เมื่อคอร์ดไม่ใช้คำตอบ จากทางคอร์ดแปลกๆ ล้ำๆ วนกลับกลับมาสู่ทรัยแอด

จากการที่ผมศึกษาทฤษฎีดนตรีมาพอแบบผ่านหูผ่านตา แบบผ่านๆ  เป็นงานอดิเรก  สิ่งที่ผมมันจับต้องและตั้งข้อสงสัยอยู่กับมันบ่อยที่สุดคือทางคอร์ด
- อันดับแรกผมได้รู้จากว่าในไดอโทนิคสเกล มีคอร์ดพื้นฐานอยู่ 7 ทรัยแอด  ผมลองเล่นมันทุกคอร์ด เรียงสลับกันไปมาเพื่อหาความเป็นไปได้ ปรากฎว่ามันไม่ resolve กันทุกคอร์ด 
-รู้จัก 7th chords มีคนบอกบอกว่าโน๊ตตัวที่ 7 เป็นการเน้นย้ำความเป็นคาแรคเตอร์ของมัน บางคนก็บอกว่ามันเป็น tension chord บางคนบอกไม่ใช่  ผมมาค้นพบด้วยตัวเองทีหลังว่ามันมีความเป็น tension ในบางแนวเพลง และบางเพลงตัดหรือใส่ตัวที่ 7 ก็ยังให้ความรู้สึกเดิม บางเพลงใส่เข้ามาก็เกิดเสียงกัดขึ้น  ทำให้ผมค้นพบ โน๊ต 7th ว่าเอามาใช้เป็นเมโลดี้หรือแนวประสานในจังหวะหนักกับทรัยแอดเพื่อทำหน้าที่เป็น tension ได้อีกด้วย
-ได้รู้จักกับ chord progression formula ที่แบ่งคอร์ดออกเป็น 3 functions ลองใช้แล้วมีข้อจำกัด และทำลายความหลากหลายของการสร้างทางคอร์ด เพราะมันเคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างเดียว 
-ได้รู้จักกับ secondary dominant เอามาใช้แล้วเพลงมีแรงขับเคลื่อนขึ้นมาก  สามารถเอามาแทรกเข้าไปในทางคอร์ดปกติได้  เป็นที่นิยมและมีให้เห็นในเพลงตลาดบ่อยๆ
-ได้รู้จักกับคอร์ดยืมในฟังก์ชั่นอื่นๆนอกจาก secondary dominant ลองใช้แล้วใช้ยากมาก   หยิบเพลงอื่นมาวิเคราะห์ดู ไม่ค่อยเข้าใจ  
-ได้รู้จักกับคอร์ดยืมในใหมดชั่นต่างๆ ใช้แล้วให้ความเพี้ยนน้อยกว่าคอร์ดรอง  (secondary function) เพราะโน๊ตนอกสเกลมันน้อยกว่า แค่เลื่อนไปนิดหน่อย   ใช้แล้วมีรู้สึกหลุด tonality ของ key ไปบ้าง  ใช้มากๆ ใช้ไม่ดี เกิดการ modulate ของ key หรือเพี้ยนไปเลย
-กลับไปทบทวนขั้นคู่ที่เป็นต้นกำเนิดและส่วนประกอบของคอร์ด คู่ p ให้เสียงกลมกลืน คู่ 3 ให้คุณสมบัติของคอร์ด คู่ 2 สร้างแรงเครื่องไหวของคอร์ด บลาๆ 
-ลองใช้ tension chords เพลงฟังยากขึ้น แต่มีอิสระในการเคลื่อนไหวทำนอง มีมิติขึ้น ซาวด์มีความ jazzy เขียนทำนองร้องยากมาก  (ความจริงมีปัญหาการเขียนคำร้อง ผมไม่ได้ตั้งโจทย์ด้วยซ้ำว่าจะเล่าอะไร เพลงต้องมีความรู้สึกยังไง) ทำออกมาได้แค่เพลงบรรเลง
-คอร์ดโทนและโน๊ตผ่าน
-ศึกษาโน๊ตผ่านในแบบต่างๆ 
-ย้อนกลับไปที่ Primary/secondary triad เพลงทั่วไปก็จะมี Primary triad อยู่เยอะมาก เพราะให้ความรู้สึกมั่นคง
-เอาทางคอร์ดแบบต่างๆมาใส่ทำนองเข้าไป ผมเบื่อง่าย  รู้สึกอิ่มตัวกับเมโลดี้พวกนี้แล้ว เบื่อแนว asc กับ desc ก็มาลองเล่นข้ามขั้นคู่ 3 คู่ 5 คู่แปลกๆ ใช้ petatonic, blue scale, หลังๆ ว่าจะลองแนวอาราบิก ยังไม่ได้ลอง. หลังๆ ก็พบความว่าจริงเมโลดี้มันดิ้นมากกว่านี้ไม่ค่อยได้แล้ว เพราะผมใส่ ตัวขาว ตัวดำตัว เขบ็ต1 ตัวเขบ็ต2 เรียงกันเป็นพืดแบบนี้ ทำนองมันเลยออกมาซำซาก ยังไงก็มันจะหลุดสำเนียงเพลงอื่นเข้ามาแน่ๆ  ยิ่งพวกเพลงที่ผมเคยฟังแล้วมันติดอยู่ในหัวเนี่ย ผมก็มาสังเกตุว่าผมใช้ริทึ่มมีจังหวะเรียบเกินไป ก็ใส่ให้เสียงค้างบ้าง สลับความยาวสั่นของโน็ตบ้าง  ลงโน๊ตในจังหวะตกบ้าง ก็พอมีสีสันขึ้นมาหน่อย 
-หลังๆ มาสังเกตุว่าผมพยายามใช้โน๊ตที่มีการเคลื่อนไหวเยอะเกินไป  ทำให้เพลงไม่มีความหนักแน่น ไม่มีท่อนพัก ท่อนที่ธรรมดา มาสร้างอารมณ์ร่วม เหมือนกับหนังที่บู้ฟันหันแหลก ไม่ได้เล่าเรื่องปูความ สอดแทรกหรือ บิ้วอารมณ์อะไรทั้งนั้น การใช้ stable tone ไม่ก็คอร์ดโทนบ่อยๆ ซ้ำ หรือติดกัน ให้มันดูเคลื่อนไหวเป็นเส้นตรง หรือขนานบ้าง ส่วนให้เพลงชวนน่าฟังน่าติดตามมากขึ้น  บางที่มันไม่จำเป็นต้องขึ้นมาแล้วว้าวเลย แต่แค่พอสะกิดๆ แล้วค่อยมาสร้างบิ้วความเข้มข้น ทำให้เพลงไม่ดูเป็นเส้นตรงหรือเคลื่อนไหวมากเกินไป
-ค้นพบว่าทางคอร์ดเท่ๆ คอร์ดแปลกๆใช้ไปเท่าไหร่ ใช้มากแค่ไหนก็ทรงพลังเท่าทรัยแอดอีกแล้ว ความจริงเราควรใช้ทรับแอดให้คล่องก่อนด้วยซ้ำ ทางคอร์ดดีไม่ดี ถ้ารึทึม กับทำนองไม่สามารถสื่ออะไรออกมาเลย คอร์ดก็เสมือนเป็นแค่ฉากที่ไม่มีองค์ประกอบของภาพที่ดี พวกคอร์ดนอกจากทรัยแอดเอามาประดับก็พอ ใส่เยอะไปก็รก  อันนี้เป็นความรู้สึกของผมในตอนนี้ ความจริงมันขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ประพันธ์ และแนวเพลง
-ใส่คอร์ดให้สมมาตรเกินไปก็ไม่ดี  จะเอาแค่คอร์ดละห้องเสมอไปก็น่าเบื่อ ยืดเป็นสองห้องบ้าง แทรกในห้องบ้าง ไม่งั้นเพลงคงเหมือนกันทั้งโลก
-บางทีมันก็จริงอย่างบางคนบอก  มืออาชีพเขาเริ่มจากทำนองก่อนทำเสียงประสานก่อน มันสื่ออารมร์ที่คนแต่งออกมาได้ดีและตรงตัว เรื่องอะไรต้องให้คอร์ดมาบีบกรอบโน๊ตของเรา อันนี้แล้วแต่สิ่งที่เราต้องการ เปรียบเทียบเหมือนเราอยากหาฉากให้เข้ากับสิ่งของที่อยากแสดง หรืออยากแสดงฉากสถานที่เราชอบแล้วหาสิ่งตกแต่งเข้าไป บางทีสองอย่างมันก็ต้องเลือกควบคู่กันไป
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่