เรื่อง:
ปัญหารังแค แก้ได้
บทคัดย่อ:
ปัญหารังแค ที่พบเห็นตามคอเสื้อ หรือปกเสื้อจะดูแลและแก้ไขอย่างไร ผศ.นพ.รัฐพล ตวงทอง ภาควิชาตจวิทยา จะมาให้คำตอบ
ปกติหนังศีรษะคนเราจะมีเชื้อราในปริมาณที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหา แต่ในสภาวะที่หนังศีรษะมีรังแคมาก ส่วนใหญ่จะเกิดจากเชื้อราเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้หนังศีรษะอักเสบ ถ้ารุนแรง จะมีอาการแดงและมีรังแคเป็นเกร็ดใหญ่ขึ้นและเหลืองเป็นไข ซึ่งเป็นอาการของต่อมไขมันของหนังศีรษะอักเสบ และมักเกิดกับวัยรุ่นเป็นส่วนใหญ่
วิธีดูแลหนังศีรษะให้ห่างไกลจากรังแคนั้นไม่ยาก เริ่มต้นที่การดูแลเส้นผม ก่อนสระผม ควรล้างผมด้วยน้ำเปล่าทุกครั้ง เพื่อชะล้างสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ออกไปก่อน จากนั้นใช้ปลายนิ้วนวดเป็นวงกลมเบาๆ ให้ทั่วหนังศีรษะก่อน แล้วจึงชโลมแชมพูบนหนังศีรษะ นวดต่อไปจะช่วยถนอมเส้นผม หนังศีรษะ และทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น
ว่าแต่คุณเคยทำสิ่งเหล่านี้หรือไม่ ถ้าเคย ขอให้เลิกเถอะ เพื่อสุขภาพผมและหนังศีรษะที่สะดากด ไร้รังแค... 1. อย่าขยี้เส้นผมหรือเกาหนังศีรษะแรงๆ ขณะสระ เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ จนนำมาสู่ปัญหารังแคและผมร่วงเรื้อรัง 2. ไม่ควรใช้น้ำอุ่นจัดสระผม เพราะจะทำให้น้ำมันธรรมชาติถูก ชะล้างออกมากไป หนังศีรษะแห้ง และยังทำให้เส้นผมกระด้างด้วย 3. หลังการสระผมทุกครั้ง ควรเป่าผมให้แห้งและไม่ใช้อุณหภูมิสูง เพื่อลดการทำร้ายหนังศีรษะและเส้นผม 4. อย่านอนหลับขณะที่ผมยังเปียกชื้น ซึ่งหากทำบ่อยเขา ความชื้นจะแพร่กระจายไปยังที่นอน หมอน และกลายเป็นเชื้อรามารังควานศีรษะในระยะยาวได้ 5. อย่าปล่อยให้เส้นผมและหนังศีรษะมัน เพราะถ้าหนังศีรษะชื้น จะทำให้เชื้อราเติบโตได้ดี ปัญหารังแคก็จะตามมา 5. หมั่นทำความสะอาดแปรงหรือหวีอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เนื่องจาก สิ่งสกปรกและน้ำมันที่ตกค้างอยู่ตามหวีและแปรงหลังจากหวีผม เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรคที่จะกลับเข้าสู่เส้นผมและหนังศีรษะได้ดี ท้ายนี้รังแคยังอาจรังควานคุณได้ ถ้าพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือมีความเครียด
รังแค (Dandruff)
ผศ.พญ.ชนิษฎา วงษ์ประภารัตน์
ภาควิชาตจวิทยา
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
รังแค คือ ขุยหรือสะเก็ดสีขาวบนหนังศีรษะ พบบริเวณโคนผม เส้นผม หรืออาจร่วงลงมาเกาะบนปกเสื้อ บริเวณบ่าและไหล่ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนมากขึ้นเมื่อใส่เสื้อสีเข้ม รังแคนี้เป็นปัญหาที่พบบ่อย และมีผลต่อบุคลิกภาพทำให้คนจำนวนมากขาดความมั่นใจ
รังแคเกิดจากการหลุดลอกของเซลล์ผิวหนังชั้นบนสุดของหนังศีรษะ โดยปกติแล้ววงจรชีวิตของเซลล์ผิวหนังจะมีการแบ่งตัวจากเซลล์ผิวหนังชั้นล่าง และค่อย ๆ เคลื่อนไปยังชั้นบนจนถึงชั้นบนสุดแล้วค่อย ๆ ผลัดหลุดไป เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า วงจรนี้ในคนปกติใช้เวลาประมาณ 28 วัน แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหารังแคนั้นวงจรนี้จะเกิดเร็วขึ้นกว่าปกติ ทำให้มีการหลุดลอกของเซลล์ผิวหนังปริมาณมากจนสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า เป็นแผ่นสะเก็ดสีขาวบนหนังศีรษะ
รังแคอาจไม่มีอาการหรือมีอาการคันหนังศีรษะร่วมด้วย ยิ่งเกาจะทำให้สะเก็ดหลุดลอกมากขึ้น โดยทั่วไปผู้ป่วยที่เป็นรังแคหนังศีรษะจะดูปกติ แต่หากพบรังแคร่วมกับมีการอักเสบของหนังศีรษะอาจเป็นเป็นอาการแสดงของโรคผิวหนังบางโรค ได้แก่ โรคผิวหนังอักเสบ Seborrheic Dermatitis ซึ่งนอกจากพบมีผื่นแดง และมีสะเก็ดลอกบริเวณหนังศีรษะแล้ว ยังสามารถพบผื่นบริเวณข้างจมูก คิ้ว, หลังหูได้อีกด้วย การแพ้สารเคมีที่สัมผัสหนังศีรษะ เช่น แพ้น้ำยาย้อมผมก็สามารถทำให้เกิดอักเสบของหนังศีรษะได้ โรคผิวหนังอีกโรคหนึ่งที่มีสะเก็ดหลุดลอกบริเวณหนังศีรษะ คือ โรคสะเก็ดเงิน (psoriasis) ซึ่งการหลุดลอกของสะเก็ดบนหนังศีรษะจะมีความรุนแรงมากขึ้น โดยผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินจะพบมีรอยโรคที่หนังศีรษะ รวมถึงบริเวณอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ลำตัว, แขนขา, ข้อศอก, หัวเข่า ร่วมกับมีความผิดปกติของเล็บมือเล็บเท้า และอาจมีข้ออักเสบร่วมด้วย
สาเหตุของการเกิดรังแคยังไม่ทราบชัดเจน เชื่อว่าส่วนหนึ่งเกิดจากเชื้อราซึ่งอาศัยอยู่บริเวณรูขุมขนของหนังศีรษะชื่อ Malassezia โดยผู้ป่วยที่มีปัญหารังแคจะมีเชื้อราชนิดนี้มากกว่าคนปกติ การรักษารังแคส่วนหนึ่งจึงมุ่งเน้นการลดจำนวนของเชื้อราชนิดนี้
วิธีการรักษา และป้องกัน
1. เลี่ยงการสระผมด้วยน้ำอุ่น เนื่องจากน้ำอุ่นจะทำให้หนังศีรษะแห้ง และลอกเป็นขุยได้
2. เลี่ยงการเกาแรง ๆ หรือใช้หวีซี่คมหวีบริเวณหนังศีรษะ
3. ใช้ยาสระผมที่มีส่วนผสมของตัวยาที่สามารถลดจำนวนเชื้อราบนศีรษะ ซึ่งได้แก่ คีโตโคนาโซล ซิงค์ไพรีไทออน ซิลิเนียม ซัลไฟด์ หากมีสะเก็ดหนา และใช้ยาสระผมข้างต้นไม่ทุเลา ให้เปลี่ยนมาใช้ยาสระผมที่มีส่วนผสมของน้ำมันดิน (Tar) จะช่วยลดสะเก็ดได้ดี แต่มีข้อเสียคือ กลิ่นค่อนข้างแรง และอาจทำให้ผมแห้ง แข็งกระด้าง ซึ่งวิธีแก้ไขคือให้ใช้ครีมนวดตามหลังการสระผม ผู้ที่เป็นรังแคควรใช้ยาสระผมเหล่านี้เป็นประจำ โดยช่วงแรกควรสระผม 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ หลังจากรังแคลดลงแล้วสามารถลดเหลือ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยแต่ละครั้งที่สระผมควรทิ้งเวลาประมาณ 5-10 นาทีก่อนล้างออก
4. หากกรณีมีหนังศีรษะอักเสบร่วมด้วย การใช้ยาทากลุ่มคอติโคสเตอรอยด์ชนิดน้ำ หรือครีมน้ำนมทาบริเวณหนังศีรษะจะลดอาการแดงอักเสบลงได้ โดยหลังจากสระผมให้ใช้หวีแสกผมออก จากนั้นหยอดยาลงบนบริเวณที่มีการแดงอักเสบของหนังศีรษะ ใช้นิ้วเกลี่ยและคลึงเบา ๆ โดยทายาวันละ 1-2 ครั้ง การอักเสบของหนังศีรษะจะลดลง
ท่านสมาชิกชาวพันทิป มีประสบปัญหากับรังแคหรือไม่ครับ ?
รายการ พบหมอศิริราช ตอน ปัญหารังแค แก้ได้
เรื่อง:
ปัญหารังแค แก้ได้
บทคัดย่อ:
ปัญหารังแค ที่พบเห็นตามคอเสื้อ หรือปกเสื้อจะดูแลและแก้ไขอย่างไร ผศ.นพ.รัฐพล ตวงทอง ภาควิชาตจวิทยา จะมาให้คำตอบ
ปกติหนังศีรษะคนเราจะมีเชื้อราในปริมาณที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหา แต่ในสภาวะที่หนังศีรษะมีรังแคมาก ส่วนใหญ่จะเกิดจากเชื้อราเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้หนังศีรษะอักเสบ ถ้ารุนแรง จะมีอาการแดงและมีรังแคเป็นเกร็ดใหญ่ขึ้นและเหลืองเป็นไข ซึ่งเป็นอาการของต่อมไขมันของหนังศีรษะอักเสบ และมักเกิดกับวัยรุ่นเป็นส่วนใหญ่
วิธีดูแลหนังศีรษะให้ห่างไกลจากรังแคนั้นไม่ยาก เริ่มต้นที่การดูแลเส้นผม ก่อนสระผม ควรล้างผมด้วยน้ำเปล่าทุกครั้ง เพื่อชะล้างสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ออกไปก่อน จากนั้นใช้ปลายนิ้วนวดเป็นวงกลมเบาๆ ให้ทั่วหนังศีรษะก่อน แล้วจึงชโลมแชมพูบนหนังศีรษะ นวดต่อไปจะช่วยถนอมเส้นผม หนังศีรษะ และทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น
ว่าแต่คุณเคยทำสิ่งเหล่านี้หรือไม่ ถ้าเคย ขอให้เลิกเถอะ เพื่อสุขภาพผมและหนังศีรษะที่สะดากด ไร้รังแค... 1. อย่าขยี้เส้นผมหรือเกาหนังศีรษะแรงๆ ขณะสระ เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ จนนำมาสู่ปัญหารังแคและผมร่วงเรื้อรัง 2. ไม่ควรใช้น้ำอุ่นจัดสระผม เพราะจะทำให้น้ำมันธรรมชาติถูก ชะล้างออกมากไป หนังศีรษะแห้ง และยังทำให้เส้นผมกระด้างด้วย 3. หลังการสระผมทุกครั้ง ควรเป่าผมให้แห้งและไม่ใช้อุณหภูมิสูง เพื่อลดการทำร้ายหนังศีรษะและเส้นผม 4. อย่านอนหลับขณะที่ผมยังเปียกชื้น ซึ่งหากทำบ่อยเขา ความชื้นจะแพร่กระจายไปยังที่นอน หมอน และกลายเป็นเชื้อรามารังควานศีรษะในระยะยาวได้ 5. อย่าปล่อยให้เส้นผมและหนังศีรษะมัน เพราะถ้าหนังศีรษะชื้น จะทำให้เชื้อราเติบโตได้ดี ปัญหารังแคก็จะตามมา 5. หมั่นทำความสะอาดแปรงหรือหวีอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เนื่องจาก สิ่งสกปรกและน้ำมันที่ตกค้างอยู่ตามหวีและแปรงหลังจากหวีผม เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรคที่จะกลับเข้าสู่เส้นผมและหนังศีรษะได้ดี ท้ายนี้รังแคยังอาจรังควานคุณได้ ถ้าพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือมีความเครียด
รังแค (Dandruff)
ผศ.พญ.ชนิษฎา วงษ์ประภารัตน์
ภาควิชาตจวิทยา
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
รังแค คือ ขุยหรือสะเก็ดสีขาวบนหนังศีรษะ พบบริเวณโคนผม เส้นผม หรืออาจร่วงลงมาเกาะบนปกเสื้อ บริเวณบ่าและไหล่ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนมากขึ้นเมื่อใส่เสื้อสีเข้ม รังแคนี้เป็นปัญหาที่พบบ่อย และมีผลต่อบุคลิกภาพทำให้คนจำนวนมากขาดความมั่นใจ
รังแคเกิดจากการหลุดลอกของเซลล์ผิวหนังชั้นบนสุดของหนังศีรษะ โดยปกติแล้ววงจรชีวิตของเซลล์ผิวหนังจะมีการแบ่งตัวจากเซลล์ผิวหนังชั้นล่าง และค่อย ๆ เคลื่อนไปยังชั้นบนจนถึงชั้นบนสุดแล้วค่อย ๆ ผลัดหลุดไป เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า วงจรนี้ในคนปกติใช้เวลาประมาณ 28 วัน แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหารังแคนั้นวงจรนี้จะเกิดเร็วขึ้นกว่าปกติ ทำให้มีการหลุดลอกของเซลล์ผิวหนังปริมาณมากจนสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า เป็นแผ่นสะเก็ดสีขาวบนหนังศีรษะ
รังแคอาจไม่มีอาการหรือมีอาการคันหนังศีรษะร่วมด้วย ยิ่งเกาจะทำให้สะเก็ดหลุดลอกมากขึ้น โดยทั่วไปผู้ป่วยที่เป็นรังแคหนังศีรษะจะดูปกติ แต่หากพบรังแคร่วมกับมีการอักเสบของหนังศีรษะอาจเป็นเป็นอาการแสดงของโรคผิวหนังบางโรค ได้แก่ โรคผิวหนังอักเสบ Seborrheic Dermatitis ซึ่งนอกจากพบมีผื่นแดง และมีสะเก็ดลอกบริเวณหนังศีรษะแล้ว ยังสามารถพบผื่นบริเวณข้างจมูก คิ้ว, หลังหูได้อีกด้วย การแพ้สารเคมีที่สัมผัสหนังศีรษะ เช่น แพ้น้ำยาย้อมผมก็สามารถทำให้เกิดอักเสบของหนังศีรษะได้ โรคผิวหนังอีกโรคหนึ่งที่มีสะเก็ดหลุดลอกบริเวณหนังศีรษะ คือ โรคสะเก็ดเงิน (psoriasis) ซึ่งการหลุดลอกของสะเก็ดบนหนังศีรษะจะมีความรุนแรงมากขึ้น โดยผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินจะพบมีรอยโรคที่หนังศีรษะ รวมถึงบริเวณอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ลำตัว, แขนขา, ข้อศอก, หัวเข่า ร่วมกับมีความผิดปกติของเล็บมือเล็บเท้า และอาจมีข้ออักเสบร่วมด้วย
สาเหตุของการเกิดรังแคยังไม่ทราบชัดเจน เชื่อว่าส่วนหนึ่งเกิดจากเชื้อราซึ่งอาศัยอยู่บริเวณรูขุมขนของหนังศีรษะชื่อ Malassezia โดยผู้ป่วยที่มีปัญหารังแคจะมีเชื้อราชนิดนี้มากกว่าคนปกติ การรักษารังแคส่วนหนึ่งจึงมุ่งเน้นการลดจำนวนของเชื้อราชนิดนี้
วิธีการรักษา และป้องกัน
1. เลี่ยงการสระผมด้วยน้ำอุ่น เนื่องจากน้ำอุ่นจะทำให้หนังศีรษะแห้ง และลอกเป็นขุยได้
2. เลี่ยงการเกาแรง ๆ หรือใช้หวีซี่คมหวีบริเวณหนังศีรษะ
3. ใช้ยาสระผมที่มีส่วนผสมของตัวยาที่สามารถลดจำนวนเชื้อราบนศีรษะ ซึ่งได้แก่ คีโตโคนาโซล ซิงค์ไพรีไทออน ซิลิเนียม ซัลไฟด์ หากมีสะเก็ดหนา และใช้ยาสระผมข้างต้นไม่ทุเลา ให้เปลี่ยนมาใช้ยาสระผมที่มีส่วนผสมของน้ำมันดิน (Tar) จะช่วยลดสะเก็ดได้ดี แต่มีข้อเสียคือ กลิ่นค่อนข้างแรง และอาจทำให้ผมแห้ง แข็งกระด้าง ซึ่งวิธีแก้ไขคือให้ใช้ครีมนวดตามหลังการสระผม ผู้ที่เป็นรังแคควรใช้ยาสระผมเหล่านี้เป็นประจำ โดยช่วงแรกควรสระผม 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ หลังจากรังแคลดลงแล้วสามารถลดเหลือ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยแต่ละครั้งที่สระผมควรทิ้งเวลาประมาณ 5-10 นาทีก่อนล้างออก
4. หากกรณีมีหนังศีรษะอักเสบร่วมด้วย การใช้ยาทากลุ่มคอติโคสเตอรอยด์ชนิดน้ำ หรือครีมน้ำนมทาบริเวณหนังศีรษะจะลดอาการแดงอักเสบลงได้ โดยหลังจากสระผมให้ใช้หวีแสกผมออก จากนั้นหยอดยาลงบนบริเวณที่มีการแดงอักเสบของหนังศีรษะ ใช้นิ้วเกลี่ยและคลึงเบา ๆ โดยทายาวันละ 1-2 ครั้ง การอักเสบของหนังศีรษะจะลดลง
ท่านสมาชิกชาวพันทิป มีประสบปัญหากับรังแคหรือไม่ครับ ?