สวัสดีค่ะ เรา เมล์ (นามสมมุติ) นะคะ นี่ก็เป็นอีกกระทู้ของเราที่จะบอกเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการเป็นทหารของเราค่ะ วันนี้จะมาเล่าเรื่องของการสอบบรรจุค่ะ
1. ประวัติส่วนตัวเราสั้น ๆ
เรียนจบครูเคมีจากมหาลัยแห่งหนึ่งแถวชลบุรี หลังจากที่เรียนจบก็พบว่าตัวเองไม่ชอบเป็นครู (ชอบสอน แต่ไม่ชอบภาระหน้าที่ของข้าราชการครูในประเทศไทย) จากนั้นก็กลับราชบุรีไปทำไร่ผัก 1 ปี แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
2. ทำไมถึงเลือกมาสอบบรรจุในตำแหน่งนี้
หลังจากที่ไม่ประสบความสำเร็จกับการเป็นชาวไร่ เพราะว่าที่บ้านฐานะไม่ค่อยดี เลยไม่มีทุนในการทำไร่ผักออแกนิกอย่างที่ใฝ่ฝัน เลยคิดว่าจะไปหางานทำก่อนเพื่อที่จะเก็บตังค์แล้วคิดว่าจะกลับมาทำอย่างที่ตัวเองคิดเอาไว้ แต่ว่าส่งใบสมัครไปที่บริษัทเอกชนหลายที่ก็ไม่มีที่ไหนเรียก อาจจะเป็นเพราะว่าสายที่จบมาคือครูเคมี ประสบการณ์ไม่มีเลยน่าจะสู้กับคนที่จบวิทยาโดยตรงไม่ได้ ทีนี้ก็เสิร์ชหาในกูเกิลเกี่ยวกับสอบราชการตำแหน่งอื่นที่ไม่ใช่ครู ก็ไปเจอว่าสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมกำลังเปิดรับสมัครสอบราชการ ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอบ กพ. ด้วย แล้วก็พบว่ามีตำแหน่งหนึ่งที่ตรงกับวุฒิที่เรามีคือ ตำแหน่งประจำแผนกกลั่นกรอง กองการกลั่นปิโตรเลียม ศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ กรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมประเทศและพลังงานทหาร (ประจำ ผกก.กกล.ศพปน.พท.ศอพท.) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการกลั่นน้ำมันดิบอยู่ที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ซึ่งวุฒิที่ระบุในประกาศรับสมัครสอบคือ ทางเคมี ก็เลยลองสอบดู โดยที่ตำแหน่งนี้รับแค่ 1 อัตราเท่านั้น
3. สอบอะไรบ้าง
การสอบคัดเลือกจะมีการคัดเลือก 2 รอบใหญ่ ๆ คือ
- รอบแรกจะเป็นการสอบวิชาการ ข้อสอบเป็นแบบปรนัย บางตำแหน่งจะมีการสอบภาคปฏิบัติด้วย แต่ว่าตำแหน่งที่ฉันสอบนี้มีสอบแค่วิชาการอย่างเดียว คือแนวข้อสอบสำหรับตำแหน่งฉันจะเป็นเกี่ยวกับพื้นฐานทางเคมีและปิโตรเคมีล้วน ๆ ประมาณ 100 ข้อมั้งถ้าจำไม่ผิดนะ โดยในประกาศรับสมัครสอบราชการของแต่ละตำแหน่งอ่ะ จะระบุรายละเอียดเกี่ยวกับหัวข้อที่จะสอบเอาไว้ด้วย ดังนั้นไม่ต้องกลัวเลยเรื่องการเตรียมตัวสอบเลย เพราะก็อ่านไปตามที่เขาระบุเอาไว้แหละ โดยรอบนี้จะคัดให้เหลือผู้สมัคร 5 คน (เป็นจำนวน 5 เท่าของอัตราที่รับ ในตำแหน่งนี้รับ 1 อัตรา ก็แสดงว่าจะต้องผ่านเข้ารอบนี้ 5 คน) แต่เหมือนว่าจะมีคนที่ได้คะแนนเท่ากันด้วย รอบแรกสำหรับตำแหน่งนี้เลยมีผ่านเข้ารอบมา 7 คน จากผู้สมัคร 365 คน
- รอบต่อไปก็จะเป็นการสอบสมรรถภาพร่างกาย โดยจะมีบททดสอบอยู่ 3 อย่างคือ ดันพื้น(วิดพื้น)ภายใน 2 นาที ลุก-นั่ง(ซิทอัพ)ภายใน 2 นาที และวิ่ง 1 กิโลเมตร โดยที่เกณฑ์คะแนนที่ได้จะขึ้นอยู่กับอายุและเพศดังนั้นเกณฑ์คะแนนของแต่ละคนก็จะไม่เหมือนกัน
- อันต่อไปที่ต้องไปสอบคือ การสอบวิภาววิสัย ซึ่งการทดสอบวิภาววิสัย เป็นการทดสอบทางจิตวิทยาอย่างหนึ่งที่วัดความสามารถทางด้านความรู้สึกนึกคิด คุณธรรมจริยธรรมในตัวบุคคล
- หลังจากที่สอบวิภาววิสัยแล้ว การสอบต่อไปคือการสอบสัมภาษณ์ โดยอัตราส่วนระหว่างผู้สัมภาษณ์ต่อผู้รับการสัมภาษณ์คือ 4 ต่อ 1 โดยจะมีผู้สังเกตการณ์ 1 ผู้สัมภาษณ์เกี่ยวกับด้านทั่วไปประมาณ 2 และผู้สัมภาษณ์เกี่ยวกับด้านวิชาการอีก 1
4. การประกาศผล
ในการประกาศผล ทางคณะกรรมการจะเอาคะแนนวิชาการ คะแนนทดสอบสมรรถภาพ และคะแนนสอบสัมภาษณ์มารวมกัน ใครได้มากที่สุดก็จะได้ตำแหน่งนั้นไป ถ้ามีคนที่ได้คะแนนเท่ากัน ทางคณะกรรมการจะพิจารณาที่คะแนนวิชาการว่าใครได้มากกว่า คนนั้นก็จะได้ตำแหน่งนั้นไป แต่ถ้าคะแนนวิชาการเท่ากันอีก ก็จะไปพิจารณาคะแนนทดสอบสมรรถภาพร่างกาย แต่ถ้าคะแนนวิชาการและทดสอบสมรรถภาพร่างกายเท่ากัน ก็จะพิจารณาที่การสอบสัมภาษณ์ ใครตอบคำถามได้ดีกว่าก็ได้ไป
สรุปคือการสอบเข้าบรรจุเป็นข้าราชการทหารในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมจะสอบทั้งหมด 4 รอบ คือ รอบวิชาการ, ทดสอบสมรรถภาพ, สอบวิภาววิสัย และสอบสัมภาษณ์ ซึ่งรอบคัดเลือกก็คือรอบวิชาการนั่นเอง เรื่องราวประสบการณ์การสอบเข้าของเราดูได้ในคลิปนี้เลย
สุดท้ายขอฝากนิยายอีบุ๊คของเราด้วยนะคะ
'ท่านประธานจอมเผด็จการกับอาจารย์ขาลุย' -->
ท่านประธานจอมเผด็จการกับอาจารย์ขาลุย
ดวงฤทัยศตวรรษ -->
ดวงฤทัยศตวรรษ
ขอบคุณค่าาาา
สอบบรรจุทหาร มากด่านเหมือนกับเล่นเกมส์ I ว่ากันด้วยเรื่องของการสอบบรรจุที่ก็นานและหลายขั้นไม่แพ้การลาออก
1. ประวัติส่วนตัวเราสั้น ๆ
เรียนจบครูเคมีจากมหาลัยแห่งหนึ่งแถวชลบุรี หลังจากที่เรียนจบก็พบว่าตัวเองไม่ชอบเป็นครู (ชอบสอน แต่ไม่ชอบภาระหน้าที่ของข้าราชการครูในประเทศไทย) จากนั้นก็กลับราชบุรีไปทำไร่ผัก 1 ปี แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
2. ทำไมถึงเลือกมาสอบบรรจุในตำแหน่งนี้
หลังจากที่ไม่ประสบความสำเร็จกับการเป็นชาวไร่ เพราะว่าที่บ้านฐานะไม่ค่อยดี เลยไม่มีทุนในการทำไร่ผักออแกนิกอย่างที่ใฝ่ฝัน เลยคิดว่าจะไปหางานทำก่อนเพื่อที่จะเก็บตังค์แล้วคิดว่าจะกลับมาทำอย่างที่ตัวเองคิดเอาไว้ แต่ว่าส่งใบสมัครไปที่บริษัทเอกชนหลายที่ก็ไม่มีที่ไหนเรียก อาจจะเป็นเพราะว่าสายที่จบมาคือครูเคมี ประสบการณ์ไม่มีเลยน่าจะสู้กับคนที่จบวิทยาโดยตรงไม่ได้ ทีนี้ก็เสิร์ชหาในกูเกิลเกี่ยวกับสอบราชการตำแหน่งอื่นที่ไม่ใช่ครู ก็ไปเจอว่าสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมกำลังเปิดรับสมัครสอบราชการ ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอบ กพ. ด้วย แล้วก็พบว่ามีตำแหน่งหนึ่งที่ตรงกับวุฒิที่เรามีคือ ตำแหน่งประจำแผนกกลั่นกรอง กองการกลั่นปิโตรเลียม ศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ กรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมประเทศและพลังงานทหาร (ประจำ ผกก.กกล.ศพปน.พท.ศอพท.) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการกลั่นน้ำมันดิบอยู่ที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ซึ่งวุฒิที่ระบุในประกาศรับสมัครสอบคือ ทางเคมี ก็เลยลองสอบดู โดยที่ตำแหน่งนี้รับแค่ 1 อัตราเท่านั้น
3. สอบอะไรบ้าง
การสอบคัดเลือกจะมีการคัดเลือก 2 รอบใหญ่ ๆ คือ
- รอบแรกจะเป็นการสอบวิชาการ ข้อสอบเป็นแบบปรนัย บางตำแหน่งจะมีการสอบภาคปฏิบัติด้วย แต่ว่าตำแหน่งที่ฉันสอบนี้มีสอบแค่วิชาการอย่างเดียว คือแนวข้อสอบสำหรับตำแหน่งฉันจะเป็นเกี่ยวกับพื้นฐานทางเคมีและปิโตรเคมีล้วน ๆ ประมาณ 100 ข้อมั้งถ้าจำไม่ผิดนะ โดยในประกาศรับสมัครสอบราชการของแต่ละตำแหน่งอ่ะ จะระบุรายละเอียดเกี่ยวกับหัวข้อที่จะสอบเอาไว้ด้วย ดังนั้นไม่ต้องกลัวเลยเรื่องการเตรียมตัวสอบเลย เพราะก็อ่านไปตามที่เขาระบุเอาไว้แหละ โดยรอบนี้จะคัดให้เหลือผู้สมัคร 5 คน (เป็นจำนวน 5 เท่าของอัตราที่รับ ในตำแหน่งนี้รับ 1 อัตรา ก็แสดงว่าจะต้องผ่านเข้ารอบนี้ 5 คน) แต่เหมือนว่าจะมีคนที่ได้คะแนนเท่ากันด้วย รอบแรกสำหรับตำแหน่งนี้เลยมีผ่านเข้ารอบมา 7 คน จากผู้สมัคร 365 คน
- รอบต่อไปก็จะเป็นการสอบสมรรถภาพร่างกาย โดยจะมีบททดสอบอยู่ 3 อย่างคือ ดันพื้น(วิดพื้น)ภายใน 2 นาที ลุก-นั่ง(ซิทอัพ)ภายใน 2 นาที และวิ่ง 1 กิโลเมตร โดยที่เกณฑ์คะแนนที่ได้จะขึ้นอยู่กับอายุและเพศดังนั้นเกณฑ์คะแนนของแต่ละคนก็จะไม่เหมือนกัน
- อันต่อไปที่ต้องไปสอบคือ การสอบวิภาววิสัย ซึ่งการทดสอบวิภาววิสัย เป็นการทดสอบทางจิตวิทยาอย่างหนึ่งที่วัดความสามารถทางด้านความรู้สึกนึกคิด คุณธรรมจริยธรรมในตัวบุคคล
- หลังจากที่สอบวิภาววิสัยแล้ว การสอบต่อไปคือการสอบสัมภาษณ์ โดยอัตราส่วนระหว่างผู้สัมภาษณ์ต่อผู้รับการสัมภาษณ์คือ 4 ต่อ 1 โดยจะมีผู้สังเกตการณ์ 1 ผู้สัมภาษณ์เกี่ยวกับด้านทั่วไปประมาณ 2 และผู้สัมภาษณ์เกี่ยวกับด้านวิชาการอีก 1
4. การประกาศผล
ในการประกาศผล ทางคณะกรรมการจะเอาคะแนนวิชาการ คะแนนทดสอบสมรรถภาพ และคะแนนสอบสัมภาษณ์มารวมกัน ใครได้มากที่สุดก็จะได้ตำแหน่งนั้นไป ถ้ามีคนที่ได้คะแนนเท่ากัน ทางคณะกรรมการจะพิจารณาที่คะแนนวิชาการว่าใครได้มากกว่า คนนั้นก็จะได้ตำแหน่งนั้นไป แต่ถ้าคะแนนวิชาการเท่ากันอีก ก็จะไปพิจารณาคะแนนทดสอบสมรรถภาพร่างกาย แต่ถ้าคะแนนวิชาการและทดสอบสมรรถภาพร่างกายเท่ากัน ก็จะพิจารณาที่การสอบสัมภาษณ์ ใครตอบคำถามได้ดีกว่าก็ได้ไป
สรุปคือการสอบเข้าบรรจุเป็นข้าราชการทหารในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมจะสอบทั้งหมด 4 รอบ คือ รอบวิชาการ, ทดสอบสมรรถภาพ, สอบวิภาววิสัย และสอบสัมภาษณ์ ซึ่งรอบคัดเลือกก็คือรอบวิชาการนั่นเอง เรื่องราวประสบการณ์การสอบเข้าของเราดูได้ในคลิปนี้เลย
สุดท้ายขอฝากนิยายอีบุ๊คของเราด้วยนะคะ
'ท่านประธานจอมเผด็จการกับอาจารย์ขาลุย' --> ท่านประธานจอมเผด็จการกับอาจารย์ขาลุย
ดวงฤทัยศตวรรษ --> ดวงฤทัยศตวรรษ
ขอบคุณค่าาาา