กลวิธีคล้ายๆ การล่อซื้อยาฯ สามารถใช้จัดการโจรดูดเงินได้หรือไม่ครับ

จากข่าวคราวที่โจรดูดเงินโดยวิธีอื่น นอกเหนือจาก Call Center ที่ใช้วิธี โทรมาทั้งล่อหลอก ทั้งบังคับให้เหยื่อโอนเงินไปให้
ที่ปีที่แล้วทำกันมาอย่างยาวนาน อย่างผมเอง ก็โดนโทรมา เดือนละราวๆ 3 ครั้ง แต่ผมจะแจ้งความผ่าน Dtac ทุกๆ ครั้ง

แต่ตอนนี้ เน้นกลยุทธ์เป็นการเน้นการส่ง Link เข้ามา ทาง Smart Phone แล้วใช้การล่อหลอกหว่านล้อมจากไลน์เข้ามาเจาะดูดเงินไป
โดยใช้ App ที่ไปควบคุมระบบช่วยเหลือทางไกลในเครื่อง (Remote) แต่ใช้เทคนิคซ่อนหน้าจอไว้ไม่ให้เหยื่อเห็น แล้วก็ดูดเงินไปจนได้
แม้ App ธนาคาร หลายๆ ธนาคาร จะมีระบบป้องกันเหยื่อเพียงใด ทางโจรก็ยังมีเทคนิคกลวิธีเอาเงินไปจนได้

ล่าสุดในสัปดาห์นี้ที่เป็นข่าวก็มีอีกสองราย โดนกันไปหลักแสนทั้งคู่ (แต่ผมโชว์ตัวอย่างหนึ่งในสองราย)
https://youtu.be/Qp0IudO9MeY ซึ่งชาวพันทิฟส่วนใหญ่ มักจะแนะนำให้ประชาชนทั้งหลาย หาวิธีป้องกันตัวเองเป็นหลัก
อย่าไปหวังพึ่งว่าใครจะช่วยป้องกันได้ ซึ่งมันก็คงต้องเป็นแบบนั้น

แต่ก็มีวิธีป้องกันอีกวิธีหนึ่ง คือ การป้องกันเชิงรุก โดยมีแนวคิดว่า การป้องกันตั้งรับที่ดีที่สุด คือ การรุกตอบโต้ฝ่ายตรงข้ามคืนไปบ้าง
โดยต้องอาศัยเครื่องมือเชิงรุกที่ดี จึงจะป้องกันแนวนี้ได้ ด้วยการแจ้งเบาะแสผู้(ที่อาจ)กระทำความผิดกฏหมายทางด้านไซเบอร์ 
เช่น ดูดเงิน ทางเว็บไซด์หนึ่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เกี่ยวกับเบาะแสอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ซึ่งถ้าทำได้สำเร็จ นอกจาก
ป้องกันตัวเองแล้ว ยังช่วยป้องกันคนอื่นไปได้ด้วย ซึ่งผมว่า ก็เป็นบุญกุศลอย่างหนึ่ง ในแง่ทางศาสนาพุทธ (หรือศานาอื่นด้วยมั้ง)
https://tcsd.go.th/%E0%B9%81%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%AA/

แต่ผมมีแนวคิดอีกอย่างหนึ่งในการรุก จึงเป็นที่มาของคำถามในกระทู้นี้ว่า หากมีคนได้รับลิงค์โจร แล้วเขาคิดจะทำตัวเป็นเหยื่อล่อ
ด้วยการเริ่มจากไปถอนเงินจาก app ธนาคารของตัวเองเอามาเก็บข้างนอกไว้ก่อนเหลือแค่ App ละไม่กี่ร้อย
หรือไม่ก็ย้าย App ธนาคารไปไว้เครื่องอื่น จากนั้นขั้นที่สอง เขาก็เดินทางไปที่สำนักงานตำรวจไซเบอร์ไปแจ้งความตำรวจว่า
เขาได้รับลิงค์โจร์นี้ แล้วเขาจะขอเป็นนกต่อเหยื่อล่อให้ตำรวจจับโจร

จากนั้นก็ทำทีเป็นเข้าไปในลิงค์ดำเนินการตามที่โจรบอกต่อหน้าตำรวจไซเบอร์ คำถามผมก็คือ ถ้าทำคล้ายๆเทคนิคการล่อซื้อยาฯถึงขั้นนี้แล้ว
ทางตำรวจไซเบอร์จะสามารถรู้ที่อยู่ของโจรที่กำลังดำเนินการได้หรือไม่ครับ (กรณีทำอย่างเหิมเกริมอยู่ในประเทศไทยนะ ถ้านอกไทยคงจับไม่ได้) 

1) หากโจรหลอกล่อโดยการโทรมา (โดยคนล่อดูเบอร์ก่อนว่า นี่มันเบอร์โทรศัพท์ประเทศไทย แล้วค่อยดำเนินการเข้าล่อ) ทางตำรวจ
จะสามารถรู้ที่อยู่คนโทรได้ไหมครับ (เห็นดูในหนังหลายๆ เรื่อง ตำรวจสามารถดักฟังและรู้ได้ แต่จริงๆ ได้หรือเปล่า)

2) หากโจรไม่ได้หลอกล่อด้วยการโทร แต่หลอกล่อด้วยการใช้ไลน์มาคุยสนทนากับเขา แล้วเขาทำตัวเป็นเหยื่อล่อแบบนี้ ทางตำรวจ
จะสามารถรู้ที่อยู่ของผู้กำลังคุยไลน์กับเขา ได้หรือไม่ครับ ในแง่เทคโนโลยีไซเบอร์
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 14
เหมือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหลายยังไม่จริงจังในการจัดการ เพราะเขาไม่ได้เดือดร้อนโดยตรง ถ้ามีกฏหมายหรือข้อบังคับให้มีส่วนร่วมรับผิดชอบล่ะก็ รับรองว่าจะต้องมีระบบการจัดการที่ดีกว่านี้แน่นอน
หลายคนเหมือนโทษประชาชนคนใช้งานเองว่าสะเพร่าบ้าง ไม่ฉลาดบ้าง ไม่ระวังเองบ้าง
แต่มันใช่เหรอคะ เราจำเป็นต้องระวังตัวมากขนาดนี้ รำคาญใจมากขนาดนั้นเหรอ อย่างข้อความที่ส่งมาทุกวันนี่ ถ้าเด็กหรือคนสูงอายุ กดอ่าน สไลด์ผ่านแล้วเผลอกดเข้าไปดูล่ะ  แล้วบางหน่วยงานที่มิจฉาชีพปลอมส่งเข้ามา ก็คือหน่วยงานที่มีอยู่จริง เหยื่อเขาใช้งานอยู่จริง
เบอร์ไหน โทรหาคนเป็นร้อย ๆ สาย ส่งข้อความหาคนเป็นพัน ๆ เช็คกันไม่ได้จริง ๆ เหรอว่ามาจากไหน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่