บรรลัยวิทยา: ความน่าจะซวย 0.0001 % กับกฎของเมอร์ฟี่

"ทุกสิ่งที่สามารถผิดพลาด มันจะผิดพลาด"   (Anything that can go wrong, will go wrong)
ประโยคสั้น  ๆ จากกฎของเมอร์ฟี่  (Murphy ‘s Law)
 
กฎที่ด๊อกเตอร์จอห์น พอล สแตปป์  (Dr. John Paul Stapp) หัวหน้าโครงการ MX981ของกองทัพอากาศอเมริกา
ที่ทดสอบว่ามนุษย์เราจะทนแรงที่เกิดจากความเร่งได้สูงขนาดไหนกล่าวถึงและให้เครดิตว่า

โครงการนี้ประสบผลสำเร็จนั้นเป็นเพราะได้ตระหนักถึง “กฎเมอร์ฟี่” (Murphy’s laws) และพยายามทุกวิถีทางที่จะหลีกเลี่ยงมัน
 
หลายคนอาจจะหัวเราะกับกฎของนี้หรือตีความกฎนี้แบบเมิร์ฟใน Interstellar  และโยนความผิดให้ความซวยอย่างยอมจำนน
 
แต่ผมอยากจะบอกเหลือเกินว่า กฎนี้มันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เราตระหนักถึงการทำงานตามขั้นตอนที่ถูกต้อง 

ซึ่งหลายครั้งในงานวิเคราะห์ความเสียหายที่ผมทำอยู่ เมื่อสืบลึก ๆ ลงไป
ปัญหามันเกิดขึ้นจากการทำงานที่ไม่ถูกต้องจากการคิดเรื่องนั้นมันไม่สำคัญและเราก็มองข้ามกันไป
 
หากผมยกตัวอย่างงานของตัวเองคุณอาจจะไม่เข้าใจในสิ่งที่ผมอธิบายกฎของเมอร์ฟี่ เพราะเรื่องราวคงต้องลงลึกทางด้านโลหะวิทยา

แต่เอาล่ะผมยกตัวอย่างจากสิ่งที่ผมเคยประสบมาละกันนะ คุณน่าจะเห็นภาพมากกว่า

เรื่องมันมีอยู่ว่า ................

ปลายปีที่แล้ว ผมป่วยเป็นไข้หวัด 
ในตอนแรก ก็ไม่คิดว่าเป็นอะไรมาก คิดว่ากินยาไว้ก่อนเดี๋ยวคงหาย

ภรรยาจึงหยิบขวดยาพารา ฯ ที่ติดบ้านไว้มาให้ ผมจึงซัดไป 1เม็ด พร้อมกับคาดหวังว่ามันจะดีขึ้นในไม่ช้า
 
แต่ตอนเช้าอาการผมไม่ดีขึ้น ไข้กลับสูงไปจนถึง 39 o

ผมตัดสินใจลากสังขาร ขับรถไปโรงพยาบาล เพื่อพบกับคุณหมอประจำตัวที่คุ้นเคยและใจดี
ด้วยไข้ที่ขึ้นสูง คุณหมอ จับตรวจ ไข้หวัดใหญ่ 
 
หนึ่งชั่วโมงผ่านไป

ไม่พบเชื้อ!!
 
 
ด้วยความที่ผมใช้สิทธิ์ประกันภัยสุขภาพ ที่มีวงเงินจำกัด 
คุณหมอท่านทราบดีจึงจัดให้เพียงยาลดน้ำมูก และไม่จ่ายยาลดไข้ให้เพื่อไม่ให้เกินวงเงิน
พร้อมนัดผมใหม่ในวันรุ่งขึ้น
 
เช้าวันถัดมา ไข้ผมยังคงอยู่ที่ 39 oC นี้มันไม่ใช่เรื่องปกติแล้วคุณหมอจึงไม่ลังเลที่จะจับตรวจไข้เลือดออก
 
1 ชั่วโมงผ่านไป
 
ผลเกล็ดเลือดออกมาเป็นปกติ !!
 
คราวนี้คุณหมอไม่จ่ายยา และนัดใหม่ในวันรุ่งขึ้น

ไข้ยังคงอยู่ที่ 39oC เหมือนเดิม แม้จะขึ้นเข้าวันใหม่

วันนี้คุณหมอ จ่ายยาให้เป็นเวลาสามวันตามอาการและบอกว่า
หากไม่ดีขึ้นคงต้องแอ๊ดมิด เพื่อสังเกตอาการ
ผมรับคำคุณหมออย่างว่าง่าย และขับรถกลับบ้านอย่างคนหมดแรง
 
ไข้สูง 39 oC มาสามวัน โดยไม่รู้สาเหตุ

หลังจากทานข้าวเสร็จ 
 
ผมหยิบยาทั้งหมดมากองรวมกัน รวมทั้งกระปุกยาพาราฯ ที่บ้าน ว่าจะต้องทานเมื่อไหร่ เวลาไหนบ้าง

ในที่สุดปริศนาก็ไขกระจ่าง !! 
 
หลังจากฉลากยาทั้งหมดที่อ่านอย่างละเอียด ผมพบว่ายาพาราฯ ที่ภรรยาหยิบให้ 

หมดอายุไปแล้วกว่า 3 ปี !!




ความโชคดีในความโชคร้ายที่ผมยังมีชีวิตอยู่ และยังมีโอกาสวิ่งไปซื้อยาขวดใหม่

แม้จะประสบความซวยถึง 4 ประเภท ตั้งแต่
 
1. โลกซวยด้วยมือเรา

จากตัวผมเองที่กินยาโดยไม่ยอมดูฉลากให้ชัดเจน

2. ซวยด้วยอุบัติเหตุ 

ก็จากการกินยาหมดอายุ ทำให้ไข้ไม่ยอมลด แต่ยังดีที่ยังรอดมาได้

3. ซวยธรรมชาติ

ก็จากอาการป่วยของผม ที่เป็นไปตามธรรมดาของโลก

4. ซวยบริสุทธิ์ 
แน่นอนละ ที่คุณหมอไม่จ่ายยาพาราฯ ให้ผม 
ก็มาจากความปรารถนาดีที่ไม่อยากให้ผมจ่ายค่ารักษาส่วนเกิน

ส่วนข้อสุดท้าย.........

5. ซวยจากมนุษย์สารพิษ 

มะมะ....ไม่หรอกน่า ผมออกจะเป็นสามีที่น่ารัก
ภรรยาคงไม่ตั้งใจวางยาผมหรอก
 
หากอ่านมาถึงบรรทัดนี้ เห็นไหมละครับ ความซวยมันเกิดซ้ำเกิดซ้อนขึ้นมาได้ 
แม้จะมีความน่าจะเป็นต่ำต้อยเรี่ยดินเพียงใด
 
เรื่องนี้ที่จริงแล้วมันก็ป้องกันได้แค่ผมทำสิ่งที่ควรจะทำ
คือการอ่านฉลากยาให้เรียบร้อยก่อนที่จะกินมันลงไป

บางทีความซวยก็ไม่ต้องโทษชะตาไปทั้งหมด 
แค่เราใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาทชีวิตเราก็ไม่ซวยแล้ว
 
สุดท้ายนี้สวัสดีปีใหม่ขอให้ทุกท่านโชคดีหนีให้พ้นจากกฎของเมอร์ฟี่นะครับ 

 เพี้ยนเฮงเฮงเพี้ยนเฮงเฮงเพี้ยนเฮงเฮง
 
#เหล็กไม่เอาถ่าน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่