ความนึกคิดลักษณะเช่นนี้ เข้าข่ายเป็น "ธรรมมานุสติ" หรือไม่ ?

นาย ก. มีนิสัยเป็นคนรักความสงบ, รักธรรมชาติ แต่จะขี้รำคาญเสียงรบกวนอยู่สักหน่อย
ที่บ้านของนาย ก. ซึ่งมีลักษณะเป็นห้องแถว, มีบ้านที่อยู่ติดกัน เลี้ยงสุนัขไว้ที่หน้าบ้านหลายตัว
พฤติกรรมของเฝูงสุนัขกลุ่มนี้ คือ "ขี้เห่า"
ซึ่งสุนัขพวกนี้ จะเห่าหอนและส่งเสียงดังรบกวนเพื่อนบ้านในละแวกนั้นตลอดวัน ทั้ง 24 ขม. จนเป็นเรื่องปกติ
และก็คงเป็นอยู่แบบนี้มาอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 30 ปี (เรื่องจริง !!!)

   เพื่อนบ้านและรวมทั้งตัวนาย ก. ต่างก็พากันเอือมระอา กับพฤติกรรมการเลี้ยงสุนัขแบบขาดจิตสำนึกต่อสาธารณะของเพื่อนบ้านรายนี้
แต่เนื่องจากเพื่อนบ้านคนที่เป็นต้นเหตุของเรื่องนี้ มีลักษณะคล้ายป่วยทางจิตประสาท มีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว และไม่สุงสิงกับใคร
เพื่อนบ้าน จึงได้แต่อดทนฟังเสียงสุนัขที่เขาเลี้ยงไว้เห่าอยู่เรื่อยมา เพราะไม่มีใครกล้าเข้าไปคุยกับเจ้าของสุนัขที่เป็นเพื่อนบ้านรายนี้เลยสักคน

   สิ่งที่เพื่อนบ้านในละแวกทำได้ ก็คงเป็นแค่การไปร้องเรียน แจ้งเรื่องร้องทุกข์แก่เจ้าหน้าที่ในพิ้นที่
แต่ก็ไม่เป็นผล เพราะไม่ได้รับความสนใจ และไม่เคยมีการลงพิ้นที่ดำเนินการใด ๆ กับเจ้าของบ้านที่เลี้ยงสุนัขรายนี้

   นาย ก. แม้จะเป็นคนขี้รำคาญ แต่เขาก็เป็นคนที่ใฝ่ในทางธรรมอยู่พอสมควร
ทุกครั้งที่เขาได้ยินเสียงสุนัขเพื่อนบ้านเห่า เขาจะเริ่มมีความขุ่นเคือง ไม่พอใจเสียงนี้ขึ้นมาทันที
แต่....ทันทีที่เขาเริ่มมีอารมณ์ขุ่นมัวเพราะความรำคาญเสียงของสุนัข เขากลับนึกถึงคำกล่าวของพระอัสสชิ ที่ว่า "สรรพสิ่งล้วนเกิดแต่เหตุ"
และทันทีที่เขานึกได้ อารมณ์ขุ่นมัวของเขาที่กำลังก่อตัวขึ้นนั้น ก็จางคลายลงไปในทันที
และยิ่งไปกว่านั้น เขาจะเกิดความรู้สึกเลื่อมใสในพระปัญญาของพระพุทธเจ้าขึ้นมาแทนที่ด้วย
.....สรรพสิ่งล้วนเกิดแต่เหตุ เพียงประโยคสั้นๆเท่านี้ แต่มันกินใจความ ครอบคลุมความจริง ตามกฎของธรรมชาติทั้งหมดทั้งมวล ไว้ในตัวมันเองเลย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่