กิจกรรมวิทยาศาสตร์กับลูก 4 จรวดแรงดันจากน้ำส้มสายชูและ Baking Soda

สวัสดีค่ะ แม่ๆ พ่อๆ และผู้ปกครองเด็กๆ ทุกท่าน อาทิตย์นี้เราได้ชวนลูกทำการทดลองวิทยาศาสตร์อีกอย่างคือ การทำจรวดแรงดันจากน้ำส้มสายชูและ baking soda ค่ะ

วัตถุประสงค์การเรียนรู้
- เรียนรู้เกี่ยวการทำปฏิกริยาของสารต่างๆ เช่น baking soda และน้ำส้มสายชู หรือโคล่ากับเมนโทส
- เรียนรู้เกี่ยวกับแรงดัน ซึ่งอาจจะเอาไปสอนเกี่ยวกับสิ่งอื่นๆ ด้วย เช่น แรงดันที่ทำให้ภูเขาไฟระเบิด ฯลฯ
- เล่นสนุก ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์


สิ่งที่ต้องใช้:
- ขวดพลาสติก
- ซ้อมพลาสติก
- เทปกาว
- จุกคอร์ก
- อุปกรณ์ตกแต่งจรวด
- น้ำส้มสายชู  +  baking soda
- โคล่า + เมนทอส

วิธีทำ:
1) ติดขาตั้งที่ขวด ด้วยซ้อมพลาสติก 3 อัน



2) ตกแต่งจรวดตามความคิดสร้างสรรค์ เราใช้กระดาษสีแต่งเป็นตัวจรวดและหัวจรวดค่ะ แปะด้วยเทปกาว


3) หาวิธีมัดผง baking soda และ เมนทอส กับจุกคอร์ก เพื่อที่หลีกเลี่ยงในการใส่ผง baking soda ลงในน้ำส้มสายชู หรือใส่เมนทอสในโคล่าโดยตรง เพราะหากใส่ไปโดยตรง เราจะไม่มีเวลาปิดจุกคอร์กค่ะ มันจะทำปฏิกริยากันทันที วิธีที่เราใช้คือ ใช้เทปแปะเมนทอสกับเส้นด้ายและมัดกับจุกคอร์ก และใช้กระดาษทิชชู่บางๆ ห่อผง baking soda แล้วเอาด้ายมัดไว้ แล้วก็แปะกับจุกคอร์กค่ะ


4) เทน้ำส้มสายชูลงในขวด  ค่อยๆ ใส่เมนทอสลงในขวดโคล่า  หรือใส่ห่อ baking soda ในขวดน้ำส้มสายชู  ปิดจุดคอร์กให้แน่น


5) เอาขวดไปตั้งในที่โล่ง แล้วก็รอให้สารทำปฏิกริยา แล้วผลักขวดขึ้นเหมือนจรวดพุ่ง


สรุปว่าเราประสบความสำเร็จในการยิงจรวดจาก baking soda และน้ำส้มสายชูค่ะ แต่โคล่ากับเมนทอสไม่รอด 555

การทดลองนี้ใช้เวลาในการเตรียมหน่อย แต่ช่วงเวลาสนุกมันแค่ไม่กี่วินาที แต่ก็สนุกดีค่ะ มันก็ตื่นเต้นดีว่าจรวดมันจะพุ่งมั้ย พุ่งแค่ไหน

ถ้าใครอยากดูวิธีการทำแบบละเอียดที่เป็นวิดีโอ สามารถมาดูได้ที่  (มี sub ภาษาไทยค่ะ)
https://youtu.be/CAyF2PmlAJE

หรือชมการทดลองอื่นๆ ได้ที่ Youtube Channel "Craz Craz Experiments with Tilzy" ค่ะ 
https://www.youtube.com/@tilzyexperiments

ขอบคุณมากค่า แล้วเจอกันสำหรับกิจกรรมต่อไปค่ะ 
--------------------------------------------------
การทดลองที่เคยทำค่ะ
1) ทำกล่องกระดาษให้เป็นเครื่องฉาย Hologram
https://youtu.be/uieUmHcGK-E
2) สสารที่เป็นทั้งของแข็งและของเหลว Non-Newtonian Fluid
https://youtu.be/WHkXrNhFRvU
3) ของเหลวสีรุ้งจากความเป็นกรด-ด่าง และตัววัดค่าจากกะหล่ำแดง
https://youtu.be/febxY1lNkEc
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่