ฉาก
ในละครมีหลายฉากที่ทำให้จินตนาการในนิยายเด่นชัดขึ้นมาก เช่น เรือนหมอโหมด เรือนออกหลวง บ้านคลาร่า บ้านยายจวง ย่านนายก่าย แต่มีบางฉากที่ดูไม่ค่อยกลมกลืนนัก เช่น
-ทางเดินไปวัดยอแซฟ ที่ต้องเดินผ่านป่า ดูเปลี่ยวและเข้าถึงยาก
-หลุมฝังศพกะปิตัน
-ตลาดชาวบ้าน ฉากที่จั่นวิ่งหนีขุนแสน
-ตำหนักเจ้าจอม
-ประตูวังที่มีโขลนเฝ้า
ในนิยายผู้เขียนมักจะบรรยายถึงสถานที่ต่างๆ เช่นวัดประดู่ทรงธรรม วัดดุสิต วัดยอแซฟ คลองสระบัว คลองตะเคียน คลองดูจาม ย่านหัวรอ ป้อม ประตูต่างๆ ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีอยู่จริง อ่านแล้วก็อยากจะไปเที่ยวชม ตามรอยนิยาย ซึ่งผู้เขียนทำแผนที่สถานที่ต่างๆให้ผู้อ่านสามารถเชื่อมโยงจินตนาการการเดินทางในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี แต่ในละครที่ผ่านมายังไม่ค่อยพูดถึง(หรืออาจจะมีใน EP ต่อไป?)
บทละคร
ชอบที่มีการตีความ ขยายความ มากกว่านิยาย แต่ถ้าทำให้กระชับมากกว่านี้จะดีมากเลย เช่นในนิยายทีมนักสืบไปบ้านคลาร่าน่าจะ 2-3 ครั้งมาดามก็โกรธและไม่ต้อนรับแล้ว แต่ในละครไปบ่อยมาก ถ้าไปบ่อยขนาดนี้ EP 1-2 ไม่น่าแช่บทที่บ้านมาดามนานขนาดนั้น บ้านยายจวงก็ไปบ่อยมากไปทีไรทำยายร้องไห้ตาบวมทุกที สงสารยาย 😅
EP1-8 มีปมมาดามคลาร่า จั่น ออกหลวง ค่อนข้างเยอะ จนคาดหวังว่า EP ที่เหลือขอกระจายปมมาทางพุดซ้อนบ้างก็น่าจะสนุกมากขึ้น เช่น ให้พุดซ้อนรับรักโรแบรต์ไปเลย
นักแสดง
ขอชื่นชมนักแสดงทุกท่าน เห็นมีติการแสดงอารมณ์ของออกหลวงกันเยอะเลยย้อนกลับไปอ่านในนิยายอีกครั้ง พบว่าบางประโยคพูดแทบจะยกออกมาจากหนังสือเลย เพียงแต่ตัวหนังสือไม่ได้แสดงอารมณ์ใดๆ พอละครดีไซน์ออกหลวงมาแบบนี้ก็ดูแปลกตา เกรี้ยวกราดจนต้องมองหาจุดเปลี่ยน เพราะในนิยายออกหลวงมีใจเพราะพุดซ้อนทำให้เขาใจเย็นลงเหมือนที่แม่ดวงจันทร์เคยทำ แต่ละครดูพุดซ้อนจะยิ่งแหย่ให้ออกหลวงปรี๊ดตลอด 🤣🤣🤣
เพลงประกอบละคร
ชอบฟังทั้งสองเพลง ไพเราะทั้งคู่
การแต่งกาย
ในนิยายมีการบรรยายความเป็นมาของผ้าดูน่าสนใจมาก พอดูในละครก็ชอบผ้าที่ใช้ ช่วงนี้ผ้าฝ้ายอินเดียกำลังได้รับความนิยม ลายผ้าที่พุดซ้อนใส่สวยงามมาก
ชุดของชาวต่างชาติ สงสัยว่าในสมัยนั้นชาวต่างชาติแต่งตัวจัดเต็มแบบนั้นในทุกๆวันเลยจะร้อนหรือเปล่า ยิ่งเทียบกับชาวสยามบางคนนุ่งแต่โจงกระเบน
ลายกินรี จากนิยายถึงละคร
ในละครมีหลายฉากที่ทำให้จินตนาการในนิยายเด่นชัดขึ้นมาก เช่น เรือนหมอโหมด เรือนออกหลวง บ้านคลาร่า บ้านยายจวง ย่านนายก่าย แต่มีบางฉากที่ดูไม่ค่อยกลมกลืนนัก เช่น
-ทางเดินไปวัดยอแซฟ ที่ต้องเดินผ่านป่า ดูเปลี่ยวและเข้าถึงยาก
-หลุมฝังศพกะปิตัน
-ตลาดชาวบ้าน ฉากที่จั่นวิ่งหนีขุนแสน
-ตำหนักเจ้าจอม
-ประตูวังที่มีโขลนเฝ้า
ในนิยายผู้เขียนมักจะบรรยายถึงสถานที่ต่างๆ เช่นวัดประดู่ทรงธรรม วัดดุสิต วัดยอแซฟ คลองสระบัว คลองตะเคียน คลองดูจาม ย่านหัวรอ ป้อม ประตูต่างๆ ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีอยู่จริง อ่านแล้วก็อยากจะไปเที่ยวชม ตามรอยนิยาย ซึ่งผู้เขียนทำแผนที่สถานที่ต่างๆให้ผู้อ่านสามารถเชื่อมโยงจินตนาการการเดินทางในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี แต่ในละครที่ผ่านมายังไม่ค่อยพูดถึง(หรืออาจจะมีใน EP ต่อไป?)
บทละคร
ชอบที่มีการตีความ ขยายความ มากกว่านิยาย แต่ถ้าทำให้กระชับมากกว่านี้จะดีมากเลย เช่นในนิยายทีมนักสืบไปบ้านคลาร่าน่าจะ 2-3 ครั้งมาดามก็โกรธและไม่ต้อนรับแล้ว แต่ในละครไปบ่อยมาก ถ้าไปบ่อยขนาดนี้ EP 1-2 ไม่น่าแช่บทที่บ้านมาดามนานขนาดนั้น บ้านยายจวงก็ไปบ่อยมากไปทีไรทำยายร้องไห้ตาบวมทุกที สงสารยาย 😅
EP1-8 มีปมมาดามคลาร่า จั่น ออกหลวง ค่อนข้างเยอะ จนคาดหวังว่า EP ที่เหลือขอกระจายปมมาทางพุดซ้อนบ้างก็น่าจะสนุกมากขึ้น เช่น ให้พุดซ้อนรับรักโรแบรต์ไปเลย
นักแสดง
ขอชื่นชมนักแสดงทุกท่าน เห็นมีติการแสดงอารมณ์ของออกหลวงกันเยอะเลยย้อนกลับไปอ่านในนิยายอีกครั้ง พบว่าบางประโยคพูดแทบจะยกออกมาจากหนังสือเลย เพียงแต่ตัวหนังสือไม่ได้แสดงอารมณ์ใดๆ พอละครดีไซน์ออกหลวงมาแบบนี้ก็ดูแปลกตา เกรี้ยวกราดจนต้องมองหาจุดเปลี่ยน เพราะในนิยายออกหลวงมีใจเพราะพุดซ้อนทำให้เขาใจเย็นลงเหมือนที่แม่ดวงจันทร์เคยทำ แต่ละครดูพุดซ้อนจะยิ่งแหย่ให้ออกหลวงปรี๊ดตลอด 🤣🤣🤣
เพลงประกอบละคร
ชอบฟังทั้งสองเพลง ไพเราะทั้งคู่
การแต่งกาย
ในนิยายมีการบรรยายความเป็นมาของผ้าดูน่าสนใจมาก พอดูในละครก็ชอบผ้าที่ใช้ ช่วงนี้ผ้าฝ้ายอินเดียกำลังได้รับความนิยม ลายผ้าที่พุดซ้อนใส่สวยงามมาก
ชุดของชาวต่างชาติ สงสัยว่าในสมัยนั้นชาวต่างชาติแต่งตัวจัดเต็มแบบนั้นในทุกๆวันเลยจะร้อนหรือเปล่า ยิ่งเทียบกับชาวสยามบางคนนุ่งแต่โจงกระเบน