ออกตัวไว้ว่าไม่ใช่เรื่องของผมครับ เพราถึงผมจะมีลูกอ่อนแต่เป็นผู้ชาย
และบริษัทผมไม่เคยเจอปัญหาประเภทนี้
ส่วนภรรยาผมทำงานสายวิชาการในมหาวิทยาลัย การเติบโตและเลื่อนตำแหน่งคิดจากการตีพิมพ์งานวิจัยเป็นหลัก
.
.
.
เข้าเรื่อง…
น้องผู้หญิงคนหนึ่งวัย 30 กลาง เคยได้รับการโปรโมทเพื่อเป็นผู้ช่วยผู้จัดการระดับภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติเมื่อ 2 ปีที่แล้ว
แม้จะเป็นการบอกกล่าวแบบไม่เป็นทางการ แต่หัวหน้เธอบอกว่าจะมีการคอยติดตามและประเมินการทำงานของเธอซักปีสองปี
ไม่นานเธอตั้งท้องลูกคนแรก หลังจากลาคลอดแค่ 2 เดือนเธอก็กลับมาทำงานตามปกติ แต่หัวหน้าได้บอกเธอว่า เรื่องการโปรโมทเลื่อนตำแหน่ง ตอนนี้ผู้บริหารเล็งพี่ผู้ชายอีกคนไว้ด้วย
หลังจากนั้น 8 เดือน ตำแหน่งก็ตกเป็นของพี่ผู้ชายคนนั้น
เธอถามหัวหน้าว่าทำไมเธอถึงพลาดไป มีอะไรผิดไปหรือไม่
เธอได้คำตอบว่าทางทีมผู้บริหารคิดว่าการมีลูกของเธออาจเป็นอุปสรรคในการทำงาน
.
แต่น่าตลกตรงที่ว่า พี่ผู้ชายที่ได้ตำแหน่งไปก็เพิ่งมีลูกคนแรกเช่นกัน โดยภรรยาของพี่เขาคลอดหลังเธอคลอดลูกได้ไม่ถึงเดือน
.
.
.
.
.
ผมเลยสงสัยว่า
ผู้หญิงมีลูกอ่อน เป็นอุปสรรคในการทำงานมากกว่า ผู้ชายมีลูกอ่อนอย่างไรครับ
เพิ่มเติมข้อมูล
1. ในกรณีนี้ผู้ชายและผู้หญิงมีลูกอายุประมาณ 1 ขวบทั้งคู่
2. ผู้ชายและผู้หญิงอายุงานเท่ากัน แต่ผู้ชายแก่กว่า
3. ตำแหน่งก่อนได้รับการโปรโมทตำแหน่งเดียวกันแต่รับผิดชอบคนละฝ่าย
4. ตำแหน่งงานนี้อาจต้องไปต่างประเทศบ้างปีละครั้งสองครั้ง
5. การประชุมผ่าน Video Conference นอกเวลางานกับต่างชาติเป็นเรื่องปกติ
.
.
.
ในฐานะที่ผมก็มีลูก ผมกับแฟนก็ดูแลลูกเท่าๆกัน ลาไปทำธุระหรือพบหมอไม่ต่างกัน
เท่าที่คิดได้ในตอนนี้
1. ผู้หญิงต้องให้นมอาจจะอ่อนเพลียมากกว่า รวมถึงร่างการหลังจากคลอดก็ต้องใช้เวลาฟื้นฟู
ข้อหักล้าง จากประสบการณ์ของผมและแฟน ความอ่อนล้า อ่อนเพลียที่ว่าไม่น่าเกิน 6 เดือน
หลังจากนั้นเรื่องตื่นมาให้นมกลางคืน กับการดูแลลูกก็ไม่ต่างกันมากระหว่างพ่อกับแม่
2. เวลามีงานที่ต่างประเทศ แม่จะเดินทางได้ลำบากกว่าในช่วงลูกอ่อน
ข้อหักล้าง คิดว่าลูกโตเกิน 1 ปี ก็น่าจะไม่เป็นปัญหา แฟนผมก็ต้องไปต่างประเทศตอนลูกยังไม่ครบขวบ
เลยอยากถามในมุมมองผู้บริหารหรือฝ่ายบุคคลครับว่าทำไม
หรือว่ามีสถิติว่า ผู้หญิงที่มีลูกลางานบ่อยกว่าผู้ชาย ?
หรือ มีแนวโน้มว่าผู้หญิงให้ความสำคัญกับลูกมากกว่าผู้ชาย ?
.
.
.
อันนี้เป็นความแส่อยากรู้ส่วนตัวครับ ที่ทำงานผมกับแฟนก็ไม่เป็นแบบนี้ อาจด้วยลักษณะเนื้องาน
เลยอยากทราบมุมมองของผู้บริหารหรือฝ่ายบุคคลที่มีประสบการณ์เพื่อประดับความรู้
ทำไม 'ผู้หญิงที่มีลูกอ่อน' เป็นอุปสรรคในการโปรโมทเลื่อนตำแหน่งงานมากกว่า 'ผู้ชายที่มีลูกอ่อน'
ส่วนภรรยาผมทำงานสายวิชาการในมหาวิทยาลัย การเติบโตและเลื่อนตำแหน่งคิดจากการตีพิมพ์งานวิจัยเป็นหลัก
.
.
.
เข้าเรื่อง…
น้องผู้หญิงคนหนึ่งวัย 30 กลาง เคยได้รับการโปรโมทเพื่อเป็นผู้ช่วยผู้จัดการระดับภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติเมื่อ 2 ปีที่แล้ว
แม้จะเป็นการบอกกล่าวแบบไม่เป็นทางการ แต่หัวหน้เธอบอกว่าจะมีการคอยติดตามและประเมินการทำงานของเธอซักปีสองปี
ไม่นานเธอตั้งท้องลูกคนแรก หลังจากลาคลอดแค่ 2 เดือนเธอก็กลับมาทำงานตามปกติ แต่หัวหน้าได้บอกเธอว่า เรื่องการโปรโมทเลื่อนตำแหน่ง ตอนนี้ผู้บริหารเล็งพี่ผู้ชายอีกคนไว้ด้วย
หลังจากนั้น 8 เดือน ตำแหน่งก็ตกเป็นของพี่ผู้ชายคนนั้น
เธอถามหัวหน้าว่าทำไมเธอถึงพลาดไป มีอะไรผิดไปหรือไม่
เธอได้คำตอบว่าทางทีมผู้บริหารคิดว่าการมีลูกของเธออาจเป็นอุปสรรคในการทำงาน
.
แต่น่าตลกตรงที่ว่า พี่ผู้ชายที่ได้ตำแหน่งไปก็เพิ่งมีลูกคนแรกเช่นกัน โดยภรรยาของพี่เขาคลอดหลังเธอคลอดลูกได้ไม่ถึงเดือน
.
.
.
.
.
ผมเลยสงสัยว่า
ผู้หญิงมีลูกอ่อน เป็นอุปสรรคในการทำงานมากกว่า ผู้ชายมีลูกอ่อนอย่างไรครับ
เพิ่มเติมข้อมูล
1. ในกรณีนี้ผู้ชายและผู้หญิงมีลูกอายุประมาณ 1 ขวบทั้งคู่
2. ผู้ชายและผู้หญิงอายุงานเท่ากัน แต่ผู้ชายแก่กว่า
3. ตำแหน่งก่อนได้รับการโปรโมทตำแหน่งเดียวกันแต่รับผิดชอบคนละฝ่าย
4. ตำแหน่งงานนี้อาจต้องไปต่างประเทศบ้างปีละครั้งสองครั้ง
5. การประชุมผ่าน Video Conference นอกเวลางานกับต่างชาติเป็นเรื่องปกติ
.
.
.
ในฐานะที่ผมก็มีลูก ผมกับแฟนก็ดูแลลูกเท่าๆกัน ลาไปทำธุระหรือพบหมอไม่ต่างกัน
เท่าที่คิดได้ในตอนนี้
1. ผู้หญิงต้องให้นมอาจจะอ่อนเพลียมากกว่า รวมถึงร่างการหลังจากคลอดก็ต้องใช้เวลาฟื้นฟู
ข้อหักล้าง จากประสบการณ์ของผมและแฟน ความอ่อนล้า อ่อนเพลียที่ว่าไม่น่าเกิน 6 เดือน
หลังจากนั้นเรื่องตื่นมาให้นมกลางคืน กับการดูแลลูกก็ไม่ต่างกันมากระหว่างพ่อกับแม่
2. เวลามีงานที่ต่างประเทศ แม่จะเดินทางได้ลำบากกว่าในช่วงลูกอ่อน
ข้อหักล้าง คิดว่าลูกโตเกิน 1 ปี ก็น่าจะไม่เป็นปัญหา แฟนผมก็ต้องไปต่างประเทศตอนลูกยังไม่ครบขวบ
เลยอยากถามในมุมมองผู้บริหารหรือฝ่ายบุคคลครับว่าทำไม
หรือว่ามีสถิติว่า ผู้หญิงที่มีลูกลางานบ่อยกว่าผู้ชาย ?
หรือ มีแนวโน้มว่าผู้หญิงให้ความสำคัญกับลูกมากกว่าผู้ชาย ?
.
.
.
อันนี้เป็นความแส่อยากรู้ส่วนตัวครับ ที่ทำงานผมกับแฟนก็ไม่เป็นแบบนี้ อาจด้วยลักษณะเนื้องาน
เลยอยากทราบมุมมองของผู้บริหารหรือฝ่ายบุคคลที่มีประสบการณ์เพื่อประดับความรู้