ผ่านเข้ารอบ 8 ทีม ไปได้เป็นทีมแรกสำหรับเนเธอร์แลนด์ หลังจากเอาชนะสหรัฐอเมริกาไปได้ด้วยสกอร์ 3 - 1 โดยได้ประตูแรกจาก เมมฟิส เดปาย ในนาทีที่10 ประตูที่สองจาก ดาลีย์ บลินด์ ในช่วงทดเวลาครึ่งแรก และประตูที่สามจาก เดนเซล ดุมฟรีส์ นาทีที่ 81 ซึ่งทางฝั่งสหรัฐสามารถทวงคืนได้เพียงแค่ลูกเดียวจาก ฮาจิ ไรท์ จึงไม่เพียงพอต่อการเข้ารอบ ทำให้ต้องโบกมือลาฟุตบอลโลกครั้งนี้ไปตั้งแต่รอบ 16 ทีม โดยต่อจากนี้จะเป็นสิ่งที่ผมได้เห็นจากเกมส์นี้ครับ
1.การจัดตัวผู้เล่น
เนเธอร์แลนด์ - ฝั่งเนเธอร์แลนด์ใช้ผู้เล่นชุดเดิมครบทั้ง 11 คน จากนัดที่ชนะกาตาร์ในรอบแบ่งกลุ่ม โดยผู้เล่นชุดนี้น่าจะเป็นชุดที่หลุยส์ ฟาน กัล ไว้ใจที่สุดแล้ว เนื่องจากผู้เล่นชุดที่จัดลงในเกมส์วันนี้ ส่วนใหญ่จะลงสนามในฐานะผู้เล่นตัวจริง จากเกมส์ในรอบแบ่งกลุ่มที่ผ่านมา
สหรัฐอเมริกา – ทางฝั่งสหรัฐเปลี่ยนผู้เล่น 2 ตำแหน่ง โดยเปลี่ยน เชซุส เฟอร์เรร่า แทน จอช ซาร์เจนต์ และ วอล์กเกอร์ ซิมเมอร์แมน แทน แคม คาร์เตอร์ – วิคเกอร์ส
2. รูปแบบการเล่น
เริ่มเกมส์ เนเธอร์แลนด์ใช้วิธีการถ่ายเทบอลในแดนตัวเอง เพื่อดึงแนวรุกและมิดฟิลด์ให้ขึ้นมาบีบในแดนบน จากนั้น เมื่อมิดฟิลด์สหรัฐขยับขึ้นมากดดัน ตามการถ่ายเทบอลของเนเธอร์แลนด์ จะเกิดช่องว่างระหว่างแดนหลังและมิดฟิลด์ ทางฝั่งเนเธอร์แลนด์จะรีบทิ้งที่ว่างไปยังผู้เล่นตัวรุก เพื่อสวนกลับเร็ว โดยผู้ที่รับบทคีย์แมนในการทิ้งที่ว่างทุกครั้ง คือ แฟรงกี้ เดอ ยอง และผลลัพท์จากระบบการเล่นนี้ คือ ประตูขึ้นนำของเนเธอร์แลนด์ตั้งแต่นาทีที่ 10
และเมื่อขึ้นนำเร็ว ทำให้ทุกอย่าง อยู่ในการควบคุมของเนเธอร์แลนด์ ทางฝั่งอัศวินสีส้มเพียงแค่รอดักบอลจากแดนกลางและทำการสวนกลับ โดยใช้ความคล่องตัวของสองกองหน้าเท่านั้น ซึ่งเหตุผลที่การตั้งรับรอสวนของเนเธอร์แลนด์ ได้ผลดีในครึ่งแรก เป็นเพราะในทีมมีมิดฟิลด์ไดนาโมอย่าง มาร์เทน เดอ รูน ที่คอยปัดกวาดทุกอย่างก่อนเข้าระยะอันตรายทุกครั้ง
ซึ่งในครึ่งหลัง เมื่อเปลี่ยนเจ้าตัวออกจากสนาม และแทนที่โดย เทิน คูปไมเนอร์ส ทำให้แดนกลางของเนเธอร์แลนด์หลวมลงทันที เนื่องจากเจ้าตัวไม่ใช่มิดฟิลด์ประเภทไดนาโม แต่เป็นมิดฟิลด์ที่ควบคุมจังหวะ และการสร้างเกมส์รุก ส่งผลให้เมื่อสหรัฐสร้างเกมส์รุกขึ้นมา การยืนตำแหน่งของเจ้าตัวในการดักตัดบอล มักจะไม่ถูกต้องเสมอ บวกกับการเปลี่ยนสตีเฟ่น เบิร์กไวน์ ลงมาแทน ดาวี คลาสเซ่น ทำให้ระบบการเล่นเปลี่ยนมาเป็น 3 - 4 - 3 ส่งผลให้แดนกลางหลวมลง เนื่องจากเหลือมิดฟิลด์เพียง 2 คน
ทางฝั่งสหรัฐก็มักก่อความผิดพลาดในรูปแบบเดิมๆ ตลอดเกมส์ ทำให้ฝั่งเนเธอร์แลนด์ ไม่ได้เกิดความลำบากใดๆเลยในการรับมือ ทั้งเกมส์รุกและเกมส์รับ โดยเกมส์รับฟูลแบ็คทั้งสองข้าง มักจะเติมขึ้นสูงพร้อมทำเกมส์ในแดนกลาง และมักจะโดนตัดบอลตรงกลางสนามอยู่เสมอๆ ซึ่งจุดนี้อาจเป็นคำสั่งของกุนซือสหรัฐอย่าง เกร็ก เบอร์ฮัลเทอร์ แต่ด้วยความที่ธรรมชาติของ แซจินโญ่ เดส และ แอนโทนี่ โรบินสัน ไม่ได้มีความสามารถในการจ่ายบอลมากนัก จึงเป็นสาเหตุที่มักจะโดนตัดบอลตรงกลางสนามอยู่บ่อยครั้ง ถือเป็นการวางหมากที่ผิดพลาดของผู้เป็นกุนซือเลยทีเดียว
และในแดนกลาง มิดฟิลด์ตัวต่ำ ที่ต้องทำหน้าที่รับบอลและเชื่อมเกมส์ไปยังแดนกลางอย่าง ไทเลอร์ อดัม กลับชอบยืนสูงเกินครึ่งสนามทำให้เกิดช่องว่างระหว่างมิดฟิลด์และแนวรับ ส่งผลให้เนเธอร์แลนด์สามารถทิ้งที่ว่างให้แนวรุกตามไปเก็บบอลในจุดนั้นได้ บวกกับกองหลังก็ไม่ยอมจัดระเบียบเกมส์รับ เพื่อรอจังหวะโดนสวนกลับเลยซักครั้งเดียว ทำให้เนเธอร์แลนด์ มีช่องในการเจาะเข้าเขตโทษตลอดทั้งเกมส์
แถมในจังหวะที่แนวรับเซ็ตเกมส์จากหน้ากรอบเขตโทษไทเลอร์ อดัม ก็ไม่ยอมลงมารับบอล ทำให้เนเธอร์แลนด์ เกือบตัดบอลหน้ากรอบเขตโทษได้ในหลายๆ จังหวะ และในบางจังหวะ เพื่อนๆที่ขนาบด้านข้างอย่าง มูซาห์ และ แม็คเคนนี่ ต้องลงมารับบอลแทน ถ้าไม่นับแบ็คทั้งสองข้าง อดัม จะเป็นผู้เล่นที่เล่นได้แย่ที่สุดในสนามเลยสำหรับเกมส์นี้
3.ผู้เล่นที่ต่ำกว่ามาตรฐาน
- แนวรับสหรัฐอเมริกาทั้ง 4 คน ถือว่าสอบตกอย่างรุนแรงสำหรับแนวรับทั้ง 4 คน ในเกมส์นี้ เนื่องจากจัดระเบียบเกมส์รับได้แย่มากๆ โดยเฉพาะในจังหวะที่ทีมโดนสวนกลับ มักจะสับสนในการยืนตำแหน่งเสมอ แถมแบ็คทั้งสองข้าง ยังชอบเพิ่มงานที่ยากลำบากให้กับคู่เซ็นเตอร์มากขึ้น เนื่องจากชอบยืนสูงและโดนตัดบอลในแดนกลาง ซึ่งเมื่อโดนตัดบอล ก็กลับเข้าตำแหน่งตัวเองไม่ทันแทบทุกครั้ง ถือว่าต่ำกว่ามาตรฐานแบบสุดๆในเกมส์นี้
- ไทเลอร์ อดัม ไม่ผ่านทั้งการสร้างเกมส์ในแดนกลาง และการช่วยเกมส์รับ โดยในจังหวะขึ้นเกมส์มักจะยืนสูงเกินครึ่งสนาม ทำให้แนวรับ ไม่มีตัวเลือกในการเอาตัวรอดจากการโดนบีบ และจังหวะเล่นเกมส์รับ ก็ไม่ค่อยซัพพอร์ตการขาดหายไปของฟูลแบ็ค ขณะโดนสวนกลับ ซึ่งครึ่งหลังถือว่าดีขึ้น อาจเป็นไปได้ว่าช่วงพักครึ่ง เบอร์ฮัลเทอร์ จัดการติวชุดใหญ่ให้แก่ อดัม ในจุดที่ผิดพลาดดังกล่าวก็เป็นได้
** ถือว่าผ่านเข้ารอบไปได้แบบที่เรียกว่า น่าจะสบายที่สุดตั้งแต่แข่งขันในฟุตบอลโลกครั้งนี้เลยทีเดียว สำหรับเนเธอร์แลนด์ เนื่องจากรูปแบบการเล่นของสหรัฐ ค่อนข้างเข้าทางพวกเขามากๆ บวกกับการก่อความผิดพลาด ส่วนบุคคลที่มีมาตลอดเกมส์ ทำให้เนเธอร์แลนด์ไม่เกิดความหนักใจใดๆเลย ในเกมส์นี้
ส่วนฝั่งสหรัฐถือว่าผิดฟอร์มสุดๆ กับเกมส์นัดนี้ โดยพวกเขาสามารถที่จะเล่นได้ดีกว่านี้มากๆ เพียงแต่ฟุตบอลทัวร์นาเมนต์ ไม่ควรมีจังหวะที่ผิดฟอร์ม หรือถ้าผิดฟอร์มจริงๆ ควรจะต้องเอาตัวรอดด้วยชัยชนะให้ได้ เพราะถ้าคุณผิดฟอร์มและก่อความผิดพลาดแม้เพียงแค่ครั้งเดียว นั่นอาจหมายถึงการชี้ชะตาเกมส์ฟุตบอลของคุณได้เลย
สิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างเกมส์เนเธอร์แลนด์พบสหรัฐอเมริกา
1.การจัดตัวผู้เล่น
เนเธอร์แลนด์ - ฝั่งเนเธอร์แลนด์ใช้ผู้เล่นชุดเดิมครบทั้ง 11 คน จากนัดที่ชนะกาตาร์ในรอบแบ่งกลุ่ม โดยผู้เล่นชุดนี้น่าจะเป็นชุดที่หลุยส์ ฟาน กัล ไว้ใจที่สุดแล้ว เนื่องจากผู้เล่นชุดที่จัดลงในเกมส์วันนี้ ส่วนใหญ่จะลงสนามในฐานะผู้เล่นตัวจริง จากเกมส์ในรอบแบ่งกลุ่มที่ผ่านมา
สหรัฐอเมริกา – ทางฝั่งสหรัฐเปลี่ยนผู้เล่น 2 ตำแหน่ง โดยเปลี่ยน เชซุส เฟอร์เรร่า แทน จอช ซาร์เจนต์ และ วอล์กเกอร์ ซิมเมอร์แมน แทน แคม คาร์เตอร์ – วิคเกอร์ส
2. รูปแบบการเล่น
เริ่มเกมส์ เนเธอร์แลนด์ใช้วิธีการถ่ายเทบอลในแดนตัวเอง เพื่อดึงแนวรุกและมิดฟิลด์ให้ขึ้นมาบีบในแดนบน จากนั้น เมื่อมิดฟิลด์สหรัฐขยับขึ้นมากดดัน ตามการถ่ายเทบอลของเนเธอร์แลนด์ จะเกิดช่องว่างระหว่างแดนหลังและมิดฟิลด์ ทางฝั่งเนเธอร์แลนด์จะรีบทิ้งที่ว่างไปยังผู้เล่นตัวรุก เพื่อสวนกลับเร็ว โดยผู้ที่รับบทคีย์แมนในการทิ้งที่ว่างทุกครั้ง คือ แฟรงกี้ เดอ ยอง และผลลัพท์จากระบบการเล่นนี้ คือ ประตูขึ้นนำของเนเธอร์แลนด์ตั้งแต่นาทีที่ 10
และเมื่อขึ้นนำเร็ว ทำให้ทุกอย่าง อยู่ในการควบคุมของเนเธอร์แลนด์ ทางฝั่งอัศวินสีส้มเพียงแค่รอดักบอลจากแดนกลางและทำการสวนกลับ โดยใช้ความคล่องตัวของสองกองหน้าเท่านั้น ซึ่งเหตุผลที่การตั้งรับรอสวนของเนเธอร์แลนด์ ได้ผลดีในครึ่งแรก เป็นเพราะในทีมมีมิดฟิลด์ไดนาโมอย่าง มาร์เทน เดอ รูน ที่คอยปัดกวาดทุกอย่างก่อนเข้าระยะอันตรายทุกครั้ง
ซึ่งในครึ่งหลัง เมื่อเปลี่ยนเจ้าตัวออกจากสนาม และแทนที่โดย เทิน คูปไมเนอร์ส ทำให้แดนกลางของเนเธอร์แลนด์หลวมลงทันที เนื่องจากเจ้าตัวไม่ใช่มิดฟิลด์ประเภทไดนาโม แต่เป็นมิดฟิลด์ที่ควบคุมจังหวะ และการสร้างเกมส์รุก ส่งผลให้เมื่อสหรัฐสร้างเกมส์รุกขึ้นมา การยืนตำแหน่งของเจ้าตัวในการดักตัดบอล มักจะไม่ถูกต้องเสมอ บวกกับการเปลี่ยนสตีเฟ่น เบิร์กไวน์ ลงมาแทน ดาวี คลาสเซ่น ทำให้ระบบการเล่นเปลี่ยนมาเป็น 3 - 4 - 3 ส่งผลให้แดนกลางหลวมลง เนื่องจากเหลือมิดฟิลด์เพียง 2 คน
ทางฝั่งสหรัฐก็มักก่อความผิดพลาดในรูปแบบเดิมๆ ตลอดเกมส์ ทำให้ฝั่งเนเธอร์แลนด์ ไม่ได้เกิดความลำบากใดๆเลยในการรับมือ ทั้งเกมส์รุกและเกมส์รับ โดยเกมส์รับฟูลแบ็คทั้งสองข้าง มักจะเติมขึ้นสูงพร้อมทำเกมส์ในแดนกลาง และมักจะโดนตัดบอลตรงกลางสนามอยู่เสมอๆ ซึ่งจุดนี้อาจเป็นคำสั่งของกุนซือสหรัฐอย่าง เกร็ก เบอร์ฮัลเทอร์ แต่ด้วยความที่ธรรมชาติของ แซจินโญ่ เดส และ แอนโทนี่ โรบินสัน ไม่ได้มีความสามารถในการจ่ายบอลมากนัก จึงเป็นสาเหตุที่มักจะโดนตัดบอลตรงกลางสนามอยู่บ่อยครั้ง ถือเป็นการวางหมากที่ผิดพลาดของผู้เป็นกุนซือเลยทีเดียว
และในแดนกลาง มิดฟิลด์ตัวต่ำ ที่ต้องทำหน้าที่รับบอลและเชื่อมเกมส์ไปยังแดนกลางอย่าง ไทเลอร์ อดัม กลับชอบยืนสูงเกินครึ่งสนามทำให้เกิดช่องว่างระหว่างมิดฟิลด์และแนวรับ ส่งผลให้เนเธอร์แลนด์สามารถทิ้งที่ว่างให้แนวรุกตามไปเก็บบอลในจุดนั้นได้ บวกกับกองหลังก็ไม่ยอมจัดระเบียบเกมส์รับ เพื่อรอจังหวะโดนสวนกลับเลยซักครั้งเดียว ทำให้เนเธอร์แลนด์ มีช่องในการเจาะเข้าเขตโทษตลอดทั้งเกมส์
แถมในจังหวะที่แนวรับเซ็ตเกมส์จากหน้ากรอบเขตโทษไทเลอร์ อดัม ก็ไม่ยอมลงมารับบอล ทำให้เนเธอร์แลนด์ เกือบตัดบอลหน้ากรอบเขตโทษได้ในหลายๆ จังหวะ และในบางจังหวะ เพื่อนๆที่ขนาบด้านข้างอย่าง มูซาห์ และ แม็คเคนนี่ ต้องลงมารับบอลแทน ถ้าไม่นับแบ็คทั้งสองข้าง อดัม จะเป็นผู้เล่นที่เล่นได้แย่ที่สุดในสนามเลยสำหรับเกมส์นี้
3.ผู้เล่นที่ต่ำกว่ามาตรฐาน
- แนวรับสหรัฐอเมริกาทั้ง 4 คน ถือว่าสอบตกอย่างรุนแรงสำหรับแนวรับทั้ง 4 คน ในเกมส์นี้ เนื่องจากจัดระเบียบเกมส์รับได้แย่มากๆ โดยเฉพาะในจังหวะที่ทีมโดนสวนกลับ มักจะสับสนในการยืนตำแหน่งเสมอ แถมแบ็คทั้งสองข้าง ยังชอบเพิ่มงานที่ยากลำบากให้กับคู่เซ็นเตอร์มากขึ้น เนื่องจากชอบยืนสูงและโดนตัดบอลในแดนกลาง ซึ่งเมื่อโดนตัดบอล ก็กลับเข้าตำแหน่งตัวเองไม่ทันแทบทุกครั้ง ถือว่าต่ำกว่ามาตรฐานแบบสุดๆในเกมส์นี้
- ไทเลอร์ อดัม ไม่ผ่านทั้งการสร้างเกมส์ในแดนกลาง และการช่วยเกมส์รับ โดยในจังหวะขึ้นเกมส์มักจะยืนสูงเกินครึ่งสนาม ทำให้แนวรับ ไม่มีตัวเลือกในการเอาตัวรอดจากการโดนบีบ และจังหวะเล่นเกมส์รับ ก็ไม่ค่อยซัพพอร์ตการขาดหายไปของฟูลแบ็ค ขณะโดนสวนกลับ ซึ่งครึ่งหลังถือว่าดีขึ้น อาจเป็นไปได้ว่าช่วงพักครึ่ง เบอร์ฮัลเทอร์ จัดการติวชุดใหญ่ให้แก่ อดัม ในจุดที่ผิดพลาดดังกล่าวก็เป็นได้
** ถือว่าผ่านเข้ารอบไปได้แบบที่เรียกว่า น่าจะสบายที่สุดตั้งแต่แข่งขันในฟุตบอลโลกครั้งนี้เลยทีเดียว สำหรับเนเธอร์แลนด์ เนื่องจากรูปแบบการเล่นของสหรัฐ ค่อนข้างเข้าทางพวกเขามากๆ บวกกับการก่อความผิดพลาด ส่วนบุคคลที่มีมาตลอดเกมส์ ทำให้เนเธอร์แลนด์ไม่เกิดความหนักใจใดๆเลย ในเกมส์นี้
ส่วนฝั่งสหรัฐถือว่าผิดฟอร์มสุดๆ กับเกมส์นัดนี้ โดยพวกเขาสามารถที่จะเล่นได้ดีกว่านี้มากๆ เพียงแต่ฟุตบอลทัวร์นาเมนต์ ไม่ควรมีจังหวะที่ผิดฟอร์ม หรือถ้าผิดฟอร์มจริงๆ ควรจะต้องเอาตัวรอดด้วยชัยชนะให้ได้ เพราะถ้าคุณผิดฟอร์มและก่อความผิดพลาดแม้เพียงแค่ครั้งเดียว นั่นอาจหมายถึงการชี้ชะตาเกมส์ฟุตบอลของคุณได้เลย