เมื่อลูกป่วยเป็นไข้เลือดออก พ่อแม่หลายคนคงเกิดอาการใจเสียอยู่ไม่น้อย เพราะเคยได้ยินมาว่า
โรคไข้เลือดออก ทำให้เสียชีวิตได้

อย่างไรก็ดีแม้จะฟังดูน่ากลัว แต่การได้รับการดูแลรักษาตั้งแต่เริ่มแรกอย่างใกล้ชิดในทุกช่วงของอาการก็จะช่วยให้พ้นจากระยะวิกฤติได้
วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้ '' ไข้เลือดออกในเด็ก ''
โรคไข้เลือดออก (dengue hemorrhagic fever หรือ dengue shock syndrome)
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกเดงกี (dengue virus) ซึ่งมีอยู่ 4 สายพันธุ์ จัดอยู่ในกลุ่ม flavivirus
และสามารถแพร่ได้โดยมียุงลายเป็นพาหะ โดยส่วนหนึ่งเนื่องมาจากภาวะโลกร้อนทำให้ยุงแต่ละชนิดสามารถแพร่พันธุ์ได้มากขึ้น
สิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรทราบเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกก็คือ อาการต่างๆ ที่ทำให้สงสัยว่าลูกอาจเป็นไข้เลือดออก
โดยอาการของโรคแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะแรก (ระยะไข้สูง) ระยะนี้มักไม่ค่อยมีอาการจำเพาะ เด็กจะมีไข้สูงและเป็นหลายวัน (ประมาณ 5-6 วัน)
มีอาการหวัด ปวดเมื่อยตัว คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ในช่วงฤดูไข้เลือดออก หากลูกมีไข้สูงหลายวัน
คุณพ่อคุณแม่ควรนึกถึงการติดเชื้อไข้เลือดออกด้วยเสมอ ควรพาลูกไปพบแพทย์ ไม่ควรพยายามรักษาเอง
และควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาลดไข้ประเภทแอสไพรินและไอบูโพรเฟน
อาจทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหารและเกิดปัญหาเลือดออกในกระเพาะอาหาร
รวมถึงเลือดไม่แข็งตัวเมื่ออาการของไข้เลือดออกเป็นรุนแรงถึงขั้นระยะช็อกได้
ระยะวิกฤติ (ระยะ 3 วันอันตราย อาจเสี่ยงกับอาการช็อกได้) คนไข้มักมีไข้มาแล้วหลายวัน อาการทั่วไปจะดูเพลียมากขึ้น
อาจมีอาการปวดเมื่อยตัวมากขึ้น รวมถึงมีอาการปวดท้อง ท้องอืด เบื่ออาหาร ผิวหน้า-ฝ่ามือ-ฝ่าเท้าดูแดงๆ
ในช่วงนี้เด็กบางคนอาจพูดคุยได้ดี แต่ก็ยังต้องคอยตรวจวัดชีพจรและความดันโลหิตเป็นช่วงๆ บ่อยๆ
ร่วมกับดูปริมาณน้ำและอาหารที่รับประทานเข้าไปเทียบกับปริมาณปัสสาวะที่ออกมาในแต่ละช่วงของวัน
ในบางรายอาจมีอาการท้องอืดมากขึ้น กระสับกระส่าย ปลายมือปลายเท้าเย็น ร่วมกับไข้ที่ลดลงเป็นอุณหภูมิปกติ
ซึ่งอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจผิดว่าเด็กกำลังจะหายจากไข้เลือดออกแล้ว
ทั้งๆ ที่เด็กอาจกำลังเข้าสู่ระยะช็อกที่จะมีความรุนแรงตามมาในอีกไม่กี่ชั่วโมงนี้ก็ได้
ระยะฟื้นตัว เป็นระยะหลังไข้ลงโดยไม่มีอาการช็อก โดยเกล็ดเลือดจะเริ่มกลับสูงขึ้น ชีพจรและความดันโลหิตเริ่มคงที่ดีขึ้น
ปัสสาวะเริ่มออกมากขึ้น การไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลืองที่เคยซึมรั่วไปอยู่ในส่วนอื่นๆ
ของร่างกายกลับเข้าสู่ระบบการไหลเวียนของเลือดเพิ่มขึ้น ทำให้อวัยวะต่างๆ เริ่มทำงานเป็นปกติ
จากนั้นในอีก 48-72 ชั่วโมงต่อมาจะเข้าสู่ระยะที่เรียกว่าหายเป็นปกติ คนไข้จะเริ่มมีความอยากอาหารบ้าง
อาการปวดท้องและท้องอืดจะดีขึ้น รู้สึกมีแรงมากขึ้น มักพบผื่นแดงและคันตามฝ่ามือและฝ่าเท้าโดยไม่มีการลอกตัวของผิวหนัง
กลุ่มเสี่ยงของโรคไข้เลือดออก
กลุ่มเสี่ยงต่อการป่วย เด็กวัยเรียน อายุ 5 – 14 ปี
กลุ่มเสี่ยงต่อการเสียชีวิต วัยผู้ใหญ่ อายุ 35 ปีขึ้นไป และผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะอ้วนและมีโรคประจำตัวเรื้อรัง
ซื้อยารับประทานเอง ได้รับยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (NSAIDs)

หากมีอาการเหล่านี้ อาจเป็นอาการไข้เลือดออก ควรพบแพทย์ทันที
1.มีอาการแย่ลงเมื่อไข้ลดลง หรือไข้ลงแล้วยังเพลีย เบื่ออาหาร ไม่ค่อยเล่น อ่อนเพลีย
2.คลื่นไส้ อาเจียนตลอดเวลา
3.เลือดออกมาก เช่น เลือดกำเดา อาเจียน หรือ อุจจาระเป็นสีดำ
4.ปวดท้องมาก
5.กระสับกระส่าย พฤติกรรมเปลี่ยนไป
6.กระหายน้ำตลอดเวลา
7.ร้องไห้งอแง เอะอะโวยวาย หรือร้องกวนมากในเด็กเล็ก
8..ตัวเย็น สีผิวคล้ำลง หรือตัวลาย
9..ไม่ถ่ายปัสสาวะภายใน 4-6 ชั่วโมง
การรักษาแพทย์จะทำการประเมินอาการของคนไข้บ่อยๆ และทำการตรวจเลือดแบบทั่วไป
และดูค่าความเข้มของเม็ดเลือดแดง เพื่อดูว่าคนไข้มีจำนวนเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดสูงต่ำมากน้อยแค่ไหน
รวมถึงตรวจดูความผิดปกติของระดับเอนไซม์ตับ จะช่วยบ่งบอกถึงความรุนแรงของโรคได้
หากคนไข้มีเม็ดเลือดแดงเข้มข้นขึ้น มีจำนวนเกล็ดเลือดลดต่ำลงมาก (จากหลายแสนลดลงเหลือเพียงไม่กี่หมื่น)
ร่วมกับมีชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตต่ำ กระสับกระส่ายหรือซึมลง ปัสสาวะออกน้อยลง
นั่นอาจเป็นตัวบ่งชี้ว่าคนไข้มีโอกาสเข้าสู่ระยะช็อกได้ในอีกไม่กี่ชั่วโมง
แพทย์จะทำการย้ายคนไข้ไปยังห้องไอซียูเพื่อให้การดูแลอย่างใกล้ชิด
และเตรียมการให้เลือดหรือสารน้ำเกลือที่จำเป็นเพื่อรักษาอาการช็อกจากการเสียเลือดภายในร่างกายที่เกิดจากภาวะไข้เลือดออกให้ทัน
จนกว่าผู้ป่วยจะหายจากภาวะช็อก ซึ่งมักใช้เวลาอย่างน้อย 48-72 ชั่วโมงขึ้นไป

สำหรับพ่อคุณแม่ที่มีลูกสาวอยู่ในช่วงวัยรุ่นที่มีประจำเดือนแล้วและป่วยเป็นไข้เลือดออก บางรายอาจมีประจำเดือนออกมามากได้
คุณพ่อคุณแม่จึงควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนว่าลูกกำลังจะมีประจำเดือนหรือไม่
ในกรณีที่จำเป็นแพทย์อาจพิจารณาให้ฮอร์โมนเพื่อเลื่อนการมีประจำเดือนออกไปให้พ้นระยะวิกฤติจากไข้เลือดออกไปก่อน
เช่นเดียวกับเด็กที่มีปัญหาด้านโรคเลือดบางอย่าง เช่น ภาวะเลือดออกง่าย เพิ่งได้รับการรักษามะเร็งเม็ดเลือด
ก็เป็นกลุ่มที่ต้องดูแลรักษาด้วยความระมัดระวัง เพราะเมื่อเข้าสู่ระยะวิกฤติของไข้เลือดออกอาจเกิดความรุนแรงได้มาก
ปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถกำจัดเชื้อไข้เลือดออกได้
การป้องกันไข้เลือดออก นอกจากระวังไม่ให้ถูกยุงกัดแล้ว
สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำ ช่วยกันกำจัดลูกน้ำและลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เก็บทำลายภาชนะที่มีน้ำขังหรือไม่ใช้แล้ว
เช่น ฝังหรือเผา และคว่ำภาชนะที่ไม่ได้ใช้ ใส่น้ำเกลือ น้ำส้มสายชู หรือ ผงซักฟอกลงในน้ำจานรองตู้กับข้าวเพื่อป้องกันไม่ให้ยุงมาวางไข่
วัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกเป็นวัคซีนที่ใช้สำหรับป้องกันโรคไข้เลือดออกที่เกิดจากเชื้อไวรัสเด็งกี่สายพันธุ์ 1, 2, 3 และ 4
สามารถใช้ได้ในเด็กอายุตั้งแต่ 9 ปีถึงผู้ที่มีอายุ 45 ปี โดยจะฉีดทั้งหมด 3 เข็ม ที่ 0, 6, 12 เดือน
หลังจากฉีดครบแล้วนั้นพบว่าสามารถป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ 65.6% ลดความรุนแรงของโรคได้ 92.9%
และลดอัตราการนอนโรงพยาบาลได้ 80.8%
ความรู้เพิ่มเติม
https://shorturl.asia/ewIn5
https://www.youtube.com/watch?v=8xaTEz1XvYE
ไข้เลือดออกในเด็ก ภัยเงียบจากยุงร้าย
อย่างไรก็ดีแม้จะฟังดูน่ากลัว แต่การได้รับการดูแลรักษาตั้งแต่เริ่มแรกอย่างใกล้ชิดในทุกช่วงของอาการก็จะช่วยให้พ้นจากระยะวิกฤติได้
วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้ '' ไข้เลือดออกในเด็ก ''
โรคไข้เลือดออก (dengue hemorrhagic fever หรือ dengue shock syndrome)
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกเดงกี (dengue virus) ซึ่งมีอยู่ 4 สายพันธุ์ จัดอยู่ในกลุ่ม flavivirus
และสามารถแพร่ได้โดยมียุงลายเป็นพาหะ โดยส่วนหนึ่งเนื่องมาจากภาวะโลกร้อนทำให้ยุงแต่ละชนิดสามารถแพร่พันธุ์ได้มากขึ้น
สิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรทราบเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกก็คือ อาการต่างๆ ที่ทำให้สงสัยว่าลูกอาจเป็นไข้เลือดออก
โดยอาการของโรคแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะแรก (ระยะไข้สูง) ระยะนี้มักไม่ค่อยมีอาการจำเพาะ เด็กจะมีไข้สูงและเป็นหลายวัน (ประมาณ 5-6 วัน)
มีอาการหวัด ปวดเมื่อยตัว คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ในช่วงฤดูไข้เลือดออก หากลูกมีไข้สูงหลายวัน
คุณพ่อคุณแม่ควรนึกถึงการติดเชื้อไข้เลือดออกด้วยเสมอ ควรพาลูกไปพบแพทย์ ไม่ควรพยายามรักษาเอง
และควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาลดไข้ประเภทแอสไพรินและไอบูโพรเฟน
อาจทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหารและเกิดปัญหาเลือดออกในกระเพาะอาหาร
รวมถึงเลือดไม่แข็งตัวเมื่ออาการของไข้เลือดออกเป็นรุนแรงถึงขั้นระยะช็อกได้
ระยะวิกฤติ (ระยะ 3 วันอันตราย อาจเสี่ยงกับอาการช็อกได้) คนไข้มักมีไข้มาแล้วหลายวัน อาการทั่วไปจะดูเพลียมากขึ้น
อาจมีอาการปวดเมื่อยตัวมากขึ้น รวมถึงมีอาการปวดท้อง ท้องอืด เบื่ออาหาร ผิวหน้า-ฝ่ามือ-ฝ่าเท้าดูแดงๆ
ในช่วงนี้เด็กบางคนอาจพูดคุยได้ดี แต่ก็ยังต้องคอยตรวจวัดชีพจรและความดันโลหิตเป็นช่วงๆ บ่อยๆ
ร่วมกับดูปริมาณน้ำและอาหารที่รับประทานเข้าไปเทียบกับปริมาณปัสสาวะที่ออกมาในแต่ละช่วงของวัน
ในบางรายอาจมีอาการท้องอืดมากขึ้น กระสับกระส่าย ปลายมือปลายเท้าเย็น ร่วมกับไข้ที่ลดลงเป็นอุณหภูมิปกติ
ซึ่งอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจผิดว่าเด็กกำลังจะหายจากไข้เลือดออกแล้ว
ทั้งๆ ที่เด็กอาจกำลังเข้าสู่ระยะช็อกที่จะมีความรุนแรงตามมาในอีกไม่กี่ชั่วโมงนี้ก็ได้
ระยะฟื้นตัว เป็นระยะหลังไข้ลงโดยไม่มีอาการช็อก โดยเกล็ดเลือดจะเริ่มกลับสูงขึ้น ชีพจรและความดันโลหิตเริ่มคงที่ดีขึ้น
ปัสสาวะเริ่มออกมากขึ้น การไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลืองที่เคยซึมรั่วไปอยู่ในส่วนอื่นๆ
ของร่างกายกลับเข้าสู่ระบบการไหลเวียนของเลือดเพิ่มขึ้น ทำให้อวัยวะต่างๆ เริ่มทำงานเป็นปกติ
จากนั้นในอีก 48-72 ชั่วโมงต่อมาจะเข้าสู่ระยะที่เรียกว่าหายเป็นปกติ คนไข้จะเริ่มมีความอยากอาหารบ้าง
อาการปวดท้องและท้องอืดจะดีขึ้น รู้สึกมีแรงมากขึ้น มักพบผื่นแดงและคันตามฝ่ามือและฝ่าเท้าโดยไม่มีการลอกตัวของผิวหนัง
กลุ่มเสี่ยงต่อการป่วย เด็กวัยเรียน อายุ 5 – 14 ปี
กลุ่มเสี่ยงต่อการเสียชีวิต วัยผู้ใหญ่ อายุ 35 ปีขึ้นไป และผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะอ้วนและมีโรคประจำตัวเรื้อรัง
ซื้อยารับประทานเอง ได้รับยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (NSAIDs)
1.มีอาการแย่ลงเมื่อไข้ลดลง หรือไข้ลงแล้วยังเพลีย เบื่ออาหาร ไม่ค่อยเล่น อ่อนเพลีย
2.คลื่นไส้ อาเจียนตลอดเวลา
3.เลือดออกมาก เช่น เลือดกำเดา อาเจียน หรือ อุจจาระเป็นสีดำ
4.ปวดท้องมาก
5.กระสับกระส่าย พฤติกรรมเปลี่ยนไป
6.กระหายน้ำตลอดเวลา
7.ร้องไห้งอแง เอะอะโวยวาย หรือร้องกวนมากในเด็กเล็ก
8..ตัวเย็น สีผิวคล้ำลง หรือตัวลาย
9..ไม่ถ่ายปัสสาวะภายใน 4-6 ชั่วโมง
การรักษาแพทย์จะทำการประเมินอาการของคนไข้บ่อยๆ และทำการตรวจเลือดแบบทั่วไป
และดูค่าความเข้มของเม็ดเลือดแดง เพื่อดูว่าคนไข้มีจำนวนเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดสูงต่ำมากน้อยแค่ไหน
รวมถึงตรวจดูความผิดปกติของระดับเอนไซม์ตับ จะช่วยบ่งบอกถึงความรุนแรงของโรคได้
หากคนไข้มีเม็ดเลือดแดงเข้มข้นขึ้น มีจำนวนเกล็ดเลือดลดต่ำลงมาก (จากหลายแสนลดลงเหลือเพียงไม่กี่หมื่น)
ร่วมกับมีชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตต่ำ กระสับกระส่ายหรือซึมลง ปัสสาวะออกน้อยลง
นั่นอาจเป็นตัวบ่งชี้ว่าคนไข้มีโอกาสเข้าสู่ระยะช็อกได้ในอีกไม่กี่ชั่วโมง
แพทย์จะทำการย้ายคนไข้ไปยังห้องไอซียูเพื่อให้การดูแลอย่างใกล้ชิด
และเตรียมการให้เลือดหรือสารน้ำเกลือที่จำเป็นเพื่อรักษาอาการช็อกจากการเสียเลือดภายในร่างกายที่เกิดจากภาวะไข้เลือดออกให้ทัน
จนกว่าผู้ป่วยจะหายจากภาวะช็อก ซึ่งมักใช้เวลาอย่างน้อย 48-72 ชั่วโมงขึ้นไป
คุณพ่อคุณแม่จึงควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนว่าลูกกำลังจะมีประจำเดือนหรือไม่
ในกรณีที่จำเป็นแพทย์อาจพิจารณาให้ฮอร์โมนเพื่อเลื่อนการมีประจำเดือนออกไปให้พ้นระยะวิกฤติจากไข้เลือดออกไปก่อน
เช่นเดียวกับเด็กที่มีปัญหาด้านโรคเลือดบางอย่าง เช่น ภาวะเลือดออกง่าย เพิ่งได้รับการรักษามะเร็งเม็ดเลือด
ก็เป็นกลุ่มที่ต้องดูแลรักษาด้วยความระมัดระวัง เพราะเมื่อเข้าสู่ระยะวิกฤติของไข้เลือดออกอาจเกิดความรุนแรงได้มาก
ปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถกำจัดเชื้อไข้เลือดออกได้ การป้องกันไข้เลือดออก นอกจากระวังไม่ให้ถูกยุงกัดแล้ว
สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำ ช่วยกันกำจัดลูกน้ำและลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เก็บทำลายภาชนะที่มีน้ำขังหรือไม่ใช้แล้ว
เช่น ฝังหรือเผา และคว่ำภาชนะที่ไม่ได้ใช้ ใส่น้ำเกลือ น้ำส้มสายชู หรือ ผงซักฟอกลงในน้ำจานรองตู้กับข้าวเพื่อป้องกันไม่ให้ยุงมาวางไข่
วัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกเป็นวัคซีนที่ใช้สำหรับป้องกันโรคไข้เลือดออกที่เกิดจากเชื้อไวรัสเด็งกี่สายพันธุ์ 1, 2, 3 และ 4
สามารถใช้ได้ในเด็กอายุตั้งแต่ 9 ปีถึงผู้ที่มีอายุ 45 ปี โดยจะฉีดทั้งหมด 3 เข็ม ที่ 0, 6, 12 เดือน
หลังจากฉีดครบแล้วนั้นพบว่าสามารถป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ 65.6% ลดความรุนแรงของโรคได้ 92.9%
และลดอัตราการนอนโรงพยาบาลได้ 80.8%
ความรู้เพิ่มเติม
https://shorturl.asia/ewIn5
https://www.youtube.com/watch?v=8xaTEz1XvYE