เมื่อเหตุบังเอิญ มาบรรจบกันพอดีของ ทักษิณ - AIS - สารัชถ์ - สมชัย - พรรคเพื่อไทย

เมื่อวันหนึ่งชื่อของเสี่ยกลาง - ‘สารัชถ์ รัตนาวะดี’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF) ขึ้นแซงบรรดา ‘เจ้าสัว’ ดั้งเดิม เป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศไทย จากการจัดอันดับแบบ ‘เรียลไทม์’ ของนิตยสารฟอร์บส (Forbes) ด้วยมูลค่าทรัพย์สินรวม 1.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 4.32 แสนล้านบาท (The Momentum; 6 Sep 2022)

เรียกได้ว่า เป็นบุคคลแห่งปี ที่ร่ำรวยขึ้นอย่างมหาศาลหลังเกิดรัฐประหารเมื่อปี 2557 ชื่อของ สารัชถ์ รัตนาวดี เริ่มปรากฎลงบนหน้าสื่อเศรษฐกิจต่างๆ เฉพาะในเรื่องของข่าวษฐกิจ แต่ในเรื่องส่วนตัว หรือชีวิตครอบครัวไม่ปรากฎเป็นข่าวลงในสื่อไหนๆ เลย
พบแต่ว่า จบวิศวะ จุฬาฯ รุ่นเดียวกับ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และเป็นรุ่นพี่ของ อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ซีอีโอของ ปตท.หรือข้อมูลความเชื่อมโยงไปยังรัฐมนตรีรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเคยเป็นอดีตผู้บริหารของกัลฟ์ หรือแม้แต่ สุพัฒนพงษ์ พันธุ์มีเชาว์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ก็อยู่ในวิศวะ จุฬาฯ คอนเนกชันร่วมกัน

ในปี 2557 สารัชถ์ ถูกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สั่งเรียกตัวเพราะมีความใกล้ชิดกับ รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร และ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จากโครงการโรงไฟฟ้า 5,000 เมกะวัตต์ เมื่อปี 2555  ที่เป็น ‘จุดเปลี่ยน’ ทำให้กัลฟ์พลิกผันจนสู่ทุนพลังงานที่เป็นหนึ่งใน "มหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในประเทศ"
ชื่อเเสียงของ นาย สารัชถ์ เริ่มเป็นที่พูดถึงทั่วเมืองไทยอีกครั้ง หลังจากที่พรรคก้าวไกล โดย เบญจา แสงจันทร์  และรังสิมันต์ โรม นำประเด็นเผือกร้อน โยนลงกลางประชุมสภาผู้แทนราษฎร เกี่ยวกับเรื่อง ค่าไฟแพง ซึ่งอาจมีการเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทเอกชน นั่นก็คือบริษัทกัลฟ์นั่นเอง

จนเป็นที่มาที่ทำให้ สส. รังสิมันต์ โรม ถูก บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เป็นโจทก์ยื่นฟ้องด้วยข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และเรียกค่าเสียหาย 100 ล้านบาท จากกรณีที่ไปพาดพิงนายทุนพลังงานใหญ่ของประเทศไทย ที่มีอดีตลูกน้องมานั่งเป็นรัฐมนตรี ที่อาจเอื้อประโยชน์ให้บริษัทเอกชนรายนี้

หลังจากนั้นไม่นาน กัลฟ์ ก็เริ่มสร้างชื่อเสียงให้ตัวเองอีกครั้ง หลังประกาศเข้าซื้อหุ้นของบริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) 42 เปอร์เซ็นต์ จากกลุ่ม SINGTEL ประเทศสิงคโปร์ ก่อนซื้อเพิ่มอีกจนเป็น 46 เปอร์เซ็นต์ จนทำให้ Gulf เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่สุดของ  บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS นั่นเอง 

หรือเมื่อต้นปี กัลฟ์ ก็ยังเข้าซื้อหุ้นไทยคมจากอินทัชเข้ามาถือหุ้นใหญ่ที่อัตรา 41.13 เปอร์เซ็นต์ ก่อนที่บริษัท ไทยคม จะเข้าไปประมูลวงโคจรดาวเทียมที่ทางสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เปิดประมูลขึ้นอย่างไร้การแข่งขัน จนเป็นประเด็นร้อนแรงที่หลายฝ่ายออกมาคัดค้านไม่เห็นด้วยให้เปิดการประมูลครั้งนี้ขึ้น เนื่องจากกำไรมหาศาลกว่าหลายหมื่นล้านบาท แต่เอามาเปิดประมูลเพียงไม่กี่ล้านบาท

จนในที่สุดเคาะขายใบประมูลไปได้แบบไร้การแข่งขัน จบการประมูลชุดข่ายงานดาวเทียมออกทั้งสิ้น 3 ชุด มูลค่ารวม 806,502,650 ล้านบาทเท่านั้น โดยผู้ชนะ คือ บริษัท สเปซ เทค อินโนเวชั่น จำกัด บริษัทลูกของไทยคม และ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ซึ่งผู้จัดการประมูลอย่าง พล.อ.ท.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กรรมการ กสทช. บอกว่า  “อยากให้มองว่าการประมูลในครั้งนี้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการใช้ประโยชน์วงโคจรของประเทศไทย เพราะหากไม่มีการใช้วงโคจรก็ต้องส่งคืน ITU ถือเป็นความเสียหายมากกว่า” 

ในขณะที่ ลูกหม้อของ "ชินคอร์ป" กำลังเติบโตขยายไปทุกภาคส่วนทั้งการเมือง และภาคเอกชน 

ภาคการเมือง
หลังจากนั้นไม่นาน ก็มีข่าวลือจากพรรคเพื่อไทยออกมาว่า กำลังทาบทาม สมชัย  เลิศสุทธิวงค์ ซีอีโอ เอไอเอส ลูกหม้อชินคอร์ป เข้าบัญชีรายชื่อนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทยคนที่ 3 ด้วย (BBC; 24 Jan 2023)

ภาคเอกชน
หนึ่งในอดีตขุนพลทัพหน้าของ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น และ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ในยุคร่มเงาของ อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร  “สมประสงค์ บุญยะชัย” ก็เป็นผู้บริหารใหญ่บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ก่อนจะถูกบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF ดีงมานั่งเป็นบอร์ดกรรมการอิสระของกัลฟ์อีก อีกหนึ่งขุนพลที่อยู่กับ "ชินคอร์ป" มาอย่างยาวนาน (กรุงเทพธุรกิจ; 23 Oct 2021)

ส่วนพรรคเพื่อไทย กับ ชินคอร์ป  หรือต่อมาเปลี่ยนเป็น บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการมือถือ AIS ก็คงไม่ต้องพูดกันยืดยาว เพราะอย่างที่ทุกคนรู้กัน ชินคอร์ป ผู้ก่อตั้งคือ อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร  ขายหุ้นชินคอร์ปให้กลุ่มเทมาเส็กของสิงคโปร์ แต่หลบเลี่ยงภาษีกว่า 17,000 ล้านบาท  จนเมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2565 ที่ผ่านมา ศาลภาษีมีคำพิพากษา "ทักษิณ ชินวัตร" ชนะคดีกรมสรรพากร สั่งให้เพิกถอนการประเมินเก็บภาษีขายหุ้นชินคอร์ป  โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จนทำให้มีวาทะกรรม "พาพ่อกลับบ้าน" ออกมาเมื่อประมาณปลายปีที่แล้ว 

ทำให้เห็นได้ว่า ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นไม่ใช่แค่ทฤษฎีสมคบคิดอย่างแน่นอน แต่มีการวางแผนไว้อย่างดีแล้วของใครบางคน หรือกลุ่มคนที่เคยเสียผลประโยชน์กำลังจะกลับมาทวงคืนผลประโยชน์ของตัวเองคืนหรือไม่ ?

เพราะสารัชถ์ แทบจะเข้ามารับธุรกิจของเครือ ชินคอร์ป (เดิม) ไปหมดแล้ว ยังไม่นับรวมที่มีข่าวลือว่า เคยไปหาพี่โทนี่ที่สิงค์โปร์ด้วย ยิ่งทำให้เห็นว่า มหาเศรษฐีคนนี้ กับกลุ่มทุนพลังงาน ที่เข้ามาคุมธุรกิจโทรคมนาคม เป็นเรื่องที่ ‘น่าค้นหา’ และน่าสนใจว่ามีอะไรบ้างที่อยู่ ‘เบื้องหลัง’ อีกหรือเปล่า ?

มหาเศรษฐีที่หลีกเลี่ยงงานสังคม แทบไม่มีภาพถ่ายปรากฏในสื่อ และให้สัมภาษณ์น้อยครั้งมาก ขณะเดียวกัน แม้ธุรกิจของเขาจะเป็นธุรกิจสัมปทาน เกี่ยวข้องกับรัฐโดยตรง แต่ก็ไม่เคยมีใครเห็นเขาปรากฏตัวในงานแถลงข่าว ในงานเลี้ยง หรืองานใดๆ ข้อคิดและข้อเขียนจากสารัชถ์จะปรากฏก็แต่ในรายงานประจำปีของกัลฟ์เท่านั้น  (The Momentum; 6 Sep 2022)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่