ทำไม "ตา" กระตุก

ภาวะหนังตากระตุก หรือ ตาเขม่น เป็นอาการที่กล้ามเนื้อรอบดวงตามีการเกร็งกระตุก หดตัวผิดปกติ 
เริ่มจากอาการเล็กน้อย และค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้น บางรายมีอาการรุนแรงถึงขั้นรบกวนการมองเห็นตาปิดและลืมตาไม่ขึ้นexclaim



วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้  ทำไม "ตา" กระตุกquestion

ตากระตุก (Eye Twitching) อาการที่เปลือกตามีการขยับเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว อาจเป็นเพียงเล็กน้อย หรืออาจเกิดขึ้นถี่ๆ 
ทำให้เกิดความรำคาญได้ เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งเปลือกตาบนและเปลือกตาล่าง 
มีอัตราการเกิดที่เปลือกตาบนมากกว่า ทั่วไปอาการตากระตุกนั้นมักเป็นอาการที่ไม่รุนแรง ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดและมักไม่เป็นอันตราย 
สามารถเกิดขึ้นและหายได้เองในเวลาอันสั้น แต่ในบางกรณีอาการอาจรุนแรงและไม่สามารถหายเองได้
เช่น อาการตากระตุกเกร็งจนทำให้เปลือกตาด้านบนปิดลงมา หรืออาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายแรงบางอย่าง
เช่น โรคอัมพาตใบหน้า (Bell’s Palsy)  โรคกล้ามเนื้อบิดเกร็ง (Dystonia) เป็นต้น กรณีนี้พบได้น้อยมาก

ideaอาการตากระตุก สามารถเกิดขึ้นได้เองโดยไม่มีสัญญาณเตือนให้เรารู้ล่วงหน้า มักเกิดขึ้นจากปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการ 
นอนหลับไม่เป็นเวลา พักผ่อนไม่เพียงพอ มีความเครียดสะสมเป็นเวลานาน ดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป
สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป แสงสว่าง แสงจ้า ลม หรือมลพิษทางอากาศ ตาล้า ตาแห้ง เกิดการระคายเคืองที่เปลือกตาด้านใน  
โรคภูมิแพ้ การขาดวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารบางชนิด ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด

ideaการดูแลตัวเองเบื้องต้นเมื่อมีอาการ  นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ พยายามลดการใช้ Smart phone หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลง
ลด/หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ งดการสูบบุหรี่ รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พยายามหาสิ่งที่ช่วยให้ผ่อนคลาย 
ไม่เครียดกับอาการที่เป็น นวดกล้ามเนื้อรอบดวงตา ประคบร้อน/อุ่นบริเวณดวงตา ประมาณ 10 นาที หากเกิดอาการตาแห้ง 
หรือเกิดอาการระคายเคืองตา สามารถหยอดน้ำตาเทียมได้



โดยทั่วไปแล้ว อาการตากระตุกมักจะเป็นเพียงไม่กี่วันและสามารถหายเองได้ แต่หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบมาพบแพทย์โดยเร็วexclaim
มีอาการตากระตุกติดต่อกันนานเป็นเวลา 2 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้น มีตำแหน่งที่เกิดตากระตุกเพิ่มขึ้นจากบริเวณเดิม 
อาจเป็นที่ตาอีกข้างหนึ่ง เช่น ตาขวากระตุก แล้วตาซ้ายกระตุก หรือเป็นที่บริเวณอื่นๆ ของใบหน้า
บริเวณที่เกิดตากระตุกมีอาการอ่อนแรงหรือหดเกร็ง มีอาการบวม แดง หรือมีสารคัดหลั่งไหลออกมาจากดวงตา 
เปลือกตาด้านบนห้อยย้อยลงมา รบกวนการมองเห็น เปลือกตาปิดสนิททุกครั้งที่เกิดอาการตากระตุก

exclaimการรักษาอาการตากระตุก เป็นไปตามความรุนแรงและดุลยพินิจของแพทย์ 
การให้ยารับประทาน ตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อช่วยบรรเทาอาการและหยุดอาการตากระตุกชั่วคราว 
เช่น ยาลอราซีแพม (Lorazepam) ยาไตรเฮกซีเฟนิดิล (Trihexyphenidyl) และยาโคลนาซีแพม (Clonazepam) 
แต่เนื่องด้วยยาเหล่านี้ยังมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ จึงต้องใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

การฉีด Botulinum Toxin หรือ Botox  การฉีดโบท็อกซ์นั้นได้ผ่านการรับรองให้ใช้รักษาอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งที่ควบคุมไม่ได้ 
ปัจจุบันเป็นวิธีที่นิยมและแนะนำมากที่สุดที่ใช้ในการรักษาอาการตากระตุก แพทย์จะฉีดยาโบท็อกซ์ลงไปบริเวณกล้ามเนื้อรอบดวงตาที่มีอาการกระตุก 
เพื่อให้กล้ามเนื้อเหล่านั้นอยู่ในสภาพอ่อนแรงชั่วคราว ไม่สามารถหดเกร็งตัวได้ เปรียบเสมือนการผ่อนคลายกล้ามเนื้อเปลือกตามัดนั้นๆ 
และช่วยบล็อคไม่ให้เส้นประสาทส่งสัญญาณไปที่กล้ามเนื้อให้เกิดการกระตุก ผลของโบท็อกซ์นั้นจะอยู่เพียงแค่ 3-6 เดือนเท่านั้น 
เพราะฉะนั้น เมื่อยาหมดฤทธิ์แล้วอาการตากระตุกอาจจะกลับมาได้  จึงแนะนำให้กลับไปพบแพทย์อีกครั้งหากยังมีอาการ

ideaแม้อาการเปลือกตากระตุกสามารถหายได้เอง แต่อย่านิ่งนอนใจ หากมีอาการเรื้อรังนานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน 
มีอาการผิดปกติของดวงตาที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ควรรีบพบจักษุแพทย์โดยเร็วค่ะ

ความรู้พิ่มเติม
https://www.thonburihospital.com/Blepharospasm&Hemifacial_Spasm.html
https://shorturl.asia/xUpOr

lovelove
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่