ศักดิ์สยาม เปิดที่มาราคากลาง 33 ล้าน เปลี่ยนป้ายบางซื่อ ยันจำเป็นจ้างยูนิคช่วงประกันสัญญา

ศักดิ์สยาม” เปิดที่มาราคากลาง33 ล้านบาทเปลี่ยนป้าย"บางซื่อ" ยันจำเป็นจ้าง"ยูนิค" ช่วงประกันสัญญา

ศักดิ์สยาม” แจงปมร้อนเปลี่ยนป้ายชื่อ"สถานีกลางบางซื่อ" 33 ล้านบาทพร้อมเปิดเนื้องาน4 กลุ่ม“ออกแบบ-รื้อถอน-ติดตั้ง-เพิ่มโครงอะลูมิเนียม” ยืนยันจำเป็นจ้าง"ยูนิคฯ" รับเหมาเดิมเหตุอยู่ในระยะประกันสัญญา

วันนี้(5 มกราคม2566) นายศักดิ์สยามชิดชอบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

ตอบกระทู้สดเรื่องกรณีการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) จ้างปรับปรุงป้ายสถานีกลางบางซื่อมูลค่า33.169 ล้านบาทว่ากระทรวงคมนาคมได้ติดตามตรวจสอบขั้นตอนการดำเนินโครงการปริมาณงานและข้อเท็จจริงซึ่งการก่อสร้างโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงและสถานีกลางบางซื่อแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้เมื่อวันที่29 พ.ย. 2564 

โดยมีการก่อสร้างสถานีที่จะเป็นศูนย์กลางการคมนาคมคือสถานีกลางบางซื่อซึ่งลักษณะใกล้เคียงกับการก่อสร้างโครงการสนามบินหนองงูเห่า(ชื่อเรียกในอดีต) ที่ต่อมาได้พระราชทานนามว่า“ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ”เป็นนามมงคลที่รู้จักทั่วโลก

กรณีเปิดให้บริการโครงการรถไฟสายสีแดงและสถานีกลางบางซื่อกระทรวงคมนาคมพิจารณาว่าระบบขนส่งมวลชนได้รับพระราชทานชื่อเป็นมงคลต่อหน่วยงานและผู้ใช้บริการ

กระทรวงคมนาคมจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมความพร้อมในการเปิดให้บริการฯและดำเนินการขอพระราชทานชื่อโครงการและสถานีเดือนพ.ค. 2564 

โดยสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือเลขที่นร.0508/ท4784 ลงวันที่2 กันยายน2565 เรื่องขอพระราชทานชื่อเส้นทางรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน(บางซื่อ-ตลิ่งชัน) และสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต) และสถานีกลางบางซื่อ

และสำนักฯ แจ้งงว่าทรงพระราชทาน ชื่อเส้นทางรถไฟฯ และสถานีกลางบางซื่อ ดังนี้

-ชื่อเส้นทางรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน(บางซื่อ-ตลิ่งชัน) ระยะที่1 ว่า “นครวิถี” 

- ชื่อเส้นทางรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต) ระยะที่1 ว่า “ธานีรัถยา”

- ชื่อสถานีกลางบางซื่อว่า “สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์”

เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติฯกระทรวงคมนาคมจึงได้สั่งการให้รฟท.ติดตั้งป้ายชื่อพระราชทานให้แล้วเสร็จโดยเร็ว

นายศักดิ์สยามกล่าวว่าลักษณะป้ายชื่อพระราชทาน“สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์” 

จะมีการติดตั้งบริเวณโดมด้านหน้าสถานีกลางทั้งฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกประกอบด้วย

1.ตัวอักษรภาษาไทย“สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์” ขนาดสูง3 เมตรกว้าง2.6 เมตรหนา40 เซนติเมตรจำนวน19 ตัวอักษร2. ตัวอักษรภาษาอังกฤษ“Krung Thep Aphiwat Central Terminal” ขนาดสูง2.1 เมตรกว้าง2.2 เมตรหนา40 เซนติเมตรผลิตตัวอักษรด้วยอะคริลิกสีขาวนมยกขอบและซ่อนไฟด้านหลัง

โดยเมื่อวันที่6 ตุลาคม2565 รฟท.ได้แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดร่างขอบเขตของงานและราคากลางโครงการจัดทำป้ายชื่อสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์และตราสัญลักษณ์รฟท. 

มีวิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้างเป็นประธานและกรรมการจำนวน9 คน

ต่อมาวันที่6 ธันวาคม2565 ได้มีคำสั่งใหม่โดยรฟท.ได้รายงานว่าการติดตั้งป้ายชื่อจำเป็นต้องมีการรื้อถอนกระจก

รวมถึงเหล็กอะลูมิเนียมรับน้ำหนักความยาวจุดละ60 เมตรหรือขยายจากเดิมอีก20 เมตร

เนื่องจากป้ายชื่อสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์เป็นป้ายขนาดใหญ่มีความยาวชื่อจำนวนตัวอักษรเพิ่มขึ้นจากเดิมป้ายอักษรติดตั้งโดยมีเสารับน้ำหนักในตัวอาคารและเจาะทะลุกระจกยึดตัวอักษรแต่ละตัวจึงต้องมีการปรับปรุงแก้ไขการก่อสร้างเดิมเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ


เปิดงบ33 ล้านบาทงาน4 กลุ่ม“รื้อถอน-ติดตั้ง-เพิ่มโครงสร้าง-ออกแบบ”

ทั้งนี้ที่ปรึกษาได้มีการประมาณราคากลางและมีคณะกรรมการกำหนดราคาได้แบ่งงานออกเป็น4 กลุ่มคือ

1.กลุ่มงานโครงสร้างวิศวกรรมเป็นการดำเนินการรื้อถอนที่ต้องใช้รถเครนขนาดใหญ่ไม่น้อยกว่า3 ตัวมูลค่างาน6.228 ล้านบาท

2.กลุ่มงานด้านสถาปัตยกรรมเป็นงานติดตั้งกระจกใหม่เป็นกระจกความหนาและมีพื้นที่85 ตารางเมตรรวมถึงงานติดตั้งโครงอะลูมิเนียมวัสดุใหม่อีก188 ตารางเมตรและงานติดตั้งป้ายและตราสัญลักษณ์รฟท.จำนวน2 ชุดมูลค่างาน24.394 ล้านบาท

3.กลุ่มงานออกแบบรายละเอียดพร้อมรายการคำนวณมูลค่า0.92 ล้านบาทและ4. กลุ่มงานติดตั้งรื้อถอนปิดแทนกระจกระหว่างรอติดตั้งวัสดุใหม่มูลค่า1.627 ล้านบาท

โดยรฟท.ได้กำหนดทีโออาร์ตามพ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐพ.ศ. 2560 ซึ่งการจัดจ้างแบบเฉพาะเจาะจงรายเดิมเนื่องจากการดำเนินงานดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่องานเดิมที่อยู่ในระยะค้ำประกันสัญญาของผู้รับเหมาเดิมที่อาจเกิดความเสียหายได้จึงต้องให้บริษัทเดิมดำเนินงาน

ทั้งนี้ตามที่มีกระแสข่าวปรากฏในสื่อมวลชนแขนงต่างๆรวมทั้งโซเชียลมีเดียกระทรวงคมนาคมได้มีคำสั่งณวันที่4 มกราคม2566 แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงการก่อสร้างในโครงการปรับปรุงป้ายชื่อสถานีกลางบางซื่อเป็นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์และตราสัญลักษณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย

โดยมีรองปลัดกระทรวงคมนาคมหัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่งเป็นประธานกรรมการ

อธิบดีกรมการขนส่งทางรางเป็นรองประธานกรรมการ

และผู้แทนจากหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย
สภาสถาปนิก
สภาวิศวกร
และกรมบัญชีกลางเป็นกรรมการ

โดยให้มีหน้าที่และอำนาจในการรวบรวมข้อเท็จจริงข้อกฎหมายและพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องที่เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่การตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรณีที่ปรากฏว่ามีข้อเท็จจริงใดที่กล่าวอ้างหรือพาดพิงถึงบุคคลเอกสารหรือวัตถุใดที่จะเป็นประโยชน์แก่การตรวจสอบข้อเท็จจริงให้คณะกรรมการฯทำการตรวจสอบและรวบรวมพยานหลักฐานนั้นไว้ให้ครบถ้วน

ถ้าไม่อาจเข้าถึงหรือได้มาซึ่งพยานหลักฐานดังกล่าวให้บันทึกเหตุนั้นไว้ด้วยรวมถึงให้คณะกรรมการฯเรียกบุคคลใดมาเป็นพยานเพื่อชี้แจงหรือให้ถ้อยคำตามวันเวลาและสถานที่ที่กำหนดไว้ได้ตลอดทั้งพิจารณาทำความเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยให้รายงานผลการสอบสวนภายใน15 วัน

นายศักดิ์สยามชี้แจงว่าการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบฯมีบุคคลภายนอกที่เกี่ยวกับเรื่องกำหนดราคากลางหรือด้านวิศวกรรมสถาปัตยกรรมมาร่วมตรวจสอบเพราะไม่มีเรื่องที่ต้องปกปิดขอให้รอผลตรวจสอบ

ตนยืนยันเมื่อผลออกมาจะรายงานต่อสาธารณชนหากผิดต้องดำเนินการต่อผู้เกี่ยวข้อง

หากถูกต้อง  รฟท.ต้องดำเนินการโครงการต่อไป

ส่วนกรณีราคาถูกหรือแพงตนไม่ยืนยันเพราะไม่ได้กำหนดราคาซึ่งกระทรวงฯจะตรวจสอบให้เกิดความโปร่งใสมากที่สุด

และยืนยันว่าการเปลี่ยนชื่อไม่ใช่ความต้องการของตนเองแต่เป็นประเพณีปฏิบัติซึ่งในอดีตจนถึงปัจจุบันมีการดำเนินการในลักษณะเดียวกัน

ที่มา. https://mgronline.com/business/detail/9660000001263
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่