คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
พบแล้วรายแรกของไทย !! ผู้ติดเชื้อโควิด “เดลตาครอน XBC”
ปัจจุบันผู้ติดเชื้อหายเป็นปกติแล้ว
นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยข้อมูลการตรวจเฝ้าระวังติดตามการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด 19 ในประเทศ และติดตามสายพันธุ์น่ากังวลที่อาจพบจากผู้เดินทางเข้าประเทศ ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 19-25 พฤศจิกายน 2565 ผลการตรวจเฝ้าระวัง จำนวน 299 ราย พบว่า ในภาพรวมสัดส่วนของ BA.2.75 เพิ่มขึ้นเป็น 63.3% และเมื่อแยกตามกลุ่ม พบว่า ส่วนใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในกลุ่มผู้ติดเชื้อในประเทศที่เพิ่มขึ้นจาก 23.2% เป็น 43.9% และล่าสุดเป็น 58.8%
นอกจากนี้พบสายพันธุ์ XBB.1 จำนวน 4 ราย และ BQ.1 จำนวน 7 ราย สำหรับสายพันธุ์ XBC หรือเดลตาครอน ขณะนี้พบในประเทศไทยแล้ว จำนวน 1 ราย ทั้งนี้สายพันธุ์ XBC เป็นสายพันธุ์ลูกผสมของเดลตาและโอมิครอน BA.2 ทั้งนี้ยังไม่พบสัญญาณความรุนแรงของเชื้อที่กลายพันธุ์ แต่อาจจะทำให้มีการแพร่และติดเชื้อง่ายขึ้น โดยในรายของผู้ป่วยที่ตรวจพบสายพันธุ์ XBC เป็นรายแรกของไทยนั้นปัจจุบันหายเป็นปกติดีแล้ว
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ร่วมกับเครือข่าย ยังคงเฝ้าระวังติดตามการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด 19 และเผยแพร่บนฐานข้อมูลสากล GISAID อย่างต่อเนื่อง เพื่อติดตามผลกระทบจากสายพันธุ์ย่อยของสายพันธุ์น่ากังวล ที่อาจมีต่อความรุนแรงของโรค ประสิทธิผลของมาตรการทางสาธารณสุข หรือคุณสมบัติของอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องของเชื้อไวรัส เป็นข้อมูลสนับสนุนการออกแบบการรักษา การให้ยาต้านไวรัส หรือ แอนติบอดีสังเคราะห์ ในช่วงเวลานี้มาตรการส่วนบุคคล เช่น การสวมหน้ากาก ล้างมือ ยังจำเป็น เพื่อลดการระบาดของโรค รวมถึงการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นสามารถลดความรุนแรงได้ โดยเฉพาะกลุ่ม 608
ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0x3veQNSS16y3BBTUHiAr5txFq38sWEaErNxUjfDacLRLeSAE3kPxYPtn9njFbBrMl
ปรับแนวทางการรักษาผู้ป่วย 3 กลุ่มโรค ปอดอุดกั้น-หัวใจ-เบาหวาน เข้าถึงยาต้านง่ายขึ้น เพิ่มภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (LAAB) เป็นตัวเลือกรักษา
น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุข โดย กรมการแพทย์ ปรับปรุงแนวทางรักษาโรคโควิด- 19 ฉบับที่ 26 ซึ่งผ่านการพิจารณาของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านสาธารณสุข (อีโอซี) กรณีโควิด 19 แล้ว โดยฉบับล่าสุดที่มีการปรับเปลี่ยน ดังนี้
1. กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงเป็นโรครุนแรง จากเดิมที่มีรายละเอียดมาก ก็ปรับให้เป็นการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยนอก ปฏิบัติตนตาม DMHT อย่างน้อย 5 วัน ให้การดูแลรักษาตามอาการตามดุลยพินิจแพทย์ หากต้องให้ยาต้านไวรัสก็อาจให้ยาโมลนูพิราเวียร์ หรือยาฟาวิพิราเวียร์ในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี
2. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงแต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือไม่มีปัจจัยเสี่ยง แต่มีปอดอักเสบเล็กน้อยถึงปานกลางที่ยังไม่ต้องให้ออกซิเจน ได้ปรับเกณฑ์ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง เพื่อให้เข้าถึงยาต้านไวรัสได้สะดวกขึ้นใน 3 กลุ่ม คือ 1)โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังรวมโรคปอดเรื้อรังอื่นๆ ในระยะ 2 ขึ้นไป 2)โรคหัวใจและหลอดเลือด Class 2 ขึ้นไป และ 3)โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ ปรับเป็นไม่มีระยะของโรคและเป็นโรคเบาหวานธรรมดา แพทย์สามารถให้ยาตามดุลยพินิจได้ สำหรับการให้ยาต้านไวรัสในกลุ่มนี้ ได้เพิ่มภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (LAAB) เข้ามาด้วย ซึ่งอาจให้ LAAB ตัวเดียวหรือให้ร่วมกับยาต้านไวรัสตัวอื่นก็ได้ตามอาการหรือตามดุลยพินิจของแพทย์
นอกจากนี้ ยังปรับคำแนะนำการให้ยา โดยแพกซ์โลวิดควรเริ่มภายใน 5 วันตั้งแต่เริ่มมีอาการ ให้ยา 5 วัน 10 โดส เรมดิซิเวียร์ ควรเริ่มใน 5 วันตั้งแต่มีอาการ ให้ 3 วัน 3 โดส LAAB ควรเริ่มใน 7 วันตั้งแต่มีอาการให้ 1 โดส และโมลนูพิราเวียร์ควรเริ่มใน 5 วันตั้งแต่มีอาการ จำนวน 5 วัน 10 โดส
ที่มา : รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid022DAs24eame3uJtiqZ1fG2SW4t8DfWWuPfGc2yzpYXoXVmUrMfx67Q6iZom7rp7B7l
หนาวนี้ฉีดวัคซีน เพิ่มภูมิสู้โควิด 19
ขอเชิญชวนประชาชนที่ยังไม่เคยฉีดวัคซีนและกลุ่มเสี่ยง
ฉีดวัคซีนโควิด 19 หรือ ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป LAAB โดยเร็ว
ฉีดวัคซีน เข็มที่ 4 เพื่อความปลอดภัย
ฉีดวัคซีนได้ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน
กลุ่มเสี่ยง
ㆍ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
ㆍหญิงอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป
ㆍผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง
(โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง
โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน)
*LAAB = แอนติบอดีออกฤทธิ์ยาว (Long-acting Antibody)
สำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำและร่างกายไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ด้วยวัคซีน
อายุ 12 ปีขึ้นไปและน้ำหนักตัวมากกว่า 40 กก. ทั้งผู้ที่เคยและไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน
ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0c6JGg6FPHWsJnV4DwHQBiRD7iNotBnu17cqnJ1V6c4syB1oNB8YF9KpQoz1Bs8SYl
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
กรมควบคุมโรค แนะ 4 ข้อ ลดความเสี่ยงจากโควิด 19
ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02dsHMBz4hJduMXS1VKfnLcQbLPvELvjBfEPw8coRpV6J7nf9sWx64ais9eeL1co8Zl
พร้อมเข้าสู่ชีวิตวิถีใหม่ เมื่อโควิด 19 เป็นโรคประจำถิ่น
ที่มา : มหาวิทยาลัยมหิดล
https://web.facebook.com/thaimoph/posts/pfbid027KnWiWWUDqR1SphQQQnMXZyHUyQS5Y4wfU8X65P8ahoFe1MBykkJgRN4aYEP7uNbl
“นพ.ยง” แจงเดลตาครอน (XBC) ทั้งอัตราการแพร่ – ความรุนแรง ไม่น่าห่วง กลายพันธุ์จนคลายพิษ หลังพบผู้ป่วยรายแรกในไทย‼
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หน.ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์อธิบาย โควิด 19 การเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ ไขข้อเท็จจริง “เดลตาครอน” เกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยพันธุกรรม จากสายพันธุ์แอลฟา เบตา เดลตา โอมิครอน เปลี่ยนแปลงบนยีนของหนามแหลม spike จนเป็นลูกหลาน BA.1 BA.2…BA.5.. (เพื่อความอยู่รอดของไวรัส ตัวที่แพร่พันธุ์ได้เร็ว ความรุนแรงน้อย ก็จะอยู่รอด และเกิดสายพันธุ์ใหม่ เรื่อยมา)
ชนิดที่ 2 การเปลี่ยนแปลงแลกชิ้นส่วนต่างสายพันธุ์ (ผสมส่วน ) เรียกว่า “recombination” หัวเป็น สายพันธุ์หนึ่ง หางเป็นสายพันธุ์หนึ่ง (ทําให้เกิดโรคมือเท้าปาก ไวรัสท้องเสีย norovirus เกิดได้มีไวรัส 2 สายพันธุ์ติดเชื้อในผู้ป่วยคนคนเดียวกัน)
“เดลตาครอน” จะเกิดได้ จะต้องมีผู้ป่วยติดเชื้อสายพันธุ์เดลตา ร่วมกับ โอมิครอน แต่ขณะนี้ แทบจะไม่พบสายพันธุ์เดลต้า จะเกิดลูกผสม เดลตาครอนได้อย่างไร “เดลตาครอน” จะเป็นเพียงชิ้นส่วนเล็กๆ ของสายพันธุ์เดลตาที่มีการเปลี่ยนแปลงกรดอะมิโน คล้ายคลึงกับสายพันธุ์เดลตา ในสายพันธุ์โอมิครอน เชื่อว่าไม่ได้เป็นการแลกชิ้นส่วนกัน และตั้งชื่อเป็น XBC และทางองค์การอนามัยโลกก็ไม่ได้มีการกำหนดชื่อใหม่ หรือสายพันธุ์ใหม่ว่าเป็น เดลตาครอน หรือให้ความสำคัญแต่อย่างใด
“เดลตาครอน” ขณะนี้ไม่ได้มีความสำคัญอะไร การรายงานเข้าไปในธนาคารรหัสพันธุกรรม GISAID สายพันธุ์นี้ก็ไม่ได้เป็นสายพันธุ์เด่นอะไรเลย และไม่มีความสำคัญในขณะนี้ ทั้งอัตราการแพร่กระจาย - ความรุนแรงที่พบ สายพันธุ์ที่พบมากทั่วโลกขณะนี้ เป็นสายพันธุ์ย่อย โอมิครอน BA.2.75 และ BQ.1.1 บ้านเราขณะนี้เป็น BA.2.75 และก็คงจะตามมาด้วย BQ.1.1 ในอนาคตอันใกล้”
หลังมีการพบผู้ป่วยสายพันธุ์ XBC เดลตาครอน ในประเทศไทย เมื่อวานนี้ (30 พ.ย.) แต่ได้รับการรักษาจนหายแล้ว
ที่มา : https://www.facebook.com/yong.poovorawan/posts/pfbid02v1sJgq2oALK9fU7GMSx6SZ89QMuJysXfrGnN1TorNtrmziMaCsGEg5uYNQJ9n4Lml
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid0tY2hGki6u3nVWF3r7mYjm2ywrYhy9nY8HabqTmNseLXs2cWgdmyp9NJuJpqM6L3Jl
ผู้ป่วยโควิดสิทธิบัตรทอง-สิทธิพนักงานส่วนท้องถิ่น พบแพทย์ทางไกล ส่งยาฟรีถึงบ้าน ผ่าน 4 แอปพลิเคชัน
สปสช ย้ำ! ผู้ป่วยโควิดสิทธิบัตรทอง และสิทธิพนักงานส่วนท้องถิ่น เมื่อตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด สามารถพบแพทย์ทางไกล (Telemedicine) พร้อมส่งยาฟรีถึงบ้าน ผ่าน 4 แอปพลิเคชันได้โดยเลือกลงทะเบียน เพื่อพบแพทย์ผ่านออนไลน์ ซักถามและจ่ายยาตามอาการ (หากเข้าเกณฑ์ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์หรือยาโมลนูพิราเวียร์ตามดุลยพินิจของแพทย์) พร้อมจัดส่งถึงบ้านฟรี โดยผู้ป่วยเลือกแอปใดแอปหนึ่ง ดังนี้
1. แอปพลิเคชัน Clicknic ลงทะเบียน https://forms.gle/hfo2Wr9jdvybn8d57
รับผู้ป่วยโควิด-19 ทั่วประเทศ ทั้งกลุ่มสีเขียวและกลุ่ม 608 (ผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี, ผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไตวายเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคอ้วน, โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน และหญิงตั้งครรภ์) ไม่รับผู้ป่วยอายุ ต่ำกว่า 15 ปี สอบถามเพิ่มเติม Line ID : @clicknic
2. แอปพลิเคชัน MorDee (หมอดี) ลงทะเบียนคลิก https://form.typeform.com/to/cNKqNz3p
รับเฉพาะผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียว (ไม่รับผู้ป่วยอายุ ต่ำกว่า 15 ปี และกลุ่ม 608) ทั่วประเทศ
สอบถามเพิ่มเติม Line ID : @mordeeapp
3. แอปพลิเคชัน Good Doctor Technology ลงทะเบียน คลิก https://forms.gle/YKVMKy1p8FRDDBje7
รับเฉพาะผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียว (ไม่รับผู้ป่วยอายุ ต่ำกว่า 15 ปี และกลุ่ม 608) ที่อยู่ในพื้นที่ กทม. นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และชลบุรี เท่านั้น สอบถามเพิ่มเติม Line ID: @gdtt
4. แอปพลิเคชั่น Totale telemed (เดอะโททอลเล่คลินิก) ลงทะเบียนผ่าน LINE Official Account ได้ที่ https://lin.ee/a1lHjXZn
รับผู้ป่วยโควิด-19 ทั่วประเทศ ทั้งกลุ่มสีเขียวและกลุ่ม 608 (ผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี, ผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไตวายเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคอ้วน, โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน และหญิงตั้งครรภ์) ไม่จำกัดอายุ
สอบถามเพิ่มเติม Line ID : @totale หรือสายด่วน 0620462944, 0618019577
เมื่อลงทะเบียนแล้ว รอเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับเพื่อยืนยันตัวตนเข้ารับบริการ คัดกรอง ประเมินอาการเบื้องต้น และปรึกษาแพทย์ออนไลน์ ให้คำแนะนำการดูแลตัวเอง หลังจากนั้น จะจัดส่งยาตามความจำเป็นให้กับผู้ป่วย โดยบางรายอาจได้รับยาฟาวิพิราเวียร์หรือยาโมลนูพิราเวียร์ขึ้นอยู่กับอาการและดุลยพินิจของแพทย์
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่จะพูดคุยกับผู้ป่วยอีกครั้ง เมื่อครบ 48 ชั่วโมงแล้ว เพื่อสอบถามอาการ และแนะนำให้ผู้ป่วยดูแลตัวเองให้ครบ 10 วันตามแนวทางกระทรวงสาธารณสุข เมื่อผู้ป่วยดีขึ้นแล้วก็จะออกจากระบบการดูแลได้ หากในระหว่างนี้ผู้ติดเชื้อมีอาการเพิ่มมากขึ้นก็จะส่งข้อมูลต่อให้กับ สปสช.เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรักษาต่อไป
https://web.facebook.com/Rachadaspoke/posts/pfbid02sLgTA5C9nrn76sEsmBp6y4Hgy4yAz5gZEm9kFuXAFyyaQN548R85w6nPTmcxvrEcl
พบแล้วรายแรกของไทย !! ผู้ติดเชื้อโควิด “เดลตาครอน XBC”
ปัจจุบันผู้ติดเชื้อหายเป็นปกติแล้ว
นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยข้อมูลการตรวจเฝ้าระวังติดตามการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด 19 ในประเทศ และติดตามสายพันธุ์น่ากังวลที่อาจพบจากผู้เดินทางเข้าประเทศ ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 19-25 พฤศจิกายน 2565 ผลการตรวจเฝ้าระวัง จำนวน 299 ราย พบว่า ในภาพรวมสัดส่วนของ BA.2.75 เพิ่มขึ้นเป็น 63.3% และเมื่อแยกตามกลุ่ม พบว่า ส่วนใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในกลุ่มผู้ติดเชื้อในประเทศที่เพิ่มขึ้นจาก 23.2% เป็น 43.9% และล่าสุดเป็น 58.8%
นอกจากนี้พบสายพันธุ์ XBB.1 จำนวน 4 ราย และ BQ.1 จำนวน 7 ราย สำหรับสายพันธุ์ XBC หรือเดลตาครอน ขณะนี้พบในประเทศไทยแล้ว จำนวน 1 ราย ทั้งนี้สายพันธุ์ XBC เป็นสายพันธุ์ลูกผสมของเดลตาและโอมิครอน BA.2 ทั้งนี้ยังไม่พบสัญญาณความรุนแรงของเชื้อที่กลายพันธุ์ แต่อาจจะทำให้มีการแพร่และติดเชื้อง่ายขึ้น โดยในรายของผู้ป่วยที่ตรวจพบสายพันธุ์ XBC เป็นรายแรกของไทยนั้นปัจจุบันหายเป็นปกติดีแล้ว
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ร่วมกับเครือข่าย ยังคงเฝ้าระวังติดตามการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด 19 และเผยแพร่บนฐานข้อมูลสากล GISAID อย่างต่อเนื่อง เพื่อติดตามผลกระทบจากสายพันธุ์ย่อยของสายพันธุ์น่ากังวล ที่อาจมีต่อความรุนแรงของโรค ประสิทธิผลของมาตรการทางสาธารณสุข หรือคุณสมบัติของอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องของเชื้อไวรัส เป็นข้อมูลสนับสนุนการออกแบบการรักษา การให้ยาต้านไวรัส หรือ แอนติบอดีสังเคราะห์ ในช่วงเวลานี้มาตรการส่วนบุคคล เช่น การสวมหน้ากาก ล้างมือ ยังจำเป็น เพื่อลดการระบาดของโรค รวมถึงการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นสามารถลดความรุนแรงได้ โดยเฉพาะกลุ่ม 608
ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0x3veQNSS16y3BBTUHiAr5txFq38sWEaErNxUjfDacLRLeSAE3kPxYPtn9njFbBrMl
ปรับแนวทางการรักษาผู้ป่วย 3 กลุ่มโรค ปอดอุดกั้น-หัวใจ-เบาหวาน เข้าถึงยาต้านง่ายขึ้น เพิ่มภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (LAAB) เป็นตัวเลือกรักษา
น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุข โดย กรมการแพทย์ ปรับปรุงแนวทางรักษาโรคโควิด- 19 ฉบับที่ 26 ซึ่งผ่านการพิจารณาของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านสาธารณสุข (อีโอซี) กรณีโควิด 19 แล้ว โดยฉบับล่าสุดที่มีการปรับเปลี่ยน ดังนี้
1. กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงเป็นโรครุนแรง จากเดิมที่มีรายละเอียดมาก ก็ปรับให้เป็นการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยนอก ปฏิบัติตนตาม DMHT อย่างน้อย 5 วัน ให้การดูแลรักษาตามอาการตามดุลยพินิจแพทย์ หากต้องให้ยาต้านไวรัสก็อาจให้ยาโมลนูพิราเวียร์ หรือยาฟาวิพิราเวียร์ในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี
2. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงแต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือไม่มีปัจจัยเสี่ยง แต่มีปอดอักเสบเล็กน้อยถึงปานกลางที่ยังไม่ต้องให้ออกซิเจน ได้ปรับเกณฑ์ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง เพื่อให้เข้าถึงยาต้านไวรัสได้สะดวกขึ้นใน 3 กลุ่ม คือ 1)โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังรวมโรคปอดเรื้อรังอื่นๆ ในระยะ 2 ขึ้นไป 2)โรคหัวใจและหลอดเลือด Class 2 ขึ้นไป และ 3)โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ ปรับเป็นไม่มีระยะของโรคและเป็นโรคเบาหวานธรรมดา แพทย์สามารถให้ยาตามดุลยพินิจได้ สำหรับการให้ยาต้านไวรัสในกลุ่มนี้ ได้เพิ่มภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (LAAB) เข้ามาด้วย ซึ่งอาจให้ LAAB ตัวเดียวหรือให้ร่วมกับยาต้านไวรัสตัวอื่นก็ได้ตามอาการหรือตามดุลยพินิจของแพทย์
นอกจากนี้ ยังปรับคำแนะนำการให้ยา โดยแพกซ์โลวิดควรเริ่มภายใน 5 วันตั้งแต่เริ่มมีอาการ ให้ยา 5 วัน 10 โดส เรมดิซิเวียร์ ควรเริ่มใน 5 วันตั้งแต่มีอาการ ให้ 3 วัน 3 โดส LAAB ควรเริ่มใน 7 วันตั้งแต่มีอาการให้ 1 โดส และโมลนูพิราเวียร์ควรเริ่มใน 5 วันตั้งแต่มีอาการ จำนวน 5 วัน 10 โดส
ที่มา : รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid022DAs24eame3uJtiqZ1fG2SW4t8DfWWuPfGc2yzpYXoXVmUrMfx67Q6iZom7rp7B7l
หนาวนี้ฉีดวัคซีน เพิ่มภูมิสู้โควิด 19
ขอเชิญชวนประชาชนที่ยังไม่เคยฉีดวัคซีนและกลุ่มเสี่ยง
ฉีดวัคซีนโควิด 19 หรือ ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป LAAB โดยเร็ว
ฉีดวัคซีน เข็มที่ 4 เพื่อความปลอดภัย
ฉีดวัคซีนได้ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน
กลุ่มเสี่ยง
ㆍ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
ㆍหญิงอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป
ㆍผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง
(โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง
โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน)
*LAAB = แอนติบอดีออกฤทธิ์ยาว (Long-acting Antibody)
สำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำและร่างกายไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ด้วยวัคซีน
อายุ 12 ปีขึ้นไปและน้ำหนักตัวมากกว่า 40 กก. ทั้งผู้ที่เคยและไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน
ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0c6JGg6FPHWsJnV4DwHQBiRD7iNotBnu17cqnJ1V6c4syB1oNB8YF9KpQoz1Bs8SYl
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
กรมควบคุมโรค แนะ 4 ข้อ ลดความเสี่ยงจากโควิด 19
ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02dsHMBz4hJduMXS1VKfnLcQbLPvELvjBfEPw8coRpV6J7nf9sWx64ais9eeL1co8Zl
พร้อมเข้าสู่ชีวิตวิถีใหม่ เมื่อโควิด 19 เป็นโรคประจำถิ่น
ที่มา : มหาวิทยาลัยมหิดล
https://web.facebook.com/thaimoph/posts/pfbid027KnWiWWUDqR1SphQQQnMXZyHUyQS5Y4wfU8X65P8ahoFe1MBykkJgRN4aYEP7uNbl
“นพ.ยง” แจงเดลตาครอน (XBC) ทั้งอัตราการแพร่ – ความรุนแรง ไม่น่าห่วง กลายพันธุ์จนคลายพิษ หลังพบผู้ป่วยรายแรกในไทย‼
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หน.ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์อธิบาย โควิด 19 การเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ ไขข้อเท็จจริง “เดลตาครอน” เกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยพันธุกรรม จากสายพันธุ์แอลฟา เบตา เดลตา โอมิครอน เปลี่ยนแปลงบนยีนของหนามแหลม spike จนเป็นลูกหลาน BA.1 BA.2…BA.5.. (เพื่อความอยู่รอดของไวรัส ตัวที่แพร่พันธุ์ได้เร็ว ความรุนแรงน้อย ก็จะอยู่รอด และเกิดสายพันธุ์ใหม่ เรื่อยมา)
ชนิดที่ 2 การเปลี่ยนแปลงแลกชิ้นส่วนต่างสายพันธุ์ (ผสมส่วน ) เรียกว่า “recombination” หัวเป็น สายพันธุ์หนึ่ง หางเป็นสายพันธุ์หนึ่ง (ทําให้เกิดโรคมือเท้าปาก ไวรัสท้องเสีย norovirus เกิดได้มีไวรัส 2 สายพันธุ์ติดเชื้อในผู้ป่วยคนคนเดียวกัน)
“เดลตาครอน” จะเกิดได้ จะต้องมีผู้ป่วยติดเชื้อสายพันธุ์เดลตา ร่วมกับ โอมิครอน แต่ขณะนี้ แทบจะไม่พบสายพันธุ์เดลต้า จะเกิดลูกผสม เดลตาครอนได้อย่างไร “เดลตาครอน” จะเป็นเพียงชิ้นส่วนเล็กๆ ของสายพันธุ์เดลตาที่มีการเปลี่ยนแปลงกรดอะมิโน คล้ายคลึงกับสายพันธุ์เดลตา ในสายพันธุ์โอมิครอน เชื่อว่าไม่ได้เป็นการแลกชิ้นส่วนกัน และตั้งชื่อเป็น XBC และทางองค์การอนามัยโลกก็ไม่ได้มีการกำหนดชื่อใหม่ หรือสายพันธุ์ใหม่ว่าเป็น เดลตาครอน หรือให้ความสำคัญแต่อย่างใด
“เดลตาครอน” ขณะนี้ไม่ได้มีความสำคัญอะไร การรายงานเข้าไปในธนาคารรหัสพันธุกรรม GISAID สายพันธุ์นี้ก็ไม่ได้เป็นสายพันธุ์เด่นอะไรเลย และไม่มีความสำคัญในขณะนี้ ทั้งอัตราการแพร่กระจาย - ความรุนแรงที่พบ สายพันธุ์ที่พบมากทั่วโลกขณะนี้ เป็นสายพันธุ์ย่อย โอมิครอน BA.2.75 และ BQ.1.1 บ้านเราขณะนี้เป็น BA.2.75 และก็คงจะตามมาด้วย BQ.1.1 ในอนาคตอันใกล้”
หลังมีการพบผู้ป่วยสายพันธุ์ XBC เดลตาครอน ในประเทศไทย เมื่อวานนี้ (30 พ.ย.) แต่ได้รับการรักษาจนหายแล้ว
ที่มา : https://www.facebook.com/yong.poovorawan/posts/pfbid02v1sJgq2oALK9fU7GMSx6SZ89QMuJysXfrGnN1TorNtrmziMaCsGEg5uYNQJ9n4Lml
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid0tY2hGki6u3nVWF3r7mYjm2ywrYhy9nY8HabqTmNseLXs2cWgdmyp9NJuJpqM6L3Jl
ผู้ป่วยโควิดสิทธิบัตรทอง-สิทธิพนักงานส่วนท้องถิ่น พบแพทย์ทางไกล ส่งยาฟรีถึงบ้าน ผ่าน 4 แอปพลิเคชัน
สปสช ย้ำ! ผู้ป่วยโควิดสิทธิบัตรทอง และสิทธิพนักงานส่วนท้องถิ่น เมื่อตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด สามารถพบแพทย์ทางไกล (Telemedicine) พร้อมส่งยาฟรีถึงบ้าน ผ่าน 4 แอปพลิเคชันได้โดยเลือกลงทะเบียน เพื่อพบแพทย์ผ่านออนไลน์ ซักถามและจ่ายยาตามอาการ (หากเข้าเกณฑ์ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์หรือยาโมลนูพิราเวียร์ตามดุลยพินิจของแพทย์) พร้อมจัดส่งถึงบ้านฟรี โดยผู้ป่วยเลือกแอปใดแอปหนึ่ง ดังนี้
1. แอปพลิเคชัน Clicknic ลงทะเบียน https://forms.gle/hfo2Wr9jdvybn8d57
รับผู้ป่วยโควิด-19 ทั่วประเทศ ทั้งกลุ่มสีเขียวและกลุ่ม 608 (ผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี, ผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไตวายเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคอ้วน, โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน และหญิงตั้งครรภ์) ไม่รับผู้ป่วยอายุ ต่ำกว่า 15 ปี สอบถามเพิ่มเติม Line ID : @clicknic
2. แอปพลิเคชัน MorDee (หมอดี) ลงทะเบียนคลิก https://form.typeform.com/to/cNKqNz3p
รับเฉพาะผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียว (ไม่รับผู้ป่วยอายุ ต่ำกว่า 15 ปี และกลุ่ม 608) ทั่วประเทศ
สอบถามเพิ่มเติม Line ID : @mordeeapp
3. แอปพลิเคชัน Good Doctor Technology ลงทะเบียน คลิก https://forms.gle/YKVMKy1p8FRDDBje7
รับเฉพาะผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียว (ไม่รับผู้ป่วยอายุ ต่ำกว่า 15 ปี และกลุ่ม 608) ที่อยู่ในพื้นที่ กทม. นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และชลบุรี เท่านั้น สอบถามเพิ่มเติม Line ID: @gdtt
4. แอปพลิเคชั่น Totale telemed (เดอะโททอลเล่คลินิก) ลงทะเบียนผ่าน LINE Official Account ได้ที่ https://lin.ee/a1lHjXZn
รับผู้ป่วยโควิด-19 ทั่วประเทศ ทั้งกลุ่มสีเขียวและกลุ่ม 608 (ผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี, ผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไตวายเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคอ้วน, โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน และหญิงตั้งครรภ์) ไม่จำกัดอายุ
สอบถามเพิ่มเติม Line ID : @totale หรือสายด่วน 0620462944, 0618019577
เมื่อลงทะเบียนแล้ว รอเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับเพื่อยืนยันตัวตนเข้ารับบริการ คัดกรอง ประเมินอาการเบื้องต้น และปรึกษาแพทย์ออนไลน์ ให้คำแนะนำการดูแลตัวเอง หลังจากนั้น จะจัดส่งยาตามความจำเป็นให้กับผู้ป่วย โดยบางรายอาจได้รับยาฟาวิพิราเวียร์หรือยาโมลนูพิราเวียร์ขึ้นอยู่กับอาการและดุลยพินิจของแพทย์
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่จะพูดคุยกับผู้ป่วยอีกครั้ง เมื่อครบ 48 ชั่วโมงแล้ว เพื่อสอบถามอาการ และแนะนำให้ผู้ป่วยดูแลตัวเองให้ครบ 10 วันตามแนวทางกระทรวงสาธารณสุข เมื่อผู้ป่วยดีขึ้นแล้วก็จะออกจากระบบการดูแลได้ หากในระหว่างนี้ผู้ติดเชื้อมีอาการเพิ่มมากขึ้นก็จะส่งข้อมูลต่อให้กับ สปสช.เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรักษาต่อไป
https://web.facebook.com/Rachadaspoke/posts/pfbid02sLgTA5C9nrn76sEsmBp6y4Hgy4yAz5gZEm9kFuXAFyyaQN548R85w6nPTmcxvrEcl
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭🧡มาลาริน🧡🇹🇭หมอ ยง”บอก“เดลตาครอน”สายพันธุ์นี้แทบไม่มีในไทย/กลุ่ม 608 ยิ่งอันตราย"อนุทิน" วิงวอนฉีดวัคซีนให้ครบ
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ" แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา ไขข้อเท็จจริงการเปลี่นแปลงสายพันธุ์ “เดลตาครอน” ระบุการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ ทำให้ระบบภูมิต้านทานเปลี่ยนแปลง
วันนี้ (1 ธ.ค.) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ข้อความในประเด็น ไขข้อเท็จจริง โควิด-19 สายพันธุ์ “เดลตาครอน” โดยได้ระบุข้อความว่า...👇
“โควิด-19 การเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ ไขข้อเท็จจริง เดลตาครอน”
การเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ของไวรัส เกิดขึ้นได้จากการค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปทีละเล็กละน้อย ด้วยการเปลี่ยนพันธุกรรม และทำให้สร้างกรดอะมิโนเปลี่ยนแปลงไป อย่างที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์จากอัลฟา เบตา เดลตา โอมิครอน เปลี่ยนแปลงบนยีนของหนามแหลม spike ทำให้ระบบภูมิต้านทานเปลี่ยนแปลง โอมิครอนยังเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยไปเป็นลูกหลาน BA.1 BA.2…BA.5.. เปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อย ก็ยังเป็นโอมิครอนอยู่ สายพันธุ์โอมิครอน อยู่นานมากอยู่มา 1 ปีแล้ว การแยกสายพันธุ์ ดังแสดงในรูป ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดมาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มของสายพันธุ์อู่ฮั่นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเพื่อความอยู่รอดของไวรัส ที่ผ่านมาตัอยู่วที่แพร่พันธุ์ได้เร็ว ความรุนแรงน้อย ก็จะรอด และเกิดสายพันธุ์ใหม่ เรื่อยมา อัตราการเสียชีวิตก็ลดลงมาโดยตลอด
การเปลี่ยนแปลงชนิดที่ 2 เป็นการแลกชิ้นส่วนต่างสายพันธุ์ หรือผสมส่วน ที่เรียกว่า recombination เราพบได้เห็นในไวรัสหลายชนิดเช่น ไวรัสที่ทําให้เกิดโรคมือเท้าปาก ไวรัสท้องเสีย norovirus เกิดได้จากการที่มีไวรัส 2 สายพันธุ์ติดเชื้อในผู้ป่วยคนคนเดียวกัน แล้วไปแลกชิ้นส่วนกัน เกิดเป็นลูกผสม หัวเป็น สายพันธุ์หนึ่ง หางเป็นสายพันธุ์หนึ่ง
ดังนั้น เดลตาครอน จะเกิดได้ จะต้องมีผู้ป่วยติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้า ร่วมกับ โอมิครอน จึงจะเกิดลูกผสม เดลตาครอน แต่ขณะนี้ แทบจะไม่พบสายพันธุ์เดลต้า จะเกิดลูกผสม เดลตาครอนได้อย่างไร เมื่อไม่มีพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ คิดแบบง่ายๆ
มีการพูดถึงเดลตาครอน จะเป็นเพียงชิ้นส่วนเล็กๆ ของสายพันธุ์เดลตาที่มีการเปลี่ยนแปลงกรดอะมิโนคล้ายคลึงกับสายพันธุ์เดลตา ในสายพันธุ์โอมิครอน เชื่อว่าไม่ได้เป็นการแลกชิ้นส่วนกัน และตั้งชื่อเป็น XBC และทางองค์การอนามัยโลกก็ไม่ไ่ด้มีการกำหนดชื่อใหม่หรือสายพันธุ์ใหม่ว่าเป็น เดลตาครอน หรือให้ความสำคัญแต่อย่างใด ตอนนี้ก็ยังมีแต่อัลฟา เดลตา โอมิครอน และมีสายพันธุ์ย่อยที่เราคุ้นหูกัน
ใครจะเรียก เดลตาครอน ขณะนี้ก็ไม่ได้มีความสำคัญอะไร การรายงานเข้าไปในธนาคารรหัสพันธุกรรม GISAID สายพันธุ์นี้ก็ไม่ได้เป็นสายพันธุ์เด่นอะไรเลย และไม่มีความสำคัญในขณะนี้ไม่ว่าในอัตราการแพร่กระจายที่พบ หรือความรุนแรงที่พบ
สายพันธุ์ที่พบมากทั่วโลกขณะนี้เป็นสายพันธุ์ย่อย โอมิครอน BA.2.75 และ BQ.1.1 บ้านเราขณะนี้เป็น BA.2.75 และก็คงจะตามมาด้วย BQ.1.1 ในอนาคตอันใกล้ ดังแสดงในรูปของ GISAID
https://mgronline.com/onlinesection/detail/9650000114515
กลุ่ม 608 ยิ่งอันตราย "อนุทิน" กราบวิงวอนฉีดวัคซีนให้ครบ 4 เข็ม
เมื่อวันที่ 1 ธ.ค.65 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูง สธ. ว่า ในที่ประชุมได้มีการยืนยันเรื่องของคนไทยทุกคนควรรับวัคซีนโควิด 19 ให้ครบ 4 เข็ม ตามมติจากที่ประชุมอีโอซี สธ. เพื่อประกอบอาชีพดำรงชีวิตได้ตามปกติ ยืนยันว่าใครรับ 4 เข็มแล้วมีความปลอดภัย แม้ติดเชื้อก็ไม่มีอาการรุนแรงหรือเสียชีวิต แต่หากประสงค์รับมากกว่า 4 เข็ม ก็สามารถทำได้ ขอให้แจ้งความจำเป็น เช่น เดินทางในประเทศที่สุ่มเสี่ยง มีการดำรงชีวิตที่จะต้องพบปะผู้คนจำนวนมากตลอดเวลา ให้บริการสาธารณะ ขนส่งต่างๆ ต้องดูแลลูกค้า บุคคลเหล่านี้มีสิทธิขอรับวัคซีนเพิ่มเติมมากกว่า 4 เข็มได้
“สำหรับการมารับวัคซีนขณะนี้เป็นลักษณะวอล์กอิน ไม่ต้องลงทะเบียนเข้าคิวเหมือนเมื่อก่อน เพราะเป็นบูสเตอร์โดส แต่ใครที่ยังไม่ฉีดเลยก็ขอให้มาฉีด เพราะยืนยันทั้งโลกแล้วคือ โควิดจะคุกคามกับผู้ไม่ได้รับวัคซีนได้มากที่สุด และคนที่ไม่ได้รับวัคซีนยิ่งมีปัจจัยกลุ่มเสี่ยง 608 ประกอบก็จะยิ่งเป็นอันตราย สุ่มเสี่ยงต่อการป่วยหนักและเสียชีวิต แต่หากรับวัคซีนแล้ว โดยเฉพาะบูสเตอร์โดส จะไม่มีอันตรายเกิดขึ้น ใช้ชีวิตปกติได้ เป็นข้อพิสูจน์ยืนยัน ส่วนวัคซีนมีเพียงพอ สถานพยาบาลมีความพร้อมดูแล เพราะไม่แออัดเหมือนช่วงฉีด 2 เข็มแรก สามารถแวะก่อนกลับบ้าน หรือวันหยุด พักเที่ยงหรือลางานไปรับเข็มกระตุ้นได้”
เมื่อถามว่า ได้มอบหมายอะไรเกี่ยวกับโควิดเป็นพิเศษในปี 2566 หรือไม่ปี นายอนุทินกล่าวว่า ก็เน้นให้มีความพร้อมบริการวัคซีนแก่ประชาชน สามารถมารับที่ รพ.ได้ทุกระดับ ถ้าเป็นไปได้ขอให้ ผอ.รพ.ประสาน นพ.สสจ.จัดหน่วยบริการเคลื่อนที่ให้การดูแลประชาชน วันนี้วัคซีนเราฉีด 143-144 ล้านเข็ม ไม่มีหลักฐานปรากฏว่าวัคซีนจะอันตรายใดๆ ไม่มีหลักฐานว่าแพ้อย่างมีนัยสำคัญ การนำออกไปฉีดประชาชน ไปตั้งเป็นเต็นท์เป็นบูธ เราต้องให้ความสะดวกประชาชนอย่างเต็มที่ ดูแลให้บริการในที่ที่ฉีดได้ ไม่จำเป็นต้องมาใน รพ.อย่างเดียวเท่านั้น พยายามสร้างความสะดวกประชาชนอย่างเต็มที่
"ขอให้ประชาชนมารับเข็มกระตุ้นจะเป็นประโยชน์มหาศาลมาก ตอนนี้เป็นเดือนสุดท้ายแล้วที่มีคนมาท่องเที่ยวจำนวนมาก ผู้ประกอบการรับลูกค้าเพิ่มขึ้น มีกิจกรรมต่างๆ มีการเดินทาง นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศก็เข้ามาด้วย เช่น อาจไปดูฟุตบอลโลกที่กาตาร์เสร็จอาจเข้ามาเที่ยว มาเช็กอัป หรือประกอบธุรกิจที่ไทยต่อ ก็มีความเสี่ยงนำเชื้อมาติด ถ้าเราฉีดวัคซีนแล้วก็ให้บริการดูแลได้ สามารถสร้างรายได้เป็นปกติ คือ เหตุผลที่เราต้องขอกราบทุกคน วิงวอนให้มารับวัคซีนอย่างเต็มที่ อย่างรัฐมนตรีช่วย สธ.รับ 4 เข็ม พอมีอาการติดเชื้อก็ไม่มีอะไรที่รุนแรง วันนี้ท่านก็กลับบ้านแล้ว" นายอนุทินกล่าว
https://siamrath.co.th/n/404058
ติดตามข่าวโควิดกันต่อค่ะ....