คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 60
ขออนุญาตแสดงความเห็นตามสมควร..
๑. ถาม : พระภิกษุรับเงินและทอง..อาบัติหรือไม่?
ตอบ...ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๒. ถาม : อาบัติปาจิตตีย์..เป็นอาบัติเล็กน้อยหรือไม่?
พระสามารถทำอาบัติปาจิตตีย์ซ้ำแล้วซ้ำเล่าได้ใช่หรือไม่?
ตอบ : ปาราชิก และสังฆาทิเสส.. เป็นครุกาบัติ
ส่วน ปาจิตตีย์.. เป็นลหุกาบัติ..คือหนักรองลงมา
ทุกกฏ..เป็นอาบัติที่เบาที่สุด
พระที่ต้องอาบัติ แม้เพียงทุกกฏ ซึ่งเบาที่สุด ทรงอนุญาตให้ออกจากอาบัติได้โดยการแสดงอาบัติ
การแสดงอาบัติ..เสมือนหนึ่งคือการประจานความผิดของตนเองต่อภิกษุรูปอื่น
ให้ตนเองเกิดความสำนึกผิด และตั้งจิตว่าจะไม่กระทำความผิดซ้ำอีก
การต้องอาบัติแม้แต่อาบัติเล็กน้อย บ่อยๆ อาจทำให้จิตเกิดความคุ้นชิน และสามารถนำจิตให้
ต้องอาบัติที่ร้ายแรงกว่าเดิมได้ง่ายขึ้น. จึงไม่ให้ประมาทแม้ในอาบัติเล็กน้อย
๓. ถาม : พระควรรับเงินทองหรือไม่?
ตอบ : ตามพระธรรมวินัย..ไม่ควรรับ
แต่ทรงอนุญาตให้คฤหัสถ์นำไปมอบแก่ไวยาวัจกรของวัดได้
เมื่อภิกษุต้องการปัจจัยสี่หรือของสิ่งใด ก็ให้แจ้งต่อไวยาวัจกรเพื่อจัดการให้
๔. ถาม : ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าใช้จ่ายอื่นๆของวัด ควรทำเช่นใด?
ตอบ : แบบเข้ม ..คฤหัสถ์นำไปมอบให้ไวยาวัจกรโดยตรง
แบบกลาง ..วัดตั้งตู้รับบริจาคค่าน้ำ ค่าไฟ ระบุให้ชัดเจน..ไวยาวัจกรเป็นคนเปิดตู้
แบบอ่อน..ตามสะดวกทั้งพระทั้งโยม ใครอยากทำอะไรก็ทำไป
๕. พระที่ประพฤติไม่สมควร.. โยมจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้
ทั้งพระทั้งโยมต้องรับผิดขอบร่วมกัน
เราต้องยอมรับว่า.. พระที่หนีคดีมาบวชก็มีอยู่ พระที่หวังลาภสักการะ ย่อหย่อนในพระวินัยก็มีอยู่
พระอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อกิเลสน้อยกว่าโยม แต้โยมบางคนประเคนกิเลสให้พระถึงวัด วันแล้ววันเล่า
พอเราเห็นพระประพฤติตัวไม่ดี เราก็ด่าพระ..
นั่นก็เหมือนกับเราด่าตัวเองเหมือนกันที่ทีส่วนทำให้พระเสียพระ
แม้จะเป็นพระที่ตั้งใจบวช ตั้งใจประพฤติชอบ..ก็เสียพระได้ทั้งนั้น
ดังนั้น..ถ้าเราอยากได้พระที่ประพฤติดี ประพฤติชอบ เราก็ต้องพิจารณาในสิ่งที่เราจะกระทำต่อท่าน
ให้สมควร และเอื้อต่อการปฏิบัติของท่านด้วย..จึงจะเรียกว่าเป็นอุบาสก อุบาสิกาในพระพุทธศาสนา
อย่างแท้จริง
ถ้าเราเอาแต่สะดวกเราเป็นใหญ่..เราก็เป็นอัตตาธิปไตย คือคนๆหนึ่งที่ยังเอาแต่ใจตัวเอง
ซึ่งยังไม่ได้เอาพระพุทธศาสนาเป็นใหญ่ อันเป็นสิ่งที่อุบาสก อุบาสิกาดีพึงกระทำ
การสนับสนุน ส่งเสริมให้พระได้มีสภาพแวดล้อมที่สอดคล้อง และสามารถปฏิบัติตามพระธรรมวินัย
ได้อย่างเต็มที่ เป็นสิ่งที่ควรสรรเสริญ แม้ว่าจะเป็นใครก็ตาม แต่ต้องกระทำด้วยจิตเจตนาที่บริสุทธิ์..
เพื่อพิจารณา
๑. ถาม : พระภิกษุรับเงินและทอง..อาบัติหรือไม่?
ตอบ...ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๒. ถาม : อาบัติปาจิตตีย์..เป็นอาบัติเล็กน้อยหรือไม่?
พระสามารถทำอาบัติปาจิตตีย์ซ้ำแล้วซ้ำเล่าได้ใช่หรือไม่?
ตอบ : ปาราชิก และสังฆาทิเสส.. เป็นครุกาบัติ
ส่วน ปาจิตตีย์.. เป็นลหุกาบัติ..คือหนักรองลงมา
ทุกกฏ..เป็นอาบัติที่เบาที่สุด
พระที่ต้องอาบัติ แม้เพียงทุกกฏ ซึ่งเบาที่สุด ทรงอนุญาตให้ออกจากอาบัติได้โดยการแสดงอาบัติ
การแสดงอาบัติ..เสมือนหนึ่งคือการประจานความผิดของตนเองต่อภิกษุรูปอื่น
ให้ตนเองเกิดความสำนึกผิด และตั้งจิตว่าจะไม่กระทำความผิดซ้ำอีก
การต้องอาบัติแม้แต่อาบัติเล็กน้อย บ่อยๆ อาจทำให้จิตเกิดความคุ้นชิน และสามารถนำจิตให้
ต้องอาบัติที่ร้ายแรงกว่าเดิมได้ง่ายขึ้น. จึงไม่ให้ประมาทแม้ในอาบัติเล็กน้อย
๓. ถาม : พระควรรับเงินทองหรือไม่?
ตอบ : ตามพระธรรมวินัย..ไม่ควรรับ
แต่ทรงอนุญาตให้คฤหัสถ์นำไปมอบแก่ไวยาวัจกรของวัดได้
เมื่อภิกษุต้องการปัจจัยสี่หรือของสิ่งใด ก็ให้แจ้งต่อไวยาวัจกรเพื่อจัดการให้
๔. ถาม : ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าใช้จ่ายอื่นๆของวัด ควรทำเช่นใด?
ตอบ : แบบเข้ม ..คฤหัสถ์นำไปมอบให้ไวยาวัจกรโดยตรง
แบบกลาง ..วัดตั้งตู้รับบริจาคค่าน้ำ ค่าไฟ ระบุให้ชัดเจน..ไวยาวัจกรเป็นคนเปิดตู้
แบบอ่อน..ตามสะดวกทั้งพระทั้งโยม ใครอยากทำอะไรก็ทำไป
๕. พระที่ประพฤติไม่สมควร.. โยมจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้
ทั้งพระทั้งโยมต้องรับผิดขอบร่วมกัน
เราต้องยอมรับว่า.. พระที่หนีคดีมาบวชก็มีอยู่ พระที่หวังลาภสักการะ ย่อหย่อนในพระวินัยก็มีอยู่
พระอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อกิเลสน้อยกว่าโยม แต้โยมบางคนประเคนกิเลสให้พระถึงวัด วันแล้ววันเล่า
พอเราเห็นพระประพฤติตัวไม่ดี เราก็ด่าพระ..
นั่นก็เหมือนกับเราด่าตัวเองเหมือนกันที่ทีส่วนทำให้พระเสียพระ
แม้จะเป็นพระที่ตั้งใจบวช ตั้งใจประพฤติชอบ..ก็เสียพระได้ทั้งนั้น
ดังนั้น..ถ้าเราอยากได้พระที่ประพฤติดี ประพฤติชอบ เราก็ต้องพิจารณาในสิ่งที่เราจะกระทำต่อท่าน
ให้สมควร และเอื้อต่อการปฏิบัติของท่านด้วย..จึงจะเรียกว่าเป็นอุบาสก อุบาสิกาในพระพุทธศาสนา
อย่างแท้จริง
ถ้าเราเอาแต่สะดวกเราเป็นใหญ่..เราก็เป็นอัตตาธิปไตย คือคนๆหนึ่งที่ยังเอาแต่ใจตัวเอง
ซึ่งยังไม่ได้เอาพระพุทธศาสนาเป็นใหญ่ อันเป็นสิ่งที่อุบาสก อุบาสิกาดีพึงกระทำ
การสนับสนุน ส่งเสริมให้พระได้มีสภาพแวดล้อมที่สอดคล้อง และสามารถปฏิบัติตามพระธรรมวินัย
ได้อย่างเต็มที่ เป็นสิ่งที่ควรสรรเสริญ แม้ว่าจะเป็นใครก็ตาม แต่ต้องกระทำด้วยจิตเจตนาที่บริสุทธิ์..
เพื่อพิจารณา
แสดงความคิดเห็น
ทำไมเราไม่ถวายเงินพระ