ระบบอาวุโสในเมืองไทย วัฒนธรรม การไหว้ และการพัฒนาประเทศ

ผมสงสัยมานานแล้วว่าบางองค์กรในประเทศไทยเช่น สายทหาร ตำรวจจะให้ความเคารพกับผู้บังคับบัญชาหรือผู้ที่ยศสูงกว่าโดยไม่ได้คำนึงถึงเรื่องอายุ
เช่น สิบเอกอายุ 55 ต้องให้ความเคารพต่อร้อยเอกอายุ 35 และจะขัดคำสั่งไม่ได้ และผู้ที่ยศสูงกว่าก็จะไม่ยกมือไหว้ผู้ยศต่ำกว่า ต่อมารู้มาว่าในสายผู้พิพากษาก็ใช้ระบบอาวุโสตามลำดับการบรรจุราชการมาก่อนเช่นกัน เช่น ผู้ช่วยผู้พิพากษาที่เพิ่งสอบได้อายุ  50 จะต้องให้ความเคารพกับผู้พิพากษาศาลชั้นต้นอายุ 35 ที่เข้ามาก่อน โดยผู้น้อยไม่ต้องยกมือไหว้แต่อย่างใด

     หลังๆมาตอนนี้อายุก็เข้าเลข 4 และเข้ามาเป็นผู้บริหารที่ต้องปกครองคนอายุมากกว่าแทบทั้งสิน ส่วนมาก 50 ขึ้นในองค์กรหนึ่งพบว่าเป็นปัญหาในการบริหารอย่างหนึ่งเพราะหลายๆคนในองค์กรจะยกมือไหว้คนแก่กว่าแม้เป้นคนที่ไม่มี ยศ ไม่มีความสามารถ ไม่มีอะไรที่เป็นจุดเด่นแต่อย่างใด และส่วนตัวก็ไม่ได้คาดหวังจะให้คนที่แก่กว่ามายกมือไหว้แต่อย่างใดเพียงแต่รู้สึกขัดๆและส่วนตัวก็เป็นคนมือไม้อ่อนอยู่แล้วจากการเลี้ยงดูในวัยเด็ก

ส่วนตัวเลยคิดว่าองค์กรที่ใช้ระบบ ยศหรืออาวุโสตามการเข้าทำงานเป็นระบบที่ดีเป็นอย่างยิ่ง และคิดว่าเป็นปัญหากับการพัฒนาประเทศไทยเป็นอย่างมาก
หากจะเปรียบเทียบกับประเทศที่เปิดมากกว่าเข่น USA ที่ทุกคนพูดตาม คุยตรงๆได้ไม่มีเรื่องอายุมาเกี่ยวข้องมากมาย หรือ ญี่ปุ่นที่แม้คนอายุ 60 ก็โค้งให้คนอายุ 20หรือเรียกเด็กอนุบาลว่า ซัง (คุณ) โดยไม่ได้ถือว่าตัวเองแก่กว่ามาก

บางที เราก็จะสังเกตเห็นความแปลกกว่านั้น เช่นไป รพ. เรายกมือไหว้หมอเด็กๆแต่ไม่ยกมือไหว้พยาบาลแก่ๆ หรือผู้บริหารเอกชนแก่ๆ 70 กว่าสามารถยกมือไหว้นายกรัฐมนตรีที่อายุ 50ได้ไม่เคอะเขิน ทำให้ตั้งข้อสังเกตว่า เมืองไทยคือสังคมแห่งยศฐา บรรดาศักดิ์ มากกว่าการยอมรับนับถือด้วยความสามารถ (Respect)

หรือท่านคิดว่าอย่างไร
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่