ผ่านไปแล้ว 3 สัปดาห์สำหรับวีลีค ด้านทีมของสาวแนนเตยบีมนั้นแข่งครบ 6 นัดไปแล้ว ส่วนโมเมสัปดาห์ล่าสุดไม่มีแข่งขันรวมแล้วแข่งไปทั้งหมด 4 นัด สำหรับภาพรวมทีมผลแพ้ชนะก็คงพอทราบกันไปแล้ว แต่อยากมาโชว์สถิติส่วนบุคคลของสาวไทยเราค่ะว่าแต่ละสกิลนั้นเป็นยังไงบ้าง ช่วยทีมได้กี่มากน้อย โดยเฉพาะ 3 คนแรกที่มีสถิติของปีที่แล้วให้ได้เปรียบเทียบก็จะได้เห็นว่าสาวๆมีพัฒนาการกันยังไงบ้างนะคะ ส่วนสาวโมเมถึงแม้จะเคยมาเมื่อ 3 ปีที่แล้ว แต่สถิติน้องค่อนข้างน้อยเนื่องจากได้ลงประปรายเลยไม่ได้นำมาเปรียบเทียบด้วยนะคะ เริ่มกันเลยค่ะ (นัดที่ชนะทีมไหนจะวงเล็บ (W) ไว้ท้ายชื่อทีมนั้น)
1. บีม พิมพิชยา < Kurobe >
((ประสิทธิภาพการตบ))
ฤดูกาลที่แล้วบีมมีค่าเฉลี่ยการตบทำคะแนนอยู่ที่ 33% แต่ปีนี้ได้อยู่ในตำแหน่งที่ถนัดที่สุดคือบีหลังและไม่มีภาระรับบอลแรกคือต้องพร้อมสำหรับเข้าทำในจังหวะ first attact %เฉลี่ย 6 นัด (สีส้ม) ของน้องอยู่ที่ 41.7% โดยทำได้ดีที่สุดนัดที่เจอ Himeji และได้ MVP โดยได้ไปถึง 49.1% ในขณะที่น้อยที่สุดคือเมื่อวานนัดที่เจอ Denso ทำไป 36% แต่ก็ถือว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยปีที่แล้วอยู่ดีค่ะ- และเกินค่าเฉลี่ยปีที่แล้วทุกนัด (ขอเสริมในส่วนของการไม่ได้รับบอลแรกนิดนึงว่า สำหรับเรามองว่าไม่ใช่ปัจจัยหลักในการทำให้ผลงานดีขึ้น เพราะวีลีคนั้นเล่นกันเหนียวมากไม่ได้ตบกันครั้งเดียวแล้วเป็นแต้มเลย จังหวะแรลลี่เยอะค่ะ ซึ่งบีมก็มีส่วนต้องช่วยการ defense ฝ่ายตรงข้ามกับทีมด้วย ปัจจัยหลักของ % ที่สูงขึ้นมองว่าเพราะได้อยู่ในตำแหน่งถนัดมีผลมากกว่า)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
(
(ประสิทธิภาพการตบ 3 เมตร))
กราฟซ้าย - สำหรับการตบจากเส้น 3 เมตร ทั้งตำแหน่ง 1 และแดนกลางไม่พูดถึงคงไม่ได้ คือคุโรเบะพอรู้วิธีใช้คือใช้ไม่หยุดเลยนะคะ สำหรับ 2 นัดแรกที่เจอ Hitachi ต้องบอกว่า 3 เมตรยังจูนกับตัวเซตไม่เข้า แต่พอ 4 นัดหลังจะเห็นเลยว่า %success โหดมากๆเลยทีเดียว ค่าเฉลี่ยของปีที่แล้วอยู่ที่ 28.8% สำหรับปีนี้ผ่านไป 6 นัดค่าเฉลี่ยทำไป 35.8% โดยนัดที่เจอ Himeji ทำไปถึง 56.5% ซึ่งก็เป็นนัดที่ได้ MVP นั่นเอง
กราฟขวา - แสดงให้เห็นว่าแต่ละนัด บีมทำคะแนนจากการตบ 3 เมตร คิดเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ของการทำคะแนนทั้งหมดของตัวเอง จากกราฟจะเห็นเลยว่าทีมเปิดโหมดการใช้งานน้องต่างออกไปจากปีที่แล้ว (ปีที่แล้วน้องได้โอกาสตบ 3 เมตรน้อยมากๆ) ค่าเฉลี่ยการตบ 3 เมตรปีที่แล้วคือ 9.6% พูดให้เข้าใจง่ายๆคือ ตบทำคะแนนได้ 10 แต้ม จะเป็นคะแนนจากการตบ 3 เมตรเพียง 1 แต้ม แต่ในปีนี้ค่าเฉลี่ยคือ 34.4% คือ 1 ใน 3 ของการตบเลยทีเดียว (ปีนี้สกิลตบจาก 3 เมตรของบีมอัพเกรดแน่นอนค่ะ)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
((สัดส่วนการทำคะแนน))
สำหรับสัดส่วนการทำคะแนนคือการนำคะแนนที่ทำได้ทั้งหมดหารด้วยคะแนนทั้งหมดของทีม เพื่อดูภาระของการทำคะแนนให้ทีมว่า position ของน้องเข้าขั้นเรียกว่าแบกทีมได้รึยัง? สำหรับบีมนั้น %การทำคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 24.1% เกือบๆ 1 ใน 4 เลยทีเดียวหมายความว่าทุกๆการได้คะแนน 4 แต้ม บีมจะทำได้เกือบๆ 1 แต้มเสมอ
ต้องบอกเลยว่าในทีม ณ ตอนนี้ตัวหลักที่ทำคะแนนมี OH ที่เห็นบ่อยๆ 4 คน MB 3 คน และ OP 1 คน รวมๆแล้ว 8 คน คะแนนก็ควรจะเฉลี่ยๆกันที่ 1 แต้มทุกๆการทำ 8 แต้ม (ประมาณ 12-13%ถึงจะปกติ) แต่บีมยืนยาวและทำคะแนนไป 2 เท่าตัว สรุปง่ายๆก็ค่อนข้างแบกเลยค่ะ โดยเฉพาะนัดสุดท้าย ที่สัดส่วนน้องขึ้นไป 34.8% คือมากกว่า 1 ใน 3 ของคะแนนมาจากบีมเลย นัดนี้เรียกว่าแบกในแบกอีกทีเลยค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
2. โมเม ธนัชชา < Okayama >
((ประสิทธิภาพการตบ))
สำหรับสาวโมเมถือว่าทำผลงานได้ค่อนข้างดี น้องได้รับโอกาสลงตั้งแต่นัดแรกและสามารถทำผลงานได้เข้าตา จนสามารถมีชื่อลง line up ได้เรื่อยๆถึงแม้ 2 นัดหลังที่เจอ Hisamitsu จะไม่ได้ลงตัวหลักแต่ก็ถูกส่งลงมาเปลี่ยนเกมส์และทำได้ค่อนข้างดี สำหรับ %การตบเฉลี่ยสูงถึง 38% โดยนัดที่น้องได้ MVP สามารถทำ %ตบได้ถึง 56.5% ฮือฮากันมากเลยทีเดียว position ของโมเมนั้นต้องบอกว่าถูกวางไว้ให้รับบอลแรกช่วยทีมด้วย คือต้องมีสติตั้งแต่รับเสิร์ฟหาจังหวะตบด้วย น้องทำได้ดีค่ะ ส่วนนัดที่จะดร๊อปหน่อยคือนัดที่เจอ Hisamitsu ทำไป 23.8% ดูเหมือนน้อยแต่ %ของทีมก็ทำได้เพียง 24% เท่านั้นค่ะ น้องไม่ได้ตกค่าเฉลี่ยทีมแต่อย่างใด
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
((ประสิทธิภาพการตบ 3 เมตร))
เนื่องจากเมื่อดูสถิติอย่างละเอียดน้องจะถูกวางให้โจมตีจากเส้น 3 เมตรด้วย
กราฟซ้าย - สำหรับโมเมนัดแรกถือว่าทำได้ค่อนข้างดีทำไปถึง 50% ส่วน 3 นัดหลังจะยังไม่ดีเท่าไหร่ โดยนัดที่เจอ Hisamitsu ไม่สามารถทำคะแนนจากเส้น 3 เมตรได้เลยโดยประสิทธิภาพรวมอยู่ที่ 19% เท่านั้น
กราฟขวา - การทำคะแนนจากเส้น 3 เมตรน้องโดยเฉลี่ย น่าจะยังไม่ดีเท่าไหร่เพราะทำไปเพียง 8.7% ของการทำคะแนนทั้งหมด น้องน่าจะถนัดทำคะแนนจากแดนหน้ามากกว่า แต่คงต้องดูระยะยาวต่อไปเมื่อเจอทีมที่หลากหลายขึ้นและได้ซ้อมกับตัวเซตมากขึ้น ทีมโมเมใช้เวลาซ้อมค่อนข้างเยอะมากๆอยู่แล้ว น่าจะทำได้ดีขึ้นในนัดต่อๆไป สำหรับการตบจาก 3 เมตรค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
((สัดส่วนการทำคะแนน))
จะเห็นถึงภาระการทำคะแนนให้ทีม ค่าเฉลี่ยของโมเม 4 นัดอยู่ที่ 13.7% ซึ่งถือว่าทำได้ดีค่ะสำหรับการยืนตัวหลักสลับสำรองบ้าง น้องมีผลต่อภาพรวมทีมโดยเฉพาะนัดที่ 2 ที่ได้ MVP ก็ทำได้เกือบๆ 20% รอดูน้องนัดต่อๆไปค่ะ สำหรับโมเมถือว่ามาดีมากๆ กราฟมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากนัดแรก สำหรับเราน้องถือว่าผ่านนะ สถิติแบบนี้คิดว่าโมเมไม่คอกยาวแน่ๆค่ะ น่าจะได้รับโอกาสลงมาเป็นตัวเปลี่ยนเกมส์เรื่อยๆ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
3. แนน ทัดดาว < JT >
((ประสิทธิภาพการตบ))
สำหรับแนนนัดแรกไม่ได้ลงเล่น นัดที่ 2 ได้ลงท้ายเซตสุดท้าย และนัดที่ 3 เป็นต้นมาน้องลง lineup หลักทุกนัดและทุกเซตค่ะ ต้องบอกว่ามาตรฐานแนนสูงมากตั้งแต่ปีที่แล้วโดยค่าเฉลี่ยของฤดูกาลที่แล้วแนนทำได้ถึง 51.6% สำหรับค่าเฉลี่ย 5 นัด น้องทำได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยปีที่แล้วอยู่ที่ 53.3% สูงมากๆ ตอนนี้เหมือนทาง JT จะพยายามฝึก MB อีกคนให้มาทดแทนให้ได้แต่ก็จะดูขาดๆเกินๆ ยังไม่มีใครที่ได้ทั้งตบทั้งบล็อกแบบแนน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
((ประสิทธิภาพการบล็อค))
สำหรับแนนในตำแหน่ง MB ขอยกสกิลหลักของ MB นั่นคือบล็อคมาพูดคุยค่ะ เมื่อวานกับ Saitama นัดแรกหากใครได้ดู Highlight ต้องบอกว่าขนลุกกับลูกที่ Block 3 ครั้งจากการตบของ 3 คน ไม่ผ่านแนนซักคน เซ้นส์บล็อกแนนน่ากลัวมากๆ สำหรับ JT ณ วันนี้ยังขาดแนนไม่ได้จริงๆ น้อง MB คนอื่นๆก็มาๆหายๆคงต้องประคองกันไปก่อน
กราฟซ้าย - จะเป็นคะแนนการบล็อคต่อเซต เมื่อปีที่แล้วค่าเฉลี่ยแนนอยู่ที่ 0.64 แต่สำหรับ 5 นัดที่ผ่านมาการบล็อคแนนก็ทำได้ดีกว่ามาตรฐานอยู่ที่ 0.74 โดยนัดเมื่อวานที่เจอ Saitama ทำไปถึง 1.67 เลยทีเดียว
กราฟขวา - จะแสดงให้เห็นภาระการบล็อกของแนนเมื่อคิดเป็นสัดส่วนของจำนวนคะแนนจากการบล็อคทั้งหมดของทีมจะเห็นว่าค่าเฉลี่ยแนนอยู่ที่ 30.2% คือทุกๆ 3 แต้มของการบล็อคจะมีแต้มจากแนนเกือบๆ 1 แต้ม ซึ่งถือว่าสถิติที่ดีมากของตำแหน่ง MB เลยค่ะเพราะอย่าลืมว่าตำแหน่งการยืนต้องมีหมุนลงหลังด้วย เท่ากับว่าทุกครั้งที่ยืนหน้าเน็ตแนนทำได้ดีค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
((สัดส่วนการทำคะแนน))
สำหรับภาระการทำคะแนนของแนนในทีมรวม 6 นัดค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 6.9% คือทุกๆ 15 แต้มแนนจะทำคะแนนได้ 1 แต้ม จากสถิติตรงนี้และจำนวนครั้งในการส่งบอลเร็วต้องบอกว่า JT ไม่ได้เน้นการทำคะแนนจากบอลเร็วเลย เน้น OH และ OP ซะมากกว่า แต่ที่ได้คะแนนมานี่หากเทียบ %ตบกับกราฟด้านบน ต้องบอกว่าแนนใช้โอกาสที่ตัวเซตส่งให้ดีมากๆ ในนัดที่เจอ Toray และ Hisamitsu นัดแรก แนนทำผลงานได้ดีเลยทีเดียวหากเทียบกับจำนวนการส่งของมือเซตแม้จะเล่นกันถึง 5 เซตก็ตาม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
4. เตย หัตถยา < Toyata >
((ประสิทธิภาพการตบ))
สำหรับเตยนั้นก็เป็นอีกคนที่ทีมวางให้เป็นตัวหลักตั้งแต่นัดแรกโดยลง starting lineup ทุกนัด สำหรับสถิติฤดูกาลที่แล้วค่าเฉลี่ยเตยอยู่ที่ 40.4% แต่จาก 6 นัดที่ผ่านมาเตยทำไปถึง 42.6% โดยนัดเปิดฤดูกาลถือว่าน่าประทับใจมากเพราะตบไปถึง 66.7% แต่มาตกลงจากนัดที่ 2 ที่เจอ Hitsamitsu และ 2 นัดกับ NEC ส่วน 2 นัดที่เจอ PFU ก็ถือ่วาทำได้ตามมาตรฐานเตยค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
((ประสิทธิภาพการบล็อค))
กราฟซ้าย - คะแนนการบล็อคต่อเซต เมื่อปีที่แล้วเตยทำไว้ที่เฉลี่ย 0.72 สำหรับ 6 นัดที่ผ่านมาทำไว้ที่ 0.54 ต่ำกว่ามาตรฐานในปีที่แล้ว แต่จากกราฟต้องบอกว่าเตยไม่ได้คะแนนและบล็อคได้น้อยมากๆใน 3 นัดแรก แต่ฟอร์มการบล็อกเพิ่งกลับมาใน 3 นัดหลัง ก็หวังว่าฟอร์มสาวเตยจะเสถียรขึ้นเรื่อยๆในนัดต่อๆไปค่ะ
กราฟขวา - จะเห็นเลยว่า 3 นัดหลังเตยเป็นส่วนสำคัญของทีมในการบล็อคมากๆ นัดล่าสุดสัดส่วนสูงถึง 38.5% ส่วนค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที 24.3% หรือ 1 ใน 4 ของคะแนนการบล็อคทั้งหมดมาจากเตย สำหรับทีมโตโยต้า ก็มี MB เบอร์ 5 ที่ไขว้เตยและทำได้ดีพอจะฝากผีฝากไข้ได้มากกว่าทีมแนนนะคะ ฮ่าๆ กับตัวเซตอีกคนที่สูงและบล็อคดีมากๆค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
((สัดส่วนการทำคะแนน))
สำหรับภาระการทำคะแนนรวมของเตยจะสูงกว่าแนนเล็กน้อยที่ 8.7% แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสาวเตยได้ลงครบทุกนัดนะคะ สำหรับนัดล่าสุดทำได้ค่อนข้างดีที่ 12.5% หรือก็คือ 1 ใน 8 ของคะแนนทั้งหมด สำหรับโตโยต้านั้นถ้าดูสถิติ จะเห็นว่ามือเซตก็ค่อนข้างเฉลี่ยการส่งให้ MB ทั้ง 2 คนในแต่ละนัดค่อนข้างดีค่ะ จริงๆแล้วใน %ตบเตยจะสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทีม 4 ใน 6 นัดเลย แต่สัดส่วนการทำคะแนนเตยไม่ได้เยอะเท่าไหร่ นั่นบ่งบอกว่าตัวเซตไม่ค่อยจ่ายให้ MB ทำคะแนนค่ะหรือพูดง่ายๆคือแผนการทำคะแนนของโตโยต้าจะเน้นที่หัวเสากับ 3 เมตร จะไม่ได้เน้นทำคะแนนจากบอลเร็วเท่าไหร่ คงต้องดูกันไปยาวๆค่ะว่าทีมจะเพิ่มการทำคะแนนที่บอลเร็วหรือไม่เพราะ % ค่อนข้างดีเลย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
อ้างอิงจาก www.vleague.jp
ปล. เป็นเพียงสถิติแค่ 4-6 นัดของนักกีฬาเท่านั้นนะคะ ยังเอาไปเทียบกันไม่ได้ เพราะคู่แข่งแต่ละทีมระดับไม่เท่ากัน หากจะเอาไปเทียบกันจริงๆคงต้องรอให้วนมาเจอกันครบทุกทีมก่อนค่ะที่แถวๆ 22 นัดค่ะ
สถิติสาวไทย in V-League (Japan)| 3 week | มาดูกันว่าผ่านไป 6 นัด สาวไทยแต่ละคนผลงานเป็นยังไงบ้าง
1. บีม พิมพิชยา < Kurobe >
((ประสิทธิภาพการตบ))
ฤดูกาลที่แล้วบีมมีค่าเฉลี่ยการตบทำคะแนนอยู่ที่ 33% แต่ปีนี้ได้อยู่ในตำแหน่งที่ถนัดที่สุดคือบีหลังและไม่มีภาระรับบอลแรกคือต้องพร้อมสำหรับเข้าทำในจังหวะ first attact %เฉลี่ย 6 นัด (สีส้ม) ของน้องอยู่ที่ 41.7% โดยทำได้ดีที่สุดนัดที่เจอ Himeji และได้ MVP โดยได้ไปถึง 49.1% ในขณะที่น้อยที่สุดคือเมื่อวานนัดที่เจอ Denso ทำไป 36% แต่ก็ถือว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยปีที่แล้วอยู่ดีค่ะ- และเกินค่าเฉลี่ยปีที่แล้วทุกนัด (ขอเสริมในส่วนของการไม่ได้รับบอลแรกนิดนึงว่า สำหรับเรามองว่าไม่ใช่ปัจจัยหลักในการทำให้ผลงานดีขึ้น เพราะวีลีคนั้นเล่นกันเหนียวมากไม่ได้ตบกันครั้งเดียวแล้วเป็นแต้มเลย จังหวะแรลลี่เยอะค่ะ ซึ่งบีมก็มีส่วนต้องช่วยการ defense ฝ่ายตรงข้ามกับทีมด้วย ปัจจัยหลักของ % ที่สูงขึ้นมองว่าเพราะได้อยู่ในตำแหน่งถนัดมีผลมากกว่า)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
((ประสิทธิภาพการตบ 3 เมตร))
กราฟซ้าย - สำหรับการตบจากเส้น 3 เมตร ทั้งตำแหน่ง 1 และแดนกลางไม่พูดถึงคงไม่ได้ คือคุโรเบะพอรู้วิธีใช้คือใช้ไม่หยุดเลยนะคะ สำหรับ 2 นัดแรกที่เจอ Hitachi ต้องบอกว่า 3 เมตรยังจูนกับตัวเซตไม่เข้า แต่พอ 4 นัดหลังจะเห็นเลยว่า %success โหดมากๆเลยทีเดียว ค่าเฉลี่ยของปีที่แล้วอยู่ที่ 28.8% สำหรับปีนี้ผ่านไป 6 นัดค่าเฉลี่ยทำไป 35.8% โดยนัดที่เจอ Himeji ทำไปถึง 56.5% ซึ่งก็เป็นนัดที่ได้ MVP นั่นเอง
กราฟขวา - แสดงให้เห็นว่าแต่ละนัด บีมทำคะแนนจากการตบ 3 เมตร คิดเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ของการทำคะแนนทั้งหมดของตัวเอง จากกราฟจะเห็นเลยว่าทีมเปิดโหมดการใช้งานน้องต่างออกไปจากปีที่แล้ว (ปีที่แล้วน้องได้โอกาสตบ 3 เมตรน้อยมากๆ) ค่าเฉลี่ยการตบ 3 เมตรปีที่แล้วคือ 9.6% พูดให้เข้าใจง่ายๆคือ ตบทำคะแนนได้ 10 แต้ม จะเป็นคะแนนจากการตบ 3 เมตรเพียง 1 แต้ม แต่ในปีนี้ค่าเฉลี่ยคือ 34.4% คือ 1 ใน 3 ของการตบเลยทีเดียว (ปีนี้สกิลตบจาก 3 เมตรของบีมอัพเกรดแน่นอนค่ะ)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
((สัดส่วนการทำคะแนน))
สำหรับสัดส่วนการทำคะแนนคือการนำคะแนนที่ทำได้ทั้งหมดหารด้วยคะแนนทั้งหมดของทีม เพื่อดูภาระของการทำคะแนนให้ทีมว่า position ของน้องเข้าขั้นเรียกว่าแบกทีมได้รึยัง? สำหรับบีมนั้น %การทำคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 24.1% เกือบๆ 1 ใน 4 เลยทีเดียวหมายความว่าทุกๆการได้คะแนน 4 แต้ม บีมจะทำได้เกือบๆ 1 แต้มเสมอ
ต้องบอกเลยว่าในทีม ณ ตอนนี้ตัวหลักที่ทำคะแนนมี OH ที่เห็นบ่อยๆ 4 คน MB 3 คน และ OP 1 คน รวมๆแล้ว 8 คน คะแนนก็ควรจะเฉลี่ยๆกันที่ 1 แต้มทุกๆการทำ 8 แต้ม (ประมาณ 12-13%ถึงจะปกติ) แต่บีมยืนยาวและทำคะแนนไป 2 เท่าตัว สรุปง่ายๆก็ค่อนข้างแบกเลยค่ะ โดยเฉพาะนัดสุดท้าย ที่สัดส่วนน้องขึ้นไป 34.8% คือมากกว่า 1 ใน 3 ของคะแนนมาจากบีมเลย นัดนี้เรียกว่าแบกในแบกอีกทีเลยค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
2. โมเม ธนัชชา < Okayama >
((ประสิทธิภาพการตบ))
สำหรับสาวโมเมถือว่าทำผลงานได้ค่อนข้างดี น้องได้รับโอกาสลงตั้งแต่นัดแรกและสามารถทำผลงานได้เข้าตา จนสามารถมีชื่อลง line up ได้เรื่อยๆถึงแม้ 2 นัดหลังที่เจอ Hisamitsu จะไม่ได้ลงตัวหลักแต่ก็ถูกส่งลงมาเปลี่ยนเกมส์และทำได้ค่อนข้างดี สำหรับ %การตบเฉลี่ยสูงถึง 38% โดยนัดที่น้องได้ MVP สามารถทำ %ตบได้ถึง 56.5% ฮือฮากันมากเลยทีเดียว position ของโมเมนั้นต้องบอกว่าถูกวางไว้ให้รับบอลแรกช่วยทีมด้วย คือต้องมีสติตั้งแต่รับเสิร์ฟหาจังหวะตบด้วย น้องทำได้ดีค่ะ ส่วนนัดที่จะดร๊อปหน่อยคือนัดที่เจอ Hisamitsu ทำไป 23.8% ดูเหมือนน้อยแต่ %ของทีมก็ทำได้เพียง 24% เท่านั้นค่ะ น้องไม่ได้ตกค่าเฉลี่ยทีมแต่อย่างใด
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
((ประสิทธิภาพการตบ 3 เมตร))
เนื่องจากเมื่อดูสถิติอย่างละเอียดน้องจะถูกวางให้โจมตีจากเส้น 3 เมตรด้วย
กราฟซ้าย - สำหรับโมเมนัดแรกถือว่าทำได้ค่อนข้างดีทำไปถึง 50% ส่วน 3 นัดหลังจะยังไม่ดีเท่าไหร่ โดยนัดที่เจอ Hisamitsu ไม่สามารถทำคะแนนจากเส้น 3 เมตรได้เลยโดยประสิทธิภาพรวมอยู่ที่ 19% เท่านั้น
กราฟขวา - การทำคะแนนจากเส้น 3 เมตรน้องโดยเฉลี่ย น่าจะยังไม่ดีเท่าไหร่เพราะทำไปเพียง 8.7% ของการทำคะแนนทั้งหมด น้องน่าจะถนัดทำคะแนนจากแดนหน้ามากกว่า แต่คงต้องดูระยะยาวต่อไปเมื่อเจอทีมที่หลากหลายขึ้นและได้ซ้อมกับตัวเซตมากขึ้น ทีมโมเมใช้เวลาซ้อมค่อนข้างเยอะมากๆอยู่แล้ว น่าจะทำได้ดีขึ้นในนัดต่อๆไป สำหรับการตบจาก 3 เมตรค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
((สัดส่วนการทำคะแนน))
จะเห็นถึงภาระการทำคะแนนให้ทีม ค่าเฉลี่ยของโมเม 4 นัดอยู่ที่ 13.7% ซึ่งถือว่าทำได้ดีค่ะสำหรับการยืนตัวหลักสลับสำรองบ้าง น้องมีผลต่อภาพรวมทีมโดยเฉพาะนัดที่ 2 ที่ได้ MVP ก็ทำได้เกือบๆ 20% รอดูน้องนัดต่อๆไปค่ะ สำหรับโมเมถือว่ามาดีมากๆ กราฟมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากนัดแรก สำหรับเราน้องถือว่าผ่านนะ สถิติแบบนี้คิดว่าโมเมไม่คอกยาวแน่ๆค่ะ น่าจะได้รับโอกาสลงมาเป็นตัวเปลี่ยนเกมส์เรื่อยๆ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
3. แนน ทัดดาว < JT >
((ประสิทธิภาพการตบ))
สำหรับแนนนัดแรกไม่ได้ลงเล่น นัดที่ 2 ได้ลงท้ายเซตสุดท้าย และนัดที่ 3 เป็นต้นมาน้องลง lineup หลักทุกนัดและทุกเซตค่ะ ต้องบอกว่ามาตรฐานแนนสูงมากตั้งแต่ปีที่แล้วโดยค่าเฉลี่ยของฤดูกาลที่แล้วแนนทำได้ถึง 51.6% สำหรับค่าเฉลี่ย 5 นัด น้องทำได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยปีที่แล้วอยู่ที่ 53.3% สูงมากๆ ตอนนี้เหมือนทาง JT จะพยายามฝึก MB อีกคนให้มาทดแทนให้ได้แต่ก็จะดูขาดๆเกินๆ ยังไม่มีใครที่ได้ทั้งตบทั้งบล็อกแบบแนน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
((ประสิทธิภาพการบล็อค))
สำหรับแนนในตำแหน่ง MB ขอยกสกิลหลักของ MB นั่นคือบล็อคมาพูดคุยค่ะ เมื่อวานกับ Saitama นัดแรกหากใครได้ดู Highlight ต้องบอกว่าขนลุกกับลูกที่ Block 3 ครั้งจากการตบของ 3 คน ไม่ผ่านแนนซักคน เซ้นส์บล็อกแนนน่ากลัวมากๆ สำหรับ JT ณ วันนี้ยังขาดแนนไม่ได้จริงๆ น้อง MB คนอื่นๆก็มาๆหายๆคงต้องประคองกันไปก่อน
กราฟซ้าย - จะเป็นคะแนนการบล็อคต่อเซต เมื่อปีที่แล้วค่าเฉลี่ยแนนอยู่ที่ 0.64 แต่สำหรับ 5 นัดที่ผ่านมาการบล็อคแนนก็ทำได้ดีกว่ามาตรฐานอยู่ที่ 0.74 โดยนัดเมื่อวานที่เจอ Saitama ทำไปถึง 1.67 เลยทีเดียว
กราฟขวา - จะแสดงให้เห็นภาระการบล็อกของแนนเมื่อคิดเป็นสัดส่วนของจำนวนคะแนนจากการบล็อคทั้งหมดของทีมจะเห็นว่าค่าเฉลี่ยแนนอยู่ที่ 30.2% คือทุกๆ 3 แต้มของการบล็อคจะมีแต้มจากแนนเกือบๆ 1 แต้ม ซึ่งถือว่าสถิติที่ดีมากของตำแหน่ง MB เลยค่ะเพราะอย่าลืมว่าตำแหน่งการยืนต้องมีหมุนลงหลังด้วย เท่ากับว่าทุกครั้งที่ยืนหน้าเน็ตแนนทำได้ดีค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
((สัดส่วนการทำคะแนน))
สำหรับภาระการทำคะแนนของแนนในทีมรวม 6 นัดค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 6.9% คือทุกๆ 15 แต้มแนนจะทำคะแนนได้ 1 แต้ม จากสถิติตรงนี้และจำนวนครั้งในการส่งบอลเร็วต้องบอกว่า JT ไม่ได้เน้นการทำคะแนนจากบอลเร็วเลย เน้น OH และ OP ซะมากกว่า แต่ที่ได้คะแนนมานี่หากเทียบ %ตบกับกราฟด้านบน ต้องบอกว่าแนนใช้โอกาสที่ตัวเซตส่งให้ดีมากๆ ในนัดที่เจอ Toray และ Hisamitsu นัดแรก แนนทำผลงานได้ดีเลยทีเดียวหากเทียบกับจำนวนการส่งของมือเซตแม้จะเล่นกันถึง 5 เซตก็ตาม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
4. เตย หัตถยา < Toyata >
((ประสิทธิภาพการตบ))
สำหรับเตยนั้นก็เป็นอีกคนที่ทีมวางให้เป็นตัวหลักตั้งแต่นัดแรกโดยลง starting lineup ทุกนัด สำหรับสถิติฤดูกาลที่แล้วค่าเฉลี่ยเตยอยู่ที่ 40.4% แต่จาก 6 นัดที่ผ่านมาเตยทำไปถึง 42.6% โดยนัดเปิดฤดูกาลถือว่าน่าประทับใจมากเพราะตบไปถึง 66.7% แต่มาตกลงจากนัดที่ 2 ที่เจอ Hitsamitsu และ 2 นัดกับ NEC ส่วน 2 นัดที่เจอ PFU ก็ถือ่วาทำได้ตามมาตรฐานเตยค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
((ประสิทธิภาพการบล็อค))
กราฟซ้าย - คะแนนการบล็อคต่อเซต เมื่อปีที่แล้วเตยทำไว้ที่เฉลี่ย 0.72 สำหรับ 6 นัดที่ผ่านมาทำไว้ที่ 0.54 ต่ำกว่ามาตรฐานในปีที่แล้ว แต่จากกราฟต้องบอกว่าเตยไม่ได้คะแนนและบล็อคได้น้อยมากๆใน 3 นัดแรก แต่ฟอร์มการบล็อกเพิ่งกลับมาใน 3 นัดหลัง ก็หวังว่าฟอร์มสาวเตยจะเสถียรขึ้นเรื่อยๆในนัดต่อๆไปค่ะ
กราฟขวา - จะเห็นเลยว่า 3 นัดหลังเตยเป็นส่วนสำคัญของทีมในการบล็อคมากๆ นัดล่าสุดสัดส่วนสูงถึง 38.5% ส่วนค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที 24.3% หรือ 1 ใน 4 ของคะแนนการบล็อคทั้งหมดมาจากเตย สำหรับทีมโตโยต้า ก็มี MB เบอร์ 5 ที่ไขว้เตยและทำได้ดีพอจะฝากผีฝากไข้ได้มากกว่าทีมแนนนะคะ ฮ่าๆ กับตัวเซตอีกคนที่สูงและบล็อคดีมากๆค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
((สัดส่วนการทำคะแนน))
สำหรับภาระการทำคะแนนรวมของเตยจะสูงกว่าแนนเล็กน้อยที่ 8.7% แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสาวเตยได้ลงครบทุกนัดนะคะ สำหรับนัดล่าสุดทำได้ค่อนข้างดีที่ 12.5% หรือก็คือ 1 ใน 8 ของคะแนนทั้งหมด สำหรับโตโยต้านั้นถ้าดูสถิติ จะเห็นว่ามือเซตก็ค่อนข้างเฉลี่ยการส่งให้ MB ทั้ง 2 คนในแต่ละนัดค่อนข้างดีค่ะ จริงๆแล้วใน %ตบเตยจะสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทีม 4 ใน 6 นัดเลย แต่สัดส่วนการทำคะแนนเตยไม่ได้เยอะเท่าไหร่ นั่นบ่งบอกว่าตัวเซตไม่ค่อยจ่ายให้ MB ทำคะแนนค่ะหรือพูดง่ายๆคือแผนการทำคะแนนของโตโยต้าจะเน้นที่หัวเสากับ 3 เมตร จะไม่ได้เน้นทำคะแนนจากบอลเร็วเท่าไหร่ คงต้องดูกันไปยาวๆค่ะว่าทีมจะเพิ่มการทำคะแนนที่บอลเร็วหรือไม่เพราะ % ค่อนข้างดีเลย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
อ้างอิงจาก www.vleague.jp
ปล. เป็นเพียงสถิติแค่ 4-6 นัดของนักกีฬาเท่านั้นนะคะ ยังเอาไปเทียบกันไม่ได้ เพราะคู่แข่งแต่ละทีมระดับไม่เท่ากัน หากจะเอาไปเทียบกันจริงๆคงต้องรอให้วนมาเจอกันครบทุกทีมก่อนค่ะที่แถวๆ 22 นัดค่ะ