@ ประเด็นคดียาเสพติดที่ประเทศออสเตรเลีย
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ประมวลข้อมูลมานำเสนอ ณ ที่นี้
กรณีนี้เป็นประเด็นร้อนในสังคมไทยขึ้นมาทันที เมื่อหนังสือพิมพ์ซิดนีย์มอร์นิงเฮรัลด์ (SMH) ของออสเตรเลีย
ได้เผยเอกสารฉบับหนึ่ง ซึ่งเป็นคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์คดีอาญารัฐนิวเซาท์เวลส์ เมื่อปี 2538 มีเนื้อหาชี้ชัดว่า ร.อ.ธรรมนัส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เคยรับโทษจำคุกในคดีลักลอบนำเข้าและค้ายาเสพติดเป็นเวลา 4 ปี ก่อนจะถูกเนรเทศกลับไทย
เอกสารดังกล่าวอยู่ในบทความชื่อว่า "รัฐมนตรีอดีตนักโทษบิดเบือนเรื่องราวสมัยเคยต้องโทษจำคุกในนครซิดนีย์" (Ex-con cabinet minister changes story over Sydney jail time)
ระบุว่าสาระสำคัญของคำพิพากษาที่มีขึ้นเมื่อ 24 ปีก่อน มีการยกคำร้อง ขอลดหย่อนโทษ จากนายศรศาสตร์ เทียมทัศน์ และ นายมนัส โบพรหม ซึ่งเป็นชื่อและนามสกุลที่ นายธรรมนัส ใช้อยู่ในเวลานั้น
คำพิพากษาชึ้ชัดว่า บุคคลทั้งสองมีส่วนพัวพันอย่างมากในคดีลักลอบนำเข้าและค้ายาเสพติด โดยนายมนัส ได้ช่วยเดินเรื่องทำวีซ่า และจัดหาตั๋วเครื่องบินให้แก่ผู้หญิง ที่เป็นผู้รับขนยาเสพติด และเป็นผู้นำเฮโรอีนน้ำหนัก 3.2 กิโลกรัม จากโรงแรมพาร์ครอยัลในนครซิดนีย์ ไปให้กับลูกค้าที่หาดบอนไดด้วยตนเอง
บันทึกของศาลยังชี้ว่า หลังนายมนัส ถูกจับกุมในปี 2536 เขาได้เผยรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับวงการธุรกิจใต้ดินของไทยแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจออสเตรเลีย และยังเอ่ยพาดพิงถึงบุคคลในกองทัพจำนวนหนึ่งที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติดด้วย
อย่างไรก็ตาม ในช่วงการอภิปรายไม่ไว้วางใจในปี 2563 ร.อ.ธรรมนัส ได้ชี้แจงกรณีดังกล่าวต่อสาธารณชนะ โดยยืนกรานว่าเคยถูกทางการออสเตรเลียควบคุมตัวเพียง 8 เดือน ในฐานะพยานเท่านั้น และได้อยู่ในสถานพักพิงที่รัฐเป็นผู้ดูแล ไม่ได้เป็นนักโทษที่ถูกคุมขังในเรือนจำ
เขายังยืนยันด้วยว่า สิ่งที่เจ้าหน้าที่ตำรวจปราบปรามยาเสพติดของรัฐนิวเซาท์เวลส์ อ้างว่าเป็นเฮโรอีน 3.2กิโลกรัม มันคือแป้ง จนกลายเป็นที่มาของฉายารัฐมนตรีแป้งมันในเวลาต่อมา
ร.อ.ธรรมนัส ยังยืนยันด้วยว่า เขาใช้ชีวิตตามปกติเหมือนคนทั่วไปหลังได้รับการปล่อยตัว โดยประกอบอาชีพเป็นผู้จัดการในบริษัทจำหน่ายกระดาษชำระแห่งหนึ่งในออสเตรเลียเป็นเวลา 4 ปีเต็ม
ทั้งยืนยันว่าไม่เคยรับสารภาพ ต่อข้อหาลักลอบนำเข้าและค้ายาเสพติด แต่ได้เข้าสู่กระบวนการต่อรอง ก่อนพิจารณาคดี เพื่อกันตัวเป็นพยาน แทนการรับโทษ
ในเวลาต่อมา เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2564
ศาลรัฐธรรมนูญ จะมีคำวินิจฉัย คดีสมาชิกภาพ ส.ส. และความเป็นรัฐมนตรีของ ร.อ.ธรรมนัส สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ ว่า ร.อ.ธรรมนัส ไม่พ้นสมาชิกภาพ ส.ส.และความเป็นรัฐมนตรี เหตุไม่เคยต้องคำพิพากษาศาลไทย จึงไม่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ ส่วนปัญหาว่า ข้อกล่าวอ้างตามคำร้อง เป็นเรื่องความเหมาะสม ในการดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือไม่ ไม่อยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัย
แหล่งข่าวอ่านเพิ่มเติม.
https://www.isranews.org/article/isranews-scoop/102348-tham00.html
ประเด็นคดียาเสพติดที่ประเทศออสเตรเลียศาล รธน. ชี้ขาดเอาคำพิพากษา ตปท. มาบังคับในไทยไม่ได้
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ประมวลข้อมูลมานำเสนอ ณ ที่นี้
กรณีนี้เป็นประเด็นร้อนในสังคมไทยขึ้นมาทันที เมื่อหนังสือพิมพ์ซิดนีย์มอร์นิงเฮรัลด์ (SMH) ของออสเตรเลีย
ได้เผยเอกสารฉบับหนึ่ง ซึ่งเป็นคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์คดีอาญารัฐนิวเซาท์เวลส์ เมื่อปี 2538 มีเนื้อหาชี้ชัดว่า ร.อ.ธรรมนัส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เคยรับโทษจำคุกในคดีลักลอบนำเข้าและค้ายาเสพติดเป็นเวลา 4 ปี ก่อนจะถูกเนรเทศกลับไทย
เอกสารดังกล่าวอยู่ในบทความชื่อว่า "รัฐมนตรีอดีตนักโทษบิดเบือนเรื่องราวสมัยเคยต้องโทษจำคุกในนครซิดนีย์" (Ex-con cabinet minister changes story over Sydney jail time)
ระบุว่าสาระสำคัญของคำพิพากษาที่มีขึ้นเมื่อ 24 ปีก่อน มีการยกคำร้อง ขอลดหย่อนโทษ จากนายศรศาสตร์ เทียมทัศน์ และ นายมนัส โบพรหม ซึ่งเป็นชื่อและนามสกุลที่ นายธรรมนัส ใช้อยู่ในเวลานั้น
คำพิพากษาชึ้ชัดว่า บุคคลทั้งสองมีส่วนพัวพันอย่างมากในคดีลักลอบนำเข้าและค้ายาเสพติด โดยนายมนัส ได้ช่วยเดินเรื่องทำวีซ่า และจัดหาตั๋วเครื่องบินให้แก่ผู้หญิง ที่เป็นผู้รับขนยาเสพติด และเป็นผู้นำเฮโรอีนน้ำหนัก 3.2 กิโลกรัม จากโรงแรมพาร์ครอยัลในนครซิดนีย์ ไปให้กับลูกค้าที่หาดบอนไดด้วยตนเอง
บันทึกของศาลยังชี้ว่า หลังนายมนัส ถูกจับกุมในปี 2536 เขาได้เผยรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับวงการธุรกิจใต้ดินของไทยแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจออสเตรเลีย และยังเอ่ยพาดพิงถึงบุคคลในกองทัพจำนวนหนึ่งที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติดด้วย
อย่างไรก็ตาม ในช่วงการอภิปรายไม่ไว้วางใจในปี 2563 ร.อ.ธรรมนัส ได้ชี้แจงกรณีดังกล่าวต่อสาธารณชนะ โดยยืนกรานว่าเคยถูกทางการออสเตรเลียควบคุมตัวเพียง 8 เดือน ในฐานะพยานเท่านั้น และได้อยู่ในสถานพักพิงที่รัฐเป็นผู้ดูแล ไม่ได้เป็นนักโทษที่ถูกคุมขังในเรือนจำ
เขายังยืนยันด้วยว่า สิ่งที่เจ้าหน้าที่ตำรวจปราบปรามยาเสพติดของรัฐนิวเซาท์เวลส์ อ้างว่าเป็นเฮโรอีน 3.2กิโลกรัม มันคือแป้ง จนกลายเป็นที่มาของฉายารัฐมนตรีแป้งมันในเวลาต่อมา
ร.อ.ธรรมนัส ยังยืนยันด้วยว่า เขาใช้ชีวิตตามปกติเหมือนคนทั่วไปหลังได้รับการปล่อยตัว โดยประกอบอาชีพเป็นผู้จัดการในบริษัทจำหน่ายกระดาษชำระแห่งหนึ่งในออสเตรเลียเป็นเวลา 4 ปีเต็ม
ทั้งยืนยันว่าไม่เคยรับสารภาพ ต่อข้อหาลักลอบนำเข้าและค้ายาเสพติด แต่ได้เข้าสู่กระบวนการต่อรอง ก่อนพิจารณาคดี เพื่อกันตัวเป็นพยาน แทนการรับโทษ
ในเวลาต่อมา เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2564
ศาลรัฐธรรมนูญ จะมีคำวินิจฉัย คดีสมาชิกภาพ ส.ส. และความเป็นรัฐมนตรีของ ร.อ.ธรรมนัส สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ ว่า ร.อ.ธรรมนัส ไม่พ้นสมาชิกภาพ ส.ส.และความเป็นรัฐมนตรี เหตุไม่เคยต้องคำพิพากษาศาลไทย จึงไม่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ ส่วนปัญหาว่า ข้อกล่าวอ้างตามคำร้อง เป็นเรื่องความเหมาะสม ในการดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือไม่ ไม่อยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัย
แหล่งข่าวอ่านเพิ่มเติม. https://www.isranews.org/article/isranews-scoop/102348-tham00.html