"หมอธีระ" ยกผลศึกษาโควิดในเด็กทั่วโลก ทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ติดเชื้อสูง
https://siamrath.co.th/n/417910
วันที่ 26 ม.ค.66 รศ.นพ.
ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่าน เฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุว่า...
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 171,902 คน ตายเพิ่ม 849 คน รวมแล้วติดไป 673,903,961 คน เสียชีวิตรวม 6,750,876 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน บราซิล และสหรัฐอเมริกา
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 6 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 80.27 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 67.02
...สถานการณ์โควิดในเด็กทั่วโลก
Naeimi R และคณะ จากอิหร่าน ได้เผยแพร่ผลการศึกษาทบทวนข้อมูลวิชาการตั้งแต่ปี 2563 ที่เริ่มมีการระบาดของโควิด-19 จนถึงกรกฎาคม 2565
ลงตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ eClinicalMedicine ฉบับกุมภาพันธ์ 2566 โดยมีงานวิจัย 247 ชิ้น จาก 70 ประเทศทั่วโลก (ภาพที่ 1)
พบว่า อัตราความชุกของการติดเชื้อโควิด-19 ในเด็กนั้นสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากเดิมมีอัตราติดเชื้อราว 7.3% ในระลอกแรก ได้เพิ่มขึ้นเป็น 37.6% ในระลอกที่ 5 และสูงขึ้นไปเป็น 56.6% ในระลอกที่ 6 เมื่อปีที่แล้ว
เด็กโตติดเชื้อมากกว่าเด็กเล็ก
ทวีปที่มีอัตราติดเชื้อสูงได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (17.9–81.8%) และแอฟริกา (17.2–66.1%) ในขณะที่ภูมิภาคแปซิฟิคตะวันตกมีอัตราติดเชื้อต่ำสุด
ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการที่จะช่วยกันดูแล ป้องกันเด็กๆ เพราะยังมีเด็กอีกจำนวนมากเกือบครึ่งที่ยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 นอกจากนี้การพาเด็กๆ ไปรับวัคซีน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการป่วยและเสียชีวิตก็มีความจำเป็น
...อัพเดตประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของวัคซีนในเด็กอายุ 5-11 ปี
Watanabe A และคณะ จากประเทศญี่ปุ่น ได้ทำการเผยแพร่ผลการศึกษาทบทวนข้อมูลวิชาการอย่างเป็นระบบและวิเคราะห์อภิมาน ลงในวารสารกุมารแพทย์ระดับสากล JAMA Pediatrics เมื่อ 23 มกราคม 2566
โดยมีงานวิจัยทั้งหมด 17 ชิ้นทั่วโลก และทำการเปรียบเทียบผลของการฉีดวัคซีน mRNA ในเด็กอายุ 5-11 ปี ทั้งมีเด็กที่ได้รับวัคซีนไป 10,935,541 คน เปรียบเทียบกับเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีน 2,635,251 คน
พบว่า การได้รับวัคซีนช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ, ป่วยนอนรพ., เสียชีวิต, รวมถึงการเกิดภาวะอักเสบหลายอวัยวะทั่วร่างกาย (MIS-C) ได้อย่างมีนัยสำคัญ (ภาพที่ 2)
ในขณะที่อาการไม่พึงประสงค์รุนแรงจากการฉีดวัคซีนนั้น เกิดขึ้นในอัตราที่น้อยมาก (ภาพที่ 3)
ผลการศึกษานี้จึงช่วยยืนยันเรื่องประโยชน์จากการฉีดวัคซีน mRNA ในเด็กอายุ 5-11 ปี และเรื่องความปลอดภัยจากการฉีดวัคซีน การฉีดวัคซีนนั้นเกิดประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงที่เกิดขึ้น น่าจะทำให้คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองของเด็กๆ ได้ทราบข้อมูลวิชาการที่ถูกต้อง
...การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ หรือไม่ติดเชื้อซ้ำ ย่อมดีที่สุด
การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก
อ้างอิง
1. Naeimi R et al. SARS-CoV-2 seroprevalence in children worldwide: A systematic review and meta-analysis. eClinicalMedicine. February 2023.
2. Watanabe A et al. Assessment of Efficacy and Safety of mRNA COVID-19 Vaccines in Children Aged 5 to 11 Years: A Systematic Review and Meta-analysis. JAMA Pediatrics. 23 January 2023.
https://www.facebook.com/thiraw/posts/pfbid0VYpnBzEuVLfCVMpDyaGEncEN5qqjfV7x2Ph96gijucxXGJ13T73xNVQxqMAzbaoal
ป่วย "โควิด" แนวโน้มลด ปัญหา "สุขภาพจิต" พุ่ง
https://www.bangkokbiznews.com/health/well-being/1049812
ในขณะที่ผู้ป่วย “โควิด” แนวโน้มลดลง “ปัญหาสุขภาพจิต” กลับมีแนวโน้มจะกลายเป็นโรคที่น่ากังวลแทนและอาจจะพุ่งแซงหน้าทุกโรคแม้แต่โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพราะเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัย และอาจสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจขึ้นเป็นอันดับ 1 ได้ในอีกราว 10-20 ปีข้างหน้า
สถานการณ์โควิด-19 ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา พบยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีมาตรการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวโดยไม่ต้องกักตัวหรือมีผลตรวจโควิด-19 โดยตั้งแต่วันที่ 8-21 ม.ค. 2566 พบผู้ติดเชื้อ 8 ราย เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพียง 1 ราย และที่เหลือส่วนใหญ่ไม่มีอาการ สัญชาติที่ตรวจพบเชื้อ อันดับ 1 คือ จีน 3 ราย เมียนมา กัมพูชา ญี่ปุ่น อังกฤษและเกาหลีใต้ อย่างละ 1 ราย อัตราการพบผลบวกต่อโรคโควิด-19 ในช่วงสัปดาห์ที่ 2 (8-14 ม.ค. 2566) พบ 1.7% สัปดาห์ที่ 3 (15-21 ม.ค. 2566) พบเพียง 0.5% เท่านั้น
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รายงานว่าขณะนี้สายพันธุ์ที่พบในไทยมากที่สุดเป็นสายพันธุ์โอมิครอน BA.2.75 (86%) ที่เหลือเป็นสายพันธุ์อื่นที่เคยพบในต่างประเทศ และจากการเฝ้าระวังในกลุ่มผู้ที่ต้องเดินทางไปประเทศที่กำหนดให้ตรวจ RT-PCR เป็นลบก่อนขึ้นเครื่องนั้น ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ได้รายงานข้อมูลการติดเชื้อโควิด-19 เข้าระบบโคแล็บ (Co-Lab) พบติดเชื้อประมาณ 300-400 ราย มีทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ โดยพบผลบวกในนักท่องเที่ยวชาวจีนเพียง 10 กว่าราย (ประมาณ 4% ของผู้เดินทางสัญชาติเดียวกัน)
ในขณะที่ผู้ป่วย “
โควิด” แนวโน้มลดลง “
ปัญหาสุขภาพจิต” กลับมีแนวโน้มจะกลายเป็นโรคที่น่ากังวลแทนและอาจจะพุ่งแซงหน้าทุกโรคแม้แต่โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพราะเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัย และอาจสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจขึ้นเป็นอันดับ 1 ได้ในอีกราว 10-20 ปีข้างหน้า เพราะผู้ป่วยจะกังวลต่อการถูกตีตราจนกลายเป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการเข้าถึงบริการ และนำไปสู่การฆ่าตัวตาย ว่ากันว่าปัจจุบันมีคนรุ่นใหม่อย่างเจน Z หรือ เจนอัลฟา เข้ารับการปรึกษาปัญหาทางสุขภาพจิตมากขึ้น
รายงานการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ระบบและบริการสนับสนุนทางจิตใจและจิตสังคมสำหรับเด็กและวัยรุ่นในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกฉบับประเทศไทย จัดทำโดย ยูนิเซฟ กรมสุขภาพจิต สถาบันวิจัยประชากรและสังคม และสถาบันเบอร์เน็ต ประเทศออสเตรเลีย ระบุว่าวัยรุ่นไทยอายุ 10-19 ปี ประมาณ 1 ใน 7 คน และเด็กไทยอายุ 5-9 ปี ประมาณ 1 ใน 14 คน มีความผิดปกติทางจิตประสาทและอารมณ์ สอดคล้องกับผลการสำรวจภาวะสุขภาพนักเรียนทั่วโลกในส่วนของประเทศไทยเมื่อปี 2564 (2021 Global School - based Student Health Survey) พบว่า 17.6% ของวัยรุ่นอายุ 13-17 ปี มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย ซึ่งการฆ่าตัวตายคือสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 ของวัยรุ่นไทย
อีกด้านวัยแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานนอกระบบ ก็มีปัญหาสุขภาพจิตเช่นกัน ปัญหาหลักมาจาก การเงินและรายได้ ไม่เพียงพอ เป็นเรื่องความเครียด และบางทีขั้นฆ่าตัวตายเลยไม่ซึมเศร้า ทำให้ครอบครัวแตกแยกและความวิตกกังวล รวมไปถึงผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพทางใจสูญเสียจากการพลัดพราก เศร้ากังวลไม่มั่นคงในชีวิตเพราะไม่มีรายได้ รู้สึกเป็นภาระเมื่อลูกทำงานไม่มีเวลาให้ก็เหมือนโดนทอดทิ้ง ทำให้น้อยใจ ว้าเหว่ บางคนชอบเก็บตัว มากที่สุดคืออารมณ์แปรปรวนเครียดวิตกกังวล
ช่วงปี 2563 อัตราการฆ่าตัวตายกระโดดขึ้นเป็น 7.35 ต่อแสนประชากร ถือว่าสูงสุดในรอบ 17 ปี ช่วงปี 2564 เพิ่มเป็น 7.38 เฉลี่ยเป็นคนตายประมาณ 4,820 คน พูดได้ว่า 1 ปีมีคนทำร้ายตัวเองสำเร็จเกือบ 5,000 คน ขณะที่องค์การอนามัยโลกรายงานตัวเลขของไทยอยู่ที่ 8.8 ต่อแสนประชากรในปี 2562 การฆ่าตัวตายสำเร็จของคนไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นใกล้เคียงการตายจากอุบัติเหตุ เป็นสัญญาณกระตุ้นเตือนอย่ามองข้าม “
ปัญหาสุขภาพจิต” เพราะเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ ยิ่ง “
กนง.” ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ยิ่งต้องระวังป้องกันไว้ก่อนแก้ ดูแลคนใกล้ชิด
“โรม” ชี้ “รัฐบาล” ไม่ทำหน้าที่ เกิดปัญหาการทุจริตรายวัน ลั่น ขอโทษแทนคนไทย ปมดาราสาวไต้หวันถูกรีดไถ จี้ “นายกฯ” ตอบคำถามหลานเอี่ยว “ทุนจีนสีเทา”
https://siamrath.co.th/n/417940
วันที่ 26 ม.ค. 66 ที่รัฐสภา นาย
รังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีกระแสข่าวรีดไถดาราสาวชาวไต้หวัน ว่า ส่วนใหญ่เป็นปัญหารีดไถ ปัญหาส่วย ปัญหาในเรื่องของการทุจริตต่างๆ ก่อนหน้านี้ก็มีการพยายามรีดไถที่เป็นเครือข่ายของจีน ดังนั้นกระบวนการปัญหาแบบนี้ ตนเกิดความสงสัย ว่าเกิดอะไรขึ้น หากไปดูวงการตำรวจ คนที่มีอำนาจสูงสุดไม่ใช่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) คนเดียว แต่ยังรวมไปถึงพล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมด้วย
“
คำถามคือ วันนี้รัฐบาลทำอะไร ทำไมถึงปล่อยให้มันเกิดปัญหาการทุจริตรายวัน การรีดไถรายวัน ในวงการตำรวจและเมื่อเกิดกรณีการรีดไถดาราสาวชาวไต้หวันเรื่องนี้ยิ่งเรื่องใหญ่ มันไม่ใช่แค่การทุจริตธรรมดา แต่มันคือการทำลายการท่องเที่ยวของประเทศเรา”
นาย
รังสิมันต์ กล่าวต่อว่า ท่านอาจจะบอกว่าตั้งคณะกรรมการสอบ เราสอบมากี่เรื่องแล้ว แล้วอะไรคือการป้องกัน แล้วเมื่อไหร่มันจะจบ เราไม่เห็นรูปธรรม มาตรการ หรือความชัดเจนอะไร จากผบ.ตร. และรัฐบาลนี้เลย ว่าพวกท่านจะเอาจริงเอาจัง ในการแก้ปัญหาทุจริต การรีดไถ การปฎิบัติหน้าที่ไม่ชอบ ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ นี่คือสิ่งที่ไม่เห็น
“
ส่วนตัวอยากจะขอแสดงความเสียใจ ขอโทษแทนพี่น้องประชาชนชาวไทย ที่เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับดาราสาวชาวไต้หวัน ที่มีการถูกรีดไถ และอาจจะรวมไปถึงนักท่องเที่ยวอื่นๆ ที่อาจจะไม่ได้มีโอกาสพูด หรือไม่มีโอกาสโพสต์ในสื่อโซเชียลมีเดีย หรือโพสต์ไปแล้วอาจจะไม่ได้รับความสนใจ เราในฐานะที่เป็นเหมือนกับคนที่เป็นเจ้าของบ้าน เมื่อมีแขกมาเที่ยวประเทศ เราไม่อยากให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น ผมยังเชื่อว่าพี่น้องคนไทยเป็นคนที่ตั้งใจทำงานอย่างสุจริต ยังมีอีกเยอะ ยังมีคนที่อยู่ในวงการการท่องเที่ยวให้การท่องเที่ยวในไทยเป็นประสบการณ์ที่ดีที่สุด”
นาย
รังสิมันต์ กล่าวอีกว่า ส่วนที่มีการรีดไถนักท่องเที่ยวตามในข่าวเป็นส่วนน้อย และเราคงได้แต่ตั้งเป้าว่าเราจะพยายามไม่ให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นอีก เราจะพยายามปรับปรุงแก้ไข ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด และมั่นใจว่าประเทศของเราจะเป็นประเทศที่นักท่องเที่ยวทุกคนมาเที่ยวแล้วจะได้รับประสบการณ์ที่ดี
เมื่อถามว่า หลายคนมองว่าเป็นพวกเดียวกันต้องเคี่ยวกันเอง นายรังสิมันต์ กล่าวว่า ต้องเป็นแบบนั้น ในฐานะที่ตนติดตามเรื่องตำรวจมาอย่างยาวนาน เช่นกรณีเรื่องตั๋วช้าง ที่ตนได้ตั้งกระทู้ในเรื่องของเทสล่ากับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม มาจนถึงเรื่องกองบินตำรวจ ซึ่งมีหลักฐานชัดเจน เรื่องทุนจีนสีเทามีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงกรณีล่าสุด ที่มีการเผาสวนงูที่จังหวัดภูเก็ต และสุดท้ายไม่แน่ เราอาจจะฟ้องดำเนินคดีกับนายตู้ห่าวและภรรยาได้หรือไม่ เพราะ อัยการสูงสุดได้มีคำสั่งเบิกฟ้องไปแล้ว ซึ่งเหล่านี้เป็นกระบวนการที่พังทลายเละเทะไปหมด สำหรับกระบวนการยุติธรรม ดังนั้นการตั้งการสอบกันภายในตรวจสอบเสร็จแล้วเงียบหาย ตนคิดว่าทำแบบนี้ไปเรื่อยๆสังคมไทยไม่ได้อะไร ไม่ได้เกิดการปรับปรุงแก้ไขเหตุการณ์การทุจริต การช่วยเหลือพวกพ้อง
JJNY : "หมอธีระ"ยกผลศึกษาโควิดในเด็ก│ป่วย"โควิด"ลด ปัญหา"สุขภาพจิต"พุ่ง│“โรม”ชี้ “รบ.”ไม่ทำหน้าที่│ห่วงผู้บริหารติดอำนาจ
https://siamrath.co.th/n/417910
วันที่ 26 ม.ค.66 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่าน เฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุว่า...
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 171,902 คน ตายเพิ่ม 849 คน รวมแล้วติดไป 673,903,961 คน เสียชีวิตรวม 6,750,876 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน บราซิล และสหรัฐอเมริกา
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 6 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 80.27 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 67.02
...สถานการณ์โควิดในเด็กทั่วโลก
Naeimi R และคณะ จากอิหร่าน ได้เผยแพร่ผลการศึกษาทบทวนข้อมูลวิชาการตั้งแต่ปี 2563 ที่เริ่มมีการระบาดของโควิด-19 จนถึงกรกฎาคม 2565
ลงตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ eClinicalMedicine ฉบับกุมภาพันธ์ 2566 โดยมีงานวิจัย 247 ชิ้น จาก 70 ประเทศทั่วโลก (ภาพที่ 1)
พบว่า อัตราความชุกของการติดเชื้อโควิด-19 ในเด็กนั้นสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากเดิมมีอัตราติดเชื้อราว 7.3% ในระลอกแรก ได้เพิ่มขึ้นเป็น 37.6% ในระลอกที่ 5 และสูงขึ้นไปเป็น 56.6% ในระลอกที่ 6 เมื่อปีที่แล้ว
เด็กโตติดเชื้อมากกว่าเด็กเล็ก
ทวีปที่มีอัตราติดเชื้อสูงได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (17.9–81.8%) และแอฟริกา (17.2–66.1%) ในขณะที่ภูมิภาคแปซิฟิคตะวันตกมีอัตราติดเชื้อต่ำสุด
ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการที่จะช่วยกันดูแล ป้องกันเด็กๆ เพราะยังมีเด็กอีกจำนวนมากเกือบครึ่งที่ยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 นอกจากนี้การพาเด็กๆ ไปรับวัคซีน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการป่วยและเสียชีวิตก็มีความจำเป็น
...อัพเดตประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของวัคซีนในเด็กอายุ 5-11 ปี
Watanabe A และคณะ จากประเทศญี่ปุ่น ได้ทำการเผยแพร่ผลการศึกษาทบทวนข้อมูลวิชาการอย่างเป็นระบบและวิเคราะห์อภิมาน ลงในวารสารกุมารแพทย์ระดับสากล JAMA Pediatrics เมื่อ 23 มกราคม 2566
โดยมีงานวิจัยทั้งหมด 17 ชิ้นทั่วโลก และทำการเปรียบเทียบผลของการฉีดวัคซีน mRNA ในเด็กอายุ 5-11 ปี ทั้งมีเด็กที่ได้รับวัคซีนไป 10,935,541 คน เปรียบเทียบกับเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีน 2,635,251 คน
พบว่า การได้รับวัคซีนช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ, ป่วยนอนรพ., เสียชีวิต, รวมถึงการเกิดภาวะอักเสบหลายอวัยวะทั่วร่างกาย (MIS-C) ได้อย่างมีนัยสำคัญ (ภาพที่ 2)
ในขณะที่อาการไม่พึงประสงค์รุนแรงจากการฉีดวัคซีนนั้น เกิดขึ้นในอัตราที่น้อยมาก (ภาพที่ 3)
ผลการศึกษานี้จึงช่วยยืนยันเรื่องประโยชน์จากการฉีดวัคซีน mRNA ในเด็กอายุ 5-11 ปี และเรื่องความปลอดภัยจากการฉีดวัคซีน การฉีดวัคซีนนั้นเกิดประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงที่เกิดขึ้น น่าจะทำให้คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองของเด็กๆ ได้ทราบข้อมูลวิชาการที่ถูกต้อง
...การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ หรือไม่ติดเชื้อซ้ำ ย่อมดีที่สุด
การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก
อ้างอิง
1. Naeimi R et al. SARS-CoV-2 seroprevalence in children worldwide: A systematic review and meta-analysis. eClinicalMedicine. February 2023.
2. Watanabe A et al. Assessment of Efficacy and Safety of mRNA COVID-19 Vaccines in Children Aged 5 to 11 Years: A Systematic Review and Meta-analysis. JAMA Pediatrics. 23 January 2023.
https://www.facebook.com/thiraw/posts/pfbid0VYpnBzEuVLfCVMpDyaGEncEN5qqjfV7x2Ph96gijucxXGJ13T73xNVQxqMAzbaoal
ป่วย "โควิด" แนวโน้มลด ปัญหา "สุขภาพจิต" พุ่ง
https://www.bangkokbiznews.com/health/well-being/1049812
ในขณะที่ผู้ป่วย “โควิด” แนวโน้มลดลง “ปัญหาสุขภาพจิต” กลับมีแนวโน้มจะกลายเป็นโรคที่น่ากังวลแทนและอาจจะพุ่งแซงหน้าทุกโรคแม้แต่โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพราะเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัย และอาจสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจขึ้นเป็นอันดับ 1 ได้ในอีกราว 10-20 ปีข้างหน้า
สถานการณ์โควิด-19 ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา พบยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีมาตรการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวโดยไม่ต้องกักตัวหรือมีผลตรวจโควิด-19 โดยตั้งแต่วันที่ 8-21 ม.ค. 2566 พบผู้ติดเชื้อ 8 ราย เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพียง 1 ราย และที่เหลือส่วนใหญ่ไม่มีอาการ สัญชาติที่ตรวจพบเชื้อ อันดับ 1 คือ จีน 3 ราย เมียนมา กัมพูชา ญี่ปุ่น อังกฤษและเกาหลีใต้ อย่างละ 1 ราย อัตราการพบผลบวกต่อโรคโควิด-19 ในช่วงสัปดาห์ที่ 2 (8-14 ม.ค. 2566) พบ 1.7% สัปดาห์ที่ 3 (15-21 ม.ค. 2566) พบเพียง 0.5% เท่านั้น
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รายงานว่าขณะนี้สายพันธุ์ที่พบในไทยมากที่สุดเป็นสายพันธุ์โอมิครอน BA.2.75 (86%) ที่เหลือเป็นสายพันธุ์อื่นที่เคยพบในต่างประเทศ และจากการเฝ้าระวังในกลุ่มผู้ที่ต้องเดินทางไปประเทศที่กำหนดให้ตรวจ RT-PCR เป็นลบก่อนขึ้นเครื่องนั้น ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ได้รายงานข้อมูลการติดเชื้อโควิด-19 เข้าระบบโคแล็บ (Co-Lab) พบติดเชื้อประมาณ 300-400 ราย มีทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ โดยพบผลบวกในนักท่องเที่ยวชาวจีนเพียง 10 กว่าราย (ประมาณ 4% ของผู้เดินทางสัญชาติเดียวกัน)
ในขณะที่ผู้ป่วย “โควิด” แนวโน้มลดลง “ปัญหาสุขภาพจิต” กลับมีแนวโน้มจะกลายเป็นโรคที่น่ากังวลแทนและอาจจะพุ่งแซงหน้าทุกโรคแม้แต่โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพราะเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัย และอาจสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจขึ้นเป็นอันดับ 1 ได้ในอีกราว 10-20 ปีข้างหน้า เพราะผู้ป่วยจะกังวลต่อการถูกตีตราจนกลายเป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการเข้าถึงบริการ และนำไปสู่การฆ่าตัวตาย ว่ากันว่าปัจจุบันมีคนรุ่นใหม่อย่างเจน Z หรือ เจนอัลฟา เข้ารับการปรึกษาปัญหาทางสุขภาพจิตมากขึ้น
รายงานการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ระบบและบริการสนับสนุนทางจิตใจและจิตสังคมสำหรับเด็กและวัยรุ่นในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกฉบับประเทศไทย จัดทำโดย ยูนิเซฟ กรมสุขภาพจิต สถาบันวิจัยประชากรและสังคม และสถาบันเบอร์เน็ต ประเทศออสเตรเลีย ระบุว่าวัยรุ่นไทยอายุ 10-19 ปี ประมาณ 1 ใน 7 คน และเด็กไทยอายุ 5-9 ปี ประมาณ 1 ใน 14 คน มีความผิดปกติทางจิตประสาทและอารมณ์ สอดคล้องกับผลการสำรวจภาวะสุขภาพนักเรียนทั่วโลกในส่วนของประเทศไทยเมื่อปี 2564 (2021 Global School - based Student Health Survey) พบว่า 17.6% ของวัยรุ่นอายุ 13-17 ปี มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย ซึ่งการฆ่าตัวตายคือสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 ของวัยรุ่นไทย
อีกด้านวัยแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานนอกระบบ ก็มีปัญหาสุขภาพจิตเช่นกัน ปัญหาหลักมาจาก การเงินและรายได้ ไม่เพียงพอ เป็นเรื่องความเครียด และบางทีขั้นฆ่าตัวตายเลยไม่ซึมเศร้า ทำให้ครอบครัวแตกแยกและความวิตกกังวล รวมไปถึงผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพทางใจสูญเสียจากการพลัดพราก เศร้ากังวลไม่มั่นคงในชีวิตเพราะไม่มีรายได้ รู้สึกเป็นภาระเมื่อลูกทำงานไม่มีเวลาให้ก็เหมือนโดนทอดทิ้ง ทำให้น้อยใจ ว้าเหว่ บางคนชอบเก็บตัว มากที่สุดคืออารมณ์แปรปรวนเครียดวิตกกังวล
ช่วงปี 2563 อัตราการฆ่าตัวตายกระโดดขึ้นเป็น 7.35 ต่อแสนประชากร ถือว่าสูงสุดในรอบ 17 ปี ช่วงปี 2564 เพิ่มเป็น 7.38 เฉลี่ยเป็นคนตายประมาณ 4,820 คน พูดได้ว่า 1 ปีมีคนทำร้ายตัวเองสำเร็จเกือบ 5,000 คน ขณะที่องค์การอนามัยโลกรายงานตัวเลขของไทยอยู่ที่ 8.8 ต่อแสนประชากรในปี 2562 การฆ่าตัวตายสำเร็จของคนไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นใกล้เคียงการตายจากอุบัติเหตุ เป็นสัญญาณกระตุ้นเตือนอย่ามองข้าม “ปัญหาสุขภาพจิต” เพราะเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ ยิ่ง “กนง.” ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ยิ่งต้องระวังป้องกันไว้ก่อนแก้ ดูแลคนใกล้ชิด
“โรม” ชี้ “รัฐบาล” ไม่ทำหน้าที่ เกิดปัญหาการทุจริตรายวัน ลั่น ขอโทษแทนคนไทย ปมดาราสาวไต้หวันถูกรีดไถ จี้ “นายกฯ” ตอบคำถามหลานเอี่ยว “ทุนจีนสีเทา”
https://siamrath.co.th/n/417940
วันที่ 26 ม.ค. 66 ที่รัฐสภา นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีกระแสข่าวรีดไถดาราสาวชาวไต้หวัน ว่า ส่วนใหญ่เป็นปัญหารีดไถ ปัญหาส่วย ปัญหาในเรื่องของการทุจริตต่างๆ ก่อนหน้านี้ก็มีการพยายามรีดไถที่เป็นเครือข่ายของจีน ดังนั้นกระบวนการปัญหาแบบนี้ ตนเกิดความสงสัย ว่าเกิดอะไรขึ้น หากไปดูวงการตำรวจ คนที่มีอำนาจสูงสุดไม่ใช่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) คนเดียว แต่ยังรวมไปถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมด้วย
“คำถามคือ วันนี้รัฐบาลทำอะไร ทำไมถึงปล่อยให้มันเกิดปัญหาการทุจริตรายวัน การรีดไถรายวัน ในวงการตำรวจและเมื่อเกิดกรณีการรีดไถดาราสาวชาวไต้หวันเรื่องนี้ยิ่งเรื่องใหญ่ มันไม่ใช่แค่การทุจริตธรรมดา แต่มันคือการทำลายการท่องเที่ยวของประเทศเรา”
นายรังสิมันต์ กล่าวต่อว่า ท่านอาจจะบอกว่าตั้งคณะกรรมการสอบ เราสอบมากี่เรื่องแล้ว แล้วอะไรคือการป้องกัน แล้วเมื่อไหร่มันจะจบ เราไม่เห็นรูปธรรม มาตรการ หรือความชัดเจนอะไร จากผบ.ตร. และรัฐบาลนี้เลย ว่าพวกท่านจะเอาจริงเอาจัง ในการแก้ปัญหาทุจริต การรีดไถ การปฎิบัติหน้าที่ไม่ชอบ ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ นี่คือสิ่งที่ไม่เห็น
“ส่วนตัวอยากจะขอแสดงความเสียใจ ขอโทษแทนพี่น้องประชาชนชาวไทย ที่เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับดาราสาวชาวไต้หวัน ที่มีการถูกรีดไถ และอาจจะรวมไปถึงนักท่องเที่ยวอื่นๆ ที่อาจจะไม่ได้มีโอกาสพูด หรือไม่มีโอกาสโพสต์ในสื่อโซเชียลมีเดีย หรือโพสต์ไปแล้วอาจจะไม่ได้รับความสนใจ เราในฐานะที่เป็นเหมือนกับคนที่เป็นเจ้าของบ้าน เมื่อมีแขกมาเที่ยวประเทศ เราไม่อยากให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น ผมยังเชื่อว่าพี่น้องคนไทยเป็นคนที่ตั้งใจทำงานอย่างสุจริต ยังมีอีกเยอะ ยังมีคนที่อยู่ในวงการการท่องเที่ยวให้การท่องเที่ยวในไทยเป็นประสบการณ์ที่ดีที่สุด”
นายรังสิมันต์ กล่าวอีกว่า ส่วนที่มีการรีดไถนักท่องเที่ยวตามในข่าวเป็นส่วนน้อย และเราคงได้แต่ตั้งเป้าว่าเราจะพยายามไม่ให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นอีก เราจะพยายามปรับปรุงแก้ไข ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด และมั่นใจว่าประเทศของเราจะเป็นประเทศที่นักท่องเที่ยวทุกคนมาเที่ยวแล้วจะได้รับประสบการณ์ที่ดี
เมื่อถามว่า หลายคนมองว่าเป็นพวกเดียวกันต้องเคี่ยวกันเอง นายรังสิมันต์ กล่าวว่า ต้องเป็นแบบนั้น ในฐานะที่ตนติดตามเรื่องตำรวจมาอย่างยาวนาน เช่นกรณีเรื่องตั๋วช้าง ที่ตนได้ตั้งกระทู้ในเรื่องของเทสล่ากับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม มาจนถึงเรื่องกองบินตำรวจ ซึ่งมีหลักฐานชัดเจน เรื่องทุนจีนสีเทามีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงกรณีล่าสุด ที่มีการเผาสวนงูที่จังหวัดภูเก็ต และสุดท้ายไม่แน่ เราอาจจะฟ้องดำเนินคดีกับนายตู้ห่าวและภรรยาได้หรือไม่ เพราะ อัยการสูงสุดได้มีคำสั่งเบิกฟ้องไปแล้ว ซึ่งเหล่านี้เป็นกระบวนการที่พังทลายเละเทะไปหมด สำหรับกระบวนการยุติธรรม ดังนั้นการตั้งการสอบกันภายในตรวจสอบเสร็จแล้วเงียบหาย ตนคิดว่าทำแบบนี้ไปเรื่อยๆสังคมไทยไม่ได้อะไร ไม่ได้เกิดการปรับปรุงแก้ไขเหตุการณ์การทุจริต การช่วยเหลือพวกพ้อง