ต่อจากกระทู้ที่แล้ว หลังจากขุดปรับแต่งที่ดินเสร็จแล้ว ขั้นต่อไปก็เตรียมจะปลูกต้นไม้ เริ่มจากกล้วย ไผ่ และหากล้าพันธุ์ไม้ป่าต่างๆ ทั้งๆที่ขั้นตอนจริงๆของการทำกสิกรรมธรรมชาติหลังจากปรับหน้าดินคือ การห่มดินด้วยฟางข้าว แต่ในพื้นที่นั้นฟางข้าวหายากและแพง ก็เลยข้ามขั้นตอนนี้ไป เริ่มลงต้นไม้เลย ทำให้เกิดปัญหาใหม่ตามมาอย่างที่คิดไม่ถึง
ได้เริ่มหาพันธุ์ต้นไม้ป่าต่างๆมาปลูก เช่น สัก ยางนา มะค่า ตะเคียน ไม้แดง เต็ง รัง มะฮอกกานี กระถินเทพา สะเดา ฯลฯ ปลูกรอบๆที่ดินเป็นร้อยต้น ผลคือตายเกือบหมดในเวลา 3 เดือน เพราะพื้นดินขุดใหม่ไม่มีสารอาหาร ต้นกล้าอ่อนแอ แดดแรงสู้ไม่ไหว ต้นไม้จึงไม่รอด ทั้งที่ปลูกตามหลักการคือให้มีไม้พี่เลี้ยงคือต้นกล้วยอยู่ใกล้ๆคอยให้ความชื้นและบังแดด แต่มีอยู่แปลงนึงที่ลงต้นกระถินเทพาและมะฮอกกานี แปลงนี้รอดเยอะทำให้ยังพอมีกำลังใจ ส่วนต้นกล้วยรอดเกือบหมด ต้นไผ่รอดเกินครึ่ง
แต่เจอปัญหาใหม่ที่คาดไม่ถึงคือ เนื่องจากในพื้นที่นี้มีฝนตกบ่อย เมื่อเราปรับที่ดินใหม่แล้วเปิดหน้าดิน ภายใน 1 เดือนเท่านั้นหญ้าก็จะเริ่มงอกจากเมล็ดหญ้าที่อยู่ในดินและลอยมาตามลม พอได้น้ำฝนจะงอกงามทันที ทุกครั้งที่พอไปดูแลที่ดินก็จะเจอหญ้างอกงามยาวขึ้นเต็มพื้นที่มากขึ้นเรื่อยๆจนแทบจะปลูกต้นไม้ไม่ได้ ต้องซื้อเครื่องมือมาสู้กับหญ้า เริ่มจากเครื่องตัดหญ้าแบบสะพายไปถึงรถตัดหญ้าแบบเข็น พบว่าทุกครั้งที่ตัดหญ้าเสร็จพอเดือนถัดไปหญ้าจะแตกงอกงามกว่าเดิม สู้กับหญ้าอยู่หลายเดือนจนท้อ ต้นไม้ไม่โตแต่หญ้าโต จนกระทั่งมาถึงจุดพีคสุดคือ มีช่วงนึงที่โควิคระบาดหนักไปทั่วประเทศห้ามเดินทางข้ามจังหวัดอย่างเด็ดขาด ทำให้ไม่สามารถเดินทางไปดูแลที่ดินได้ 3-4 เดือน เมื่อเขาเปิดให้เดินทางได้ก็เดินทางไปดูที่ สิ่งที่เจอคือหญ้าโตเต็มพื้นที่จนแทบจะเดินเข้าไปไม่ได้ ต้นไม้ที่ปลูกไว้โดนหญ้าและเถาวัลย์ปกคลุมหมดจนไม่โต แม้แต่กล้วย ก็แทบจะไม่รอด
ตอนนั้นไม่รู้จะไปต่อยังไง เพราะมันไม่มีในตำราโคกหนองนาเรื่องการสู้กับหญ้า (จริงๆแล้วมี คือเรื่องการห่มดินนั่นเอง) ไปบ่นๆให้ชาวสวนในพื้นที่แถวนั้นฟัง เขาบอกว่าตามปกติชาวสวนแถวนั้นเขาใช้สารเคมีเพื่อควบคุมหญ้ากัน ซึ่งเราก็เคยได้ยินแต่ไม่สนใจเพราะตามหลักกสิกรรมธรรมชาติไม่ต้องการใช้สารเคมีในที่ดินเลย แต่คราวนี้จนปัญญาจริงๆ ชาวสวนในพื้นที่เขาเลยจัดการให้ โดยให้เราจ่ายเงินค่าแรงค่ายาค่าน้ำมันอย่างเดียว เดือนต่อมาไปดูอีกทีตกใจมาก เพราะเขาสามารถกำจัดหญ้าตายเรียบจนเกลี้ยงอย่างที่เรานึกไม่ถึงเลย ใช้คนตัดหญ้าหนึ่งวันและฉีดยาอีกหนึ่งวัน ทำให้มีกำลังใจทำต่อ และได้ความรู้เรื่องการกำจัดหญ้ามาด้วย มีของแถมที่ได้มาคือหญ้าที่ตายไปกลายเป็นฟางห่มดินจนทั่วทั้งพื้นที่ อยู่ไปได้นานอีกหลายเดือน ต่อจากนี้ก็เตรียมการปลูกต้นไม้เพิ่ม
อุปสรรคที่พบอีกอย่างคือคนในพื้นที่เขาไม่เข้าใจว่าเราทำอะไรแล้วทำไปทำไม หลายคนก็เคยได้ยินคำว่าโคกหนองนา แต่คนในพื้นที่นั้นเขาไม่สนใจกันเพราะถ้าคนไหนมีทุนเขาก็จะลงทุนทำสวนผลไม้กันโดยเฉพาะทุเรียนเพราะผลตอบแทนสูงมากแลกกับค่าใช้จ่ายการดูแลที่สูงตามไปด้วย คนไหนไม่มีทุนก็จะทิ้งที่ดินให้รกร้างไว้เฉยๆรอขายเมื่อมีนายทุนมาขอซื้อ การทำโคกหนองนาของผมจึงน่าจะทำอยู่แค่แปลงเดียวในตำบลนั้นที่ทุกวันนี้ก็ยังไม่มีคนเข้าใจ กระทู้ต่อไปเป็นตอนสุดท้ายครับ
ตอนที่ 1: ออกแบบและขุด
ตอนที่ 3: ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง
เล่าประสบการณ์ทำโคกหนองนา ผ่านมา 3 ปี ตอนที่ 2: ปัญหาอุปสรรคและหนทางแก้ไข
ได้เริ่มหาพันธุ์ต้นไม้ป่าต่างๆมาปลูก เช่น สัก ยางนา มะค่า ตะเคียน ไม้แดง เต็ง รัง มะฮอกกานี กระถินเทพา สะเดา ฯลฯ ปลูกรอบๆที่ดินเป็นร้อยต้น ผลคือตายเกือบหมดในเวลา 3 เดือน เพราะพื้นดินขุดใหม่ไม่มีสารอาหาร ต้นกล้าอ่อนแอ แดดแรงสู้ไม่ไหว ต้นไม้จึงไม่รอด ทั้งที่ปลูกตามหลักการคือให้มีไม้พี่เลี้ยงคือต้นกล้วยอยู่ใกล้ๆคอยให้ความชื้นและบังแดด แต่มีอยู่แปลงนึงที่ลงต้นกระถินเทพาและมะฮอกกานี แปลงนี้รอดเยอะทำให้ยังพอมีกำลังใจ ส่วนต้นกล้วยรอดเกือบหมด ต้นไผ่รอดเกินครึ่ง
แต่เจอปัญหาใหม่ที่คาดไม่ถึงคือ เนื่องจากในพื้นที่นี้มีฝนตกบ่อย เมื่อเราปรับที่ดินใหม่แล้วเปิดหน้าดิน ภายใน 1 เดือนเท่านั้นหญ้าก็จะเริ่มงอกจากเมล็ดหญ้าที่อยู่ในดินและลอยมาตามลม พอได้น้ำฝนจะงอกงามทันที ทุกครั้งที่พอไปดูแลที่ดินก็จะเจอหญ้างอกงามยาวขึ้นเต็มพื้นที่มากขึ้นเรื่อยๆจนแทบจะปลูกต้นไม้ไม่ได้ ต้องซื้อเครื่องมือมาสู้กับหญ้า เริ่มจากเครื่องตัดหญ้าแบบสะพายไปถึงรถตัดหญ้าแบบเข็น พบว่าทุกครั้งที่ตัดหญ้าเสร็จพอเดือนถัดไปหญ้าจะแตกงอกงามกว่าเดิม สู้กับหญ้าอยู่หลายเดือนจนท้อ ต้นไม้ไม่โตแต่หญ้าโต จนกระทั่งมาถึงจุดพีคสุดคือ มีช่วงนึงที่โควิคระบาดหนักไปทั่วประเทศห้ามเดินทางข้ามจังหวัดอย่างเด็ดขาด ทำให้ไม่สามารถเดินทางไปดูแลที่ดินได้ 3-4 เดือน เมื่อเขาเปิดให้เดินทางได้ก็เดินทางไปดูที่ สิ่งที่เจอคือหญ้าโตเต็มพื้นที่จนแทบจะเดินเข้าไปไม่ได้ ต้นไม้ที่ปลูกไว้โดนหญ้าและเถาวัลย์ปกคลุมหมดจนไม่โต แม้แต่กล้วย ก็แทบจะไม่รอด
ตอนนั้นไม่รู้จะไปต่อยังไง เพราะมันไม่มีในตำราโคกหนองนาเรื่องการสู้กับหญ้า (จริงๆแล้วมี คือเรื่องการห่มดินนั่นเอง) ไปบ่นๆให้ชาวสวนในพื้นที่แถวนั้นฟัง เขาบอกว่าตามปกติชาวสวนแถวนั้นเขาใช้สารเคมีเพื่อควบคุมหญ้ากัน ซึ่งเราก็เคยได้ยินแต่ไม่สนใจเพราะตามหลักกสิกรรมธรรมชาติไม่ต้องการใช้สารเคมีในที่ดินเลย แต่คราวนี้จนปัญญาจริงๆ ชาวสวนในพื้นที่เขาเลยจัดการให้ โดยให้เราจ่ายเงินค่าแรงค่ายาค่าน้ำมันอย่างเดียว เดือนต่อมาไปดูอีกทีตกใจมาก เพราะเขาสามารถกำจัดหญ้าตายเรียบจนเกลี้ยงอย่างที่เรานึกไม่ถึงเลย ใช้คนตัดหญ้าหนึ่งวันและฉีดยาอีกหนึ่งวัน ทำให้มีกำลังใจทำต่อ และได้ความรู้เรื่องการกำจัดหญ้ามาด้วย มีของแถมที่ได้มาคือหญ้าที่ตายไปกลายเป็นฟางห่มดินจนทั่วทั้งพื้นที่ อยู่ไปได้นานอีกหลายเดือน ต่อจากนี้ก็เตรียมการปลูกต้นไม้เพิ่ม
อุปสรรคที่พบอีกอย่างคือคนในพื้นที่เขาไม่เข้าใจว่าเราทำอะไรแล้วทำไปทำไม หลายคนก็เคยได้ยินคำว่าโคกหนองนา แต่คนในพื้นที่นั้นเขาไม่สนใจกันเพราะถ้าคนไหนมีทุนเขาก็จะลงทุนทำสวนผลไม้กันโดยเฉพาะทุเรียนเพราะผลตอบแทนสูงมากแลกกับค่าใช้จ่ายการดูแลที่สูงตามไปด้วย คนไหนไม่มีทุนก็จะทิ้งที่ดินให้รกร้างไว้เฉยๆรอขายเมื่อมีนายทุนมาขอซื้อ การทำโคกหนองนาของผมจึงน่าจะทำอยู่แค่แปลงเดียวในตำบลนั้นที่ทุกวันนี้ก็ยังไม่มีคนเข้าใจ กระทู้ต่อไปเป็นตอนสุดท้ายครับ
ตอนที่ 1: ออกแบบและขุด
ตอนที่ 3: ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง