ผมเป็นคนหนึ่งที่กินง่าย วัตรปฎิบัติเกี่ยวกับการกินไม่ยุ่งยากซับซ้อน เพราะถือว่ากินอะไรต่อมิอะไรมาก็มากมาย กว่าจะะแก่มาได้ขนาดนี้มาถึงวัยนี้ วันนี้ จึงไม่เลือกกินเสียแล้ว ขอเพียงมีรสชาติพอกิน พออิ่มไปมื้อหนึ่ง มื้อหนึ่ง ก็พอใจ
ด้วยเหตุนี้ ผมจึงชมชอบที่จะหาร้านข้าวแกง ร้านอาหารจานเดียว เป็นที่พึ่งพิงให้อิ่มท้อง หรือซื้อเป็นกับมากินกับข้าวที่หุงเองเป็นประจำโดยจะเวียนไปตามร้านเจ้าประจำที่ถูกลิ้น ถูกกระเป๋า
วันหนึ่ง ผมไปกินข้าวเช้าที่ร้านขายข้าวแกงเจ้าประจำเจ้าหนึ่ง(ในหลายเจ้า) เจ้าของร้านซึ่งเป็นคนวัยเดียวกับผม เป็นผู้ปรุง ผู้ผัด ผู้ทอด สารพัดกับข้าว แล้วก็ให้ลูกชาย กับลูกสะใภ้เป็นผู้ตักขายหน้าร้าน เด็กสองคนนี้รุ่นราวคราวเดียวกับลูกชายผมเห็นจะได้ คือในวัยสามสิบกลางๆไปทางปลาย ร้านนี้รสอาหารดีพอควร ตั้งอยู่ในทำเลเหมาะใกล้สถานที่ราชการ คนจึงมากินกันเยอะ
ผมนั่งกินข้าวราดแกงพะแนงหมู ไข่ดาว มีน้ำซุปที่ร้านแถมให้ซดกันข้าวติดคอ จนเกือบอิ่ม พร้อมสั่งกับข้าวใส่ถุงไปอีกสองอย่างเผื่อไว้มื้อกลางวันซึ่งอาจถึงเย็น ขณะนั้นก็มีรถอเนกประสงค์สัญชาติเยอรมันคันหนึ่งมาจอดที่หน้าร้าน การจอดค่อนข้างจะขวางการจราจรด้วย เพราะไม่ได้จอดชิดขอบทาง ด้วยว่าขอบทางมีรถมอเตอร์ไซค์จอดอยู่เต็มพื้นที่หน้าร้าน พอจอด(ไม่)เรียบร้อย สุภาพชนที่นั่งในรถก็เลื่อนกระจกรถลงแล้วกึ่งตะโกนเรียกเจ้าหนุ่มเจ้าของร้านข้าวแกง ซึ่งพอได้ยินก็รีบวิ่งออกไปยืนโค้งตัวเอามือกุมพุ่มพวงดวงใจ อยู่ข้างรถเพื่อรับออเดอร์ ก่อนจะวิ่งกลับมาบอกให้ภรรยาซึ่งเป็นผู้ตักกับข้าวตักอาหารตามที่รับคำสั่งใส่ถุงพลาสติคอย่างรวดเร็ว แล้ววิ่งไปส่งให้ที่รถซึ่งจอดขวางคลอง เอ้ย ขวางถนนอย่างทันอกทันใจ เหตุการณ์นี่ดูๆแล้วก็น่าจะใช้เวลาร่วมห้านาที
ผมนั่งดู คิดในใจว่า จอดรถไม่เกรงใจชาวบ้านเลย มักง่ายไปหน่อย แต่ก็ช่างเขาเถอะ ไม่ใช่เรื่องของเรา แล้วก็เรียกเจ้าหนุ่มเจ้าของร้านมาคิดตังค์ เจ้าหนุ่มเดินยิ้มหน้าบานมาแล้วรีบพูดกับผมว่า "คุณลุง (เขาเรียกผมว่าลุง) เศรษฐีเมื่อกี้เขาแวะมาซื้อผมประจำเลย วันละสองสามอย่างทุกวัน ผมงี้ปลื้มใจจัง คนมีตังค์ยังมากินร้านผม แบบนี้ผมบริการเต็มที่เลย"
"อ้าวเหรอ" ผมว่า "เศรษฐีบ้านไหนกันละเนี่ย"
"เขามาทำบ้านจัดสรร คุณลุง เห็นว่ามาลงทุนหลายสิบล้าน น่าจะเป็นร้อยล้านได้ละมั้ง รวยจริงๆครับ" เจ้าหนุ่มตอบ
"เหรอะ แล้วเขามาซื้อกับข้าวเราไปเท่าไรล่ะ เมื่อกี้น่ะ" ผมถาม
"ร้อยหกสิบบาทครับ" ตอบพร้อมรอยยิ้มอย่างปลาบปลื้ม ผมจึงถามต่อว่า"แล้วเขาให้เงินเท่าไรล่ะ"
"ให้แบงค์ร้อยมาสองใบ ผมก็ทอนไปสี่สิบบาท ก็ให้มาร้อยหกสิบบาทแหละครับ"เป็นคำตอบจากเจ้าหนุ่ม
"เค้าไม่ได้ให้ค่าบริการอย่างนบนอบที่ส่งกับข้าวถึงรถเพิ่มด้วยหรือ ถ้าให้แค่ตามราคา แล้วเราจะมาดีใจ ปลื้มใจทำไม ลุงไม่เข้าใจว่ะ เขาซื้อเท่าไร เขาก็ให้เท่านั้น แล้วมันเกี่ยวอะไรกับความเป็นเศรษฐีด้วย " ผมยกแก้วน้ำขึ้นดื่มก่อนร่ายต่อ "ใช่ว่าเขาสั่งร้อยหกสิบ แล้วให้ห้าร้อย อันนี้ค่อยน่านิยมยินดีหน่อย แล้วนี้ค่าเสียหายของลุงเท่าไร ว่ามา"
"ของคุณลุงรวมร้อยห้าสิบบาทครับ"
ผมส่งเงินให้ตามจำนวน แล้วพูดว่า "ของลุงกินเท่านี้ก็จ่ายเท่านี้ น้อยกว่าเศรษฐีบ้านจัดสรรสิบบาท ทั้งเขาทั้งลุงต่างเป็นลูกค้าเหมือนกัน ลุงเป็นข้าราชการบำนาญกินก็มีเงินจ่าย ไม่เห็นจะต่างกับเศรษฐีร้อยล้านตรงไหน ถ้าเราจะนิยมยินดี ปลื้มอกปลื้มใจก็ควรเป็นกับลูกค้าทุกคนที่มาอุดหนุน ไม่ควรตื่นเต้นหรือเอาอกเอาใจกับใครคนใดคนหนึ่ง เพียงแค่คำว่าคนมีเงิน หรอกหลานชาย" ผมว่าเสียยาว"พูดง่ายๆ อย่าไปตื่นคนมีเงิน เขามีก็เรื่องเขา ตราบใดที่เขายังไม่มีน้ำใจเกื้อกูลต่อเรา ต่อสังคม แล้วเราจะไปตื่นเต้น ไปยกย่องเขาด้วยเหตุใด"
ผมยกแก้วน้ำดื่มรวดเดียวหมดแก้วก่อนบอกว่า "หนุ่มน้อยเอ๋ย อย่าตื่นคนมีเงินเถอะ เงินเขาก็คือเงินเขา ตั้งหน้าตั้งตาทำมาหากิน ดูแลลูกค้าที่มาอุดหนุนให้เสมอภาคเท่าเทียมกันด้วยน้ำใจจะดีกว่า เอาแค่เราทำทานให้คนยากคนจน ขอทานที่ผ่านมาหน้าร้านได้กินข้าวฟรีสักวันละคน ยังเป็นคนที่มีคุณค่าควรแก่การยกย่องกว่าคนรวยร้อยล้านแต่ไม่เผื่อแผ่เลยหลายเท่า ลุงไปละ"
ผมเดินออกมาหน้าร้านเพื่อไปที่มอร์เตอร์ไซค์คู่ใจ ก่อนออกจากร้าน ผ่านโต๊ะติดๆกันที่มีชายหนุ่มในชุดสีกากี นั่งกินข้าวกันอยู่สองคน หนึ่งในนั้นลุกขึ้นยกมือไหว้ "พ่อใหญ่พูดได้ดีจริงๆครับ ทุกวันนี้มีแต่คนตื่นคนรวย ทั้งๆที่เขาไม่ได้ให้อะไรแก่ตัวเอง แก่สังคมเลย ได้แต่พูดชื่นชมนิยมคนรวยกัน เกรงใจกัน ทำให้พวกผมทำงานลำบาก รวยก็เรื่องของเขา จริงๆครับ"
ผมยิ้ม "ขอบใจที่เห็นด้วย เชื่อพ่อใหญ่เถอะว่า หากเรารู้จักพอ,รู้จักทุเลาความอยากลงได้เท่าไร นั่นแหละเรารวยอย่างแท้จริง โดยไม่ต้องไปสนใจให้ความสำคัญกับพวกร้อยล้าน ทุกชีวิตมีศักด์ศรีแห่งตน ชีวิตใคร ชีวิตเขา ชีวิตเราเราใช้ของเรา มีเท่าไรเราก็ใช้เท่าที่เรามี สุขก็สุขเรา ก็เท่านั้น หนุ่มน้อยเอ๋ย"
ที่ว่ามานั้น เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวของผม ซึ่งตกผลึกจากการใช้ชีวิตที่ผ่านมา อาจผิด เพราะทุกคนมีสิทธิ์คิดตามความคิดความชอบของแต่ละคนแต่ละท่าน ไม่มีใครถูกใครผิด หากเป็นเพียง "เรื่องเล่าของคนสูงวัย" เรื่องหนึ่งที่พานพบ และนำมาเล่าสู่กันฟังเท่านั้น....ขอบคุณครับ
เกรงบารมี...
ด้วยเหตุนี้ ผมจึงชมชอบที่จะหาร้านข้าวแกง ร้านอาหารจานเดียว เป็นที่พึ่งพิงให้อิ่มท้อง หรือซื้อเป็นกับมากินกับข้าวที่หุงเองเป็นประจำโดยจะเวียนไปตามร้านเจ้าประจำที่ถูกลิ้น ถูกกระเป๋า
วันหนึ่ง ผมไปกินข้าวเช้าที่ร้านขายข้าวแกงเจ้าประจำเจ้าหนึ่ง(ในหลายเจ้า) เจ้าของร้านซึ่งเป็นคนวัยเดียวกับผม เป็นผู้ปรุง ผู้ผัด ผู้ทอด สารพัดกับข้าว แล้วก็ให้ลูกชาย กับลูกสะใภ้เป็นผู้ตักขายหน้าร้าน เด็กสองคนนี้รุ่นราวคราวเดียวกับลูกชายผมเห็นจะได้ คือในวัยสามสิบกลางๆไปทางปลาย ร้านนี้รสอาหารดีพอควร ตั้งอยู่ในทำเลเหมาะใกล้สถานที่ราชการ คนจึงมากินกันเยอะ
ผมนั่งกินข้าวราดแกงพะแนงหมู ไข่ดาว มีน้ำซุปที่ร้านแถมให้ซดกันข้าวติดคอ จนเกือบอิ่ม พร้อมสั่งกับข้าวใส่ถุงไปอีกสองอย่างเผื่อไว้มื้อกลางวันซึ่งอาจถึงเย็น ขณะนั้นก็มีรถอเนกประสงค์สัญชาติเยอรมันคันหนึ่งมาจอดที่หน้าร้าน การจอดค่อนข้างจะขวางการจราจรด้วย เพราะไม่ได้จอดชิดขอบทาง ด้วยว่าขอบทางมีรถมอเตอร์ไซค์จอดอยู่เต็มพื้นที่หน้าร้าน พอจอด(ไม่)เรียบร้อย สุภาพชนที่นั่งในรถก็เลื่อนกระจกรถลงแล้วกึ่งตะโกนเรียกเจ้าหนุ่มเจ้าของร้านข้าวแกง ซึ่งพอได้ยินก็รีบวิ่งออกไปยืนโค้งตัวเอามือกุมพุ่มพวงดวงใจ อยู่ข้างรถเพื่อรับออเดอร์ ก่อนจะวิ่งกลับมาบอกให้ภรรยาซึ่งเป็นผู้ตักกับข้าวตักอาหารตามที่รับคำสั่งใส่ถุงพลาสติคอย่างรวดเร็ว แล้ววิ่งไปส่งให้ที่รถซึ่งจอดขวางคลอง เอ้ย ขวางถนนอย่างทันอกทันใจ เหตุการณ์นี่ดูๆแล้วก็น่าจะใช้เวลาร่วมห้านาที
ผมนั่งดู คิดในใจว่า จอดรถไม่เกรงใจชาวบ้านเลย มักง่ายไปหน่อย แต่ก็ช่างเขาเถอะ ไม่ใช่เรื่องของเรา แล้วก็เรียกเจ้าหนุ่มเจ้าของร้านมาคิดตังค์ เจ้าหนุ่มเดินยิ้มหน้าบานมาแล้วรีบพูดกับผมว่า "คุณลุง (เขาเรียกผมว่าลุง) เศรษฐีเมื่อกี้เขาแวะมาซื้อผมประจำเลย วันละสองสามอย่างทุกวัน ผมงี้ปลื้มใจจัง คนมีตังค์ยังมากินร้านผม แบบนี้ผมบริการเต็มที่เลย"
"อ้าวเหรอ" ผมว่า "เศรษฐีบ้านไหนกันละเนี่ย"
"เขามาทำบ้านจัดสรร คุณลุง เห็นว่ามาลงทุนหลายสิบล้าน น่าจะเป็นร้อยล้านได้ละมั้ง รวยจริงๆครับ" เจ้าหนุ่มตอบ
"เหรอะ แล้วเขามาซื้อกับข้าวเราไปเท่าไรล่ะ เมื่อกี้น่ะ" ผมถาม
"ร้อยหกสิบบาทครับ" ตอบพร้อมรอยยิ้มอย่างปลาบปลื้ม ผมจึงถามต่อว่า"แล้วเขาให้เงินเท่าไรล่ะ"
"ให้แบงค์ร้อยมาสองใบ ผมก็ทอนไปสี่สิบบาท ก็ให้มาร้อยหกสิบบาทแหละครับ"เป็นคำตอบจากเจ้าหนุ่ม
"เค้าไม่ได้ให้ค่าบริการอย่างนบนอบที่ส่งกับข้าวถึงรถเพิ่มด้วยหรือ ถ้าให้แค่ตามราคา แล้วเราจะมาดีใจ ปลื้มใจทำไม ลุงไม่เข้าใจว่ะ เขาซื้อเท่าไร เขาก็ให้เท่านั้น แล้วมันเกี่ยวอะไรกับความเป็นเศรษฐีด้วย " ผมยกแก้วน้ำขึ้นดื่มก่อนร่ายต่อ "ใช่ว่าเขาสั่งร้อยหกสิบ แล้วให้ห้าร้อย อันนี้ค่อยน่านิยมยินดีหน่อย แล้วนี้ค่าเสียหายของลุงเท่าไร ว่ามา"
"ของคุณลุงรวมร้อยห้าสิบบาทครับ"
ผมส่งเงินให้ตามจำนวน แล้วพูดว่า "ของลุงกินเท่านี้ก็จ่ายเท่านี้ น้อยกว่าเศรษฐีบ้านจัดสรรสิบบาท ทั้งเขาทั้งลุงต่างเป็นลูกค้าเหมือนกัน ลุงเป็นข้าราชการบำนาญกินก็มีเงินจ่าย ไม่เห็นจะต่างกับเศรษฐีร้อยล้านตรงไหน ถ้าเราจะนิยมยินดี ปลื้มอกปลื้มใจก็ควรเป็นกับลูกค้าทุกคนที่มาอุดหนุน ไม่ควรตื่นเต้นหรือเอาอกเอาใจกับใครคนใดคนหนึ่ง เพียงแค่คำว่าคนมีเงิน หรอกหลานชาย" ผมว่าเสียยาว"พูดง่ายๆ อย่าไปตื่นคนมีเงิน เขามีก็เรื่องเขา ตราบใดที่เขายังไม่มีน้ำใจเกื้อกูลต่อเรา ต่อสังคม แล้วเราจะไปตื่นเต้น ไปยกย่องเขาด้วยเหตุใด"
ผมยกแก้วน้ำดื่มรวดเดียวหมดแก้วก่อนบอกว่า "หนุ่มน้อยเอ๋ย อย่าตื่นคนมีเงินเถอะ เงินเขาก็คือเงินเขา ตั้งหน้าตั้งตาทำมาหากิน ดูแลลูกค้าที่มาอุดหนุนให้เสมอภาคเท่าเทียมกันด้วยน้ำใจจะดีกว่า เอาแค่เราทำทานให้คนยากคนจน ขอทานที่ผ่านมาหน้าร้านได้กินข้าวฟรีสักวันละคน ยังเป็นคนที่มีคุณค่าควรแก่การยกย่องกว่าคนรวยร้อยล้านแต่ไม่เผื่อแผ่เลยหลายเท่า ลุงไปละ"
ผมเดินออกมาหน้าร้านเพื่อไปที่มอร์เตอร์ไซค์คู่ใจ ก่อนออกจากร้าน ผ่านโต๊ะติดๆกันที่มีชายหนุ่มในชุดสีกากี นั่งกินข้าวกันอยู่สองคน หนึ่งในนั้นลุกขึ้นยกมือไหว้ "พ่อใหญ่พูดได้ดีจริงๆครับ ทุกวันนี้มีแต่คนตื่นคนรวย ทั้งๆที่เขาไม่ได้ให้อะไรแก่ตัวเอง แก่สังคมเลย ได้แต่พูดชื่นชมนิยมคนรวยกัน เกรงใจกัน ทำให้พวกผมทำงานลำบาก รวยก็เรื่องของเขา จริงๆครับ"
ผมยิ้ม "ขอบใจที่เห็นด้วย เชื่อพ่อใหญ่เถอะว่า หากเรารู้จักพอ,รู้จักทุเลาความอยากลงได้เท่าไร นั่นแหละเรารวยอย่างแท้จริง โดยไม่ต้องไปสนใจให้ความสำคัญกับพวกร้อยล้าน ทุกชีวิตมีศักด์ศรีแห่งตน ชีวิตใคร ชีวิตเขา ชีวิตเราเราใช้ของเรา มีเท่าไรเราก็ใช้เท่าที่เรามี สุขก็สุขเรา ก็เท่านั้น หนุ่มน้อยเอ๋ย"
ที่ว่ามานั้น เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวของผม ซึ่งตกผลึกจากการใช้ชีวิตที่ผ่านมา อาจผิด เพราะทุกคนมีสิทธิ์คิดตามความคิดความชอบของแต่ละคนแต่ละท่าน ไม่มีใครถูกใครผิด หากเป็นเพียง "เรื่องเล่าของคนสูงวัย" เรื่องหนึ่งที่พานพบ และนำมาเล่าสู่กันฟังเท่านั้น....ขอบคุณครับ