ปัจจุบันซานย่ามีการปลูกทุเรียนแล้ว 10,000 ไร่ และค่อย ๆ พัฒนาเทคนิคการปลูกโดยเฉพาะระบบการรดน้ำทุเรียน จากเดิมเป็นแบบน้ำหยด เป็นการใช้ระบบฉีดน้ำหมุนที่สามารถตั้งเวลาได้ และยังมีฟังก์ชั่นอื่น ๆ อีก ทำให้สามารถลดระยะเวลาในการให้ผลผลิตเร็วขึ้น จากเดิมต้องปลูก 6-8 ปีจึงได้ผล แต่ตอนนี้เหลือแค่ 3-4 ปีเท่านั้น
ทูตพาณิชย์-เกษตรยังไม่ห่วง
แหล่งข่าวจากฝ่ายเกษตร ประจำกว่างโจว มองว่า สื่อของจีนส่วนใหญนำเสนอข่าวเชิงบวกเกี่ยวกับผลผลิตของทุเรียนที่เพาะปลูกในเมืองซานย่า ว่าจะสามารถให้ผลผลิตได้สูงถึง 4,200 กก./ไร่ ในอนาคต มีเพียงบางสื่อที่รายงานว่า ในเบื้องต้นคาดว่าจะมีผลผลิตต่อไร่ราว 1,200 กก./ไร่ อย่างไรก็ดี ในช่วงปีที่ผ่านมาก็มีการรายงานข่าวว่า หลายพื้นที่ในมณฑลไห่หนาน และมณฑลกวางตุ้ง ต้นทุเรียนมีการติดดอกและออกผล แต่ก็ไม่ได้มีข่าวในเรื่องการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ได้จริง
เนื่องจากปริมาณพื้นที่การเพาะปลูกไม่ได้มาก ดังเช่นเมืองซานย่าของมณฑลไห่หนาน จึงยังไม่มีการเปรียบเทียบคุณภาพและรสชาติของทุเรียนที่จีนผลิตได้ในวงกว้าง ทั้งนี้ ผลผลิตที่จะเก็บเกี่ยวได้จริงในฐานการเพาะปลูกดังกล่าวของเมืองซานย่า ฝ่ายเกษตร ประจำกว่างโจว คาดว่าจะมีปริมาณน้อยกว่าที่คาดการณ์ เนื่องจากต้นทุเรียนมีอายุเพียง 3-4 ปี
แต่ก็ถือได้ว่าเป็นครั้งแรกของการเพาะปลูกทุเรียนของจีนที่สามารถเห็นผลของการเพาะปลูกในพื้นที่เพาะปลูกขนาดใหญ่ ซึ่งคาดว่าจะนําไปสู่การเปรียบเทียบคุณภาพและรสชาติของทุเรียนที่ปลูกในจีน กับทุเรียนที่นําเข้าจากต่างประเทศ รวมถึงต้นทุนและราคาในการจําหน่ายทุเรียนของจีนในอนาคตต่อไป
อย่างไรก็ตาม เกษตรกรและผู้ประกอบการของไทยในห่วงโซ่อุตสาหกรรมทุเรียนควรให้ความสําคัญกับการควบคุณภาพของทุเรียนไทยตลอดห่วงโซ่อุปทานอย่างเข้มงวด ซึ่งจะเป็นการสร้างจุดแข็งด้านคุณภาพให้กับทุเรียนไทยต่อผู้บริโภคชาวจีน ให้สามารถแข่งขันในตลาดจีนได้อย่างยั่งยืนในสถานการณ์ที่หลายประเทศต่างเข้ามาช่วงชิงตลาดทุเรียนในจีน
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า หากพิจารณาถึงสถานการณ์การผลิตทุเรียนไห่หนานปีนี้ยังมีผลผลิตไม่มาก จึงยังไม่ส่งผลกระทบต่อทุเรียนไทย แต่ว่าหากมีการเพิ่มผลผลิตในอนาคต ทำให้มีทุเรียนออกสู่ตลาดได้มากขึ้น จะทำให้ทุเรียนจีนมีความได้เปรียบในแง่ของระยะเวลาการขนส่ง ดังนั้นผู้ประกอบการทุเรียนไทยต้องรักษาคุณภาพทุเรียน และกำหนดราคาให้เหมาะสมเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในอนาคต
นักวิชาการเตือน
ด้าน รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า แนวโน้มผลผลิตทุเรียนไทยในปี 2566 ทั้งประเทศ คาดว่าจะมีจำนวน 1.38 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 5% จากปี 2565 ที่มีจำนวน 1.32 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นจำนวน 70,000-100,000 ตัน ซึ่งยังคาดว่าจีนจะมีการนำเข้าทุเรียนไทยจำนวน 800,000-850,000 ตันในปีนี้ อาจจะไม่ถึงเป้าหมาย 1 ล้านตัน เพราะมีคู่แข่งเพิ่มขึ้น จากเดิมมีเวียดนามและมาเลเซีย
ซึ่งก็มีแนวโน้มจะส่งออกมากขึ้น แต่มาปีนี้จะมีคู่แข่งใหม่ คือ อินโดนีเซีย และกัมพูชา ที่จะค่อย ๆ เจาะตลาดจีนเพิ่มขึ้น ไม่นับรวมทุเรียนที่ผลิตได้ในประเทศจีน สำหรับแนวโน้มราคาทุเรียนในประเทศจีน ที่ตลาดเจียงหนาน เมืองกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง คาดว่าอยู่ที่ 250-270 บาท/กก. ขณะที่ราคาทุเรียนในประเทศไทยอยู่ระหว่าง 120-130 บาท/กก.
อย่างไรก็ตาม ไทยต้องเตรียมทางหนีทีไล่ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า เพราะมีปัจจัยเสี่ยงคือ คุณภาพทุเรียนไทย และยังมีทุเรียนจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาสวมสิทธิ ทำให้ชื่อเสียงทุเรียนไทยเสียหาย ส่วนจำนวนแรงงานมีจำกัด ทุเรียนจากประเทศคู่แข่งทั้งเก่าและใหม่ ต้องการทำตลาดจีนมากขึ้น ดังนั้นไทยต้องปรับตัว โดยการควบคุมปริมาณผลผลิตให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดจีน และต้องมุ่งหาตลาดใหม่ที่นอกเหนือจากตลาดจีนไว้ เพื่อกระจายความเสี่ยง
นอกจากนี้ ไทยต้องผลักดันให้เกิดการแปรรูปมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เน้นผลิตทุเรียนคุณภาพและมีมาตรฐานเท่านั้น รวมถึงต้องจัดทำแผนการจัดหาแรงงานในธุรกิจทุเรียน คาดว่าในอนาคตแรงงานจะขาดแคลนไม่สอดคล้องกับปริมาณทุเรียนที่ผลิตออกมามาก
ราคาส่งออกล่าสุด
ทั้งนี้ แม้ว่าการเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียนหมอนทองไทยที่กำลังจะเริ่มอย่างเป็นทางการช่วงวันที่ 15 เมษายน 2566 แต่ปัจจุบันไทยได้เริ่มมีการส่งออกทุเรียนไปที่ประเทศจีนแล้ว นับจาก 1 ก.พ.-29 มี.ค. 2566 มีการส่งออกทุเรียนไปจีนรวมทุกด่าน 1,949 ชิปเมนต์ โดยเส้นทางบกผ่านเชียงของ เป็นเส้นทางหลักที่ได้รับความนิยมสูงสุด รองลงมาคือเส้นทางอากาศ และเส้นทางเรือ
ขณะที่ราคาทุเรียนขนาดกล่องบรรจุ 16-18 กก. ในเดือนมีนาคม 2566 ที่จีนรับซื้อนั้น ปรากฏว่าราคาไทยยังสูงกว่าราคาเวียดนามเล็กน้อย โดยทุเรียนหมอนทองไทย 900-1,500 หยวนต่อกล่อง หรือประมาณ 280-460 บาทต่อ กก. ส่วนทุเรียนหมอนทองเวียดนาม 950-1,300 หยวนต่อกล่อง หรือประมาณ 296-406 บาทต่อ กก. ขณะที่ทุเรียนก้านยาวไทย 380-700 หยวนต่อกล่อง หรือ 118-218 บาทต่อ กก. ส่วนราคาทุเรียนก้านยาวเวียดนาม 300-500 หยวนต่อกล่อง หรือ 93-156 บาทต่อ กก.