ศาลเลื่อนอ่านอุทธรณ์ คดีกบฏ กปปส.ม็อบไล่ ‘รบ.ยิ่งลักษณ์’ ทำคำพิพากษาไม่แล้วเสร็จ
https://www.matichon.co.th/local/crime/news_3884242
ศาลอาญาเลื่อนอ่านอุทธรณ์ คดีกบฏ กปปส.ชุมนุมไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ เนื่องจากยังทำคำพิพากษาไม่แล้วเสร็จ
เมื่อวันที่ 21 มีนาคม ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดี กปปส.หมายเลขดำ อ.247/2561 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 4 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นาย
สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการ กปปส. กับพวกแกนนำและแนวร่วม กปปส. รวม 39 คน เป็นจำเลย ในความผิดฐานร่วมกันเป็นกบฏ, ก่อการร้าย, ยุยงให้หยุดงานฯ, กระทำให้ปรากฏด้วยวาจา หรือวิธีการอื่นใดฯ ทำให้เกิดความปั่นป่วนกระด้างกระเดื่องในราชอาณาจักรฯ, อั้งยี่, ซ่องโจร, มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ทำให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองฯ, บุกรุกในเวลากลางคืนฯ และร่วมกันขัดขวางการเลือกตั้งฯ โดยนายสุเทพกับพวกจำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธ ขอต่อสู้คดี และได้รับการประกันตัวทุกคน
คดีนี้อัยการโจทก์ระบุฟ้องพฤติการณ์สรุปว่า เมื่อระหว่างวันที่ 23 พฤศจิกายน 2556-1 พฤษภาคม 2557 ต่อเนื่องกัน นาย
สุเทพ จำเลยที่ 1 ได้จัดตั้งคณะบุคคลชื่อ “
คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” หรือกลุ่ม กปปส. มีนาย
สุเทพเป็นเลขาธิการ โดยร่วมกันมั่วสุมเป็นอั้งยี่ ซ่องโจร กองกำลังแบ่งหน้าที่กันกระทำก่อความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ฐานเป็นกบฏเพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองทั้งอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ โดยร่วมกันยุยง ปลุกระดมให้ประชาชนทั่วประเทศกระด้างกระเดื่องร่วมชุมนุมขับไล่ ก่อความไม่สงบเพื่อขับไล่ น.ส.
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี (ขณะนั้น) ให้ออกจากตำแหน่ง รวมทั้งขัดขวางการเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วไป เพื่อมิให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่เข้าบริหารประเทศ ให้ข้าราชการระดับสูงรายงานตัวกับกลุ่ม กปปส.
จากนั้น กปปส.จะแต่งตั้งคณะบุคคลเข้าบริหารประเทศเป็นรัฐบาลประชาชนเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ซึ่งจะออกคำสั่งแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและ ครม. โดยจะนำรายชื่อขึ้นกราบบังคมทูลเอง รวมทั้งจัดตั้งกองกำลังส่วนหนึ่งพร้อมอาวุธเข้าไปบุกยึดสถานที่ราชการและหน่วยงานสำคัญต่างๆ หลายแห่ง เช่น ทำเนียบรัฐบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานเขตหลักสี่ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง) เพื่อไม่ให้รัฐบาลบริหารราชการแผ่นดินได้ รวมทั้งการปิดกั้น ขัดขวางเส้นทางคมนาคมขนส่ง เป็นเหตุให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน
นอกจากนี้ ช่วงระหว่างวันที่ 13 มกราคม-2 มีนาคม 2557 พวกจำเลยได้บังอาจปิดกรุงเทพมหานครด้วยการตั้งเวทีปราศรัยทั่วกรุงเทพฯ รวม 7 จุด ปิดกั้นเส้นทางการจราจร จัดตั้งกองกำลังรักษาพื้นที่ วางเครื่องกีดขวาง ไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้อง การกระทำของพวกจำเลยล้วนไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 เพื่อล้มล้าง หรือเปลี่ยนแปลงอำนาจบริหารตามรัฐธรรมนูญ เหตุเกิดในกรุงเทพมหานคร และอีกหลายท้องที่ทั่วราชอาณาจักรเกี่ยวพันกัน
จึงขอให้ศาลพิพากษาลงโทษพวกจำเลยด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113, 116, 117, 135/1, 209, 210, 215, 216, 362, 364, 365 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. พ.ศ.2550 มาตรา 76, 152
อย่างไรก็ตาม วันนี้ศาลได้เลื่อนอ่านคำพิพากษาออกไปก่อน (ยังไม่ระบุวัน) เนื่องจากศาลอุทธรณ์ยังทำคำพิพากษาไม่แล้วเสร็จ
สำหรับรายชื่อจำเลยคดีนี้ทั้งหมด 39 คน เรียงลำดับ ประกอบด้วย
1.นายสุเทพ เทือกสุบรรณ 2.นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย 3.นายชุมพล จุลใส 4.นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ 5.นายอิสสระ สมชัย 6.นายวิทยา แก้วภราดัย 7.นายถาวร เสนเนียม 8.นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ 9.นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ 10.น.ส.อัญชะลี ไพรีรัก 11.พล.อ.ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ (เสียชีวิต) 12.นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ 13.นายยศศักดิ์ โกไศยกานนท์ 14.นายถนอม อ่อนเกตุพล 15.นายสมศักดิ์ โกศัยสุข
16. นายสุวิทย์ ทองประเสริฐ หรืออดีตพระพุทธะอิสระ 17.นายสาธิต เซกัลป์ 18.น.ส.รังสิมา รอดรัศมี 19.พล.อ.ท.วัชระ ฤทธาคนี 20.พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ 21.นายแก้วสรร อติโพธิ 22.นายไพบูลย์ นิติตะวัน 23.นายถวิล เปลี่ยนศรี 24.เรือตรีแซมดิน เลิศบุศย์ 25.นายมั่นแม่น กะการดี 26.นายคมสัน ทองศิริ 27.พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ 28.นายพิภพ ธงไชย 29.นายสาวิทย์ แก้วหวาน 30.นายสุริยะใส กตะศิลา
31.นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด 32.พ.ต.ท.ภัทรพงศ์ สุปิยะพาณิชย์ 33.นายสำราญ รอดเพชร 34.นายอมร อมรรัตนานนท์ 35.นายพิเชษฐ พัฒนโชติ 36.นายสมบูรณ์ ทองบุราณ 37.นายกิตติชัย ใสสะอาด 38.นางทยา ทีปสุวรรณ และ 39.นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
โดยศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 พิเคราะห์พยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบแล้ว มีผลพิพากษาจำคุก 1.นาย
สุเทพ จำคุก 5 ปี 2.นาย
สาทิตย์ ยกฟ้อง 3.นายชุมพล จำคุก 9 ปี 24 เดือน 4.นาย
พุทธิพงษ์ จำคุก 7 ปี 5.นาย
อิสสระ จำคุก 7 ปี 16 เดือน 6.นาย
วิทยา จำคุก 1 ปี ปรับ 13,333 รอลงอาญา 2 ปี 7.นาย
ถาวร จำคุก 5 ปี 8.นาย
ณัฏฐพล จำคุก 6 ปี 16 เดือน 9.นาย
เอกนัฏ จำคุก 1 ปี ปรับ 13,333 บาท รอลงอาญา 2 ปี 10.น.ส.
อัญชะลี จำคุก 1 ปี ปรับ 13,333 บาท รอลงอาญา 2 ปี 12.นาย
สมเกียรติ จำคุก 1 ปี ปรับ 13,333 บาท รอลงอาญา 2 ปี 13.นาย
ยศศักดิ์ ยกฟ้อง 14.นาย
ถนอม จำคุก 1 ปี ปรับ 13,333 บาท รอลงอาญา 2 ปี 15.นาย
สมศักดิ์ จำคุก 3 ปี 16.นาย
สุวิทย์ จำคุก 4 ปี 8 เดือน 17.นาย
สาธิต จำคุก 2 ปี ปรับ 26,666 บาท รอลงอาญา 2 ปี 18.น.ส.
รังสิมา ยกฟ้อง 19. พล.อ.ท.
วัชระ จำคุก 1 ปี ปรับ 13,333 บาท รอลงอาญา 2 ปี 20.พล.ร.อ.
ชัย จำคุก 1 ปี ปรับ 13,333 บาท รอลงอาญา 2 ปี 21.นาย
แก้วสรร ยกฟ้อง 22.นาย
ไพบูลย์ ยกฟ้อง 23.นาย
ถวิล ยกฟ้อง 24.เรือตรี
แซมดิน จำคุก 4 ปี 16 เดือน 25.นาย
มั่นแม่น ดี จำคุก 1 ปี ปรับ 13,333 บาท รอลงอาญา 2 ปี 26.นาย
คมสัน จำคุก 2 ปี 27.พล.อ.
ปฐมพงษ์ ยกฟ้อง 28.นาย
พิภพ ยกฟ้อง 29.นาย
สาวิทย์ จำคุก 2 ปี 30.นาย
สุริยะใส จำคุก 2 ปี
31.นาย
สุริยันต์ ยกฟ้อง 32.พ.ต.ท.
ภัทรพงศ์ ยกฟ้อง 33.นาย
สำราญ จำคุก 2 ปี 16 เดือน 34.นาย
อมรท์ จำคุก 20 เดือน 35.นาย
พิเชษฐ จำคุก 1 ปี ปรับ 13,333 บาท รอลงอาญา 2 ปี 36.นาย
สมบูรณ์ ยกฟ้อง 37.นายกิตติชัย จำคุก 4 เดือน ปรับ 6,666 รอลงอาญา 2 ปี 38.นาง
ทยา จำคุก 1 ปี 8 เดือน ปรับ 26,666 บาท รอลงอาญา 2 ปี และ 39.นาย
เจิมศักดิ์ ยกฟ้อง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สรุป ยกฟ้อง จำเลยที่ 2, 13, 18, 21, 22, 23, 27, 28, 31, 32, 36, 39 รวม 12 คน และ รอลงอาญา 12 คนเช่นกัน โดยศาลให้เหตุผลถึงคนที่รอลงอาญาว่าบางคนเป็นเพียงผู้ร่วมชุมนุมเท่านั้น แม้บางคนจะเป็นแกนนำในการชุมนุมด้วยก็ตาม แต่ความผิดที่จำเลยแต่ละคนกระทำนั้นน้อยกว่าจำเลยอื่น
อีกทั้งไม่ปรากฏว่ามีพฤติการณ์อุกอาจ หรือรุนแรงจากการชุมนุม ประกอบกับไม่ปรากฏว่าจำเลยดังกล่าวเคยต้องโทษจำคุกมาก่อน จึงเห็นสมควรให้โอกาสจำเลยดังกล่าวกลับตัวเป็นพลเมืองดี
นอกจากนี้ ยังให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของ จำเลยที่ 3, 5, 8, 16, 24, 33, 38 มีกำหนดคนละ 5 ปี ให้นับโทษของจำเลยที่ 15, 25, 30 ต่อจากโทษตามท้ายฟ้องด้วย
ภาคประชาสังคม ระบุกรณีซีเซียม-137 สูญหาย ชี้ให้เห็นถึงความไม่รัดกุมในระบบจัดการวัตถุอันตราย
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3884279
ภาคประชาสังคม ระบุกรณีซีเซียม-137 สูญหาย ชี้ให้เห็นถึงความไม่รัดกุมในระบบจัดการวัตถุอันตราย
เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 มูลนิธิบูรณะนิเวศ มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม และกรีนพีซ ประเทศไทย ออกแถลงการณ์ว่าด้วยการกำกับดูแล ความโปร่งใส และภาระรับผิด กรณีวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 สูญหายจากโรงไฟฟ้า จ. ปราจีนบุรี ระบุว่า
จากกรณีที่ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีได้รับแจ้งเหตุกรณีวัสดุกัมมันตรังสี “ซีเซียม-137” สูญหายจากโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนของบริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์ แพลนท์ 5 เอ จำกัด ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม 304 อ. ศรีมหาโพธิ จ. ปราจีนบุรี เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2566 และต่อมา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมประเมินว่า วัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ดังกล่าวถูกหลอมไปหมดแล้ว หลังตรวจพบระดับรังสีซีเซียม-137 ในฝุ่นเหล็ก (หรือมักเรียกกันว่าฝุ่นแดง) ซึ่งเป็นของเหลือใช้ (by-product) จากกระบวนการหลอมโลหะของโรงงานเค พี พี สตีล ใน อ. กบินทร์บุรี จ. ปราจีนบุรี
อย่างไรก็ตาม จากการแถลงข่าวโดยผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี พร้อมด้วยเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติและคณะ ในวันที่ 20 มี.ค. 2566 ที่ผ่านมา กลับระบุยังไม่อาจยืนยันว่า ฝุ่นเหล็กที่ปนเปื้อนรังสีซีเซียม-137 ดังกล่าว มาจากวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ที่สูญหายอย่างไร้ร่องรอยจากโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติระบุในการแถลงข่าวด้วยว่า ไม่พบการปนเปื้อนรังสีซีเซียม-137 ในสิ่งแวดล้อม (ดิน น้ำ อากาศ) จากการตรวจบริเวณโดยรอบพื้นที่โรงงานหลอมโลหะ ไม่พบผู้ป่วยที่สัมผัสรังสีซีเซียม-137 และไม่พบฝุ่นเหล็กปนเปื้อนรังสีซีเซียม-137 ในฝุ่นเหล็กที่ถูกส่งไปรีไซเคิลที่จังหวัดอื่นตามที่มีการรายงานในสื่อบางสำนัก แต่เนื่องจากพบว่ามีการนำฝุ่นเหล็กที่ปนเปื้อนรังสีซีเซียม-137 บางส่วนไปถมที่ดินบริเวณโรงหลอมโลหะ จึงได้ดำเนินการขุดดินปนเปื้อนเหล่านั้นใส่ถุงบรรจุและนำไปวางรวมกันในพื้นที่เก็บฝุ่นผงเหล็กที่ปนเปื้อนพร้อมกับวางแนวเป็นเขตกักกันรังสีไว้โดยรอบแล้ว
มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) และกรีนพีซ ประเทศไทย (Greenpeace Thailand) ในฐานะเป็นองค์กรภาคประชาสังคมที่ทำงานรณรงค์เพื่อความเป็นธรรมทางสิ่งแวดล้อม มีความเห็นต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีข้างต้น ดังนี้
● แท่งซีเซียม-137 ที่ใช้ในโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนของบริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์ แพลนท์ 5 เอ จำกัด จัดเป็นวัสดุกัมมันตรังสีอันตรายประเภทที่ 3 ตามการจำแนกของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือ IAEA (International Atomic Energy Agency) ซึ่งเอกสารจากกรมควบคุมโรคระบุว่า เป็นแหล่งกำเนิดประเภทที่เป็นอันตราย หากไม่จัดการได้อย่างปลอดภัย อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บถาวรไปยังผู้ที่จัดการ หรือผู้ดูแล หรือผู้ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ใกล้เคียงเป็นระยะเวลาหลายชั่วโมง
● กรณีการสูญหายอย่างไร้ร่องรอยของแท่งซีเซียม-137 ชี้ให้เห็นถึงความไม่รัดกุมในระบบการจัดการวัตถุอันตรายของบริษัทฯ เจ้าของโรงไฟฟ้า รวมถึงหน่วยงานราชการที่มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแล ทั้งยังแสดงถึงพฤติกรรมการปกปิดข้อมูลของบริษัทฯ ทั้งในประเด็นเรื่องการแจ้งล่าช้าตามที่ได้มีการแจ้งความบริษัทในข้อหา “ไม่แจ้งโดยพลันแล้ว” แต่ที่ยิ่งกว่านั้นก็คือการปล่อยปละละเลยและละเมิดกฎหมายตามมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติในฐานะผู้ครอบครองวัสดุกัมมันตรังสีอันตราย จนเป็นเหตุให้หน่วยงานรัฐไม่อาจรับมือสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งสาธารณชนต้องตกอยู่ในความหวาดหวั่นและเสี่ยงภัย ทั้งยังไม่ได้รับข้อมูลและคำแนะนำที่ถูกต้องและกระจ่างแจ้ง ตอกย้ำถึงปัญหาความไม่รู้และความมืดบอดทางข้อมูลมลพิษและวัตถุอันตรายของหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแล ตลอดจนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายและขาดความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างอุกอาจ
JJNY : ศาลเลื่อนอ่านอุทธรณ์กบฏ กปปส.│ภาคประชาสังคม ระบุซีเซียม-137 หาย│กกร.คงจีดีพีไทยปี 66│รัสเซียรับพิจารณาข้อเสนอจีน
https://www.matichon.co.th/local/crime/news_3884242
ศาลอาญาเลื่อนอ่านอุทธรณ์ คดีกบฏ กปปส.ชุมนุมไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ เนื่องจากยังทำคำพิพากษาไม่แล้วเสร็จ
เมื่อวันที่ 21 มีนาคม ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดี กปปส.หมายเลขดำ อ.247/2561 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 4 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการ กปปส. กับพวกแกนนำและแนวร่วม กปปส. รวม 39 คน เป็นจำเลย ในความผิดฐานร่วมกันเป็นกบฏ, ก่อการร้าย, ยุยงให้หยุดงานฯ, กระทำให้ปรากฏด้วยวาจา หรือวิธีการอื่นใดฯ ทำให้เกิดความปั่นป่วนกระด้างกระเดื่องในราชอาณาจักรฯ, อั้งยี่, ซ่องโจร, มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ทำให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองฯ, บุกรุกในเวลากลางคืนฯ และร่วมกันขัดขวางการเลือกตั้งฯ โดยนายสุเทพกับพวกจำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธ ขอต่อสู้คดี และได้รับการประกันตัวทุกคน
คดีนี้อัยการโจทก์ระบุฟ้องพฤติการณ์สรุปว่า เมื่อระหว่างวันที่ 23 พฤศจิกายน 2556-1 พฤษภาคม 2557 ต่อเนื่องกัน นายสุเทพ จำเลยที่ 1 ได้จัดตั้งคณะบุคคลชื่อ “คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” หรือกลุ่ม กปปส. มีนายสุเทพเป็นเลขาธิการ โดยร่วมกันมั่วสุมเป็นอั้งยี่ ซ่องโจร กองกำลังแบ่งหน้าที่กันกระทำก่อความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ฐานเป็นกบฏเพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองทั้งอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ โดยร่วมกันยุยง ปลุกระดมให้ประชาชนทั่วประเทศกระด้างกระเดื่องร่วมชุมนุมขับไล่ ก่อความไม่สงบเพื่อขับไล่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี (ขณะนั้น) ให้ออกจากตำแหน่ง รวมทั้งขัดขวางการเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วไป เพื่อมิให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่เข้าบริหารประเทศ ให้ข้าราชการระดับสูงรายงานตัวกับกลุ่ม กปปส.
จากนั้น กปปส.จะแต่งตั้งคณะบุคคลเข้าบริหารประเทศเป็นรัฐบาลประชาชนเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ซึ่งจะออกคำสั่งแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและ ครม. โดยจะนำรายชื่อขึ้นกราบบังคมทูลเอง รวมทั้งจัดตั้งกองกำลังส่วนหนึ่งพร้อมอาวุธเข้าไปบุกยึดสถานที่ราชการและหน่วยงานสำคัญต่างๆ หลายแห่ง เช่น ทำเนียบรัฐบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานเขตหลักสี่ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง) เพื่อไม่ให้รัฐบาลบริหารราชการแผ่นดินได้ รวมทั้งการปิดกั้น ขัดขวางเส้นทางคมนาคมขนส่ง เป็นเหตุให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน
นอกจากนี้ ช่วงระหว่างวันที่ 13 มกราคม-2 มีนาคม 2557 พวกจำเลยได้บังอาจปิดกรุงเทพมหานครด้วยการตั้งเวทีปราศรัยทั่วกรุงเทพฯ รวม 7 จุด ปิดกั้นเส้นทางการจราจร จัดตั้งกองกำลังรักษาพื้นที่ วางเครื่องกีดขวาง ไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้อง การกระทำของพวกจำเลยล้วนไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 เพื่อล้มล้าง หรือเปลี่ยนแปลงอำนาจบริหารตามรัฐธรรมนูญ เหตุเกิดในกรุงเทพมหานคร และอีกหลายท้องที่ทั่วราชอาณาจักรเกี่ยวพันกัน
จึงขอให้ศาลพิพากษาลงโทษพวกจำเลยด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113, 116, 117, 135/1, 209, 210, 215, 216, 362, 364, 365 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. พ.ศ.2550 มาตรา 76, 152
อย่างไรก็ตาม วันนี้ศาลได้เลื่อนอ่านคำพิพากษาออกไปก่อน (ยังไม่ระบุวัน) เนื่องจากศาลอุทธรณ์ยังทำคำพิพากษาไม่แล้วเสร็จ
สำหรับรายชื่อจำเลยคดีนี้ทั้งหมด 39 คน เรียงลำดับ ประกอบด้วย
1.นายสุเทพ เทือกสุบรรณ 2.นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย 3.นายชุมพล จุลใส 4.นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ 5.นายอิสสระ สมชัย 6.นายวิทยา แก้วภราดัย 7.นายถาวร เสนเนียม 8.นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ 9.นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ 10.น.ส.อัญชะลี ไพรีรัก 11.พล.อ.ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ (เสียชีวิต) 12.นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ 13.นายยศศักดิ์ โกไศยกานนท์ 14.นายถนอม อ่อนเกตุพล 15.นายสมศักดิ์ โกศัยสุข
16. นายสุวิทย์ ทองประเสริฐ หรืออดีตพระพุทธะอิสระ 17.นายสาธิต เซกัลป์ 18.น.ส.รังสิมา รอดรัศมี 19.พล.อ.ท.วัชระ ฤทธาคนี 20.พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ 21.นายแก้วสรร อติโพธิ 22.นายไพบูลย์ นิติตะวัน 23.นายถวิล เปลี่ยนศรี 24.เรือตรีแซมดิน เลิศบุศย์ 25.นายมั่นแม่น กะการดี 26.นายคมสัน ทองศิริ 27.พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ 28.นายพิภพ ธงไชย 29.นายสาวิทย์ แก้วหวาน 30.นายสุริยะใส กตะศิลา
31.นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด 32.พ.ต.ท.ภัทรพงศ์ สุปิยะพาณิชย์ 33.นายสำราญ รอดเพชร 34.นายอมร อมรรัตนานนท์ 35.นายพิเชษฐ พัฒนโชติ 36.นายสมบูรณ์ ทองบุราณ 37.นายกิตติชัย ใสสะอาด 38.นางทยา ทีปสุวรรณ และ 39.นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
โดยศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 พิเคราะห์พยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบแล้ว มีผลพิพากษาจำคุก 1.นายสุเทพ จำคุก 5 ปี 2.นายสาทิตย์ ยกฟ้อง 3.นายชุมพล จำคุก 9 ปี 24 เดือน 4.นายพุทธิพงษ์ จำคุก 7 ปี 5.นายอิสสระ จำคุก 7 ปี 16 เดือน 6.นายวิทยา จำคุก 1 ปี ปรับ 13,333 รอลงอาญา 2 ปี 7.นายถาวร จำคุก 5 ปี 8.นายณัฏฐพล จำคุก 6 ปี 16 เดือน 9.นายเอกนัฏ จำคุก 1 ปี ปรับ 13,333 บาท รอลงอาญา 2 ปี 10.น.ส.อัญชะลี จำคุก 1 ปี ปรับ 13,333 บาท รอลงอาญา 2 ปี 12.นายสมเกียรติ จำคุก 1 ปี ปรับ 13,333 บาท รอลงอาญา 2 ปี 13.นายยศศักดิ์ ยกฟ้อง 14.นายถนอม จำคุก 1 ปี ปรับ 13,333 บาท รอลงอาญา 2 ปี 15.นายสมศักดิ์ จำคุก 3 ปี 16.นายสุวิทย์ จำคุก 4 ปี 8 เดือน 17.นายสาธิต จำคุก 2 ปี ปรับ 26,666 บาท รอลงอาญา 2 ปี 18.น.ส.รังสิมา ยกฟ้อง 19. พล.อ.ท.วัชระ จำคุก 1 ปี ปรับ 13,333 บาท รอลงอาญา 2 ปี 20.พล.ร.อ.ชัย จำคุก 1 ปี ปรับ 13,333 บาท รอลงอาญา 2 ปี 21.นายแก้วสรร ยกฟ้อง 22.นายไพบูลย์ ยกฟ้อง 23.นายถวิล ยกฟ้อง 24.เรือตรีแซมดิน จำคุก 4 ปี 16 เดือน 25.นายมั่นแม่น ดี จำคุก 1 ปี ปรับ 13,333 บาท รอลงอาญา 2 ปี 26.นายคมสัน จำคุก 2 ปี 27.พล.อ.ปฐมพงษ์ ยกฟ้อง 28.นายพิภพ ยกฟ้อง 29.นายสาวิทย์ จำคุก 2 ปี 30.นายสุริยะใส จำคุก 2 ปี
31.นายสุริยันต์ ยกฟ้อง 32.พ.ต.ท.ภัทรพงศ์ ยกฟ้อง 33.นายสำราญ จำคุก 2 ปี 16 เดือน 34.นายอมรท์ จำคุก 20 เดือน 35.นายพิเชษฐ จำคุก 1 ปี ปรับ 13,333 บาท รอลงอาญา 2 ปี 36.นายสมบูรณ์ ยกฟ้อง 37.นายกิตติชัย จำคุก 4 เดือน ปรับ 6,666 รอลงอาญา 2 ปี 38.นางทยา จำคุก 1 ปี 8 เดือน ปรับ 26,666 บาท รอลงอาญา 2 ปี และ 39.นายเจิมศักดิ์ ยกฟ้อง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สรุป ยกฟ้อง จำเลยที่ 2, 13, 18, 21, 22, 23, 27, 28, 31, 32, 36, 39 รวม 12 คน และ รอลงอาญา 12 คนเช่นกัน โดยศาลให้เหตุผลถึงคนที่รอลงอาญาว่าบางคนเป็นเพียงผู้ร่วมชุมนุมเท่านั้น แม้บางคนจะเป็นแกนนำในการชุมนุมด้วยก็ตาม แต่ความผิดที่จำเลยแต่ละคนกระทำนั้นน้อยกว่าจำเลยอื่น
อีกทั้งไม่ปรากฏว่ามีพฤติการณ์อุกอาจ หรือรุนแรงจากการชุมนุม ประกอบกับไม่ปรากฏว่าจำเลยดังกล่าวเคยต้องโทษจำคุกมาก่อน จึงเห็นสมควรให้โอกาสจำเลยดังกล่าวกลับตัวเป็นพลเมืองดี
นอกจากนี้ ยังให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของ จำเลยที่ 3, 5, 8, 16, 24, 33, 38 มีกำหนดคนละ 5 ปี ให้นับโทษของจำเลยที่ 15, 25, 30 ต่อจากโทษตามท้ายฟ้องด้วย
ภาคประชาสังคม ระบุกรณีซีเซียม-137 สูญหาย ชี้ให้เห็นถึงความไม่รัดกุมในระบบจัดการวัตถุอันตราย
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3884279
ภาคประชาสังคม ระบุกรณีซีเซียม-137 สูญหาย ชี้ให้เห็นถึงความไม่รัดกุมในระบบจัดการวัตถุอันตราย
เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 มูลนิธิบูรณะนิเวศ มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม และกรีนพีซ ประเทศไทย ออกแถลงการณ์ว่าด้วยการกำกับดูแล ความโปร่งใส และภาระรับผิด กรณีวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 สูญหายจากโรงไฟฟ้า จ. ปราจีนบุรี ระบุว่า
จากกรณีที่ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีได้รับแจ้งเหตุกรณีวัสดุกัมมันตรังสี “ซีเซียม-137” สูญหายจากโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนของบริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์ แพลนท์ 5 เอ จำกัด ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม 304 อ. ศรีมหาโพธิ จ. ปราจีนบุรี เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2566 และต่อมา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมประเมินว่า วัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ดังกล่าวถูกหลอมไปหมดแล้ว หลังตรวจพบระดับรังสีซีเซียม-137 ในฝุ่นเหล็ก (หรือมักเรียกกันว่าฝุ่นแดง) ซึ่งเป็นของเหลือใช้ (by-product) จากกระบวนการหลอมโลหะของโรงงานเค พี พี สตีล ใน อ. กบินทร์บุรี จ. ปราจีนบุรี
อย่างไรก็ตาม จากการแถลงข่าวโดยผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี พร้อมด้วยเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติและคณะ ในวันที่ 20 มี.ค. 2566 ที่ผ่านมา กลับระบุยังไม่อาจยืนยันว่า ฝุ่นเหล็กที่ปนเปื้อนรังสีซีเซียม-137 ดังกล่าว มาจากวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ที่สูญหายอย่างไร้ร่องรอยจากโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติระบุในการแถลงข่าวด้วยว่า ไม่พบการปนเปื้อนรังสีซีเซียม-137 ในสิ่งแวดล้อม (ดิน น้ำ อากาศ) จากการตรวจบริเวณโดยรอบพื้นที่โรงงานหลอมโลหะ ไม่พบผู้ป่วยที่สัมผัสรังสีซีเซียม-137 และไม่พบฝุ่นเหล็กปนเปื้อนรังสีซีเซียม-137 ในฝุ่นเหล็กที่ถูกส่งไปรีไซเคิลที่จังหวัดอื่นตามที่มีการรายงานในสื่อบางสำนัก แต่เนื่องจากพบว่ามีการนำฝุ่นเหล็กที่ปนเปื้อนรังสีซีเซียม-137 บางส่วนไปถมที่ดินบริเวณโรงหลอมโลหะ จึงได้ดำเนินการขุดดินปนเปื้อนเหล่านั้นใส่ถุงบรรจุและนำไปวางรวมกันในพื้นที่เก็บฝุ่นผงเหล็กที่ปนเปื้อนพร้อมกับวางแนวเป็นเขตกักกันรังสีไว้โดยรอบแล้ว
มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) และกรีนพีซ ประเทศไทย (Greenpeace Thailand) ในฐานะเป็นองค์กรภาคประชาสังคมที่ทำงานรณรงค์เพื่อความเป็นธรรมทางสิ่งแวดล้อม มีความเห็นต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีข้างต้น ดังนี้
● แท่งซีเซียม-137 ที่ใช้ในโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนของบริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์ แพลนท์ 5 เอ จำกัด จัดเป็นวัสดุกัมมันตรังสีอันตรายประเภทที่ 3 ตามการจำแนกของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือ IAEA (International Atomic Energy Agency) ซึ่งเอกสารจากกรมควบคุมโรคระบุว่า เป็นแหล่งกำเนิดประเภทที่เป็นอันตราย หากไม่จัดการได้อย่างปลอดภัย อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บถาวรไปยังผู้ที่จัดการ หรือผู้ดูแล หรือผู้ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ใกล้เคียงเป็นระยะเวลาหลายชั่วโมง
● กรณีการสูญหายอย่างไร้ร่องรอยของแท่งซีเซียม-137 ชี้ให้เห็นถึงความไม่รัดกุมในระบบการจัดการวัตถุอันตรายของบริษัทฯ เจ้าของโรงไฟฟ้า รวมถึงหน่วยงานราชการที่มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแล ทั้งยังแสดงถึงพฤติกรรมการปกปิดข้อมูลของบริษัทฯ ทั้งในประเด็นเรื่องการแจ้งล่าช้าตามที่ได้มีการแจ้งความบริษัทในข้อหา “ไม่แจ้งโดยพลันแล้ว” แต่ที่ยิ่งกว่านั้นก็คือการปล่อยปละละเลยและละเมิดกฎหมายตามมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติในฐานะผู้ครอบครองวัสดุกัมมันตรังสีอันตราย จนเป็นเหตุให้หน่วยงานรัฐไม่อาจรับมือสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งสาธารณชนต้องตกอยู่ในความหวาดหวั่นและเสี่ยงภัย ทั้งยังไม่ได้รับข้อมูลและคำแนะนำที่ถูกต้องและกระจ่างแจ้ง ตอกย้ำถึงปัญหาความไม่รู้และความมืดบอดทางข้อมูลมลพิษและวัตถุอันตรายของหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแล ตลอดจนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายและขาดความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างอุกอาจ