ดูเหมือนจะไม่มีอะไร
แต่สาระมหาศาล
เรื่องที่รัฐบาล โดยกระทรวงศึกษาธิการ จะพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ ให้มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น ใช้นโยบาย ๘+๑ การกำหนดโครงสร้างเวลาเรียน ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ และให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดรายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ แยกออกมา ๑ รายวิชาอย่างชัดเจน นั่นกลายเป็นข้อถกเถียงถึงเจตนาว่าเพื่ออะไรกันแน่ กระทรวงศึกษาธิการ ระบุถึงเป้าหมายว่า เพื่อบ่มเพาะให้นักเรียนภาคภูมิใจรักความเป็นไทย หวงแหนในสิ่งที่บรรพชนให้ไว้เป็นมรดกทางปัญญา รักษา สืบสาน ต่อยอดและนำมาปรับประยุกต์ในปัจจุบัน
มาดูในรายละเอียด
กระทรวงศึกษาธิการกำหนดจัดเวลาเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์
ระดับประถมศึกษา ๔๐ ชั่วโมงต่อปี
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ๔๐ ชั่วโมงต่อปี
และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รวม ๓ ปี ๘๐ ชั่วโมง
สถานศึกษาสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์ โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
เช่น การใช้พิพิธภัณฑ์เป็นสื่อ การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและต่อยอดประวัติศาสตร์สู่งานอาชีพ การบูรณาการประวัติศาสตร์กับรายวิชาอื่น และการศึกษานอกสถานที่และแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เป็นต้น
อ่านรายละเอียดเพิ่ม ที่มา
https://www.thaipost.net/columnist-people/272686/
กระทรวงศึกษาธิการ จะพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนประวัติศาสตร์
แต่สาระมหาศาล
เรื่องที่รัฐบาล โดยกระทรวงศึกษาธิการ จะพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ ให้มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น ใช้นโยบาย ๘+๑ การกำหนดโครงสร้างเวลาเรียน ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ และให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดรายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ แยกออกมา ๑ รายวิชาอย่างชัดเจน นั่นกลายเป็นข้อถกเถียงถึงเจตนาว่าเพื่ออะไรกันแน่ กระทรวงศึกษาธิการ ระบุถึงเป้าหมายว่า เพื่อบ่มเพาะให้นักเรียนภาคภูมิใจรักความเป็นไทย หวงแหนในสิ่งที่บรรพชนให้ไว้เป็นมรดกทางปัญญา รักษา สืบสาน ต่อยอดและนำมาปรับประยุกต์ในปัจจุบัน
มาดูในรายละเอียด
กระทรวงศึกษาธิการกำหนดจัดเวลาเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์
ระดับประถมศึกษา ๔๐ ชั่วโมงต่อปี
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ๔๐ ชั่วโมงต่อปี
และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รวม ๓ ปี ๘๐ ชั่วโมง
สถานศึกษาสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์ โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
เช่น การใช้พิพิธภัณฑ์เป็นสื่อ การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและต่อยอดประวัติศาสตร์สู่งานอาชีพ การบูรณาการประวัติศาสตร์กับรายวิชาอื่น และการศึกษานอกสถานที่และแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เป็นต้น
อ่านรายละเอียดเพิ่ม ที่มา https://www.thaipost.net/columnist-people/272686/