เราอยากจะขอความเห็นจากเพื่อน ๆ ในพันทิป และอยากให้สังคมช่วยตัดสินในกรณีนี้หน่อยค่ะ เนื้อหาอาจจะยาวสักหน่อยนะคะ แต่เราเขียนทุกอย่างจากข้อมูลและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงทั้งหมด ถ้าไม่หมดหนทางจริง ๆ เราจะไม่มาโพสต์เล่าให้ใครรับรู้เลย
เราทำบริษัทสตาร์ทอัพการศึกษา และได้ทำสื่อการศึกษาตัวนึงขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาในเรื่องการคิด การเขียน และการเล่าเรื่องของนักเรียน ซึ่งลูกค้าของเราคือนักเรียน ผู้ปกครอง และโรงเรียนเท่านั้น โดยบริษัทเราได้มีการจำหน่ายสมุดบันทึกดิจิทัลพร้อมกับคู่มือหลักสูตรหัวข้อเขียนบันทึกฯ (e-book) รวมกันในราคาเดียว ซึ่งไม่ได้จำหน่ายแยกจากกันแต่อย่างใด โดยหากพิจารณาจากหลักความเป็นจริง และเป้าประสงค์ของทางบริษัทแล้ว สื่อการศึกษาที่ทางเราได้คิดค้นและจำหน่ายนั้น ถือเป็นเครื่องมือช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานสำคัญของนักเรียนในเรื่องการคิด เขียน อ่านโดยตรง และยังเป็นสิ่งที่ช่วยแก้ไขปัญหาระดับชาติที่กำลังอยู่ในขั้นวิกฤติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ภาครัฐควรจะสนับสนุน และส่งเสริมให้นักเรียนในประเทศได้มีโอกาสเข้าถึงสื่อการศึกษาดังกล่าวให้ได้มากที่สุด โดยมีค่าใช้จ่ายที่น้อยที่สุด
แต่ทางกรมสรรพากรได้ตอบข้อหารือกลับมายังบริษัทเราล่าสุด (หนังสือลงวันที่ 6 พ.ค. 2565) โดยมีความเห็นว่า "โปรแกรมสมุดบันทึกดิจิทัลมีลักษณะเป็นการให้บริการระบบงานเพื่อให้บริการเขียนบันทึกในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญ อันมิใช่การให้บริการตำราเรียนที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพียงอย่างเดียว" ทั้งที่เราได้มีการเน้นย้ำอย่างชัดเจนมาโดยตลอดทั้งคำพูด ทั้งในสื่อ และเอกสารต่าง ๆ ว่า "นักเรียนจำเป็นจะต้องใช้ทั้ง 2 สิ่งนี้ควบคู่กันจึงจะเกิดผลสัมฤทธิ์กับตัวนักเรียนตามกรณีศึกษาและงานวิจัย" ซึ่งกระบวนการที่เราคิดค้นขึ้นมามันเป็นแบบนี้จริง ๆ ไม่ได้มีการพลิกลิ้น หรือเลี่ยงบาลีใด ๆ สามารถตรวจสอบและหาข้อมูลได้ทุกช่องทาง เพราะถ้าหากเด็กนักเรียนจะใช้แค่ตัวแพลตฟอร์มอย่างเดียวทางเราได้เปิดให้เด็กใช้โดยไม่ได้คิดค่าใช้จ่ายอยู่แล้ว
แต่จากการที่ได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรอยู่หลายครั้งทำให้เราสามารถจับประเด็นได้ว่า เพียงเพราะสื่อการศึกษาที่เราทำมันมีการใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต และได้มีการอัปเดตอยู่ตลอด ทั้งแบบฝึกหัดภาษาไทย บทความสอนหลักการเขียน และเกมต่าง ๆ เพื่อให้เด็กได้พัฒนาทักษะ รวมถึงมีระบบการตรวจ การให้รางวัล การดูสถิติ และสามารวัดผลในด้านต่าง ๆ ได้ ซึ่งดันไปทำได้มากกว่า e-book ที่เอาไว้อ่านอย่างเดียว หรือแผ่นซีดีที่โปรแกรมไม่มีการอัปเดตอะไรแค่ขายคู่หนังสือแล้วก็จบ เลยถูกมองว่าไม่เข้าข่ายสื่อการศึกษา หรือตำราเรียน จึงไม่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งที่ควรเป็นเรื่องน่ายินดีที่สื่อการศึกษาที่ทางเราได้คิดค้นขึ้นมานั้น จะสามารถให้ประโยชน์กับเด็กนักเรียนในประเทศได้อย่างคุ้มค่า ทั้งสามารถเรียนรู้ไปพร้อมกับฝึกฝนในเรื่องการคิด เขียน อ่าน ได้อย่างเต็มรูปแบบ และทำได้มากกว่าสื่อการศึกษาที่เคยมีมา และเราเชื่อเลยว่าคนทั่ว ๆ ไปไม่ว่าใครก็ตามที่ได้เห็นในสิ่งที่เราทำจะต้องเข้าใจตรงกัน และมองว่ามันเป็นสื่อการศึกษาประจักษ์ชัดเจน และเป็นสิ่งทีพัฒนาทักษะเด็กโดยตรง แต่เป็นอะไรที่น่าสิ้นหวังที่ทางเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรกลับไม่สามารถใช้วิจารณญาณกับเรื่องนี้ได้เลย
ซึ่งทางเรามีความเห็นว่านอกจากแนววินิจฉัยดังกล่าวจะไม่สมเหตุสมผลเข้ากับยุคสมัยแล้ว ยังเป็นการตัดโอกาสสตาร์ทอัพไทยที่ดำเนินกิจการเพื่อสังคม และการศึกษาให้เติบโตได้ยาก มากกว่านั้นยังตัดโอกาสเด็กไทยจำนวนมากที่จะเข้าถึงสื่อการศึกษาที่มีคุณภาพ และการพัฒนาทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21 เพียงเพราะขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ และกฎหมายที่ไม่ได้รองรับ หรือมีการปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย และเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
และตอนนี้บ.เรากำลังจะโดนเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (vat) และเบี้ยปรับย้อนหลังจากทางเจ้าหน้าที่สรรพากรพื้นที่ และอาจจะต้องยื่นอุทธรณ์เพื่อไปต่อสู้กันในชั้นศาล แต่ในความเป็นจริงนั้นทางเราได้ทำการส่งหนังสือข้อหารือเพื่อสอบถามเกี่ยวกับการเป็นสื่อการศึกษา และการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มไปยังกรมสรรพากรฉบับแรกตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2561 (หนังสือที่ บ.101/2561) แต่ไม่เคยมีการตอบรับใด ๆ ทั้งที่เราพยายามโทรตามตลอดหลายครั้ง จนกระทั่งต้องไปตามเรื่องถึงโต๊ะทำงานของเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเรื่องนี้ปีละครั้ง 2 ครั้ง จนเวลาล่วงเลยมาถึงปี 2563 ทางเราจึงเข้าไปยังกรมสรรพากรอีกครั้ง และได้ส่งหนังสือขอทราบผลไปในวันที่ 29 สิงหาคม 2563 แต่ในครั้งนี้เป็นจนท.คนใหม่ที่เข้ามาดูแลแทน เขาถึงเริ่มดำเนินการในประเด็นข้อหารือของบริษัทเรา แต่กว่าจะตอบข้อหารือเสร็จสิ้นกระบวนการก็ปาเข้าไปวันที่ 6 พ.ค. 2565 ซึ่งหากที่ผ่านมาทางกรมสรรพากรทำงานตามหน้าที่ได้รวดเร็วกว่านี้ หรือตอบข้อหารือของเรากลับมาตั้งแต่หลายปีที่แล้ว หรือก่อนที่บริษัทของเราจะมีรายได้ถึง 1.8 ล้าน บ.เราคงไม่ต้องได้รับความเสียหายจากเบี้ยปรับต่าง ๆ ไม่ต้องเสียเวลาไปต่อสู้ในชั้นศาล และไม่เสียโอกาสทางธุรกิจที่จะเติบโตได้มากกว่านี้ เราได้แต่คิดในใจว่ากรณีนี้ทางกรมสรรพากรจะไม่มีความผิดร่วม หรือแสดงความรับผิดชอบอะไรบ้างเลยหรือ ทำไมถึงโยนภาระมาให้ผู้ประกอบการฝ่ายเดียว
โดยทางเราได้ทำการศึกษาข้อหารือ และแนววินิจฉัยที่เกี่ยวกับการจำหน่ายสื่อการศึกษาของบริษัทต่าง ๆ ที่มีความใกล้เคียงกับกรณีบริษัทฯ ของเรา ซึ่งทุกบริษัทที่จำหน่ายสื่อการศึกษาในลักษณะดังกล่าวต่างเข้าลักษณะเป็นการขายตำราเรียน และได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่จัดจำหน่ายคู่มือการใช้งานโปรแกรมสอบพิมพ์สัมผัส พร้อมแผ่นโปรแกรมสอบพิมพ์สัมผัส เลขที่หนังสือ กค 0706/พ./4249 ซึ่งคู่มือการใช้งานโปรแกรมสอบพิมพ์สัมผัส และแผ่นโปรแกรมสอบพิมพ์สัมผัสมีเนื้อหาสาระอย่างเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงมันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้วที่ตัวคู่มือ และโปรแกรมจะเหมือนกันทั้ง 100% เนื่องจากคู่มือ/หนังสือไม่สามารถประมวลผล หรือแสดงผลจำนวนคำที่พิมพ์ คำผิด คำถูก และความเร็วในการพิมพ์แบบเรียลไทม์ได้ และตัวโปรแกรมก็ไม่ได้มีแต่เนื้อหาเท่านั้น แต่ยังมีระบบประมวลผล การแสดงสถิติ และมีฟังก์ชันต่าง ๆ ที่ตัวคู่มือ/หนังสือไม่สามารถทำได้ แต่มันมีความสอดคล้องเกี่ยวข้องกัน และมีเนื้อหาสาระเช่นเดียวกัน จึงจำเป็นจะต้องใช้ทั้ง 2 สิ่งควบคู่กัน ซึ่งกรณีดังกล่าวก็เข้าลักษณะเป็นการขายตำราเรียน และได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร
แต่ที่ทางเราได้มีการประชุมออนไลน์ร่วมกับทีมเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรเมื่อวันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 13.30 น.ที่ผ่านมา (ทางเราได้มีการบันทึกคลิปวิดีโอเก็บไว้เพื่อเป็นหลักฐาน และอยากลงคลิปให้ทุกคนได้เห็นมากเลยค่ะ) ทางเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรได้แจ้งกับทางเรามาว่า “การที่จะเข้าลักษณะเป็นการขายตำราเรียน และได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ฉ) แห่งประมวลรัษฎากรได้นั้น ตัวโปรแกรมและคู่มือ/หนังสือจะต้องเหมือนกันทั้ง 100% และต้องไม่มีการอัปเดตใด ๆ” เราจึงงงกับความย้อนแย้งที่เกิดขึ้น หรือที่ผ่านมาทางเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรไม่เคยได้ตรวจสอบโปรแกรมสอบพิมพ์สัมผัส และคู่มือการใช้งานฯ กรณีดังกล่าวอย่างละเอียดครบถ้วนคะ ถึงได้ปล่อยผ่านในประเด็นนี้ และมองว่าตัวโปรแกรมกับคู่มือมีความเหมือนกันเป๊ะทั้ง 100% ซึ่งในความเป็นจริงมันเป็นไปได้หรือคะ
จึงทำให้ทางเราเกิดข้อสงสัยว่าเพราะเหตุใดทางบริษัทฯ ของเราจึงไม่เข้าลักษณะเป็นการขายตำราเรียน และไม่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ฉ) แห่งประมวลรัษฎากรเช่นเดียวกับบริษัทดังกล่าว ทั้งที่บริษัทฯ ของเราได้ประกอบธุรกิจจำหน่ายสื่อการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะของเด็กไทย และเป็นการให้บริการทางด้านวิชาการโดยตรง โดยเฉพาะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มาตรฐาน ท ๒.๑ (การเขียน) และ ท ๔.๑ (หลักการใช้ภาษาไทย) และหลักสูตรฐานสมรรถนะในด้านที่ 1 (การจัดการตนเอง) ด้านที่ 2 (การคิดขั้นสูง) และด้านที่ 3 (การสื่อสาร) ตามที่ทางกระทรวงศึกษาธิการได้มีการระบุไว้
ทั้งนี้ทางเราจึงอยากจะทราบแนวคิด วิสัยทัศน์ และนิยามของคำว่า "สื่อการศึกษา" ในมุมมองของกรมสรรพากรยุค 4.0 ว่าคืออะไร และเพราะเหตุใดสิ่งที่บริษัทเราทำถึงยังไม่เข้าข่ายสื่อการศึกษา และจึงพยายามจะเก็บ vat กับเด็กนักเรียนให้ได้ หรือไม่ก็โยนภาระ vat มาให้บริษัทเรา ซึ่งตอนนี้บริษัทเรายังไม่เคยมีแม้แต่กำไรสักบาท แถมยังโดนทางโรงเรียนต่าง ๆ กดราคาลง หรือขอใช้ฟรีจนแทบจะเป็นมูลนิธิเพื่อการกุศลอยู่แล้วค่ะ ถ้ามีการเก็บ vat กับนักเรียน หรือโรงเรียนก็เท่ากับเป็นการปิดประตูของธุรกิจเราให้ตายไปเลย นี่ยังไม่รวมปัญหากับทางโรงเรียน ทางกระทรวงศึกษาธิการ และบุคลากรทางการศึกษาอีกนะคะ เราไม่รู้เลยว่ามันจะไปรอดได้ยังไงถ้าต้องเผชิญกับปัญหารอบด้านขนาดนี้ ซึ่งบริษัทเราไม่เคยได้รับการสนับสนุน หรือช่วยเหลือจากภาครัฐหน่วยงานใดจริง ๆ จัง ๆ เลย บอกตรง ๆ ว่าโคตรท้อ สิ้นหวัง และหดหู่ใจกับข้อกฏหมาย และการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐในบ้านเรามากค่ะ รู้งี้เอาความรู้ ความสามารถที่มีไปทำอาชีพอื่นดีกว่า ไม่น่าคิดการใหญ่เพื่อใครเลยจริง ๆ แต่ในใจลึก ๆ ก็ทิ้งพวกเด็ก ๆ ไม่ได้อีก ที่ยังต่อสู้ และทำต่ออยู่ทุกวันนี้ก็เพราะพวกเค้านี่แหละค่ะ TT สำหรับใครที่มีความรู้ ความสามารถแล้วอยากทำธุรกิจเพื่อสังคม หรือทำอะไรดี ๆ ประเทศชาติ แต่ดันขาด Connection เส้นสาย เงินทุน และชื่อเสียงจงหนีไปให้ไกลจากวงการนี้เลยนะคะ นี่คือคำเตือนสุดท้ายจากผู้มีประสบการณ์ตรง โลกสวยในบ้านเมืองเราไม่มีจริง และความยุติธรรมก็ไม่รู้มีมั้ย แต่การต่อสู้อย่างโดดเดี่ยว และเจ็บเองเปล่า ๆ อะมีแน่ ๆ ค่ะ
สุดท้ายนี้เพื่อน ๆ ว่าเราควรจะเอายังไงต่อกับธุรกิจนี้ดีคะ จะเป็นไปได้มั้ยที่ทางบริษัทเราจะได้รับความเห็นใจจากท่านอธิบดีกรมสรรพากรให้มีการพิจารณาข้อหารือดังกล่าวอีกครั้ง หรือมีการปรับเปลี่ยนข้อกฎหมายเกี่ยวกับสื่อการศึกษาให้เข้ากับยุคสมัย และบริบทในความเป็นจริง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ประกอบการทุกรายอย่างเท่าเทียม และเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนในประเทศไทยได้เข้าถึงสื่อการศึกษาที่สามารถช่วยพัฒนาทักษะของพวกเขาได้ แต่เท่าที่ได้ลองโทรไปพูดคุยครั้งล่าสุด ทางเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรก็ได้แจ้งมาว่าการตอบข้อหารือครั้งนี้ถือเป็นที่สิ้นสุด และไม่สามารถให้เราเข้าพบท่านอธิบดีฯ ท่านรองอธิบดีฯ หรือผู้มีอำนาจในการตัดสินกรณีบริษัทเราเพื่ออธิบายข้อเท็จจริงอะไรได้เลย และสุดท้ายเราคงทำอะไรไม่ได้แล้วนอกจากยอมจำนนไปตามสภาพใช่ไหมคะ ทั้งนี้จึงอยากขอความเมตตาจากผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้มาช่วยให้คำแนะนำ หรือหาทางออกให้ธุรกิจเราหน่อยได้ไหมคะ ขอบคุณมาก ๆ เลยค่ะ
เมื่อข้อกฎหมายสรรพากรที่ไม่อัปเดตตามยุคสมัยได้ตัดโอกาสเด็กไทย และธุรกิจของเราอย่างไม่เป็นธรรม (EP.1)
เราทำบริษัทสตาร์ทอัพการศึกษา และได้ทำสื่อการศึกษาตัวนึงขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาในเรื่องการคิด การเขียน และการเล่าเรื่องของนักเรียน ซึ่งลูกค้าของเราคือนักเรียน ผู้ปกครอง และโรงเรียนเท่านั้น โดยบริษัทเราได้มีการจำหน่ายสมุดบันทึกดิจิทัลพร้อมกับคู่มือหลักสูตรหัวข้อเขียนบันทึกฯ (e-book) รวมกันในราคาเดียว ซึ่งไม่ได้จำหน่ายแยกจากกันแต่อย่างใด โดยหากพิจารณาจากหลักความเป็นจริง และเป้าประสงค์ของทางบริษัทแล้ว สื่อการศึกษาที่ทางเราได้คิดค้นและจำหน่ายนั้น ถือเป็นเครื่องมือช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานสำคัญของนักเรียนในเรื่องการคิด เขียน อ่านโดยตรง และยังเป็นสิ่งที่ช่วยแก้ไขปัญหาระดับชาติที่กำลังอยู่ในขั้นวิกฤติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ภาครัฐควรจะสนับสนุน และส่งเสริมให้นักเรียนในประเทศได้มีโอกาสเข้าถึงสื่อการศึกษาดังกล่าวให้ได้มากที่สุด โดยมีค่าใช้จ่ายที่น้อยที่สุด
แต่ทางกรมสรรพากรได้ตอบข้อหารือกลับมายังบริษัทเราล่าสุด (หนังสือลงวันที่ 6 พ.ค. 2565) โดยมีความเห็นว่า "โปรแกรมสมุดบันทึกดิจิทัลมีลักษณะเป็นการให้บริการระบบงานเพื่อให้บริการเขียนบันทึกในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญ อันมิใช่การให้บริการตำราเรียนที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพียงอย่างเดียว" ทั้งที่เราได้มีการเน้นย้ำอย่างชัดเจนมาโดยตลอดทั้งคำพูด ทั้งในสื่อ และเอกสารต่าง ๆ ว่า "นักเรียนจำเป็นจะต้องใช้ทั้ง 2 สิ่งนี้ควบคู่กันจึงจะเกิดผลสัมฤทธิ์กับตัวนักเรียนตามกรณีศึกษาและงานวิจัย" ซึ่งกระบวนการที่เราคิดค้นขึ้นมามันเป็นแบบนี้จริง ๆ ไม่ได้มีการพลิกลิ้น หรือเลี่ยงบาลีใด ๆ สามารถตรวจสอบและหาข้อมูลได้ทุกช่องทาง เพราะถ้าหากเด็กนักเรียนจะใช้แค่ตัวแพลตฟอร์มอย่างเดียวทางเราได้เปิดให้เด็กใช้โดยไม่ได้คิดค่าใช้จ่ายอยู่แล้ว
แต่จากการที่ได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรอยู่หลายครั้งทำให้เราสามารถจับประเด็นได้ว่า เพียงเพราะสื่อการศึกษาที่เราทำมันมีการใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต และได้มีการอัปเดตอยู่ตลอด ทั้งแบบฝึกหัดภาษาไทย บทความสอนหลักการเขียน และเกมต่าง ๆ เพื่อให้เด็กได้พัฒนาทักษะ รวมถึงมีระบบการตรวจ การให้รางวัล การดูสถิติ และสามารวัดผลในด้านต่าง ๆ ได้ ซึ่งดันไปทำได้มากกว่า e-book ที่เอาไว้อ่านอย่างเดียว หรือแผ่นซีดีที่โปรแกรมไม่มีการอัปเดตอะไรแค่ขายคู่หนังสือแล้วก็จบ เลยถูกมองว่าไม่เข้าข่ายสื่อการศึกษา หรือตำราเรียน จึงไม่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งที่ควรเป็นเรื่องน่ายินดีที่สื่อการศึกษาที่ทางเราได้คิดค้นขึ้นมานั้น จะสามารถให้ประโยชน์กับเด็กนักเรียนในประเทศได้อย่างคุ้มค่า ทั้งสามารถเรียนรู้ไปพร้อมกับฝึกฝนในเรื่องการคิด เขียน อ่าน ได้อย่างเต็มรูปแบบ และทำได้มากกว่าสื่อการศึกษาที่เคยมีมา และเราเชื่อเลยว่าคนทั่ว ๆ ไปไม่ว่าใครก็ตามที่ได้เห็นในสิ่งที่เราทำจะต้องเข้าใจตรงกัน และมองว่ามันเป็นสื่อการศึกษาประจักษ์ชัดเจน และเป็นสิ่งทีพัฒนาทักษะเด็กโดยตรง แต่เป็นอะไรที่น่าสิ้นหวังที่ทางเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรกลับไม่สามารถใช้วิจารณญาณกับเรื่องนี้ได้เลย
ซึ่งทางเรามีความเห็นว่านอกจากแนววินิจฉัยดังกล่าวจะไม่สมเหตุสมผลเข้ากับยุคสมัยแล้ว ยังเป็นการตัดโอกาสสตาร์ทอัพไทยที่ดำเนินกิจการเพื่อสังคม และการศึกษาให้เติบโตได้ยาก มากกว่านั้นยังตัดโอกาสเด็กไทยจำนวนมากที่จะเข้าถึงสื่อการศึกษาที่มีคุณภาพ และการพัฒนาทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21 เพียงเพราะขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ และกฎหมายที่ไม่ได้รองรับ หรือมีการปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย และเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
และตอนนี้บ.เรากำลังจะโดนเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (vat) และเบี้ยปรับย้อนหลังจากทางเจ้าหน้าที่สรรพากรพื้นที่ และอาจจะต้องยื่นอุทธรณ์เพื่อไปต่อสู้กันในชั้นศาล แต่ในความเป็นจริงนั้นทางเราได้ทำการส่งหนังสือข้อหารือเพื่อสอบถามเกี่ยวกับการเป็นสื่อการศึกษา และการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มไปยังกรมสรรพากรฉบับแรกตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2561 (หนังสือที่ บ.101/2561) แต่ไม่เคยมีการตอบรับใด ๆ ทั้งที่เราพยายามโทรตามตลอดหลายครั้ง จนกระทั่งต้องไปตามเรื่องถึงโต๊ะทำงานของเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเรื่องนี้ปีละครั้ง 2 ครั้ง จนเวลาล่วงเลยมาถึงปี 2563 ทางเราจึงเข้าไปยังกรมสรรพากรอีกครั้ง และได้ส่งหนังสือขอทราบผลไปในวันที่ 29 สิงหาคม 2563 แต่ในครั้งนี้เป็นจนท.คนใหม่ที่เข้ามาดูแลแทน เขาถึงเริ่มดำเนินการในประเด็นข้อหารือของบริษัทเรา แต่กว่าจะตอบข้อหารือเสร็จสิ้นกระบวนการก็ปาเข้าไปวันที่ 6 พ.ค. 2565 ซึ่งหากที่ผ่านมาทางกรมสรรพากรทำงานตามหน้าที่ได้รวดเร็วกว่านี้ หรือตอบข้อหารือของเรากลับมาตั้งแต่หลายปีที่แล้ว หรือก่อนที่บริษัทของเราจะมีรายได้ถึง 1.8 ล้าน บ.เราคงไม่ต้องได้รับความเสียหายจากเบี้ยปรับต่าง ๆ ไม่ต้องเสียเวลาไปต่อสู้ในชั้นศาล และไม่เสียโอกาสทางธุรกิจที่จะเติบโตได้มากกว่านี้ เราได้แต่คิดในใจว่ากรณีนี้ทางกรมสรรพากรจะไม่มีความผิดร่วม หรือแสดงความรับผิดชอบอะไรบ้างเลยหรือ ทำไมถึงโยนภาระมาให้ผู้ประกอบการฝ่ายเดียว
โดยทางเราได้ทำการศึกษาข้อหารือ และแนววินิจฉัยที่เกี่ยวกับการจำหน่ายสื่อการศึกษาของบริษัทต่าง ๆ ที่มีความใกล้เคียงกับกรณีบริษัทฯ ของเรา ซึ่งทุกบริษัทที่จำหน่ายสื่อการศึกษาในลักษณะดังกล่าวต่างเข้าลักษณะเป็นการขายตำราเรียน และได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่จัดจำหน่ายคู่มือการใช้งานโปรแกรมสอบพิมพ์สัมผัส พร้อมแผ่นโปรแกรมสอบพิมพ์สัมผัส เลขที่หนังสือ กค 0706/พ./4249 ซึ่งคู่มือการใช้งานโปรแกรมสอบพิมพ์สัมผัส และแผ่นโปรแกรมสอบพิมพ์สัมผัสมีเนื้อหาสาระอย่างเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงมันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้วที่ตัวคู่มือ และโปรแกรมจะเหมือนกันทั้ง 100% เนื่องจากคู่มือ/หนังสือไม่สามารถประมวลผล หรือแสดงผลจำนวนคำที่พิมพ์ คำผิด คำถูก และความเร็วในการพิมพ์แบบเรียลไทม์ได้ และตัวโปรแกรมก็ไม่ได้มีแต่เนื้อหาเท่านั้น แต่ยังมีระบบประมวลผล การแสดงสถิติ และมีฟังก์ชันต่าง ๆ ที่ตัวคู่มือ/หนังสือไม่สามารถทำได้ แต่มันมีความสอดคล้องเกี่ยวข้องกัน และมีเนื้อหาสาระเช่นเดียวกัน จึงจำเป็นจะต้องใช้ทั้ง 2 สิ่งควบคู่กัน ซึ่งกรณีดังกล่าวก็เข้าลักษณะเป็นการขายตำราเรียน และได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร
แต่ที่ทางเราได้มีการประชุมออนไลน์ร่วมกับทีมเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรเมื่อวันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 13.30 น.ที่ผ่านมา (ทางเราได้มีการบันทึกคลิปวิดีโอเก็บไว้เพื่อเป็นหลักฐาน และอยากลงคลิปให้ทุกคนได้เห็นมากเลยค่ะ) ทางเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรได้แจ้งกับทางเรามาว่า “การที่จะเข้าลักษณะเป็นการขายตำราเรียน และได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ฉ) แห่งประมวลรัษฎากรได้นั้น ตัวโปรแกรมและคู่มือ/หนังสือจะต้องเหมือนกันทั้ง 100% และต้องไม่มีการอัปเดตใด ๆ” เราจึงงงกับความย้อนแย้งที่เกิดขึ้น หรือที่ผ่านมาทางเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรไม่เคยได้ตรวจสอบโปรแกรมสอบพิมพ์สัมผัส และคู่มือการใช้งานฯ กรณีดังกล่าวอย่างละเอียดครบถ้วนคะ ถึงได้ปล่อยผ่านในประเด็นนี้ และมองว่าตัวโปรแกรมกับคู่มือมีความเหมือนกันเป๊ะทั้ง 100% ซึ่งในความเป็นจริงมันเป็นไปได้หรือคะ
จึงทำให้ทางเราเกิดข้อสงสัยว่าเพราะเหตุใดทางบริษัทฯ ของเราจึงไม่เข้าลักษณะเป็นการขายตำราเรียน และไม่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ฉ) แห่งประมวลรัษฎากรเช่นเดียวกับบริษัทดังกล่าว ทั้งที่บริษัทฯ ของเราได้ประกอบธุรกิจจำหน่ายสื่อการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะของเด็กไทย และเป็นการให้บริการทางด้านวิชาการโดยตรง โดยเฉพาะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มาตรฐาน ท ๒.๑ (การเขียน) และ ท ๔.๑ (หลักการใช้ภาษาไทย) และหลักสูตรฐานสมรรถนะในด้านที่ 1 (การจัดการตนเอง) ด้านที่ 2 (การคิดขั้นสูง) และด้านที่ 3 (การสื่อสาร) ตามที่ทางกระทรวงศึกษาธิการได้มีการระบุไว้
ทั้งนี้ทางเราจึงอยากจะทราบแนวคิด วิสัยทัศน์ และนิยามของคำว่า "สื่อการศึกษา" ในมุมมองของกรมสรรพากรยุค 4.0 ว่าคืออะไร และเพราะเหตุใดสิ่งที่บริษัทเราทำถึงยังไม่เข้าข่ายสื่อการศึกษา และจึงพยายามจะเก็บ vat กับเด็กนักเรียนให้ได้ หรือไม่ก็โยนภาระ vat มาให้บริษัทเรา ซึ่งตอนนี้บริษัทเรายังไม่เคยมีแม้แต่กำไรสักบาท แถมยังโดนทางโรงเรียนต่าง ๆ กดราคาลง หรือขอใช้ฟรีจนแทบจะเป็นมูลนิธิเพื่อการกุศลอยู่แล้วค่ะ ถ้ามีการเก็บ vat กับนักเรียน หรือโรงเรียนก็เท่ากับเป็นการปิดประตูของธุรกิจเราให้ตายไปเลย นี่ยังไม่รวมปัญหากับทางโรงเรียน ทางกระทรวงศึกษาธิการ และบุคลากรทางการศึกษาอีกนะคะ เราไม่รู้เลยว่ามันจะไปรอดได้ยังไงถ้าต้องเผชิญกับปัญหารอบด้านขนาดนี้ ซึ่งบริษัทเราไม่เคยได้รับการสนับสนุน หรือช่วยเหลือจากภาครัฐหน่วยงานใดจริง ๆ จัง ๆ เลย บอกตรง ๆ ว่าโคตรท้อ สิ้นหวัง และหดหู่ใจกับข้อกฏหมาย และการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐในบ้านเรามากค่ะ รู้งี้เอาความรู้ ความสามารถที่มีไปทำอาชีพอื่นดีกว่า ไม่น่าคิดการใหญ่เพื่อใครเลยจริง ๆ แต่ในใจลึก ๆ ก็ทิ้งพวกเด็ก ๆ ไม่ได้อีก ที่ยังต่อสู้ และทำต่ออยู่ทุกวันนี้ก็เพราะพวกเค้านี่แหละค่ะ TT สำหรับใครที่มีความรู้ ความสามารถแล้วอยากทำธุรกิจเพื่อสังคม หรือทำอะไรดี ๆ ประเทศชาติ แต่ดันขาด Connection เส้นสาย เงินทุน และชื่อเสียงจงหนีไปให้ไกลจากวงการนี้เลยนะคะ นี่คือคำเตือนสุดท้ายจากผู้มีประสบการณ์ตรง โลกสวยในบ้านเมืองเราไม่มีจริง และความยุติธรรมก็ไม่รู้มีมั้ย แต่การต่อสู้อย่างโดดเดี่ยว และเจ็บเองเปล่า ๆ อะมีแน่ ๆ ค่ะ
สุดท้ายนี้เพื่อน ๆ ว่าเราควรจะเอายังไงต่อกับธุรกิจนี้ดีคะ จะเป็นไปได้มั้ยที่ทางบริษัทเราจะได้รับความเห็นใจจากท่านอธิบดีกรมสรรพากรให้มีการพิจารณาข้อหารือดังกล่าวอีกครั้ง หรือมีการปรับเปลี่ยนข้อกฎหมายเกี่ยวกับสื่อการศึกษาให้เข้ากับยุคสมัย และบริบทในความเป็นจริง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ประกอบการทุกรายอย่างเท่าเทียม และเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนในประเทศไทยได้เข้าถึงสื่อการศึกษาที่สามารถช่วยพัฒนาทักษะของพวกเขาได้ แต่เท่าที่ได้ลองโทรไปพูดคุยครั้งล่าสุด ทางเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรก็ได้แจ้งมาว่าการตอบข้อหารือครั้งนี้ถือเป็นที่สิ้นสุด และไม่สามารถให้เราเข้าพบท่านอธิบดีฯ ท่านรองอธิบดีฯ หรือผู้มีอำนาจในการตัดสินกรณีบริษัทเราเพื่ออธิบายข้อเท็จจริงอะไรได้เลย และสุดท้ายเราคงทำอะไรไม่ได้แล้วนอกจากยอมจำนนไปตามสภาพใช่ไหมคะ ทั้งนี้จึงอยากขอความเมตตาจากผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้มาช่วยให้คำแนะนำ หรือหาทางออกให้ธุรกิจเราหน่อยได้ไหมคะ ขอบคุณมาก ๆ เลยค่ะ