🇹🇭🧡มาลาริน🧡🇹🇭'หมอ ยง'  ชี้ โควิด ยังไม่หายไปไหน แนะ การตรวจ ATK ควรเปลี่ยนตามสถานการณ์

'หมอ ยง'  ชี้ โควิด ยังไม่หายไปไหน แนะ การตรวจ ATK ควรเปลี่ยนตามสถานการณ์



วันที่ 17 พ.ย.65  ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุข้อความว่า..👇

"เราต้องยอมรับว่า covid ไม่ได้หายจากเราไป เราจะต้องอยู่กับ covid-19 ปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่ มีภูมิต้านทานไม่ว่าจะจากวัคซีน หรือการติดเชื้อ ความรุนแรงของโรคลดลง ปัญหาอยู่ในกลุ่มเปราะบาง โรคเรื้อรัง แนวทางการปฏิบัติการตรวจ ATK จึงมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม ในสถานการณ์ปัจจุบัน

ในคนปกติทั่วไป ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจ ATK เช่นนักเรียนจะไปโรงเรียน การเข้าร่วมประชุม การตรวจ ATK ควรทำในผู้ที่มีอาการระบบทางเดินหายใจ หรือไปสัมผัสกับผู้ป่วย คือสัมผัสโรคมานั่นเอง

การปฏิบัติของโรงเรียนที่ให้นักเรียนตรวจทุกสัปดาห์ จึงไม่มีความจำเป็น จะตรวจเฝ้าระวังเฉพาะผู้ที่มีอาการของโรค หรือผู้สัมผัสโรค หรือคิดว่า ตัวเองเสี่ยงในการเกิดโรค และทุกคนจะต้องรับผิดชอบ มีระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด มีความซื่อสัตย์

ผู้สัมผัสโรคจะตรวจเมื่อมีอาการ หรือตรวจในวันที่ 3 และ 5-7 ของสัมผัสโรค ถ้าให้ผลลบ ก็น่าจะปลอดภัยจากการติดโรค ในผู้ที่ตรวจ ATK ได้ 2 ขีด ให้เข้ารับการรักษา ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจอีก ให้กักตัวเอง 5 วัน และเข้มงวดป้องกันเมื่อออกสู่สังคมอีก 5 วัน ไม่ใช่ว่าตรวจ ATK แล้วพบว่าขีดเดียวแล้วจะทำอะไรก็ได้ ระยะลดการแพร่เชื้อ ควรจะเกิน 10 วันไปแล้ว

เมื่อตรวจ ATK เป็นบวกหรือ 2 ขีดไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำ RT PCR อีก จะทำ RT PCR ในราย ที่สงสัยสัมผัสโรค หรือผู้ที่มีอาการต้องสงสัย และ ATK ให้ผลลบ เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง การปฏิบัติตนต่างๆจะปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม ทั้งนี้คำนึงถึงผลประโยชน์ และประสิทธิภาพสูงสุด ให้คุ้มกับค่าใช้จ่ายในภาพรวม ตามสถานการณ์

https://siamrath.co.th/n/400099

ติดตามข่าวโควิดกันต่อไปนะคะ...
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 12

เตรียมความพร้อมป้องกัน "โรคปอดอักเสบ" หลังโควิดระบาด เสริมภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีน ลดความรุนแรงและป้องกันการเสียชีวิต

นายแพทย์มานิต ธีระตันติกานนท์ ประธานมูลนิธิวัคซีนเพื่อประชาชน กล่าวว่า มูลนิธิวัคซีนฯ ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน เดินหน้าเตรียมความพร้อมประเทศไทยสู่การป้องกันโรคปอดอักเสบหลังการระบาดโควิด 19 เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักต่อโรคปอดอักเสบ ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อที่มีอุบัติการณ์การเสียชีวิตสูงสุดโรคหนึ่ง และให้ความสำคัญในการดูแล ป้องกัน และรักษาโรคอย่างถูกต้องเหมาะสม รวมถึงการที่ผู้กำหนดนโยบายเตรียมพร้อมรับมือในการป้องกันโรคปอดอักเสบด้วยวัคซีน ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการช่วยชีวิต ด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วนจะเป็นก้าวสำคัญของความสำเร็จที่ประชาชนชาวไทยได้มีสุขภาวะที่ดีห่างไกลจากโรค

โรคปอดอักเสบ (Pneumonia) นับเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลก โดยเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญของเด็กเล็กและผู้สูงวัย ซึ่งพบว่าในแต่ละปีมีเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปีเสียชีวิตจากโรคปอดอักเสบมากกว่า 2 ล้านคนทั่วโลก โดยในประเทศไทย โรคปอดอักเสบเป็น 5 ลำดับแรกของโรคทางเดินหายใจที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตในทุกปีและมีแนวโน้มอัตราตายจากโรคนี้เพิ่มสูงขึ้น โดยหลังจากการที่ประเทศไทยสามารถผ่านพ้นการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 มาได้ จะทำให้ประเทศไทยสามารถรับมือและป้องกันโรคเพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยของโรคปอดอักเสบได้เช่นเดียวกัน โดยโรคปอดอักเสบสามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ซึ่งนับเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญที่จะช่วยในการดูแลสุขภาพป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ สามารถลดความรุนแรงของโรค และป้องกันการเสียชีวิตได้

ที่มา : สถาบันวัคซีนแห่งชาติ
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02A4Zx3ijs7sJaqni6iKPRj6zQov2xzacpidX5xWBmAq1audG39dCikSjCfESeBXFhl


สธ.เตือน 608 และเด็กเล็กที่มีโรคประจำตัว เร่งฉีดวัคซีนโควิด
ลดเสี่ยงป่วยรุนแรง คาด 2-4 สัปดาห์หน้า จำนวนผู้ป่วยอาการหนักเพิ่ม

นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์โรคโควิด 19 ประเทศไทย สัปดาห์ที่ 45 มีแนวโน้มพบผู้ติดเชื้อ และผู้ป่วยนอนรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 12.8 เปรียบเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า กรมควบคุมโรค ได้ติดตามข้อมูลเฝ้าระวังโรคจากทั้งผู้ป่วยรับการรักษาในโรงพยาบาล รวมทั้งผู้ป่วย หรือผู้ติดเชื้อที่ดูแลอาการตนเองที่บ้านผ่านทางระบบการรายงานโดย สปสช. และดำเนินการเฝ้าระวังสถานที่เสี่ยงใน 8 จังหวัด เริ่มพบผู้ป่วยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาล เพิ่มขึ้นทั้งในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล รวมทั้งจังหวัดท่องเที่ยว โดยเฉพาะในภาคตะวันออก และภาคใต้ ซึ่งจังหวัดส่วนใหญ่รับนักท่องเที่ยวทั้งคนไทย และต่างชาติเพิ่มขึ้น และมีการจัดกิจกรรมที่มีคนรวมตัวกันจำนวนมากขึ้นด้วย แม้ว่าผู้ป่วยอาการหนักใส่ท่อช่วยหายใจ และผู้เสียชีวิตในรอบสัปดาห์ที่ 45 (วันที่ 6 – 12 พฤศจิกายน 2565) มากกว่าครึ่งหนึ่ง เป็นผู้ที่ไม่รับวัคซีนโควิด 19 และไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น ทำให้ไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรค หากติดเชื้อโควิด 19 มีโอกาสป่วยหนักได้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงวัยและผู้ที่มีโรคประจำตัว

นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวเสริมว่านอกจากนี้แล้ว เน้นมาตรการตรวจรักษากลุ่ม 608 ที่เริ่มมีอาการป่วย ทั้งมีไข้ ไอ และ ATK พบเชื้อ ให้รีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาโรคโดยเร็ว ทั้งนี้แพทย์อาจพิจารณาให้ LAAB (ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป) โดยเฉพาะผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน หรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวที่อาจจะสร้างภูมิคุ้มกันจากวัคซีนได้น้อย ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้เตรียม ยา เวชภัณฑ์ วัคซีน รวมทั้ง LAAB ไว้เพียงพอเพื่อรองรับการระบาดของโรคที่กำลังเพิ่มขึ้น รวมทั้งสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ มีความพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนโควิด 19 โดยสามารถสอบถามวันเวลาที่ให้บริการ ก่อนไปรับการฉีดวัคซีนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0mS5hW4LPyR7UwDxzoaom1NH9caSyqrLiKYhoRGnsAs1YHsz36ShhJVWTssEhCaKKl


“นพ.ยง” แนะตรวจ ATK เมื่อรู้สึกว่าตัวเองเสี่ยง คนปกติไม่จำเป็น หากพบ 2 ขีดกักตัวตามมาตรการ ระยะลดแพร่เชื้อ ควรจะเกิน 10 วันไปแล้ว

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก เกี่ยวกับโรคโควิด 19 สถานการณ์ และกาลเวลาเปลี่ยน แนวทางการปฏิบัติการตรวจ ATK ก็ควรมีการเปลี่ยนแปลง ระบุว่า

..ในคนปกติทั่วไป ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจ ATK เช่นนักเรียนจะไปโรงเรียน การเข้าร่วมประชุม การตรวจ ATK ควรทำในผู้ที่มีอาการระบบทางเดินหายใจ หรือไปสัมผัสกับผู้ป่วย คือสัมผัสโรคมา การปฏิบัติของโรงเรียนที่ให้นักเรียนตรวจทุกสัปดาห์ จึงไม่มีความจำเป็น จะตรวจเฝ้าระวังเฉพาะผู้ที่มีอาการของโรค หรือผู้สัมผัสโรค หรือคิดว่า ตัวเองเสี่ยงในการเกิดโรค และทุกคนจะต้องรับผิดชอบ มีระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด มีความซื่อสัตย์ ผู้สัมผัสโรคจะตรวจเมื่อมีอาการ หรือตรวจในวันที่ 3 และ 5-7 ของสัมผัสโรค ถ้าให้ผลลบ ก็น่าจะปลอดภัยจากการติดโรค

“ในผู้ที่ตรวจ ATK ได้ 2 ขีด ให้เข้ารับการรักษา ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจอีก ให้กักตัวเอง 5 วัน และเข้มงวดป้องกันเมื่อออกสู่สังคมอีก 5 วัน ไม่ใช่ว่าตรวจ ATK แล้วพบว่าขีดเดียวแล้วจะทำอะไรก็ได้ ระยะลดการแพร่เชื้อ ควรจะเกิน 10 วันไปแล้ว เมื่อตรวจ ATK เป็นบวกหรือ 2 ขีดไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำ RT PCR อีก จะทำ RT PCR ในราย ที่สงสัยสัมผัสโรค หรือผู้ที่มีอาการต้องสงสัย และ ATK ให้ผลลบ เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง”

ที่มา : https://www.facebook.com/yong.poovorawan/posts/pfbid0NJmDttgRjmoqyr8Sr8V2JhHVAw11D3RjjkPV9kmynshwkjveChcpTkkczLVqSMZCl
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid029gcoYDgGMfvz9SjpxYLErDvuDzwbRW22pWMckPUp4ZCBPikdWAoGzYFnNrRCGAZvl
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่