รื่อง:
โรคงูสวัด
บทคัดย่อ:
โรคงูสวัดเป็นโรคผิวหนังที่มักเกิดกับผู้สูงอายุ แม้จะพบไม่บ่อย แต่ก็เป็นโรคที่สร้างความทรมานให้แก่ผู้สูงอายุเป็นอย่างมากถ้าหากเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น วันนี้เราได้รับเกียรติจาก ผศ.นพ.สุมนัส บุณยะรัตเวช ภาควิชาตจวิทยา จะมาบอกถึงสาเหตุและวิธีการรักษา การดูแลตนเองให้ห่างไกลจากโรคนี้ค่ะ
โรคงูสวัด (Herpes Zoster, Shingles)
ผศ.พญ.จรัสศรี ฬียาพรรณ
นางรษิกา ฤทธิ์เรืองเดช
พญ.พิชญา มณีประสพโชค
รศ.พญ.วรัญญา บุญชัย
ผศ.ดร.นพ.สุขุม เจียมตน
ภาควิชาตจวิทยา
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
โรคงูสวัดคืออะไร ?
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า ไวรัสวาริเซลลา (varicella virus) เป็นเชื้อตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคสุกใส เชื้อไวรัสนี้เมื่อเริ่มเข้าสู่ร่างกายทั้งจากการหายใจ หรือการสัมผัสตุ่มน้ำใสโดยตรง จะทำให้เป็นโรคสุกใส เมื่อหายจากโรคนี้แล้ว เชื้อจะไปหลบซ่อนอยู่ในปมประสาทของร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เวลานานหลายปี โดยไม่มีอาการผิดปกติใดๆ
เมื่อเวลาที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติ เช่น อ่อนเพลีย พักผ่อนไม่เพียงพอ ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี หรือผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยากดภูมิต้านทาน เชื้อที่แฝงตัวอยู่ก็จะแบ่งตัว เพิ่มจำนวนทำให้เส้นประสาทอักเสบ เกิดการปวดตามแนวเส้น ประสาท และปล่อยเชื้อไวรัสออกมาที่ผิวหนังตามแนวเส้น ประสาท
อาการของโรคงูสวัดเป็นอย่างไร ?
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแสบร้อนบริเวณผิวหนัง หลังจากนั้น 2-3 วัน มีผื่นแดงขึ้นตรงบริเวณที่ปวด แล้วกลายเป็นตุ่มน้ำใส ผู้ป่วยบางรายอาจมีไข้ร่วมด้วย ผื่นมักเรียงกันเป็นกลุ่ม หรือเป็น แถวยาวตามแนวเส้นประสาท และจะแตกออกเป็นแผล ต่อมาจะตกสะเก็ด และหายได้เองใน 2 สัปดาห์ และเมื่อแผลหายแล้ว อาจยังมีอาการปวดตามแนวเส้นประสาทได้
อาการแทรกซ้อนของโรคงูสวัด ?
ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย คือ อาการปวดตามแนวเส้น ประสาทหลังการติดเชื้อ พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป บางรายอาจปวดได้นานหลายปี ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่พบได้แก่ การติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม ตาอักเสบ แผลที่ กระจกตา และภาวะแทรกซ้อนทางหู เป็นต้น
ผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี หรือผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด โรคงูสวัดอาจเป็นรุนแรงและแพร่กระจายได้ ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงแต่พบน้อย เช่น สมองและปอดอักเสบ
การรักษาและการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคงูสวัด
- ในผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันปกติอาจรักษาตามอาการ เช่น รับประทานยาแก้ปวด เนื่องจากสามารถหายได้เอง
- ในผู้ป่วยสูงอายุหรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำมาก การได้รับประทาน ยาต้านไวรัส เช่น acyclovir ภายใน 48-72 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ จะช่วยให้รอยโรคทางผิวหนังหายได้เร็วขึ้นและลดความรุนแรงของโรค รวมถึงลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้
- ประคบแผลด้วยน้ำเกลือ ครั้งละประมาณ 10 นาที 3-4 ครั้ง/วัน จะช่วยทำให้แผลแห้งขึ้น
- ในรายที่ติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน อาจต้องได้รับยา ปฏิชีวนะชนิดทาหรือรับประทานร่วมด้วย
- ถ้ามีอาการปากเปื่อยลิ้นเปื่อยให้ใช้น้ำเกลือกลั้วปาก
- ตัดเล็บสั้น ไม่แกะเกา และอาบน้ำฟอกสบู่ให้สะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติมและกลายเป็นแผลเป็น
- ถ้ามีอาการปวดหลังการติดเชื้อ สามารถรับประทานยาพาราเซตตามอลแก้ปวด ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์
- ไม่พ่นหรือทายา เช่นยาพื้นบ้านหรือยาสมุนไพรลงไป บริเวณตุ่มน้ำ เพราะอาจติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้แผลหายช้า และกลายเป็นแผลเป็นได้
การป้องกันการแพร่กระจายของโรคงูสวัด
- การสัมผัสตุ่มน้ำหรือแผลของผู้ป่วยงูสวัดอาจทำให้ผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันเกิดเป็นโรคสุกใสได้ ดังนั้นควรแยกข้าวของเครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดตัว ที่นอน ของผู้ป่วยโรคงูสวัดกับผู้ที่ยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน
- ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเป็นโรคงูสวัดแบบแพร่กระจาย สามารถแพร่กระจายเชื้อได้ทางการหายใจ ดังนั้นควรแยกผู้ป่วย ไม่ใกล้ชิดกับผู้ที่ไม่เคยเป็นโรค เด็กเล็ก และหญิงตั้งครรภ์
การป้องกันโรคงูสวัด ?
ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดแล้ว โดยสามารถลด โอกาสการเกิดโรคงูสวัด หรือหากว่าเกิดการติดเชื้อจะสามารถลดความรุนแรงของอาการงูสวัดและอาการปวดหลังการติดเชื้อ แนะนำให้ฉีดในผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปี
ท่านใดสมาชิกชาวพันทิป เกี่ยวกับโรคนี้บ้างครับ ?
รายการ พบหมอศิริราช โรคงูสวัด ?
รื่อง:
โรคงูสวัด
บทคัดย่อ:
โรคงูสวัดเป็นโรคผิวหนังที่มักเกิดกับผู้สูงอายุ แม้จะพบไม่บ่อย แต่ก็เป็นโรคที่สร้างความทรมานให้แก่ผู้สูงอายุเป็นอย่างมากถ้าหากเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น วันนี้เราได้รับเกียรติจาก ผศ.นพ.สุมนัส บุณยะรัตเวช ภาควิชาตจวิทยา จะมาบอกถึงสาเหตุและวิธีการรักษา การดูแลตนเองให้ห่างไกลจากโรคนี้ค่ะ
โรคงูสวัด (Herpes Zoster, Shingles)
ผศ.พญ.จรัสศรี ฬียาพรรณ
นางรษิกา ฤทธิ์เรืองเดช
พญ.พิชญา มณีประสพโชค
รศ.พญ.วรัญญา บุญชัย
ผศ.ดร.นพ.สุขุม เจียมตน
ภาควิชาตจวิทยา
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
โรคงูสวัดคืออะไร ?
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า ไวรัสวาริเซลลา (varicella virus) เป็นเชื้อตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคสุกใส เชื้อไวรัสนี้เมื่อเริ่มเข้าสู่ร่างกายทั้งจากการหายใจ หรือการสัมผัสตุ่มน้ำใสโดยตรง จะทำให้เป็นโรคสุกใส เมื่อหายจากโรคนี้แล้ว เชื้อจะไปหลบซ่อนอยู่ในปมประสาทของร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เวลานานหลายปี โดยไม่มีอาการผิดปกติใดๆ
เมื่อเวลาที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติ เช่น อ่อนเพลีย พักผ่อนไม่เพียงพอ ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี หรือผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยากดภูมิต้านทาน เชื้อที่แฝงตัวอยู่ก็จะแบ่งตัว เพิ่มจำนวนทำให้เส้นประสาทอักเสบ เกิดการปวดตามแนวเส้น ประสาท และปล่อยเชื้อไวรัสออกมาที่ผิวหนังตามแนวเส้น ประสาท
อาการของโรคงูสวัดเป็นอย่างไร ?
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแสบร้อนบริเวณผิวหนัง หลังจากนั้น 2-3 วัน มีผื่นแดงขึ้นตรงบริเวณที่ปวด แล้วกลายเป็นตุ่มน้ำใส ผู้ป่วยบางรายอาจมีไข้ร่วมด้วย ผื่นมักเรียงกันเป็นกลุ่ม หรือเป็น แถวยาวตามแนวเส้นประสาท และจะแตกออกเป็นแผล ต่อมาจะตกสะเก็ด และหายได้เองใน 2 สัปดาห์ และเมื่อแผลหายแล้ว อาจยังมีอาการปวดตามแนวเส้นประสาทได้
อาการแทรกซ้อนของโรคงูสวัด ?
ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย คือ อาการปวดตามแนวเส้น ประสาทหลังการติดเชื้อ พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป บางรายอาจปวดได้นานหลายปี ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่พบได้แก่ การติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม ตาอักเสบ แผลที่ กระจกตา และภาวะแทรกซ้อนทางหู เป็นต้น
ผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี หรือผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด โรคงูสวัดอาจเป็นรุนแรงและแพร่กระจายได้ ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงแต่พบน้อย เช่น สมองและปอดอักเสบ
การรักษาและการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคงูสวัด
- ในผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันปกติอาจรักษาตามอาการ เช่น รับประทานยาแก้ปวด เนื่องจากสามารถหายได้เอง
- ในผู้ป่วยสูงอายุหรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำมาก การได้รับประทาน ยาต้านไวรัส เช่น acyclovir ภายใน 48-72 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ จะช่วยให้รอยโรคทางผิวหนังหายได้เร็วขึ้นและลดความรุนแรงของโรค รวมถึงลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้
- ประคบแผลด้วยน้ำเกลือ ครั้งละประมาณ 10 นาที 3-4 ครั้ง/วัน จะช่วยทำให้แผลแห้งขึ้น
- ในรายที่ติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน อาจต้องได้รับยา ปฏิชีวนะชนิดทาหรือรับประทานร่วมด้วย
- ถ้ามีอาการปากเปื่อยลิ้นเปื่อยให้ใช้น้ำเกลือกลั้วปาก
- ตัดเล็บสั้น ไม่แกะเกา และอาบน้ำฟอกสบู่ให้สะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติมและกลายเป็นแผลเป็น
- ถ้ามีอาการปวดหลังการติดเชื้อ สามารถรับประทานยาพาราเซตตามอลแก้ปวด ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์
- ไม่พ่นหรือทายา เช่นยาพื้นบ้านหรือยาสมุนไพรลงไป บริเวณตุ่มน้ำ เพราะอาจติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้แผลหายช้า และกลายเป็นแผลเป็นได้
การป้องกันการแพร่กระจายของโรคงูสวัด
- การสัมผัสตุ่มน้ำหรือแผลของผู้ป่วยงูสวัดอาจทำให้ผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันเกิดเป็นโรคสุกใสได้ ดังนั้นควรแยกข้าวของเครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดตัว ที่นอน ของผู้ป่วยโรคงูสวัดกับผู้ที่ยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน
- ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเป็นโรคงูสวัดแบบแพร่กระจาย สามารถแพร่กระจายเชื้อได้ทางการหายใจ ดังนั้นควรแยกผู้ป่วย ไม่ใกล้ชิดกับผู้ที่ไม่เคยเป็นโรค เด็กเล็ก และหญิงตั้งครรภ์
การป้องกันโรคงูสวัด ?
ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดแล้ว โดยสามารถลด โอกาสการเกิดโรคงูสวัด หรือหากว่าเกิดการติดเชื้อจะสามารถลดความรุนแรงของอาการงูสวัดและอาการปวดหลังการติดเชื้อ แนะนำให้ฉีดในผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปี
ท่านใดสมาชิกชาวพันทิป เกี่ยวกับโรคนี้บ้างครับ ?