Cr. เพจfacebook : กล้าปีนเกลียว ทีเด็ดบอลไทย
#เมื่อคนไทยไม่ได้ได้ดูบอลอาเซี่ยน
มีหลายสื่อ รวมทั้งแฟนบอลหลายท่าน ที่ออกมาแสดงความไม่พอใจ หลังจากที่ ไม่ได้ชมการถ่ายทอดสดฟุตบอล เอเอฟเอฟ หรืออาเซี่ยนคัพ โดยออกมาเปรียบเปรยว่า
บอลโลกซื้อได้ แต่บอลไทยไม่มีถ่าย สรุปเหตุไร้เอกชนจ่าย 67 ล้านซื้อ AFF
และพยายามเทียบอีกว่า ประเทศไทย เป็นชาติเดียวที่ไม่มีใครซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน
ซึ่งก็ดูจะเป็นการเรียกร้อง โดยไม่พยายามทำความเข้าใจอะไรกับโลกที่มันเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน
โดยปีนี้ ขั้นตอนการซื้อลิขสิทธิ์ฟุตบอลรายการนี้ ทาง AFF (สหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน) ได้จ้างบริษัทสปอร์ต... จากประเทศยุโรปเป็นคนกลางในการเจรจาซื้อลิขสิทธิ์
บริษัท สปอร์ต... ตั้งราคาไว้ที่ 2.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 76 ล้านบาท โดยเป็นการขายแบบฟูลแพ็คเกจ คนซื้อจะได้สิทธิ์ถ่ายทั้งทัวร์นาเมนต์ 26 นัด
โดยคนที่ซื้อลิขสิทธิ์จะเอาไปทำอะไรก็ได้ จะเอาไปฉายทางฟรีทีวี จะเก็บเงินผ่านเคเบิ้ลทีวี หรือ จะเอาไปถ่ายทางระบบ OTT ก็ได้ ขอแค่จ่ายเงินก้อน 76 ล้านบาทมา ก็จะได้รับสิทธิ์ทั้งหมด
ทว่าไม่เพียงแต่ฟรีทีวีเท่านั้น แต่กลุ่มเคเบิ้ลทีวีอย่างทรูวิชั่นส์ และ OTT อย่าง AIS Play ก็ไม่มีใครสนใจเช่นกัน ทั้งๆ ที่ฟุตบอลรายการนี้ ไม่ได้อยู่ภายใต้กฎ Must Have และ Must Carry ดังนั้นเคเบิ้ลทีวี หรือ OTT ก็สามารถซื้อไป แล้วเอาไปทำกำไรได้อย่างอิสระ แต่จนถึงวันนี้ก็ไม่มีใครคิดจะซื้อ
เพราะราคามันสูงมาก หากซื้อมาก็ไช่ว่า ทีวีจะหาโฆษณาได้ถึง 70 ล้านบาท
สำหรับปัญหาหลัก ที่ทำให้การซื้อลิขสิทธิ์ไม่เกิดขึ้น ข้อแรกคือ เงื่อนไขของสปอร์ต... ที่ต้องการขายแบบครบแพ็คเกจ 26 นัดเท่านั้น ภาคเอกชนจึงมองว่า ไม่คุ้ม เพราะถ้าเป็นเกมอื่นที่ไทย ไม่ได้ลงแข่ง เช่น บรูไน เจอ กัมพูชา ก็คงไม่สามารถขายโฆษณาได้ แต่เมื่อยื่นข้อเสนอขอซื้อแค่ 8 นัด ที่ไทยแข่งอย่างเดียว บริษัท สปอร์ต...ก็ไม่ขายอีก
ในสภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา ถ้าสถานีโทรทัศน์ซื้อลิขสิทธิ์ไป ต้องหาเงินค่าโฆษณาถึง 76 ล้านบาท เพื่อให้คุ้มทุน ซึ่งเมื่อหักลบแล้วโอกาสขาดทุนมีมากกว่ากำไร
ศึกAFF ครั้งนี้ มาอยู่ใกล้กับฟุตบอลโลก ทำให้งบประมาณการโฆษณาของสินค้าแบรนด์ต่างๆ ลงไปกับฟุตบอลโลกเป็นจำนวนมากแล้ว งบประมาณที่เหลือให้กับฟุตบอล AFF จึงลดลงอีก ทำให้โอกาสได้โฆษณาคุ้มทุนจึงเป็นไปได้ยากมากขึ้น
งานนี้ ลึกๆแล้ว ก็เป็นการวัดใจหรือเล่นเกมเสี่ยงของธุรกิจการถ่ายทอดสด
ผู้ขายต้องการขายราคาสูงสุด ส่วนผู้ซื้อต้องการซื้อราคาต่ำสุด
ผู้ขายมองว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความต้องการสูง มีศักยภาพซื้อของในราคาแพง และที่สำคัญ คนไทยชอบเรียกร้องสิทธิ์
อ่านเกมว่า หากคนไทยไม่ได้สิทธิ์ในการดูฟรี รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆจะถูกกดดันจากสื่อและประชาชน จากช่องทางต่างๆแน่นอน
ดังนั้น ฝ่ายขาย จึงไม่ยอมเปลี่ยนแปลงแพ็คเกจที่ ประเทศไทยเรียกร้อง คือ ต้องการเฉพาะ เกมที่ไทยลงสนาม ไม่เอาเกมอื่นๆ
การวัดใจกันจึงเกิดขึ้น
ทว่างานนี้ดูเหมือนผู้ขายจะประเมินสถานการณ์ผิด
เนื่องจาก การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) เพิ่งจะได้บทเรียนราคาแพงจากแผลล่าสุด ที่ช่วยเป็นคนกลาง หางบ 1,180 ล้านบาท มาซื้อลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลกที่กาตาร์ที่เพิ่งจบลงไป
ทำให้โดน กสทช. ไล่ล่าเอาผิดอยู่ กลายเป็นบทเรียนครั้งสำคัญที่ไม่ควรเข้าไปแทรกแซง งานถ่ายทอดสด สนองความต้องการผู้คนได้ง่ายๆอีก
โดยเฉพาะรายการนี้ ไม่ได้อยู่ใน "กฎมัสแฮป" ต้องได้ดู "มัสแครี่" ต้องได้ติดตาม ที่เป็นข้อกำหนดเหมือนฟุตบอลโลกด้วย
ปัจจุบัน กกท ได้เปลี่ยนแปลงความคิด และเข้าใจประเด็นธุรกิจการถ่ายทอดสด หลังฟุตบอลโลกแล้วว่า
มันเป็นเรื่องของธุรกิจ
ภาคเอกชนจะซื้อหรือไม่ก็เป็นสิทธิ์อันชอบธรรม เพราะเขาต้องดูความคุ้มค่ากับการลงทุน
กกท. ไม่ควรเข้าไปข้องเกี่ยวกับการซื้อลิขสิทธิ์กีฬาอะไรอีกแล้ว และควรปล่อยให้เป็นไปตามกลไกของตลาด
มิเช่นนั้น ประเทศไทยก็จะโดนกดขี่ด้วยราคาจากผู้ขายไปตลอด
เสียเงินมากกว่าประเทศอื่นๆอย่างไม่จำเป็น
เช่นฟุตบอลพรีเมียร์ ราคาหลายพันล้านบาท , ฟุตบอลโลกนับพันล้านบาท และรายการ อื่นๆ ที่จะตามมาอีกมากมายทั้ง ซีเกมส์ เอเชี่ยนเกมส์ ชิงแชมป์เอเชียในอนาคต
ดังนั้น คนไทยก็ควรจะเข้าใจ และตื่นตัวได้เเล้วว่า
เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงไป เราก็ต้องเปลี่ยนแปลงตาม และต้องปล่อยให้สิ่งต่างๆเป็นไปตามกลไก อย่างที่ควรจะเป็น
หากของแพงก็ไม่ต้องซื้อ ถ้ามันคุ้มซื้อ เดี๋ยวก็มีคนไปซื้อเอง
เฉกเช่น เรากินข้าว
เรา มีเงินในกระเป๋าเท่าไร ก็กินได้ตามงบประมาณในกระเป๋า
เงินเยอะเราก็กินเหลา เงินน้อยเราก็หุงข้าวกิน
พร้อมแค่ใหนก็กินแค่นั้น
ผมเองก็เป็นแฟนบอลไทย รักบอลไทย อยากดูบอลไทย
แต่หากจะเสียเงินแพงอย่างไม่จำเป็น ถูกผู้ขายกดขี่ราคา
และขายของไม่สมเหตุสมผล
ผมก็พร้อมจะไม่ดู หรือ หาดูอย่างยากลำบาก ไม่สะดวกสบาย
ดีกว่า ปล่อยให้โดนเอารัดเอาเปรียบ
ซึ่งก็เชื่อว่า คนไทยที่รักฟุตบอลจริงก็หาดูจนได้ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
ไม่ได้จนตรอกหมดปัญญาแน่นอน
แค่ไม่สะดวกสบายเหมือนที่ผ่านมาเท่านั้น
จริงๆแล้วเรื่องนี้ อธิบายไม่ยาก
หากมันคุ้มจริง มาดามมีเงินเยอะแยะมากมายเป็นสปอนเซอร์ถ่ายให้ชม ก็ทำได้
แต่มาดามก็ยังมองว่าแพง ไม่ไหวจะสนับสนุน
ก็มองง่ายๆแค่นี้ ก็พอเห็นภาพ
งานนี้ ก็ลักษณะเดียวกับฟุตบอลโลก 2022 ที่คนไทยก็พอทราบหลักการและเหตุผลที่เกือบจะไม่ได้ดู เพราะผู้ขาย ขายราคาแพงสุดกู่ ผู้ซื้อภาคเอกชนไม่มีปัญญาจะซื้อ
แต่ดันมีกฎมัสแฮปจึงเป็นช่องทางที่ภาครัฐ จึงโผล่เข้าไปแทรกแซง ยอมจ่ายเพื่อไม่ให้ผิดกฎ ผิดระเบียบ
แต่ท้ายสุด เรื่องนี้ก็ไม่มีวันจบสิ้น
หากเราไม่เริ่มนับ 1
ผู้ขายก็ยังคงได้เปรียบกดขี่ราคาเราต่อไป
แต่เมื่อเรายอมกลืนเลือด 1 ครั้ง
ยอมลำบากในการเปลี่ยนผ่านไป
เชื่อว่าครั้งต่อๆไป ลิขสิทธิ์กีฬา ลิขสิทธิ์ฟุตบอล จะไม่แพงจนจับต้องไม่ได้อีก
ก็ต้องกัดฟันกันนิด พวกเรา
#กล้าปีนเกลียว
Cr. เพจfacebook : กล้าปีนเกลียว ทีเด็ดบอลไทย
สรุป คือ ดีลนี้ไม่ว่าใครซื้อก็จะขาดทุนหนักแน่นอน เพราะเขาไม่ขายแยก ขายแพ็ค26นัดทุกคู่ แต่ไทยเเข่ง8นัด ถึงจะมีสปอนเซอร์เข้าเต็มที่ 8 นัดที่ไทยแข่ง แต่เมื่อหักลบกันแล้วก็ไม่สามารถมาชดเชยอีก18นัดที่ไม่ได้แข่งได้ เพราะฉะนั้น ยังไงก็มีแต่ขาดทุน แล้วขาดทุนเยอะด้วย
อ่านซ่ะ!! จะได้หายข้องใจกับเรื่องถ่ายทอดสดบอลอาเซียน จะได้เลิกมโนเป็นตุเป็นตะว่าบอลไทยตกต่ำซะที ไร้สาระ!!
#เมื่อคนไทยไม่ได้ได้ดูบอลอาเซี่ยน
มีหลายสื่อ รวมทั้งแฟนบอลหลายท่าน ที่ออกมาแสดงความไม่พอใจ หลังจากที่ ไม่ได้ชมการถ่ายทอดสดฟุตบอล เอเอฟเอฟ หรืออาเซี่ยนคัพ โดยออกมาเปรียบเปรยว่า
บอลโลกซื้อได้ แต่บอลไทยไม่มีถ่าย สรุปเหตุไร้เอกชนจ่าย 67 ล้านซื้อ AFF
และพยายามเทียบอีกว่า ประเทศไทย เป็นชาติเดียวที่ไม่มีใครซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน
ซึ่งก็ดูจะเป็นการเรียกร้อง โดยไม่พยายามทำความเข้าใจอะไรกับโลกที่มันเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน
โดยปีนี้ ขั้นตอนการซื้อลิขสิทธิ์ฟุตบอลรายการนี้ ทาง AFF (สหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน) ได้จ้างบริษัทสปอร์ต... จากประเทศยุโรปเป็นคนกลางในการเจรจาซื้อลิขสิทธิ์
บริษัท สปอร์ต... ตั้งราคาไว้ที่ 2.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 76 ล้านบาท โดยเป็นการขายแบบฟูลแพ็คเกจ คนซื้อจะได้สิทธิ์ถ่ายทั้งทัวร์นาเมนต์ 26 นัด
โดยคนที่ซื้อลิขสิทธิ์จะเอาไปทำอะไรก็ได้ จะเอาไปฉายทางฟรีทีวี จะเก็บเงินผ่านเคเบิ้ลทีวี หรือ จะเอาไปถ่ายทางระบบ OTT ก็ได้ ขอแค่จ่ายเงินก้อน 76 ล้านบาทมา ก็จะได้รับสิทธิ์ทั้งหมด
ทว่าไม่เพียงแต่ฟรีทีวีเท่านั้น แต่กลุ่มเคเบิ้ลทีวีอย่างทรูวิชั่นส์ และ OTT อย่าง AIS Play ก็ไม่มีใครสนใจเช่นกัน ทั้งๆ ที่ฟุตบอลรายการนี้ ไม่ได้อยู่ภายใต้กฎ Must Have และ Must Carry ดังนั้นเคเบิ้ลทีวี หรือ OTT ก็สามารถซื้อไป แล้วเอาไปทำกำไรได้อย่างอิสระ แต่จนถึงวันนี้ก็ไม่มีใครคิดจะซื้อ
เพราะราคามันสูงมาก หากซื้อมาก็ไช่ว่า ทีวีจะหาโฆษณาได้ถึง 70 ล้านบาท
สำหรับปัญหาหลัก ที่ทำให้การซื้อลิขสิทธิ์ไม่เกิดขึ้น ข้อแรกคือ เงื่อนไขของสปอร์ต... ที่ต้องการขายแบบครบแพ็คเกจ 26 นัดเท่านั้น ภาคเอกชนจึงมองว่า ไม่คุ้ม เพราะถ้าเป็นเกมอื่นที่ไทย ไม่ได้ลงแข่ง เช่น บรูไน เจอ กัมพูชา ก็คงไม่สามารถขายโฆษณาได้ แต่เมื่อยื่นข้อเสนอขอซื้อแค่ 8 นัด ที่ไทยแข่งอย่างเดียว บริษัท สปอร์ต...ก็ไม่ขายอีก
ในสภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา ถ้าสถานีโทรทัศน์ซื้อลิขสิทธิ์ไป ต้องหาเงินค่าโฆษณาถึง 76 ล้านบาท เพื่อให้คุ้มทุน ซึ่งเมื่อหักลบแล้วโอกาสขาดทุนมีมากกว่ากำไร
ศึกAFF ครั้งนี้ มาอยู่ใกล้กับฟุตบอลโลก ทำให้งบประมาณการโฆษณาของสินค้าแบรนด์ต่างๆ ลงไปกับฟุตบอลโลกเป็นจำนวนมากแล้ว งบประมาณที่เหลือให้กับฟุตบอล AFF จึงลดลงอีก ทำให้โอกาสได้โฆษณาคุ้มทุนจึงเป็นไปได้ยากมากขึ้น
งานนี้ ลึกๆแล้ว ก็เป็นการวัดใจหรือเล่นเกมเสี่ยงของธุรกิจการถ่ายทอดสด
ผู้ขายต้องการขายราคาสูงสุด ส่วนผู้ซื้อต้องการซื้อราคาต่ำสุด
ผู้ขายมองว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความต้องการสูง มีศักยภาพซื้อของในราคาแพง และที่สำคัญ คนไทยชอบเรียกร้องสิทธิ์
อ่านเกมว่า หากคนไทยไม่ได้สิทธิ์ในการดูฟรี รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆจะถูกกดดันจากสื่อและประชาชน จากช่องทางต่างๆแน่นอน
ดังนั้น ฝ่ายขาย จึงไม่ยอมเปลี่ยนแปลงแพ็คเกจที่ ประเทศไทยเรียกร้อง คือ ต้องการเฉพาะ เกมที่ไทยลงสนาม ไม่เอาเกมอื่นๆ
การวัดใจกันจึงเกิดขึ้น
ทว่างานนี้ดูเหมือนผู้ขายจะประเมินสถานการณ์ผิด
เนื่องจาก การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) เพิ่งจะได้บทเรียนราคาแพงจากแผลล่าสุด ที่ช่วยเป็นคนกลาง หางบ 1,180 ล้านบาท มาซื้อลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลกที่กาตาร์ที่เพิ่งจบลงไป
ทำให้โดน กสทช. ไล่ล่าเอาผิดอยู่ กลายเป็นบทเรียนครั้งสำคัญที่ไม่ควรเข้าไปแทรกแซง งานถ่ายทอดสด สนองความต้องการผู้คนได้ง่ายๆอีก
โดยเฉพาะรายการนี้ ไม่ได้อยู่ใน "กฎมัสแฮป" ต้องได้ดู "มัสแครี่" ต้องได้ติดตาม ที่เป็นข้อกำหนดเหมือนฟุตบอลโลกด้วย
ปัจจุบัน กกท ได้เปลี่ยนแปลงความคิด และเข้าใจประเด็นธุรกิจการถ่ายทอดสด หลังฟุตบอลโลกแล้วว่า
มันเป็นเรื่องของธุรกิจ
ภาคเอกชนจะซื้อหรือไม่ก็เป็นสิทธิ์อันชอบธรรม เพราะเขาต้องดูความคุ้มค่ากับการลงทุน
กกท. ไม่ควรเข้าไปข้องเกี่ยวกับการซื้อลิขสิทธิ์กีฬาอะไรอีกแล้ว และควรปล่อยให้เป็นไปตามกลไกของตลาด
มิเช่นนั้น ประเทศไทยก็จะโดนกดขี่ด้วยราคาจากผู้ขายไปตลอด
เสียเงินมากกว่าประเทศอื่นๆอย่างไม่จำเป็น
เช่นฟุตบอลพรีเมียร์ ราคาหลายพันล้านบาท , ฟุตบอลโลกนับพันล้านบาท และรายการ อื่นๆ ที่จะตามมาอีกมากมายทั้ง ซีเกมส์ เอเชี่ยนเกมส์ ชิงแชมป์เอเชียในอนาคต
ดังนั้น คนไทยก็ควรจะเข้าใจ และตื่นตัวได้เเล้วว่า
เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงไป เราก็ต้องเปลี่ยนแปลงตาม และต้องปล่อยให้สิ่งต่างๆเป็นไปตามกลไก อย่างที่ควรจะเป็น
หากของแพงก็ไม่ต้องซื้อ ถ้ามันคุ้มซื้อ เดี๋ยวก็มีคนไปซื้อเอง
เฉกเช่น เรากินข้าว
เรา มีเงินในกระเป๋าเท่าไร ก็กินได้ตามงบประมาณในกระเป๋า
เงินเยอะเราก็กินเหลา เงินน้อยเราก็หุงข้าวกิน
พร้อมแค่ใหนก็กินแค่นั้น
ผมเองก็เป็นแฟนบอลไทย รักบอลไทย อยากดูบอลไทย
แต่หากจะเสียเงินแพงอย่างไม่จำเป็น ถูกผู้ขายกดขี่ราคา
และขายของไม่สมเหตุสมผล
ผมก็พร้อมจะไม่ดู หรือ หาดูอย่างยากลำบาก ไม่สะดวกสบาย
ดีกว่า ปล่อยให้โดนเอารัดเอาเปรียบ
ซึ่งก็เชื่อว่า คนไทยที่รักฟุตบอลจริงก็หาดูจนได้ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
ไม่ได้จนตรอกหมดปัญญาแน่นอน
แค่ไม่สะดวกสบายเหมือนที่ผ่านมาเท่านั้น
จริงๆแล้วเรื่องนี้ อธิบายไม่ยาก
หากมันคุ้มจริง มาดามมีเงินเยอะแยะมากมายเป็นสปอนเซอร์ถ่ายให้ชม ก็ทำได้
แต่มาดามก็ยังมองว่าแพง ไม่ไหวจะสนับสนุน
ก็มองง่ายๆแค่นี้ ก็พอเห็นภาพ
งานนี้ ก็ลักษณะเดียวกับฟุตบอลโลก 2022 ที่คนไทยก็พอทราบหลักการและเหตุผลที่เกือบจะไม่ได้ดู เพราะผู้ขาย ขายราคาแพงสุดกู่ ผู้ซื้อภาคเอกชนไม่มีปัญญาจะซื้อ
แต่ดันมีกฎมัสแฮปจึงเป็นช่องทางที่ภาครัฐ จึงโผล่เข้าไปแทรกแซง ยอมจ่ายเพื่อไม่ให้ผิดกฎ ผิดระเบียบ
แต่ท้ายสุด เรื่องนี้ก็ไม่มีวันจบสิ้น
หากเราไม่เริ่มนับ 1
ผู้ขายก็ยังคงได้เปรียบกดขี่ราคาเราต่อไป
แต่เมื่อเรายอมกลืนเลือด 1 ครั้ง
ยอมลำบากในการเปลี่ยนผ่านไป
เชื่อว่าครั้งต่อๆไป ลิขสิทธิ์กีฬา ลิขสิทธิ์ฟุตบอล จะไม่แพงจนจับต้องไม่ได้อีก
ก็ต้องกัดฟันกันนิด พวกเรา
#กล้าปีนเกลียว
Cr. เพจfacebook : กล้าปีนเกลียว ทีเด็ดบอลไทย
สรุป คือ ดีลนี้ไม่ว่าใครซื้อก็จะขาดทุนหนักแน่นอน เพราะเขาไม่ขายแยก ขายแพ็ค26นัดทุกคู่ แต่ไทยเเข่ง8นัด ถึงจะมีสปอนเซอร์เข้าเต็มที่ 8 นัดที่ไทยแข่ง แต่เมื่อหักลบกันแล้วก็ไม่สามารถมาชดเชยอีก18นัดที่ไม่ได้แข่งได้ เพราะฉะนั้น ยังไงก็มีแต่ขาดทุน แล้วขาดทุนเยอะด้วย