ทำไมไม่ แจกยา ต้านรังสี ซีเซียม137ให้คนไทยกินหะ

กระทู้คำถาม
จากกรณีวัตถุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 สูญหายจากโรงไฟฟ้าไอน้ำใน จ.ปราจีนบุรี และมีแนวโน้มสูงที่จะถูกหลอมกลายเป็น “ฝุ่นเหล็กปนเปื้อนกัมมันตรังสี” ทำให้สังคมไทยเริ่มตั้งคำถามถึงมาตรการรับมือ ถึงเหตุการณ์กัมมันตรังสีรั่วไหล ที่อาจกระทบต่อสุขภาพ และหนึ่งในสิ่งที่กำลังเป็นที่พูดถึง คือ ยาต้านพิษรังสี “ปรัสเซียนบลู” ที่ยังไม่มีใช้ในประเทศ 
วันนี้ (22 มี.ค.) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงข่าว “ซีเซียม (Cesium, Cs-137) กับยาต้านพิษ ปรัสเซียนบลู (Prussian blue)” ยืนยันว่า คนไทยยังไม่ถึงจุดที่จำเป็นต้องใช้ยาตัวนี้ จากกรณีความเสี่ยงซีเซียม-137 รั่วไหลใน จ.ปราจีนบุรี
“ซีเซียม-137 ที่สูญหายอยู่ที่ 505 ไมโครกรัม (0.5 มิลลิกรัม) ปริมาณรังสีต่างจากเชอร์โนบิล 56.7 ล้านเท่า... และน้อยกว่าเหตุการณ์ที่เกิดที่ฟูกุชิมะที่ญี่ปุ่น 11 ล้านเท่า” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤศณัฏฐ์ เชื่อมสามัคคี ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบาย
ไม่เพียงเท่านั้น การหลอมเหล็กที่โรงหลอมใน อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ยังเป็นระบบปิด เช่นเดียวกับ การเก็บรักษาฝุ่นเหล็กราว 24 ตัน ที่อาจปนเปื้อนกัมมันตรังสี ค่อนข้างมิดชิด ทำให้ “โอกาสที่ฝุ่น (ปนเปื้อน) จะหลุดรอด รั่วไหลออกมาสู่สิ่งแวดล้อม ค่อนข้างน้อย”
ด้าน รองศาสตราจารย์ พญ. สารทริยา ตระกูลศรีชัย ศูนย์พิษวิทยาและภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ม.มหิดล อธิบายว่า ยาปรัสเซียนบลู เป็นยาทานสำหรับกรณีผู้ป่วยรับรังสีซีเซียม-137 เข้าไปในร่างกายเท่านั้น อีกทั้งการใช้ยาตัวนี้ ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์

ผู้ป่วยที่ต้องรับยาตัวนี้ “ต้องมีการตรวจวัดปริมาณรังสีในร่างกายค่อนข้างสูง แพทย์ถึงจะให้ขนาดยาตามปริมาณรังสีในร่างกาย”
เธอยังเตือนว่า ประชาชนทั่วไปไม่ควรซื้อปรัสเซียนบลู ที่ใช้ในการวาดภาพศิลปะจากอินเทอร์เน็ตมาใช้ เพราะถ้าเป็นกรณีซีเซียม-137 จะต้องเป็นปรัสเซียนบลู ที่ผลิตสำหรับใช้เป็นยาโดยเฉพาะเท่านั้น
แล้วปรัสเซียนบลู คืออะไร บีบีซีไทยชวนมาทำความรู้จักยาต้านพิษรังสีตัวนี้ ที่ศูนย์พิษวิทยา ม.มหิดล เคยครอบครองตั้งแต่เมื่อ 20 ปีก่อน แต่ไม่เคยมีโอกาสได้ใช้ จนหมดอายุใช้งาน ทำให้ปัจจุบัน ยังไม่มียาตัวนี้ในประเทศไทย
 
จากสีในงานศิลปะ สู่ยาต้านรังสีนิวเคลียร์
 
ดร. กนกพร บุญศิริชัย กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ หรือ สทน. อธิบายในบทความเผยแพร่ในเว็บไซต์ของ สทน. ว่า เดิมที ปรัสเซียนบลู เป็นสารสีน้ำเงินที่ใช้ในงานศิลปะมายาวนาน ยกตัวอย่างภาพที่มีชื่อเสียงคือ Entombment of Christ ที่จัดแสดงอยู่ในพระราชวังเมืองพอตสดัม ของเยอรมนี และภาพ The Great Wave off Kanagawa ของ โฮกุไซ จิตรกรชาวญี่ปุ่น
ผู้สังเคราะห์ ปรัสเซียนบลู ขึ้นมาครั้งแรก คือ นักผสมสีชื่อ นายโยธาน จาค็อบ ไดส์บาค เมื่อปี ค.ศ. 1706 เกิดเป็นผงคริสตัลละเอียดสีน้ำเงินเข้ม ไม่ละลายน้ำ โดยองค์กรประกอบของปรัสเซียนบลู ประกอบด้วย เหล็ก และไซยาไนด์

https://www.bbc.com/thai/articles/cd1qgr91ljro
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
เรื่องยาตัวนี้  อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ
http://nkc.tint.or.th/nkc54/content-01/nstkc54-031.html

ดูราคาจากเวบต่างประเทศ  
กระปุกละประมาณ 3,000 บาท
แต่  (คิดว่า) หากมีคนเจ็บป่วยจาก Cs-137
ทางรัฐจะต้องรักษาฟรีแน่นอน

แต่ก็แปลกใจตรงที่ว่า
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
บอกว่ายาต้านพิษรังสี “ปรัสเซียนบลู” ยังไม่มีใช้ในประเทศ
ผมคิดว่า  ถึงแม้ว่าเคยมีตั้งแต่เมื่อ 20 ปีก่อน
แต่ไม่เคยมีโอกาสได้ใช้ จนยาหมดอายุใช้งาน
ก็ควรสำรองยาตัวนี้ไว้เสมอ  เมื่อต้องใช้จะได้แจกจ่ายได้ทันที
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่