ปรึกษาผู้รู้กฏหมายอาคาร หากถูกหมายเรียกคดีอาญาข้อหาปลูกสร้างห้องส้วมชั่วคราวโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น

ปรึกษาผู้รู้กฏหมายอาคาร หากถูกหมายเรียกคดีอาญาในข้อหาปลูกสร้างเต๊นท์และส้วมชั่วคราวที่ถูกอ้างว่าเป็นอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น

จากการที่คนงานกั้นส้วมชั่วคราวพื้นที่เล็กๆ ใช้งานในเต๊นท์กันแดดขั่วคราวตอนจ้างบริษัทสร้างรั้วเมื่อปีที่แล้วในช่วงต้นปี ใช้งานอยู่ไม่ถึง 10 วันก็รื้อออก โดยที่ใบเสนอราคารั้วก็ไม่ได้ระบุไว้ แต่คนงานต้องการทำเพื่อจะได้เข้าห้องส้วมได้สะดวก
อยากทราบว่าควรให้การอย่างไรดี ที่จะทำให้เรื่องจบเร็วๆ (พนักงานสอบสวนแนะนำให้รับสารภาพจะได้พาไปเสียค่าปรับที่ศาลแล้วจบเรื่อง)
หรือควรให้การตามจริง ซักทอดบริษัทรับเหมาที่รับงานรั้วเพื่อให้เป็นไปตามข้อเท็จจริง (ปฏิเสธแล้วไปต่อสู้คดีในชั้นอัยการและศาล)

ลองหาข้อมูลดู มีกฏกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยสุขลักษณะการจัดการสิ่งปฏิกูล พศ. 2561  ได้กำหนดนิยามของส้วม และส้วมชั่วคราว ไว้อย่างชัดเจน โดยในหมวด 1 ข้อ 4 ระบุให้ผู้จัดให้มีส้วมชั่วคราวต้องดำเนินการให้มีส้วมที่ถูกสุขลักษณะตามเงื่อนไขได้โดยไม่ต้องขออนุญาตดำเนินการแต่อย่างใด อีกทั้งได้ระบุอำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นในการตรวจสอบความเรียบร้อยในการรื้อถอนและปรับสภาพพื้นที่ หากพบว่าไม่ถูกสุขลักษณะ ต้องออกคำสั่งให้ผู้จัดหรือผู้รับผิดชอบปรับปรุงแก้ไข และในข้อ 9 หมวด1 ได้ระบุให้ส้วมชั่วคราวต้องมีความมั่นคงแข็งแรงไว้เป็นการเฉพาะ




อีกทั้ง กฏกระทรวงฉบับที่ 63 (พ.ศ. 2551) ออกตามความใน พรบ.ควบคุมอาคาร ก็ระบุให้ส้วมเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งของอาคาร แม้แต่สำหรับส้วมที่ใช้กับอาคารชั่วคราวที่ใช้ระหว่างก่อสร้างก็ระบุจำนวนที่ต้องจัดให้มีอย่างเพียงพอควบคู่กับห้องน้ำ โดยมิได้ให้นิยามของส้วมชั่วคราวไว้เป็นการเฉพาะดังเช่นที่ระบุในกฏหมายสาธารณสุขซึ่งกฏหมายสาธารณสุขดังกล่าวรวมยังกำหนดให้มีใช้ส้วมชั่วคราวในกรณีเกิดสาธารณภัยหรือเหตุฉุกเฉินด้วย ซึ่งล้วนแต่เป็นพื้นที่ที่มีความจำเป็นต้องสร้างให้มีขึ้นทันทีโดยไม่ต้องรอใบอนุญาตปลูกสร้างเนื่องจากเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีพของประชาชน ดีกว่าให้ไปขับถ่ายอยู่ในรกในพงหญ้า ดัวยเหตุนี้ส้วมชั่วคราวจึงไม่น่าจะใช่อาคารชั่วคราวที่จำเป็นต้องขออนุญาตปลูกสร้างแต่อย่างใด ผมตีความตามความเข้าใจแบบชาวบ้านธรรมดาๆ คนนึง จึงอยากทราบความคิดเห็นของท่านผู้รู้ครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
เท่าที่ผมค้นข้อกฎหมาย ก็น่าจะผิดในข้อหาก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน โดยเจ้าหน้าที่เค้าถือว่าส้วมที่สร้างเป็นอาคารชั่วคราวที่ต้องขออนุญาต  ไม่ใช่เต็นท์หรือประรำชั่วคราวที่ไม่ต้องขออนุญาต
                      ผมเห็นด้วยกับพนักงานสอบสวนที่ให้สารภาพแล้วไปเสียค่าปรับที่ศาลนะ โดยคุณก็แถลงต่อศาลไปตามข้อเท็จจริง น่าจะโดนปรับไม่เยอะ     แต่ยังไงก็ลองฟังความเห็นอื่นๆ แล้วตัดสินใจดูนะครับ

อ้างอิง:            กฎกระทรวง ว่าด้วยการยกเว้น ผ่อนผัน หรือกำหนด เงื่อนไขในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๕๐
                            ข้อ ๗ อาคารชั่วคราวเพื่อใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างอาคารถาวรซึ่งสูงไม่เกินสองชั้นหรือสูงจากระดับพื้นดินถึงหลังคาหรือส่วนของอาคารที่สูงที่สุดไม่เกินเก้าเมตร และมีกำหนดเวลารื้อถอนเมื่ออาคารถาวรแล้วเสร็จ ต้องขออนุญาตตามมาตรา ๒๑ แต่ให้ได้รับการผ่อนผันไม่ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น หรือประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งออกตามความในมาตรา ๘ (๑) (๒) (๓) (๔) (๖) (๗) (๘) และ (๑๐) และให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตรื้อถอนอาคารตามมาตรา ๒๒
                            ข้อ ๙ อาคารที่มีลักษณะเป็นเต็นท์ หรือปะรำชั้นเดียว เพื่อใช้ประโยชน์เป็นการชั่วคราวและไม่ใช่อาคารสำหรับใช้เพื่อกิจการพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม หรือการศึกษา โดยมีกำหนดเวลารื้อถอนไม่เกินสิบวันให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตตามมาตรา ๒๑ และมาตรา ๒๒
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่