ผมสนใจคำว่า ยวน ญวน หยวน เยว่ ใหญ่ มันมีความสำพันธ์กับคำว่า Ionian ยังไง?

ผมสนใจคำว่า ยวน ญวน หยวน เยว่ ใหญ่ มันมีความสำพันธ์กับคำว่า Ionian ยังไง?
ในลิลิตยวนพ่ายที่ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง แต่สันนิษฐานว่าแต่งขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ในสมัยอยุธยา คำว่า ยวนหรือที่อ้างว่า โยน ที่มาจากคำว่า โยนก(คำว่าโยนกเกิดขึ้นในยุคโยนก พ.ศ. 1200–1650หรือค.ศ. 657-1107) คำนี้ มาจากคำว่า ยะวะนะ(ออกเสียงภาษาสันสกฤตแบบคนเหนือในอดีต เป็น โยนก)
यवन m. yavana(ยะวะนะ) an Ionian,Greek [in later times also a Muhammadan or European, any foreigner or barbarian]
คำว่า Ionian แบบภาษากรีกที่มาปกครองอินเดีย อโยธยา (Ayodhya) เป็นเมืองเก่าแก่ในประเทศอินเดีย อยู่ในรัฐอุตตรประเทศ คำว่า อโยธยา หรือ อยุทธยา เป็นการออกเสียงคำว่า ionian แล้วเพี้ยนเสียงแบบคนอินเดียเป็น Ayodhya พม่าออกเสียงคำนี้เป็น yodia,yonia ในเอกสารฝรั่ง เขียนคำนี้เป็น onia,iudia ,ionia ถ้าเติม n ตามหลังก็หมายถึงคนกรีก( ionian)
ที่พวกคนมอญหรือเขมรเอามาตั้งชื่อเมืองอยุทธยาในไทย(ที่จะอ้างว่าเป็นลูกหลานคนเมืองนี้ของอินเดียก็แล้วแต่จะอ้างเพราะอาจจะได้วิธีคิดหรือแนวคิดหรือผู้นำอาจจะเป็นลูกหลานคนจากเมืองในอินเดียก็เป็นได้)

คำว่า ญวน ญวณ ที่หมายถึงเวียดนาม(ที่เอกสารสมัยหยวนมองโกลเรียกชื่อประเทศนี้ว่า เจียวโจว交州 ) คำว่า ญวน หรือแกว ที่คนลาว ,อีสาน รวมถึงทางล้านนาเรียก มันมาจากคำว่า เวียดเกี่ยว หรือ เวียดแกว
แต่สมัยพระเจ้าติโลกราชไปปราบพวกไตเวียด(เวียดนาม) ในปี ค.ศ.1479 อาจจะเรียกคนพวกนี้ว่าญวนด้วยเหมือนกัน ตามที่ปรากฏในเอกสาร หมิงสือลู่ในราชวงศ์วงหมิงของจีนและเอกสารเวียดนา "ด่ายเหวียตสื่อกี๋ตว่านทือ" (Đại Việt Sử Ký Toàn Thư ,1998) คำว่าแกวนั้นเกิดขึ้นในยุคที่พวกเวียดนามเข้ามาอยู่ทางอีสานในช่วงสงครามเวียดกง

ชาวเวียดนามจะเรียกตนเองว่า “เหวียด”  ใช้อักษรจีนเขียนเพราะชาวเวียดนามใช้อักษาจีนก่อนอักษรโรมัน จีนแต้จิ๋วออกเสียงว่า “ฮ้วด” จีกฮกเกี้ยนออกเสียงว่า “หย้วด” ซึ่งคำว่า “ญวณ” คนเวียดนามน่าจะใช้ล่ามชาวฮกเกี้ยนจึงเรียกตามภาษาฮกเกี้ยนจึงออกเสียงว่า “ญวณ” ส่วนคำว่า “ไทยใหม่” เป็นคำที่ใช้เรียกขานลูกหลานของชาวเวียดนามอพยพที่ได้รับสัญชาติไทยและไม่สามารถส่งกลับประเทศเดิม (สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่มที่ 2 พ.ศ.2542: 402 อ้างถึงใน จตุพร ดอนโสม, 2555) https://www.sac.or.th/databases/ethnic-groups/ethnicGroups/165
อาจารย์ธัญญาทิพย์อธิบายความหมายของคำว่า “เหวียตเกี่ยว(Viet Kieu)" เป็นคำในภาษาเวียดนาม หมายถึง ชาวเวียดนามที่อาศัยอยู่นอกประเทศเวียดนาม หรือชาวเวียดนามที่มีถิ่นฐานอาศัยอยู่นอกประเทศ ชาวเวียดนามที่เข้ามาในประเทศไทยในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งกระทรวงมหาดไทยเรียกชาวเวียดนามเหล่านี้ว่า "ชาวเวียดนามอพยพ" หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า "ญวนใหม่" แต่ชาวเวียดนามเรียกกันเองว่า "เหวียตเหมย (Viet moi)" หรือ "เหวียตใหม่" หรือ "เหวียตเกี่ยวเหมย (Viet Kieu moi)" สำหรับชาวเวียดนามที่เข้ามาในประเทศไทย ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เรียกว่า "เหวียตกู๋ (Viet cu)" หรือ "เหวียตเก่า" หรือ "เหวียตเกี่ยวกู๋ (Viet Kieu cu)" หรือ "ญวนเก่า" นั่นเอง 
จากภาษาของเวียดนาม ข้างต้นทำให้เห็นว่า ทางภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติกของเวียดนามเองก็มีคำในตระกูลภาษาไทกะไดอยู่เยอะด้วยเช่นกัน แต่มีการออกเสียงในลักษณะควบกล้ำแบบมอญเขมร (จริงๆคำเก่าแบบจ้วง แบบจีนฮั่นก็มีลักษณะแบบคำควบพยางค์ด้วยเช่นกัน )
ผมสนใจตรงที่ สมัยอยุธยาเรียกคนทางเหนือว่ายวน คำนี้ ก็น่าจะเหมารวมเรียกคนกลุ่มเผ่าเยว่ทางตอนเหนือด้วย
เพราะคำว่าหยวน หรือยวน ที่จีนฮั่นเรียกพวกมองโกล คนมองโกลเองก็เรียกตัวเองว่า หยัต(ปู้หยัต) ด้วยเช่นกัน
เช่นเดียวกับคนกวางตุ้ง ก็เรียกว่าตัวเองว่า เยวี่ย เยว่ หยัต ซึ่งเป็นคำที่พวกชาวเวียดนาม รับเสียงนี้มาเป็นเหวียดแบบออกเสียงเร็วๆแบบคนใต้ของไทยหรือพวกเขมร (สำเนียงคนใต้ของไทยจะคล้ายเวียดนามมาก)
เพราะในอดีต การแปลงตัวอักษรก็มีเหตุผลหลายอย่างอาจจะเรื่องทางการเมืองหรืออะไรก็แล้วแต่ เหมือนเช่นคำว่า ยี่ปุ่น ในอดีต ปัจจุบันราชบัณฑิตเปลี่ยนเป็น ญี่ปุ่น หรือ พะเยาว์ คำนี้ก็ถูกเปลี่ยนเป็น พะเยา เช่นเดียวกับคำว่า เยาวราช (เยาว์ คำนี้ก็อาจจะมาจากคำว่า เยว่ ที่แปลว่า คนเถื่อน คนนอกด่านหรือชาวต่างชาติ ตามภาษาจีนและภาษาสันสกฤต)
อ้างถึง यवन m. yavana(ยะวะนะ) an Ionian,Greek [in later times also a Muhammadan or European, any foreigner or barbarian]
ซึ่งจะมีคำว่า यौवन n. yauvana(ยัววะนะ) youth ซึ่งแปลว่า วัยรุ่น เด็ก หรือ ผู้เกิดผู้มาทีหลัง ซึ่งคำว่า ยัววะนะหรือ เยาว์ คำนี้ก็รากศัพท์เดียวกัน กับ คำว่า yavana หลักของการรับเสียงในอดีตคือ เสียงย่อมมาก่อนตัวอักษรและความหมาย เพราะในอดีต เสียงมีไม่กี่เสียงที่กลุ่มคนใช้พูดกัน ตัวอักษรจะมีแก้กันทีหลังยังไงก็ได้ เช่นเดียวกับคำว่า ยวน เยว เยาว์ ญวณ ญวน หยัต เหยียด เยวี่ย เหยี่ย เหย่ย ใหญ่(ยิ่งใหญ่) และมีความเป็นไปได้ว่าคำว่า ยาว ที่เราใช้ๆกันในตอนนี้ ก็เกิดจากคำว่า เยว์ เยาว คำนี้ด้วย ที่หมายถึงกลุ่มคนที่ตัวสูงตัวใหญ่ เพราะในอดีต ผู้ปกครองจะมีรูปร่าง ที่สูงกว่าใหญ่กว่าผู้ถูกปกครอง อย่างเช่นกลุ่มคนทางเหนือจากจีนตอนใต้ ที่ลงมาไทยในปัจจุบัน
คำว่า หยวนของมองโกล ก็น่าจะเป็นคำว่า การเพี้ยนเสียงด้วยเช่นกัน  คำที่น่าสนใจที่จีนฮั่นก็เรียกตัวเองว่า จงหยวน ก่อนมาเรียกว่า จงเยวิน หรือ ผู้ตงฮว่า และคำว่า ยะวะนะ ในภาษาสันสกฤตอาจจะเป็นคำที่คนอินเดียเรียกคนนอกด่านคนเถื่อนก่อน แล้วจีนฮั่นก็รับไปเรียกต่ออีกที หรือไม่ก็ทางอินเดียรับมาจากจีนฮั่น เพราะคำต่างๆทางราชสำนักจะเป็นคนเรียกในเอกสารก่อนที่ประชาชนจะเรียกตาม เยว่ มันก็น่าจะมีความหมายว่าคนนอกด่านที่เป็นผู้นำของคนป่าพวกนี้อาจจะมาไกลจากกรีก เพราะคำว่าเยว่ เป็นคำที่เกิดขึ้นในยุคฉิน(ราชวงศ์แรกของจีน 221- 207 ปีก่อนคริสตศักราช)
ดังนั้น คำว่า ยวน ญวน หยวน ญวณ น่าจะเป็นคำเดียวกันครับ ที่เรียก เหมารวมคนนอกด่าน อาจจะเป็นคนป่า คนต่างชาติ หรืออะไรก็แล้วแต่ ในบันทึกฮั่นบอกว่า ชาวเยว่เก่งเรื่องสำริด จริงๆแล้ว คนจีนฮั่นเองในยุคก่อนฉินก็คือกลุ่มเยว์เองด้วยเช่นกันตาม dna แต่วัฒนธรรมคือการรับวัฒนธรรมของกลุ่มทางภาคกลาง(คนทางเหนือ)หรือเรียกว่ากลุ่ม 中原 -จงหยวน -Central Plains(หรือที่เรียกตัวเองว่าจีนฮั่น จงเหยิน หรือ ผู้ตงฮว่า )*คำว่า เหยินกับ หยวน ก็น่าสนใจ
https://0668.es/threads/89737/
มันมีภาษาที่น่าสนใจคือ Sino-Austronesian languages(or Sino-Tibetan-Austronesian)
https://en.wikipedia.org/wiki/Sino-Austronesian_languages
ที่ Laurent Sagart in 1990 ได้อธิบายว่า ภาษาจีนกลางความจะอยู่ในตระกูลภาษานี้ โดยยกหลักการเช่นเดียวกับภาษา Austro-Tai languages https://en.wikipedia.org/wiki/Austro-Tai_languages
ที่Sagart (2004) นำเสนอข้อมูลจากภาษา Kra หนึ่งในสาขาของKra–Dai languages จากกลุ่มBuyang
Sagart เสนอว่า คำในภาษาจีนโบราณ พยางค์เดียว สอดคล้องกับพยางค์ที่สองของรากศัพท์ภาษาออสโตรนีเชียนแบบProto-Austronesian อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของประเภท A/B ใน OC ซึ่งตรงกับพยางค์ที่ไม่มีเสียงหรือเพดานในภาษาจีนกลางถือว่าสอดคล้องกับอักษรตัวแรกที่ไม่มีเสียง/เปล่งเสียงใน pre-austronesian (ไม่ออกเสียงพยางค์แรก)
จากตัวอย่างคำในภาษาจีนกลางที่เกี่ยวข้องกับภาษาProto-Austronesian
ความหมาย                       Proto-Austronesian(pre-austronesian)                      Chinese
brain                                       *punuq                                                         腦 *anuʔ > nǎo 
salt                                       *siRaH1                                                           鹵 *araʔ > lǔ 
foxtail millet                        *beCeng                                                          稷 *btsək > jì

ปัจจุบันภาษาจีนกลางมีคำแบบทิเบตเข้ามาอยู่ในภาษาจำนวนมาก ทำให้ภาษาจีนกลาง ถูกจัดอยู่ภาษาSino-Tibetan languages (สาขาย่อย Sinitic languages )
https://en.wikipedia.org/wiki/Sinitic_languages
https://en.wikipedia.org/wiki/Sino-Tibetan_languages

ที่ผมอ้างยกมา ต้องการรู้แค่ว่า คำว่า เยว่ หยวน ญวน ญวณ หยัต เหยวียต เหวียด ใหญ่ เหย่ย เยาว์ กับคำว่า Ionians https://en.wikipedia.org/wiki/Ionians เกี่ยวข้องอะไรกับ กลุ่มกรีกหรือว่ากลุ่มคนพวกนี้จะนำวัฒธรรมกรีกในยุคหิน ยุคสำริด มาเผยแพร่ยังดินแดนทั้งทางอินเดียและจีน ?
Ionic Greek เป็นภาษาย่อยของ Attic–Ionic หรือภาษาถิ่นตะวันออกของกรีกโบราณ
ในเอกสารของจิตร ภูมิศักดิ์ กล่าวถึงพวก นาค naked ,snake,naka หรือคนดำตัวเล็กตามลุ่มน้ำคงคา ลุ่มน้ำสินธุ ในยุคอารยธรรมฮารัปปา(โมเฮนโจ-ดาโร) ปัจจุบันมักเรียกว่าอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ (3,300 - 1,300 ก่อนคริสตศักราช)ในยุคสำริดก่อนยุคเหล็ก คำว่า nake เป็นคำเก่าของทางยุโรปที่พวกคนยุโรปเข้ามายังอินเดียเรียกคนป่าคนเปลือยพวกนี้ ว่า nake naka ฯลฯ
https://en.wikipedia.org/wiki/Harappa
https://en.wikipedia.org/wiki/Indus_Valley_Civilisation
ถ้าเราเทียบช่วงอารยธรรมหลักใหญ่ๆ ไล่ลำดับก็คือ
1.Mesopotamia, 4000-3500 B.C
2.Ancient Egypt, 3100 B.C.
3.Ancient India, 3300 B.C
4.Ancient China, 2000 B.C.
5.Ancient Peru, 1200 B.C.
6.Ancient Mesoamerica, 1200 B.C.
https://www.history.com/news/first-earliest-human-civilizations  (เรื่อง ค.ศ. ของแต่ละแหล่งอารยธรรมมันจะค่อยตรงกันในหลายๆแหล่งอ้างอิง แต่นักวิชาการก็จัดลำดับอารยธรรมกลุ่มใหญ่ๆในการเกิดตามลำดับประมาณนี้)
Ionian
( Ionia ตั้งตามชื่อ Ion บุตรชายของ Xuthus Achaea ) กลุ่ม Ionia อาศัยอยู่บริเวณอนาโตเลีย(เอเชียไมเนอร์ หรือตุรกีในปัจจุบัน) แผ่นดินไหวบ่อยหรือหนาวจัด หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ทำให้คนกลุ่มต้องเดินทางเรร่อนทางกระจัดกระจายจากเอเชียกลางมายังเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้
Ionia เป็นหนึ่งใน 4 ชนเผ่าหลักที่ชาวกรีกโบราณ อีกสามเผ่าเป็นชาวดอเรียนชาวเอโอเลียนและชาวอาเคียน ภาษาถิ่นไอโอเนียนเป็นหนึ่งในสามกลุ่มหลักทางภาษาศาสตร์ของโลกกรีกร่วมกับภาษาถิ่นดอเรียนและเอโอเลียน
Ionia ถูกยึดครองโดยชาวกรีกจากเอเธนส์ประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสตศักราช (ต้องการอ้างอิงเรื่อง ค.ศ)
แหล่งอารยธรรมแห่งแรกที่สามารถผลิตเหล็กได้คือ แหล่งอารยธรรมเมโสโปเตเมียหรือก็คืออาณาจักรฮิตไทต์ เมื่อ 1,200 ปีก่อนคริสต์ศักราช 
มีความเป็นไปได้ว่ากลุ่มคนจากโซนนี้จะนำวิทยาการ การทำสำริด การทำเหล็ก เป็นอาวุธเข้ามาเผยแพร่ยังดินแดนเอเชียตะออก และบางคนก็กลายเป็นกลุ่มเป็นหัวหน้าหรือราชาของคนป่าแถบนี้
คำที่น่าสนใจ คำว่า ion (an atom or molecule with a net electric charge due to the loss or gain of one or more electrons. Oxford dictionary) อาจะเพี้ยนเสียงกลายมาเป็นคำว่า iron อีกคำหนึ่งก็เป็นได้ iron(a strong, hard magnetic silvery-gray metal, the chemical element of atomic number 26, much used as a material for construction and manufacturing, especially in the form of steel.) ธาตุเคมีลำดับที่ 26 
 *จากที่ผมเชื่อมโยงมาทั้งหมดนี่มีความเป็นไปได้แค่ไหน*?
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่