สัญญาณ ภาวะหัวใจล้มเหลว

loveภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure) เป็นภาวะอันตรายที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตภายในเวลาเพียงแค่เสี้ยววินาที 
ในปัจจุบันนี้พบว่ามีอัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าโรคนี้จะดูน่ากลัว
แต่ถ้าเราดูแลตัวเองและหาทางป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ก็จะช่วยให้เราห่างไกลจากภาวะนี้ได้love



วันนี้พี่หมอฝั่งธน..จะมาให้ความรู้     loveสัญญาณ ภาวะหัวใจล้มเหลวlove

ภาวะหัวใจล้มเหลว คือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย หรือรับเลือดกลับเข้าสู่หัวใจได้ตามปกติ
มีผลทำให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงเกิดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
เนื่องจากสมองและกล้ามเนื้อขาดเลือดไปเลี้ยง
นอกจากนั้น การที่หัวใจสูบฉีดไม่ดีทำให้เกิดการคั่งของเลือดในอวัยวะต่างๆ ทำให้เกิดการบวมของแขนขา ใบหน้า 
รวมถึงมีการคั่งของเลือดในปอดเวลานอนราบ ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถนอนราบได้เป็นเวลานาน ต้องนอนศีรษะสูง 
และตื่นมานั่งหอบกลางดึกบ่อยๆ ในรายที่เป็นมากจะเหนื่อยหอบตลอดเวลา และไม่สามารถนอนราบได้แม้ช่วงเวลาสั้นๆexclaim

loveสาเหตุปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดหัวใจล้มเหลว
อาจเกิดจากความผิดปกติของเยื่อหุ้มหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ หรือโรคของหลอดเลือด
สาเหตุสำคัญคือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคความดันโลหิตสูง และสำหรับประเทศไทยโรคลิ้นหัวใจรูห์มาติก
สาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ได้แก่ การบริโภคแอลกอฮอล์เป็นเวลานาน การใช้สารเสพติด เช่น ยาบ้า 
การได้รับสารเสตียรอยด์ การได้รับยาเคมีบำบัดบางชนิด การติดเชื้อทั้งไวรัสและแบคทีเรียหลายชนิด การได้รับสารโลหะหนัก
รวมทั้งโรคที่ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจต้องทำงานอย่างหนักเป็นเวลานาน เช่น โรคไทยรอยด์เป็นพิษ โรคโลหิตจางเรื้อรัง
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคไตที่มีการคั่งของน้ำในร่างกายในปริมาณมากๆ ก็เป็นสาเหตุสำคัญของภาวะหัวใจล้มเหลว
นอกจากนี้ยังมีภาวะที่พบไม่บ่อย แต่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดหัวใจล้มเหลวในคนอายุน้อย
คือ การเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งหากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที
อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อทั้งแม่และเด็ก

loveอาการที่บ่งบอกว่า...เสี่ยง “หัวใจล้มเหลว”  รู้สึกอึดอัด หายใจลำบาก เมื่อออกกำลังกาย หายใจลำบากเมื่อนอนหงาย  นอนราบ
ตื่นกลางดึกเพราะไอ หรือหายใจลำบาก อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ข้อเท้า เท้าหรือขาบวม เวียนศีรษะ หน้ามืด เข้าห้องน้ำบ่อยตอนกลางคืน

love การรักษา แพทย์จะพิจารณาจากหลายๆ ปัจจัย เช่น สาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลว ความรุนแรงของโรค ระยะของโรค โรคอื่นๆ ที่พบร่วม 
การรักษาด้วยยา เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาลดความดันโลหิต ยาเพิ่มการบีบตัวของหัวใจ ยากลุ่มลดการกระตุ้นระบบนิวโรฮอร์โมน 
ยาขยายหลอดเลือด ยาต้านเกล็ดเลือด ยาต้านภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น
การใช้เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติชนิดฝังในร่างกาย การใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจถาวรชนิดที่ทำให้หัวใจห้องล่างซ้ายและขวาบีบตัวพร้อมกัน 
ร่วมหรือไม่ร่วมกับเครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติชนิดฝังในร่างกาย
การผ่าตัดใส่เครื่องช่วยการสูบฉีดเลือดของหัวใจ
การผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ การผ่าตัดลิ้นหัวใจรั่ว

loveการป้องกัน เนื่องจากภาวะหัวใจล้มเหลวพบมากขึ้นตามวัย ดังนั้นการตรวจสุขภาพประจำปี
เพื่อค้นหาและให้การรักษาโรคในระยะเริ่มต้น จึงเป็นการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่