คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 11
ส่วนตัวผมมองว่าเพราะมุมมองการบริหารประเทศครับ
คือ เค้าจะมีแนวคิดว่าที่ค่าครองชีพสูงก็เพราะราคาสินค้าเพิ่มสูงซึ่งมีเรื่องค่าแรงที่แพงเป็นปัจจัยสำคัญ
ดังนั้น ถ้าจะให้ค่าครองชีพต่ำ ราคาสินค้าต่ำ ก็ต้องพยายามไม่ขึ้นค่าแรงซึ่งเป็นปัจจัยที่รัฐบาลควบคุมได้ง่าย
แต่ในความจริง ถึงค่าแรงจะถูกแต่สินค้าต่าง ๆ ก็มีต้นทุนจากปัจจัยอื่น ๆ ผสมอีกและไม่สามารถควบคุมได้ เช่นวัตถุดิบต้องนำเข้า เครื่องจักรต้องซื้อจากต่างประเทศ
สุดท้ายทำให้ค่าครองชีพค่อย ๆ แพงขึ้นแต่ค่าแรงแทบไม่เปลี่ยนเลย ไม่สัมพันธ์กัน
อีกอย่างคือการมองความหมายของค่าครองชีพที่...ค่อนข้างแคบ
เมื่อพูดถึงค่าครองชีพ ส่วนใหญ่ก็คิดกันก็คือค่าอาหาร 3 มื้อในราคาที่ต่ำที่สุด ง่าย ๆ และแค่นี้
ขณะที่ค่าครองชีพจริง ๆ มีปัจจัยที่ควรจะคำนึงมากกว่านั้นมาก เช่น ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่ารักษาพยาบาล ส่วนเหลือสำหรับออม ค่าพัฒนาคุณภาพชีวิตหรือธุรกิจของตนเอง ฯลฯ
เมื่อเรามองค่าครองชีพในวงแคบ ก็ทำให้จำนวนเงินค่าครองชีพที่ออกมาจากการคำนวนต่ำลงไปจากความเป็นจริง และทำให้ค่าแรงไม่ค่อยขึ้นเพราะมองว่ามันเพียงพอแล้ว
ลองคิดที่รายได้ 15,000 ต่อเดือนแล้วกัน อยู่ได้ไหม ได้ แต่ก็แค่ใช้ชีวิตไปวัน ๆ เท่านั้นแหละ มันแทบไม่มีเหลือพอสำหรับพัฒนาคุณภาพชีวิตหรือเก็บออมหรอก ยิ่งเกิดเจ็บป่วยหรือเหตุการไม่คาดคิดเช่นรถเสียขึ้นมาก็ยิ่งไปกันใหญ่
คือ เค้าจะมีแนวคิดว่าที่ค่าครองชีพสูงก็เพราะราคาสินค้าเพิ่มสูงซึ่งมีเรื่องค่าแรงที่แพงเป็นปัจจัยสำคัญ
ดังนั้น ถ้าจะให้ค่าครองชีพต่ำ ราคาสินค้าต่ำ ก็ต้องพยายามไม่ขึ้นค่าแรงซึ่งเป็นปัจจัยที่รัฐบาลควบคุมได้ง่าย
แต่ในความจริง ถึงค่าแรงจะถูกแต่สินค้าต่าง ๆ ก็มีต้นทุนจากปัจจัยอื่น ๆ ผสมอีกและไม่สามารถควบคุมได้ เช่นวัตถุดิบต้องนำเข้า เครื่องจักรต้องซื้อจากต่างประเทศ
สุดท้ายทำให้ค่าครองชีพค่อย ๆ แพงขึ้นแต่ค่าแรงแทบไม่เปลี่ยนเลย ไม่สัมพันธ์กัน
อีกอย่างคือการมองความหมายของค่าครองชีพที่...ค่อนข้างแคบ
เมื่อพูดถึงค่าครองชีพ ส่วนใหญ่ก็คิดกันก็คือค่าอาหาร 3 มื้อในราคาที่ต่ำที่สุด ง่าย ๆ และแค่นี้
ขณะที่ค่าครองชีพจริง ๆ มีปัจจัยที่ควรจะคำนึงมากกว่านั้นมาก เช่น ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่ารักษาพยาบาล ส่วนเหลือสำหรับออม ค่าพัฒนาคุณภาพชีวิตหรือธุรกิจของตนเอง ฯลฯ
เมื่อเรามองค่าครองชีพในวงแคบ ก็ทำให้จำนวนเงินค่าครองชีพที่ออกมาจากการคำนวนต่ำลงไปจากความเป็นจริง และทำให้ค่าแรงไม่ค่อยขึ้นเพราะมองว่ามันเพียงพอแล้ว
ลองคิดที่รายได้ 15,000 ต่อเดือนแล้วกัน อยู่ได้ไหม ได้ แต่ก็แค่ใช้ชีวิตไปวัน ๆ เท่านั้นแหละ มันแทบไม่มีเหลือพอสำหรับพัฒนาคุณภาพชีวิตหรือเก็บออมหรอก ยิ่งเกิดเจ็บป่วยหรือเหตุการไม่คาดคิดเช่นรถเสียขึ้นมาก็ยิ่งไปกันใหญ่
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
ความสามารถยังเป็นลูกจ้างระดับทำงานทั่วๆไป จะฝันรอแต่ค่าแรงขึ้นโดยทำงานง่ายๆมันจะได้เหรอครับ อยากได้ค่าแรงสูงๆก็ต้องพัฒนาความสามารถของตัวเอง ความสามารถสูงๆยังไงนายจ้างก็จ่าย
แต่ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด มีความสามารถสูงแต่อยู่ผิดที่ผิดทางเงินเดือนก็ไม่ได้มากหรอกครับ ทำงานเกินเงินเดือนด้วยซ้ำไป
แต่ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด มีความสามารถสูงแต่อยู่ผิดที่ผิดทางเงินเดือนก็ไม่ได้มากหรอกครับ ทำงานเกินเงินเดือนด้วยซ้ำไป
แสดงความคิดเห็น
ทำไมค่าแรงไทยขึ้นไม่สัมพันธ์กับค่าครองชีพเลยครับ
ทุกวันนี้เงินเดือนเด็กจบใหม่ 20000 (แล้วแต่สาย) แต่ข้าวชามละ 50 แล้ว ค่าอาหารขึ้นมา 5 เท่า แต่เงินเดือนขึ้นมาแค่ประมาณ 2.5 เท่า
ผมสงสัยว่าทำไมมันไม่สัมพันธ์กันครับ ส่วนต่างเงินเดือนกับค่าครองชีพมันหายไปไหน นึกภาพคนสมัยก่อน เปอร์เซนค่าครองชีพต่อเงินเดือนน่าจะต่ำกว่ายุคนี้เยอะ