Devotion
" ชอบที่หนังเจาะลึกในปฏิบัติการที่ไม่ค่อยได้เห็นในหนังสงครามเย็น ทำให้ผู้ชมได้รู้ถึงเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ "
สวัสดีครับทุกท่าน ! หลังจากที่มีรีวิวเรื่อง
หน่าฮ่าน (2019) ไป ล่าสุดผมได้ดูเรื่อง
Devotion (2022) บน Netflix ในฐานะที่เป็นคอหนังประวัติศาสตร์ / สงคราม ก็อดไม่ได้ที่จะมาแนะนำหนังเรื่องนี้ หากท่านใดยังไม่เคยรับชม หวังว่ารีวิวนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนนะครับ
เรื่องย่อ
DEVOTION - Official Trailer (HD)
Devotion ได้รับการกำกับโดย J.D. Dillard ตัวหนังพูดถึงปฏิบัติการของนักบินกองทัพเรือสหรัฐ ฯ ในช่วงสงครามเย็น ซึ่งจุดโฟกัสอยู่ที่
"Jesse Brown (Jonathan Majors)" นักบินผิวสีคนแรกของกองทัพเรือสหรัฐ ฯ โดยเขาได้สร้างวีรกรรมอันน่าจดจำในสงครามครั้งนี้
ความรู้สึกหลังชม
- จุดที่ชอบอย่างแรก คือ การที่หนังเล่าถึง
"บทบาทของนักบินกองทัพเรือสหรัฐ ฯ ในช่วงสงครามเย็น (สงครามเกาหลี)"
ต้องเข้าใจก่อนว่า ตั้งแต่ WW2 เป็นต้นมา สงครามขนาดใหญ่มีน้อยลง กองทัพอากาศ / ฝ่ายการบินมีหน้าที่สนับสนุนการรบเป็นหลัก ไม่ได้มีวีรกรรมที่โดดเด่นอย่างที่เคยเป็นมาในสมัย WW1 - WW2 สไตล์การรบส่วนใหญ่จะเป็นประเภทไล่ยิงกันแป๊ปเดียว ไม่มี Dog Fight หนัก ๆ หน้าที่ส่วนใหญ่เป็นการสนับสนุนการรบภาคพื้นดิน เช่น การยิงกดดัน / ทิ้งระเบิดใส่ข้าศึก
เครื่องบิน Vought F4U Corsair ของกองทัพเรือสหรัฐ ฯ ที่มีส่วนสนับสนุนการรบในสงครามเกาหลี (September 4, 1951 - U.S. Navy/NARA)
การหยิบเรื่องราวของนักบินกองทัพเรือสหรัฐ ฯ ในช่วงสงครามเย็นมาเล่า ก็นับว่า ทำให้หนังมีความ
"ใหม่" ปกติถ้าพูดถึงสงครามเกาหลี เหตุการณ์ในหนังทั้งหลายจะอยู่ที่ภาคพื้นดินมากกว่า เช่น การที่ทหารราบของ
กองกำลังสหประชาชาติ (เกาหลีใต้ + สหรัฐ ฯ และพันธมิตร รวมถึงไทย) และ
กองทัพคอมมิวนิสต์ (เกาหลีเหนือ + จีนและโซเวียต) ยันกันไปมา
ดังนั้น Devotion จึงช่วยขยายความถึง
"วีรกรรมที่ถูกลืมของนักบินสหรัฐ ฯ ในสงครามเกาหลี" แม้ปฎิบัติการจะไม่หวือหวาอย่างในสงครามโลก แต่ก็ดูใกล้เคียงกับการทำสงครามในยุคปัจจุบัน และทำให้เราได้เห็นเสี้ยวหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่อาจหลงลืมไป
(สังเกตว่า เราจะเริ่มเห็นเครื่องบิน MiG-15 ของโซเวียตในเรื่อง ที่เริ่มมีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับเครื่องบินรบยุคปัจจุบันแล้ว)
MiG-15 ของโซเวียต
- จุดที่ชอบถัดมา
"ดราม่าสุดเข้มข้น" ถ้าตัดพาร์ทสงครามออกไป ก็แทบจะเป็นหนังดราม่า 100% โดยโฟกัสไปที่มิตรภาพของ
"Jesse Brown (Jonathan Majors)" นักบินผิวสีที่มีปมในใจจากปัญหาการเหยียดผิว และ
"Tom Hudner (Glen Powell)" นักบินคนใหม่ที่เข้ามาเป็นคู่หูกับเจสซี่
หนังมีความดราม่าหนักและเล่าในสไตล์ที่ฮอลลีวูด / ออสการ์ชอบใช้ แม้จะมีความหน่วงหรือความเนิบนาบ แต่โดยรวมไม่ถึงกับน่าเบื่อ แถมดึงให้เราอยากติดตามเรื่องราวต่อไปจนจบ
- ในด้านภารกิจหรือวิถีชีวิตของนักบินก็น่าสนใจเช่นกัน เพิ่งจะรู้ว่า การนำเครื่องบินลงจอดบนเรือบรรทุกเครื่องบินในยุคก่อนยากขนาดไหน ยิ่งถ้าเป็นเครื่องบินที่ไม่คุ้นเคย การลงจอดเป็นอะไรที่อันตรายมาก
ด้านวิถีชีวิตของนักบิน หนังถ่ายทอดได้ค่อนข้างละเอียดน่าติดตาม มีตั้งแต่ชีวิตประจำวันไปจนถึงการปฏิบัติภารกิจ การทำงานเป็นทีม การวางแผนและประเมินความเสี่ยง เพื่อลดความเสี่ยงในการสูญเสียนักบินและตัวเครื่อง
- องค์ประกอบศิลป์ในเรื่อง ทำได้ประณีตสวยงาม ธีมสีโทนขรึม ๆ คล้ายสีกล้องฟิลม์ ผสมกับมุมกล้องสไตล์หนังชีวประวัติ ส่วนที่เป็นพาร์ทการบิน ก็ดูสวยงามอลังการสมจริง
ส่วนฉากสงคราม ถือว่าสนุกใช้ได้ แต่เนื่องจากหนังให้น้ำหนักกับพาร์ทดราม่ามากกว่า ทำให้พาร์ทสงครามไม่ได้ถูกอัดเต็มที่
- จุดที่เป็นข้อเสียหลัก คงเป็น "ความบางในหลาย ๆ ส่วนของหนัง" เช่น ความบางของพาร์ทปฏิบัติการที่มีไม่มาก และความบางของเส้นเรื่องที่คล้ายกับลงรายละเอียดไม่หมด / ไม่ชัดเจน รวมถึงความแบนในบางเวลา แต่ทั้งนี้ไม่ได้ถือว่าเสียหายร้ายแรง
อีกอย่างที่ไม่นับว่าเป็นข้อเสีย แต่เป็นความอับโชคของเรื่องนี้ คือ การเข้าฉายปีเดียวกับ
Top Gun: Maverick (2022) พอไปเทียบกับ Top Gun ซึ่งเป็นหนังสงครามทางอากาศเหมือนกัน เทียบกันแล้ว Devotion ก็กลายเป็นจืดสนิท แถม
Glen Powell ที่แสดงเป็น
Tom Hudner ก็ไปโผล่เป็นนักแสดงใน Top Gun: Maverick ด้วย
สรุป - อาจจะมีจืดบ้างในบางช่วง แต่ถ้าให้ตัดเกรดก็ถือว่าสอบผ่าน Devotion นำเสนอปฏิบัติการที่ไม่ค่อยได้เห็นในหนังสงครามเรื่องอื่น ๆ ใครเป็นคอหนังดราม่า ผสมประวัติศาสตร์ - สงคราม ไม่ควรพลาด
ดูได้บน Netflix !
_________________________________
เพิ่มเติมข้อมูล
เห็นบางท่านสงสัยว่า ทำไมในหนัง เราได้เห็นแค่เครื่องบินเจ็ท MiG-15 ของรัสเซีย แต่ไม่ได้เห็นเครื่องบินเจ็ทของฝั่งสหรัฐ ฯ เลย
- ผมเพิ่มเติมข้อมูลนิดนึง เจอมาจาก Quora นะครับ มีความเห็นบอกว่า ยุคต้นสงครามเย็นเป็นช่วงเริ่มต้นของยุคเครื่องบินเจ็ต ขณะที่เครื่องบินใบพัด (Propeller planes) จะยังถูกใช้งานยาวไปถึงช่วงสงครามเวียดนาม
อันที่จริงในสงครามเกาหลี ทางสหรัฐ ฯ ก็มีใช้งาน
F9F Panther เหมือนกัน เพียงแต่ตัวเครื่องบินถูกดีไซน์มาให้เป็นเครื่องบินขับไล่เป็นหลัก ไม่เหมาะกับการใช้งานโจมตีภาคพื้นดิน ดังนั้นเครื่องบินใบพัด
Corsair จึงถูกนำมาดัดแปลงใช้งานสำหรับสนับสนุนการโจมตีภาคพื้นดินแทน แถมยังสามารถใช้บินวนไปมา เพื่อรอให้ผู้ตรวจการณ์ชี้เป้าได้ด้วย
F9F Panther ของสหรัฐ ฯ
_________________________________
ป.ล. อีกหนึ่งช่องทางการติดต่อทาง Facebook เผื่อสนใจอยากพูดคุยติดต่อนะครับ
IG: benjireview
Devotion (2022) - สดุดีแด่วีรกรรมที่ถูกลืมของนักบินผิวสีสหรัฐ ฯ ในสงครามเกาหลี
เรื่องย่อ
ความรู้สึกหลังชม
- จุดที่ชอบอย่างแรก คือ การที่หนังเล่าถึง "บทบาทของนักบินกองทัพเรือสหรัฐ ฯ ในช่วงสงครามเย็น (สงครามเกาหลี)"
ต้องเข้าใจก่อนว่า ตั้งแต่ WW2 เป็นต้นมา สงครามขนาดใหญ่มีน้อยลง กองทัพอากาศ / ฝ่ายการบินมีหน้าที่สนับสนุนการรบเป็นหลัก ไม่ได้มีวีรกรรมที่โดดเด่นอย่างที่เคยเป็นมาในสมัย WW1 - WW2 สไตล์การรบส่วนใหญ่จะเป็นประเภทไล่ยิงกันแป๊ปเดียว ไม่มี Dog Fight หนัก ๆ หน้าที่ส่วนใหญ่เป็นการสนับสนุนการรบภาคพื้นดิน เช่น การยิงกดดัน / ทิ้งระเบิดใส่ข้าศึก
ดังนั้น Devotion จึงช่วยขยายความถึง "วีรกรรมที่ถูกลืมของนักบินสหรัฐ ฯ ในสงครามเกาหลี" แม้ปฎิบัติการจะไม่หวือหวาอย่างในสงครามโลก แต่ก็ดูใกล้เคียงกับการทำสงครามในยุคปัจจุบัน และทำให้เราได้เห็นเสี้ยวหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่อาจหลงลืมไป
(สังเกตว่า เราจะเริ่มเห็นเครื่องบิน MiG-15 ของโซเวียตในเรื่อง ที่เริ่มมีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับเครื่องบินรบยุคปัจจุบันแล้ว)
หนังมีความดราม่าหนักและเล่าในสไตล์ที่ฮอลลีวูด / ออสการ์ชอบใช้ แม้จะมีความหน่วงหรือความเนิบนาบ แต่โดยรวมไม่ถึงกับน่าเบื่อ แถมดึงให้เราอยากติดตามเรื่องราวต่อไปจนจบ
- ในด้านภารกิจหรือวิถีชีวิตของนักบินก็น่าสนใจเช่นกัน เพิ่งจะรู้ว่า การนำเครื่องบินลงจอดบนเรือบรรทุกเครื่องบินในยุคก่อนยากขนาดไหน ยิ่งถ้าเป็นเครื่องบินที่ไม่คุ้นเคย การลงจอดเป็นอะไรที่อันตรายมาก
ด้านวิถีชีวิตของนักบิน หนังถ่ายทอดได้ค่อนข้างละเอียดน่าติดตาม มีตั้งแต่ชีวิตประจำวันไปจนถึงการปฏิบัติภารกิจ การทำงานเป็นทีม การวางแผนและประเมินความเสี่ยง เพื่อลดความเสี่ยงในการสูญเสียนักบินและตัวเครื่อง
- องค์ประกอบศิลป์ในเรื่อง ทำได้ประณีตสวยงาม ธีมสีโทนขรึม ๆ คล้ายสีกล้องฟิลม์ ผสมกับมุมกล้องสไตล์หนังชีวประวัติ ส่วนที่เป็นพาร์ทการบิน ก็ดูสวยงามอลังการสมจริง
ส่วนฉากสงคราม ถือว่าสนุกใช้ได้ แต่เนื่องจากหนังให้น้ำหนักกับพาร์ทดราม่ามากกว่า ทำให้พาร์ทสงครามไม่ได้ถูกอัดเต็มที่
สรุป - อาจจะมีจืดบ้างในบางช่วง แต่ถ้าให้ตัดเกรดก็ถือว่าสอบผ่าน Devotion นำเสนอปฏิบัติการที่ไม่ค่อยได้เห็นในหนังสงครามเรื่องอื่น ๆ ใครเป็นคอหนังดราม่า ผสมประวัติศาสตร์ - สงคราม ไม่ควรพลาด
ดูได้บน Netflix !
เห็นบางท่านสงสัยว่า ทำไมในหนัง เราได้เห็นแค่เครื่องบินเจ็ท MiG-15 ของรัสเซีย แต่ไม่ได้เห็นเครื่องบินเจ็ทของฝั่งสหรัฐ ฯ เลย
- ผมเพิ่มเติมข้อมูลนิดนึง เจอมาจาก Quora นะครับ มีความเห็นบอกว่า ยุคต้นสงครามเย็นเป็นช่วงเริ่มต้นของยุคเครื่องบินเจ็ต ขณะที่เครื่องบินใบพัด (Propeller planes) จะยังถูกใช้งานยาวไปถึงช่วงสงครามเวียดนาม
อันที่จริงในสงครามเกาหลี ทางสหรัฐ ฯ ก็มีใช้งาน F9F Panther เหมือนกัน เพียงแต่ตัวเครื่องบินถูกดีไซน์มาให้เป็นเครื่องบินขับไล่เป็นหลัก ไม่เหมาะกับการใช้งานโจมตีภาคพื้นดิน ดังนั้นเครื่องบินใบพัด Corsair จึงถูกนำมาดัดแปลงใช้งานสำหรับสนับสนุนการโจมตีภาคพื้นดินแทน แถมยังสามารถใช้บินวนไปมา เพื่อรอให้ผู้ตรวจการณ์ชี้เป้าได้ด้วย