✨ เรียนรู้วัฒนธรรมเกาหลีแบบดั้งเดิมผ่านวาไรตี้ Korea No.1🤗



อันยองงงงง~🖐️ สวัสดีค่ะทุกคนสบายดีกันใช่ไหม 
วันนี้แอดจะมาแนะนำรายการวาไรตี้สนุกๆ ไว้คลายเครียดกัน
แถมยังได้เรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้านของเกาหลีใต้กันแบบอัดแน่น!!!


‘Korea No.1’  วาไรตี้เกาหลียอดนิยมที่จะพาทุกคน
ไปเรียนรู้วัฒนธรรมเกาหลีโบราณหลากหลายสไตล์ 
ที่นอกจากจะได้รับความสนุกสนานแล้วนั้น!!!
 เรายังได้ความรู้มากมายให้ทุกคนได้ศึกษาไปพร้อมๆ กัน 
บอกเลยว่าดูเพลินมากกกกก 👍


ดำเนินรายการโดย ‘อีกวางซู’, ‘ยูแจซอก’ และ ‘คิมยอนกยอง’ 
รับรองเลยว่าทุกคนจะได้รับเสียงหัวเราะ
และความตลกโปกฮาจากรายการนี้อย่างแน่นอน 
เพราะเคมีความน่ารักของเหล่า 3 พิธีกรเข้ากันได้ดีแบบสุดๆ 🥰


เกริ่นมาขนาดนี้ ถ้าพร้อมกันแล้วเนี้ย
ตามแอดมาชมกันเลยว่าจะมีวัฒนธรรมไหนน่าสนใจกันบ้าง💙

.
.
.

🗿 EP:1 เจวาจัง (Roof Tile Making, 제와장) 🗿
📍 เมืองชางฮึง


เปิดตอนแรกกันที่เมืองจางฮึง มาเรียนรู้เกี่ยวกับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเจวาจัง
‘เจวาจัง’ หมายถึง ผู้ทำคีวา ซึ่ง ‘คีวา’ ก็คือหลังคานั้นเอง เนื่องจากคีวาเป็นฉนวนกัน
ความร้อนได้ดี ในสมัยสามก๊กจึงนิยมใช้คีวาในการป้องกันแดดกันฝนและลมให้กับผู้คน 
รวมถึงหลังคาของพระราชวังคยองบกก็ทำมาจากคีวาทั้งหมดอีกด้วยนะ 
ถือได้ว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของเกาหลีเลยล่ะค่ะ


เอาล่ะ!! วันนี้แอดจะพามาเรียนรู้วิธีการทำหลังคาคีวาแบบฉบับดั้งเดิมกันค่ะ
ขั้นตอนที่ 1 คือการนำดินทั้ง 5 ประเภทมานวดผสมเข้าด้วยกันและหลังจากนั้น
จึงนำมาวางรวมกันเป็นดินแผ่น จากนั้นใช้น้ำโปรยลงเล็กน้อยและใช้ไม้เกลี่ยให้พื้นดิน
เป็นแผ่นเรียบสม่ำเสมอกัน


ขั้นตอนที่ 2 นำดินแผ่นที่เกลี่ยไว้ไปแปะลงบริเวณด้านข้างของถังทรงกระบอก 
หลังจากนั้นใช้มือตบเบาๆ ให้เรียบแล้วใช้น้ำพรมเล็กน้อย
เพื่อให้เกลี่ยได้ง่ายขึ้นและใช้แม่พิมพ์


หลังจากที่ดินเซ็ตตัวได้ดีแล้วจึงค่อยๆ 
นำถังออกอย่างเบามือและนำมาตากให้แห้ง


ขั้นตอนที่ 3 การทำมักแซที่ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของคีวาเลยก็ว่าได้ 
เพราะนอกจากจะมีรูปร่างและลวดลายที่สวยงามแล้วยังสามารถถ่ายเทน้ำ
ออกจากหลังคาได้อีกด้วย โดยวิธีการทำก็คือการนำคีวาที่ตากไว้เมื่อสักครู่
มาตัดส่วนปลายให้โค้งดังรูปหลังจากนั้น นำน้ำมาพรมเล็กน้อย 
และเกลี่ยบริเวณที่ตัดให้เรียบ แล้วประทับลวดลายเบาๆ 


ขั้นตอนที่ 4 จากนั้นนำคีวาที่ตากไว้อีกแผ่นมาประกบเข้ากับส่วนที่ตัดออกไป
เพื่อทำเป็นมักแซ โดยการเกลี่ยดินให้เรียบเสมอกันมากที่สุด


หลังจากนั้นจึงนำแม่พิมพ์รูปทรงต่างๆ มาประกบเข้ากับดินคีวาที่เตรียมไว้
ใช้ค้อนทุบประมาณ 15 ครั้งให้แม่พิมพ์กดลงไปบนผิวดิน


ขั้นตอนที่ 5 ตัดส่วนเกินออกไปโดยพยายามตัดให้เรียบที่สุด 
แล้วจากนั้นนำมักแซและคีวาที่ได้ไปตากให้แห้งประมาณ 2-3 สัปดาห์



ขั้นตอนที่ 6 นำมักแซและคีวาทั้งหมดไปเผาที่อุณหภูมิ 1,100 องศาประมาณ 15 ชั่วโมง  
แค่นี้ก็จะได้คีวาแบบดังเดิมพร้อมใช้งานแล้วล่ะค่ะ ดูไม่ได้ยากมากใช่ไหมคะทุกคน 
แต่บอกเลยว่าใช้ความประณีตที่สู๊งงงงงงมาก ต้องใจเย็นแบบสุดๆ


แต่ยังไม่หมดนะ ในรายการจะเห็นอีกด้วยว่ามีการนำ ‘ขนมยักกวา’ (약과) 
ออกมาให้ได้เห็นกันด้วย แอดจะบอกว่าขนมยักกวาเนี้ยมีรสชาติที่หอมหวานมาก 
เพราะทำมาจากแป้งผสมกับน้ำผึ้ง เกลือ น้ำตาล ผงขิง น้ำมันงา รูปทรงดอกไม้สวยงาม 
นิยมทานเป็นอาหารว่างรองท้องคู่กับชา เข้ากันแบบสุดๆ ว่างๆ ลองไปหาชิมกันได้น๊าา

.
.

⚱️ EP:2 การทำเครื่องปรุง  (Korean Sauce and Paste Making, 장담그기) ⚱️
📍 เมืองทัมยาง


มาต่อกันที่เมืองทัมยางใน EP.2 นี้เหล่า 3 พิธีกรจะพาทุกคนไปเรียนรู้เกี่ยวกับ 
‘มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมการทำเครื่องปรุงกันค่ะ’ การทำเครื่องปรุงถือได้ว่าเป็น
รากฐานของการทำอาหารเลยก็ว่าได้ เพราะไม่ว่าจะเมนูไหน ก็ต้องใช้เครื่องปรุง
ในกระบวนการทำอาหาร และในปี 2022 ยังได้รับการยื่นขอขึ้นทะเบียนยูเนสโกอีกด้วย
และในวันนี้จะมีเครื่องปรุงอะไรกันบ้างนั้นตามแอดมาดูกันเลยค๊าา 


วัตถุดิบแรกที่แอดจะพาทุกคนมารู้จักนั้นก็คือ ‘เกลือไม้ไผ่’ นั่นเองค่ะ 
วิธีทำก็ง่ายแสนง่ายเพียงแค่นำเกลือขาวมาอัดใส่กระบอกไม้ไผ่ให้แน่น
จากนั้นก็นำไปเข้าเตาเผาประมาณ 4 วัน แค่นี้ก็จะได้เกลือไม้ไผ่ที่
พร้อมนำมาปรุงอาหารแล้วล่ะค่ะ


เครื่องปรุงรสต่อไปก็คือ ‘โคชูจัง’ (고추장) วิธีการทำฉบับโบราณเลยก็คือ
นำน้ำเปล่า ผสม กับแป้งข้าวเหนียวตั้งไฟให้เดือด น้ำจะข้นขึ้นหนืดขึ้น
จากนั้นผสมน้ำเชื่อมลงไปและตั้งไฟให้เดือด ให้น้ำลดลงจากเดิมประมาน 20%
และผสมพริกเกาหลี ผงถั่วเหลืองหมักละเอียด ใส่เกลือไม้ไผ่ลงไป จากนั้นก็นำไปหมัก
โดยใช้ภาชนะคล้ายไห เปิดฝาไว้และเอาผ้าตาข่ายคลุม เพื่อให้อากาศเข้าได้ 
หมักไว้เป็นเวลา 60 วันก็จะได้รสชาติที่เข้มข้นกล่อมกล่อมพร้อมนำออกมารับประทานแล้วค่ะ


เครื่องปรุงรสต่อไปก็คือ ‘คันจัง’ (간장) นั้นเองง สำหรับคันจังและทเวนจังนั้นเป็นเครื่องปรุงที่จะ
ทำออกมาได้พร้อมกันเลยก็คือ การนำก้อนถั่วเหลืองหมักลงไปในไหผสมเกลือไม้ไผ่และเติมน้ำสะอาด
หมักไว้เป็นเวลา 2 เดือน ก็จะได้ซอสปรุงรสคันจังแสนอร่อยออกมาใช้ปรุงอาหารได้แล้วค่ะ


 ‘ทเวนจัง’ (된장) เป็นเครื่องปรุงที่พอหมักคันจังเสร็จก็นำเอาก้อนถั่วเหลืองที่อยู่ในไหออกมา 
ส่วนที่เป็นก้อนถั่วเหลืองหมักก็คือทเวนจัง ที่พร้อมนำมารับประทานนั่นเอง หรือจะหมักต่อไปอีก
เพื่อเพิ่มรสชาติที่เข้มข้นกว่าเดิมก็ได้น๊าา ส่วนน้ำสีดำที่ออกมาจากการหมักก็จะเรียกว่า ‘คันจัง’ 


เมนูอาหารแสนพิเศษที่คุณย่าได้นำมาให้กับเหล่าพิธีกรได้รับประทานใน EP นี้ก็คือ 
‘คันจังกิมจิ’ (간장김치) เป็นกิมจิที่ทำมาจากคันจังรสชาติหอมอร่อยที่แอดบอกเลยว่า
ถ้าไม่ได้มาชิมที่นี่ก็ไม่มีที่ไหนให้ชิมแล้วถือเป็นเมนูที่พิเศษมากๆ เลยล่ะค่ะ


อีกหนึ่งเมนูที่พิเศษไม่แพ้กันนั่นก็คือ ‘ชาคันจัง’ (간장차) ที่เหล่าพิธีกรต่างพากันตาโตเมื่อได้ลิ้มลอง 
เพราะมีรสชาติหอมละมุน คล้ายซุป ยิ่งทานคู่ไปกับคันจังกิมจิพร้อมข้าวสวยร้อนๆ แล้วล่ะก็ฟินสุดๆ


แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่