วันนี้ขอสาระนิดนึง เนื้อหายาวหน่อยเราขอใช้คำว่า กรณีศึกษา เพราะในประเทศไทยไม่ค่อยมีข่าวการฟ้องร้องลักษณะนี้เกิดขึ้นให้เห็นบ่อย ๆ สำหรับเคสนี้เราว่าน่าสนใจเลยทีเดียว
ถ้าเราย้อนไปเมื่อปี 58 ข่าวดังที่ทุกคนน่าจะเคยติดตามและเห็นผ่านตาก็คงไม่พ้น ดราม่าโตเกียวบานาน่าไทยที่มีการพาดพิงถึง CP ALL ว่าพยายามยึดสูตรขนมจากสยามบานาน่า จากบทความ “โตเกียวบานาน่าไทย ที่แลกมาด้วยน้ำตา” โดยในบทความอ้างว่าได้มีการเจรจาธุรกิจกัน และในข้อตกลงต้องเปิดเผยสูตรขนมอย่างละเอียด ต่อมาผู้ค้ารายนี้จึงตัดสินใจลงทุนสร้างโรงงานเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อส่งตามออร์เดอร์ไปให้ตามตกลง แต่สุดท้ายกลับถูกยกเลิก และกลายเป็น เลอแปง บานาน่า ถูกนำขึ้นชั้นของ 7-11 แทนที่ จากบทความดังกล่าวกลายเป็นกระแสดราม่าและมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทำให้ CP ALL ถูกโจมตีอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นไปในทิศทางที่ว่า บริษัทยักษ์ใหญ่รังแกผู้ค้าตัวเล็กๆ จนในที่สุดก็มีคำชี้แจงจาก CP ALL ปฏิเสธว่า ไม่เคยลอกสูตร และไม่คิดจะลอกเลียนแบบ เพราะบริษัท ซีพีแรม จำกัด ที่ผลิตขนมเลอแปง มี R&D (Research and development) ถึง 200 คน และมีที่ปรึกษาด้านอาหารเป็นคนญี่ปุ่น จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องลอกเลียนแบบผู้ค้ารายเล็กรายย่อย
สุดท้ายมหากาพย์ก็จบลงที่ CP ALL เป็นฝ่ายชนะคดีถูกกล่าวหาว่าก็อปปี้สินค้าบานาน่า โดยมีการเปิดเผยรายละเอียดของคดีนี้ว่า
บทความดังกล่าว ถูกเขียนขึ้นโดยไม่มีมูล ผู้เขียนได้ข้อมูลมากจาก นางสาว พ. โดยที่ผู้เขียนเองก็ไม่ทราบว่าเป็นความจริงหรือไม่ และได้จัดทำบทความไปโดยไม่เคยสอบถามความเป็นจริงจากบริษัทฯ ซึ่ง CP ALL ได้แสดงหลักฐานในการดำเนินคดีให้เห็นว่าไม่มีการกระทำใดที่จะไปกระทำหรือเอาเปรียบผู้ประกอบการรายย่อยตามที่กล่าวหาในบทความ
ซึ่งนายชินได้ทำหนังสือแสดงความรู้สึกเสียใจและขอโทษบริษัทฯ ต่อหน้าศาล CP ALL จึงได้ถอนคำร้องทุกข์ไม่ดำเนินคดีอาญาและไม่เรียกค่าเสียหายจากผู้เขียน คดีอาญาจึงระงับไป แต่ผู้เขียนกลับไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ (“สัญญาฯ”) ที่ได้กระทำต่อหน้าศาลดังกล่าว บริษัทฯ จึงจำเป็นต้องฟ้องในข้อหาผิดสัญญาฯ ต่อศาลแพ่ง ให้ผู้เขียนลงประกาศบันทึกฯ ในเว็บไซต์โอเคเนชั่นภายใน 7 วัน และให้ลงต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 8 เดือน และชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัทฯ
มาที่มุมมองของเราในฐานะคนทั่วไปละกัน จริง ๆ เคสแบบนี้เกิดขึ้นเป็นปกติมาก ๆ แบบมาก ๆ อย่างเช่น น้ำจิ้มพ็อตมะขาม (เอาจริง ๆ เรียกน้ำจิ้มมะขามแหละ) เราเห็นแทบทุกร้านก็จะมีน้ำจิ้มมะขามราดใส่ลูกชิ้นมาให้ บางที่ขายฝั่งตรงข้ามกันน้ำจิ้มเหมือนกัน ลูกชิ้นก็แบบเดียวกันแต่สุดท้ายรสชาติอร่อยหรือไม่ก็อยู่ที่ลิ้นผู้บริโภค เราเลยมองว่ากรณีนี้มันเหมือนนั่งเทียนเขียนข่าวถ้าเกิดกับคนทั่วไปก็คงแค่ด่ากัน ว่าแกก็อปสูตรฉัน แกเลียนแบบฉัน แต่กรณีนี้ดันเกิดกับบริษัทใหญ่ระดับประเทศแล้วคนเขียนดันเป็นนักข่าว ถ้าสมัยนี้ก็เรียกว่ากลายเป็นไวรัลนั่นแหละ เอาเป็นว่าปัจจุบันเรามีสื่อในมือแทบทุกคนก่อนจะเชื่ออะไร หรือด่าใครก็ให้อดทนรอความจริงก่อน ศึกษาข้อมูลก่อน แล้วก็ใช้วิจารณญาณก่อนพิมพ์มาก ๆ เพื่อความปลอดภัยของตัวเราเอง
สำหรับเรื่องนี้ใครมีความคิดเห็นยังไง มาแชร์กันได้นะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.brandbuffet.in.th/2021/09/the-final-judgement-cpall-is-win-defamation-case-of-lepan-banana/
ปิดคดี มหากาพย์คดีเลอแปงบานาน่าในตำนาน (กรณีศึกษา)
ถ้าเราย้อนไปเมื่อปี 58 ข่าวดังที่ทุกคนน่าจะเคยติดตามและเห็นผ่านตาก็คงไม่พ้น ดราม่าโตเกียวบานาน่าไทยที่มีการพาดพิงถึง CP ALL ว่าพยายามยึดสูตรขนมจากสยามบานาน่า จากบทความ “โตเกียวบานาน่าไทย ที่แลกมาด้วยน้ำตา” โดยในบทความอ้างว่าได้มีการเจรจาธุรกิจกัน และในข้อตกลงต้องเปิดเผยสูตรขนมอย่างละเอียด ต่อมาผู้ค้ารายนี้จึงตัดสินใจลงทุนสร้างโรงงานเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อส่งตามออร์เดอร์ไปให้ตามตกลง แต่สุดท้ายกลับถูกยกเลิก และกลายเป็น เลอแปง บานาน่า ถูกนำขึ้นชั้นของ 7-11 แทนที่ จากบทความดังกล่าวกลายเป็นกระแสดราม่าและมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทำให้ CP ALL ถูกโจมตีอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นไปในทิศทางที่ว่า บริษัทยักษ์ใหญ่รังแกผู้ค้าตัวเล็กๆ จนในที่สุดก็มีคำชี้แจงจาก CP ALL ปฏิเสธว่า ไม่เคยลอกสูตร และไม่คิดจะลอกเลียนแบบ เพราะบริษัท ซีพีแรม จำกัด ที่ผลิตขนมเลอแปง มี R&D (Research and development) ถึง 200 คน และมีที่ปรึกษาด้านอาหารเป็นคนญี่ปุ่น จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องลอกเลียนแบบผู้ค้ารายเล็กรายย่อย
ซึ่งนายชินได้ทำหนังสือแสดงความรู้สึกเสียใจและขอโทษบริษัทฯ ต่อหน้าศาล CP ALL จึงได้ถอนคำร้องทุกข์ไม่ดำเนินคดีอาญาและไม่เรียกค่าเสียหายจากผู้เขียน คดีอาญาจึงระงับไป แต่ผู้เขียนกลับไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ (“สัญญาฯ”) ที่ได้กระทำต่อหน้าศาลดังกล่าว บริษัทฯ จึงจำเป็นต้องฟ้องในข้อหาผิดสัญญาฯ ต่อศาลแพ่ง ให้ผู้เขียนลงประกาศบันทึกฯ ในเว็บไซต์โอเคเนชั่นภายใน 7 วัน และให้ลงต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 8 เดือน และชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัทฯ
มาที่มุมมองของเราในฐานะคนทั่วไปละกัน จริง ๆ เคสแบบนี้เกิดขึ้นเป็นปกติมาก ๆ แบบมาก ๆ อย่างเช่น น้ำจิ้มพ็อตมะขาม (เอาจริง ๆ เรียกน้ำจิ้มมะขามแหละ) เราเห็นแทบทุกร้านก็จะมีน้ำจิ้มมะขามราดใส่ลูกชิ้นมาให้ บางที่ขายฝั่งตรงข้ามกันน้ำจิ้มเหมือนกัน ลูกชิ้นก็แบบเดียวกันแต่สุดท้ายรสชาติอร่อยหรือไม่ก็อยู่ที่ลิ้นผู้บริโภค เราเลยมองว่ากรณีนี้มันเหมือนนั่งเทียนเขียนข่าวถ้าเกิดกับคนทั่วไปก็คงแค่ด่ากัน ว่าแกก็อปสูตรฉัน แกเลียนแบบฉัน แต่กรณีนี้ดันเกิดกับบริษัทใหญ่ระดับประเทศแล้วคนเขียนดันเป็นนักข่าว ถ้าสมัยนี้ก็เรียกว่ากลายเป็นไวรัลนั่นแหละ เอาเป็นว่าปัจจุบันเรามีสื่อในมือแทบทุกคนก่อนจะเชื่ออะไร หรือด่าใครก็ให้อดทนรอความจริงก่อน ศึกษาข้อมูลก่อน แล้วก็ใช้วิจารณญาณก่อนพิมพ์มาก ๆ เพื่อความปลอดภัยของตัวเราเอง
สำหรับเรื่องนี้ใครมีความคิดเห็นยังไง มาแชร์กันได้นะ
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.brandbuffet.in.th/2021/09/the-final-judgement-cpall-is-win-defamation-case-of-lepan-banana/