จริงๆแล้วลูกหลาน ไม่ต้องไปดูดำดูดีมันนักหรอก เหลือสมบัติติดตัวไว้ก็พอ แก่แล้วก็มีคนมาดูแลเองแหละ

สมมติมีป้าสองคน 

ป้าคนที่  1  :  ได้สามีสาย ฝ. ไปอยู่เมืองนอกตั้งแต่สาวยันแก่  ส่งเงินส่งทองมาเลี้ยงดูพ่อแม่ สร้างบ้านสร้างช่อง ซื้อรถรา ส่งลูกๆหลานๆเรียนหนังสือ  ให้พี่น้องหยิบยืม ฯลฯ จนกระทั่ง ป้า 70 ตัวเองหมดเรี่ยวแรง  สามีเสียชีวิตเหลือตัวคนเดียว ตั้งใจว่าจะกลับไปใช้ชีวิตบั้นปลายกับลูกหลานในบั้นปลายที่ไทย ในบ้านที่ตัวเองส่งเงินไปสร้างไว้ แต่ส่งเงินให้ใครไม่ไหวแล้วตัวเองเหลือแค่บำนาญคนชราพอยังชีพ

ป้าคนที่ 2  :   โสดตั้งแต่สาวยันแก่ ไม่มีสามีลูกเต้า ไม่เคยดูดำดูดีลูกหลายเลย ไม่เคยช่วยเหลืออะไรแม้แต่นิดเดียว ทั้งที่บ้านอยู่ใกล้กัน แต่ป้าพอมีฐานะ มีบ้านมีที่นาหลายสิบไร่  เงินทองเก็บออมไว้ก็ไม่ได้ใช้อะไรเพราะไม่เคยให้ใครหยิบยืม ตอนนี้ป้าอายุ 70 แล้ว อยู่ตัวคนเดียว

ถามว่า ป้า 2 คนนี้  ลูกหลานอยากจะดูแลป้าคนไหนมากกว่ากัน ตอบได้เลยว่า้อยละ 99.99  ป้าคนที่สองจ๊ะ

ดังนั้นเหตุผลที่พวกป้าๆ ต้องช่วยเหลือลูกๆหลานๆจนสิ้นแรง  แทนที่จะใช้เงินซื้อความสุขให้ชีวิตตัวเองคืออะไรเหรอ ?
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
อาแปะว่าชีวิตคือการรักษาสมดุลระหว่างการเงินและความสุข ..
และความสุขที่อิ่มเอิบสมบูรณ์นั้นคือสมดุลระหว่างสุขของการเป็นผู้ให้ตนและให้ผู้อื่น..

หมายความว่า ให้ตนเองมากเกินไปโดยไม่ให้ลูกหลานเลยก็ตึงไป เรียก"งก"..
แต่หากให้ลูกหลานจนหมดไม่เผื่อตัวเองยามแก่เฒ่าเลย ก็หย่อนไป เรียก "ไม่ฉลาด"..

อมิตพุทธ..
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่