ณ วันนี้ผ่านมา 11 สัปดาห์แล้ว เรียกได้ว่ามาถึง 2 ใน 3 ของการแข่งขันทั้งหมด โดยแต่ละทีมจะพบกันหมดทีมละ 3 นัด มีทีมทั้งหมด 12 ทีมเท่ากับว่าแต่ละทีมจะได้แข่งขันทั้งหมด 33 นัด โดยทีมสาวแนนและสาวยูริทำการแข่งขันไปแล้ว 22 นัด ส่วนทีมโมเมและบีมทำการแข่งขันไป 20 นัด ทีมโมเมนั้นในเลกแรกพักไป 1 สัปดาห์ ส่วนทีมสาวพิมพิชนั้นมีนักกีฬาติดโควิดทำให้ต้องพักการแข่งขันกับไซตามะอาเงโอะ (ทีมจาจ้า) ไปตั้งแต่ต้นเลก 2
ลองมาดูสรุปการแข่งขัน ณ สัปดาห์ที่ 11 ของทีมสาวๆและ performance ส่วนบุคคลว่าเป็นยังไงกันบ้างค่ะ
สรุปตารางคะแนนรวม ณ ปัจจุบัน ( 5 ก.พ. 2566)
o JT ยังคงมาเป็นอันดับที่ 1 ของลีก ชนะ 17 นัด มี 50 คะแนน
o Toyota ยังคงรั้ง Top 6 ในอันดับที่ 6 ชนะ 11 นัด มี 30 คะแนน
o Kurobe ขึ้นมาอยู่ในอันดับ 10 ชนะ 8 นัด มี 22 คะแนน
o Okayama ร่วงลงไปอยู่ในอันดับที่ 11 ชนะ 5 นัด มี 18 คะแนน (ทีมโมเมต้องบอกว่าค่อนข้างเสี่ยงตกชั้นเพราะอันดับ 11 และ 12 ของ V.1 เมื่อจบฤดูกาลต้องไปแข่งรอบ V.Challenge เพื่ออยู่ต่อกับทีมอันดับที่ 1 และ 2 ของ V.2)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สถิติส่วนบุคคล โดย official record
ต้องบอกเลยว่า MB สาวทีมชาติไทยเราปังคู่เพราะทั้งสาวแนนสาวเตยทั้ง 2 คนติด Top 5 Best Blocker โดย
1.
แนนทัดดาว ณ วันนี้คือคนที่ทำคะแนนบล็อคต่อการเล่น 1 เซตสูงที่สุดในวีลีกด้วยสถิติ 0.74 โดยแนนรั้งอันดับที่ 1 มาตั้งแต่สัปดาห์ที่ 5 เป็นเวลา 6 สัปดาห์ติดต่อกันแล้ว
2.
เตยหัตถยา ตามมาที่สาวเตยในอันดับที่ 4 ด้วยสถิติ 0.66 ห่างจากสาว Tapp และโยโกตะเพียงเล็กน้อยและนำสาวจาจ้าอยู่เล็กน้อยเช่นกัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ทีนี้มาพูดถึง Performance ส่วนบุคคลกับทีมกันบ้าง สำหรับสกิลๆแต่ละคนจะมีกราฟเทียบกับ %ตบโดยรวมของทีม (กราฟเส้นที่เทาจุดสีแดง) เพื่อให้เห็นชัดยิ่งขึ้นว่าในแต่ละนัดนักกีฬาแต่ละคนมี performance อย่างไรเมื่อเทียบกับมาตรฐานของทีมในนัดนั้นๆ และสำหรับสาวแนนสาวเตยสาวบีม ก็จะมีค่าเฉลี่ยของฤดูกาลที่แล้วในแต่ละสกิลเทียบให้เห็นด้วยเช่นกัน (กราฟสีอ่อนจะแสดง performance ของแมตช์ที่ทำได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยฤดูกาลที่แล้ว) และจะมีเส้นประสีแดงแบ่งให้เห็น performance แยกระกว่างเลก 1 และ 2 ตามกราฟค่ะ
1. แนน ทัดดาว < JT >
((ประสิทธิภาพการตบ))
เริ่มกันที่สาวแนน สำหรับแนนนั้นต้องบอกว่าทีมวางแนนเป็น line up หลักในทุกๆแมตช์การแข่งขัน %การตบของแนนทำไปถึง 55.2% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยฤดูกาลที่แล้ว 51.6% สูงกว่า +3.6% ถือว่าสุดยอดมากๆค่ะ ณ วันนี้ JT เจอมาครบทุกทีมในลีกแล้ว และถ้าดู % ในแต่ละนัด นัดที่ทำผลงานได้ดีที่สุดคือนัดที่เจอกับ Kurobe ในเลกแรกและนัดล่าสุดที่เจอกับ PFU ต้องบอกว่า 2 ทีมนี้เมื่อเทียบความสามารถการบล็อกของบอลเร็วค่อนข้างอ่อนกว่าทีมอื่นๆค่ะ เลยทำให้ %ตบแนนค่อนข้างสูง แต่ใช่ว่าแนนจะมี %ตบสูงเฉพาะทีมที่ไม่แข็งมากเพราะก็ยังทำผลงานกับทีมหัวตารางได้เช่นกัน อย่างอาเงโอะ, โตโยต้าหรือสปริงส์เองที่ตัว MB ก็แข็งระดับทีมชาติทั้งนั้นค่ะ
อันที่จริง %ตบ แนนตอนนี้สูงกว่าอันดับ 1 วีลีกน้องยามาดะ NEC นะคะ แต่ด้วยความที่จำนวนการตบต่อเซตน้อยไปหน่อยทำให้ตก criteria ของทางวีลีก ต้องมาลุ้นว่า JT จะเพิ่มจำนวนการบุกด้วยบอลเร็วในนัดที่เหลือรึเปล่าค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
((ประสิทธิภาพการบล็อค & %คะแนนจากการบล็อคให้ทีม))
สำหรับประสิทธิภาพการบล็อคของแนนคงไม่ต้องพูดอะไรเยอะ เพราะการันตีด้วยอัตราการบล็อคต่อเซตสูงที่สุดมาเป็นอันดับ 1 ของลีกนะคะ พอมาดู performance ในเลกที่ 2 ต้องบอกว่าฟอร์มแนนถือว่าเสถียรจะเห็นว่าแมตช์ที่ทำคะแนนบล็อคมากน้อยสลับกันไป อาจจะยังไม่มีแมตช์ที่พีคเป็นพิเศษเหมือนเลกแรก
หากดูสัดส่วนคะแนนการบล็อคของแนนเทียบกับคะแนนจากการบล็อคทั้งหมดของทีม แนนบล็อคให้ทีมคนเดียวไปถึง 34.4% คิดเป็น 1 ใน 3 ของทั้งทีมเลย ต้องบอกว่าสูงมากๆค่ะ นี่ยังไม่รวมลูกที่สามารถรีบาวน์ให้ทีมกลับไปตั้ง counter attact ได้อีก แนวโน้มการทำคะแนนก็ค่อนข้างต่อเนื่อง ยังไงแนนก็ยังเป็นหัวใจสำคัญของ JT ในเกมส์บล็อคค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
((%การทำคะแนนให้ทีม))
สุดท้ายสำหรับ %การทำคะแนนทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการบล็อค เสิร์ฟและตบ แนนทำคะแนนให้ทีมไป 9.4% ไม่ได้เยอะเท่าไหร่ เนื่องจากหากมองจากวิธีการบุกของ JT ในฤดูกาลนี้ ทีมไม่เน้นทำคะแนนจากบอลเร็วค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
2. เตย หัตถยา < Toyota >
((ประสิทธิภาพการตบ))
มาที่สาวยูริกันบ้าง %การตบเฉลี่ยทั้ง 22 นัดของเตยเท่ากับ 44.5% สูงกว่าค่าเฉลี่ยฤดูกาลที่แล้ว 40.4% อยู่ที่ +4.1% ถือว่าเตยก็เป็นอีกคนที่มีพัฒนาการที่ดีขึ้นค่ะ โดยนัดที่ทำ %ตบได้สูงที่สุดคือนัดที่เจอกับ Himeji #1 ทำไปถึง 75% เลยทีเดียว หากดูจากกราฟแยกเลก 1 และ 2 จะค่อนข้างเห็นชัดว่าในเลกที่ 2 เตยทำผลการในด้านการตบโดยภาพรวมดีขึ้นโดยเฉพาะ 4 นัดหลังสุดที่ %ตบ สูงกว่าฤดูกาลที่แล้ว ถึงแม้ทีมจะแพ้ใน 3 นัดหลังสุดแต่ผลงานส่วนตัวเตยอยู่ในระดับที่ค่อนข้างดีและยิ่งเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทีมจะเห็นเลยว่าเตยโดดเด่นกว่าเพื่อนในทีมชัดเจนค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
((ประสิทธิภาพการบล็อค & %คะแนนจากการบล็อคให้ทีม))
สำหรับประสิทธิภาพการบล็อคของเตยก็เช่นเดียวกับสาวแนนค่ะ ที่การันตีด้วยอันดับที่ 4 ของลีกที่ทำไป 0.66 แต่ยังไงก็ตามยังคงน้อยกว่าค่าเฉลี่ยในปีที่แล้วที่เท่าไว้ 0.72 และหากดูในเลกที่ 2 5-6 นัดหลังเตยทำได้ค่อนข้างต่ำกว่ามาตรฐานตัวเองไปพอสมควร ยังไงก็ต้องเอาใจช่วยสาวยูริให้พัฒนาฟอร์มด้านการบล็อกไปจนจบฤดูกาลนะคะ
สำหรับสัดส่วนคะแนนการบล็อกถึงแม้ฟอร์มการบล็อกจะดูดร็อปไปหน่อยแต่ภาพรวมนั้นเตยสามารถทำคะแนนบล็อกไปถึง 29.6% เกือบๆ 1 ใน 3 ของคะแนนบล็อกทั้งหมดเช่นเดียวกันกับแนน ก็ต้องบอกว่าเตยคือหัวใจหลักของทีมในเกมส์การบล็อคเช่นกัน นี่มองว่าหากดู MB ในทีมเป็นไปได้ค่อนข้างสูงว่า Toyota จะต่อสัญญากับเตยแน่ๆ เพราะเรื่องตบและบล็อคเตยดีกว่าตัวโลคอลของทีมแบบห่างชั้นมากๆค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
((%การทำคะแนนให้ทีม))
มาถึง %การทำคะแนน แข่งมาจนถึงนัดที่ 22 เตยทำคะแนนให้ทีมไปแล้ว 11.2% ใกล้เคียงกับแนนมากๆค่ะ นี่ว่าเตยแนน กาสะลองซ้องปีบ อลินอลันเว่อๆ คือ performance และวิธีการทำคะแนนของ JT กับ Toyota คล้ายกันมากๆค่ะ ไม่เน้นทำคะแนนจาก MB ทั้งๆที่สถิติเอยอะไรเอยดีกว่าชาวบ้านทั้งหมด แล้วยิ่งของเตยแนวโน้มการทำคะแนน สอดคล้องกับ %ตบ คือเลก 2 มีพัฒนาการที่ค่อนข้างดี มองกว่า Toyota น่าจะเฉลี่ยการทำคะแนนมาให้บอลเร็วมากกว่านี้ได้เลย เพราะหวังพึ่งแต่สาวคัตติโน่หรือโลคอลที่ 3-4 นัดหลังฟอร์มไม่ค่อยมาเท่าไหร่จะลำบากในนัดที่เหลือค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
3. บีม พิมพิชยา < Kurobe >
((ประสิทธิภาพการตบรวม & ประสิทธิภาพการตบ 3 เมตร))
มาต่อสาวพิมพิชค่ะ สำหรับ %ตบผ่านมาแล้ว 20 นัด ทำไปถึง 40.8% สูงกว่าค่าเฉลี่ยปีที่แล้ว 33% อยู่ถึง +7.8% สำหรับบีมคงไม่มีใครมีข้อกังขากับน้องในลีกฤดูกาลนี้อีกแล้วค่ะ ผลงานดีมากๆและหากดูการแข่งขันในเลก 2 ไม่มีนัดไหนเลยที่น้อง %ตบ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปีที่แล้วและยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยทีมเกือบทุกนัด
และสำหรับบีมที่น่าสนใจคงเป็น %การตบ 3 เมตร (กราฟล่าง) ที่ก้าวกระโดดมากเพราะทำไปถึง 35.9% เทียบกับปีที่แล้ว 28.8% สูงกว่าถึง +7.1% และในหลายๆนัดเกิน 50% เลยด้วยซ้ำ ต้องจับตามองต่อไปสำหรับ 3 เมตรของบีมเพราะในเลก 2 ทีมเริ่มวนตำแหน่งให้น้องไปตบ 3 เมตรกลางในหลายๆนัดแล้วค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
((%การทำคะแนนให้ทีม & %การทำคะแนนจากการตบ 3 เมตร))
สุดท้ายมาดู %การทำคะแนนให้ทีมบีมทำไปถึง 24.7% ของคะแนนทั้งหมด คิดง่ายๆก็ 1 ใน 4 เป็นคะแนนจากน้องเลย
และคิดเป็นคะแนนที่ทำจากการตบ 3 เมตรไปถึง 31.7%ของคะแนนทั้งหมดที่น้องทำได้ เทียบกับปีที่แล้ว 9.7% สูงกว่าถึง +22% ต้องบอกว่าปีนี้ทีมใช้งานน้องได้คุ้มมากๆกับบทบาท killer ถือว่าทำการบ้านมาดีทีเดียวค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
4. โมเม ธนัชชา < Okayama >
((ประสิทธิภาพการตบรวม & ประสิทธิภาพการตบ 3 เมตร))
มาถึงน้องเล็กคนสุดท้ายอย่างสาวโมเมกันค่ะค่าเฉลี่ย %ตบผ่านมา 20 นัดทำไปถึง 38.2% สูงมากกก หากนำไปเทียบกับบีม ที่ทำไป 40.8% น้อยกว่าไปเพียง -2.6% เท่านั้น เอามาเทียบตรงๆเลยอาจจะไม่ได้เพราะจำนวนครั้งในการตบบีมค่อนข้างเยอะกว่ามากๆ แต่เมื่อมองในมุมของ performance ต่อโอกาสในการตบที่ได้รับต้องถือว่าโมเมทำได้ดีมากๆค่ะ และหากใครติดตามการเล่นในทุกๆนัดของน้องจะเห็นถึงพัฒนาการด้านการตบของโมเมที่ชัดมากๆ เรื่องนึงที่ชัดเจนคือการเลือกการทำแต้มโดยดูฝั่งตรงข้ามและมีการเข้าทำที่มีมิติกว่าในทีมชาติหรือในทีมไทยลีกเอง ตรงนี้พัฒนาการค่อนข้างชัดเจนค่ะ ลูกฉลาดเยอะเลยทีเดียว
สำหรับลูกตบจาก 3 เมต (กราฟล่าง)จะเห็นว่า Okayama หยุดการทำคะแนนจากการตบ 3 เมตร ของนักกีฬาไปตั้งแต่กลางเลกแรกจนถึงท้ายๆเลกเพราะนอกจาก 2 นัดแรกที่โมเมฟาด %ตบ 3 เมตรไป 50% ก็ไม่สามารถทำคะแนนได้อีกเลย ทีมคงจะกลับไปฝึกให้มั่นใจกว่านี้ แต่ในเลกที่ 2 เปลี่ยนคู่บีหลังกับตัวเซตจากอูกาจินเป็นมิยาชิตะแล้วทีมก็เริ่มกลับมาทำคะแนนจาก 3 เมตรมากขึ้น ต้องบอกว่าในบรรดาหัวเสาทั้งหมดของ Okayama น้องทำคะแนนตบ 3 เมตรได้เยอะที่สุดและสม่ำเสมอที่สุดค่ะ เด็กปั้นอย่างน้องไซกิกับน้องนากาโมโตะยังทำได้ไม่ดีเท่าโมเมค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
((%การทำคะแนนให้ทีม & %การทำคะแนนจากการตบ 3 เมตร))
ผ่านมา 20 นัด โมเมทำคะแนนให้ทีมคิดเป็น 11.6% ของคะแนนทั้งหมดของทีม ก็ถือว่าไม่เยอะนะคะ แต่ถ้าหากดูในรายละเอียด น้องไม่ได้ยืนเป็นตัวหลักของทีมและถึงแม้จะเป็น starting line up แต่ถือว่าเป็นตัวไว้แก้เกมส์มากกว่า เพราะตัวหลักของทีมจะเป็นหัวเสาและบอลเร็ว และยิ่งในนัดหลังๆน้องถูกวางเป็นตัวเปลี่ยนเกมส์ซะด้วยซ้ำ สำหรับนัดที่ทำคะแนนได้เยอะที่สุดก็คงเป็นนัดที่เจอคุโรเบะนัดที่ 2 ที่เป็นศึกระหว่างบีหลังทีมชาติไทยทั้ง 2 คนแลกกันหมัดต่อหมัด สนุกมากค่ะแมตช์นั้น
และหากดู %การทำคะแนนจากการตบ 3 เมตรที่ทำไปทั้งหมด 5.2% ก็ถือว่า 3 เมตรยังไม่เด่นแต่ก็ต้องติดตามพัฒนาการทีมต่อไปที่เริ่มเปิดโหมด 3 เมตรให้โมเมมากขึ้นแล้วค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
อ้างอิงจาก www.vleague.jp
สถิติสาวไทย in V-League (Japan)| 11 week | ผ่านไปเกินครึ่งทางแล้ว มาดูผลงานสาวไทยในแดนปลาดิบกันค่ะ
ลองมาดูสรุปการแข่งขัน ณ สัปดาห์ที่ 11 ของทีมสาวๆและ performance ส่วนบุคคลว่าเป็นยังไงกันบ้างค่ะ
สรุปตารางคะแนนรวม ณ ปัจจุบัน ( 5 ก.พ. 2566)
o JT ยังคงมาเป็นอันดับที่ 1 ของลีก ชนะ 17 นัด มี 50 คะแนน
o Toyota ยังคงรั้ง Top 6 ในอันดับที่ 6 ชนะ 11 นัด มี 30 คะแนน
o Kurobe ขึ้นมาอยู่ในอันดับ 10 ชนะ 8 นัด มี 22 คะแนน
o Okayama ร่วงลงไปอยู่ในอันดับที่ 11 ชนะ 5 นัด มี 18 คะแนน (ทีมโมเมต้องบอกว่าค่อนข้างเสี่ยงตกชั้นเพราะอันดับ 11 และ 12 ของ V.1 เมื่อจบฤดูกาลต้องไปแข่งรอบ V.Challenge เพื่ออยู่ต่อกับทีมอันดับที่ 1 และ 2 ของ V.2)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สถิติส่วนบุคคล โดย official record
ต้องบอกเลยว่า MB สาวทีมชาติไทยเราปังคู่เพราะทั้งสาวแนนสาวเตยทั้ง 2 คนติด Top 5 Best Blocker โดย
1. แนนทัดดาว ณ วันนี้คือคนที่ทำคะแนนบล็อคต่อการเล่น 1 เซตสูงที่สุดในวีลีกด้วยสถิติ 0.74 โดยแนนรั้งอันดับที่ 1 มาตั้งแต่สัปดาห์ที่ 5 เป็นเวลา 6 สัปดาห์ติดต่อกันแล้ว
2. เตยหัตถยา ตามมาที่สาวเตยในอันดับที่ 4 ด้วยสถิติ 0.66 ห่างจากสาว Tapp และโยโกตะเพียงเล็กน้อยและนำสาวจาจ้าอยู่เล็กน้อยเช่นกัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ทีนี้มาพูดถึง Performance ส่วนบุคคลกับทีมกันบ้าง สำหรับสกิลๆแต่ละคนจะมีกราฟเทียบกับ %ตบโดยรวมของทีม (กราฟเส้นที่เทาจุดสีแดง) เพื่อให้เห็นชัดยิ่งขึ้นว่าในแต่ละนัดนักกีฬาแต่ละคนมี performance อย่างไรเมื่อเทียบกับมาตรฐานของทีมในนัดนั้นๆ และสำหรับสาวแนนสาวเตยสาวบีม ก็จะมีค่าเฉลี่ยของฤดูกาลที่แล้วในแต่ละสกิลเทียบให้เห็นด้วยเช่นกัน (กราฟสีอ่อนจะแสดง performance ของแมตช์ที่ทำได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยฤดูกาลที่แล้ว) และจะมีเส้นประสีแดงแบ่งให้เห็น performance แยกระกว่างเลก 1 และ 2 ตามกราฟค่ะ
1. แนน ทัดดาว < JT >
((ประสิทธิภาพการตบ))
เริ่มกันที่สาวแนน สำหรับแนนนั้นต้องบอกว่าทีมวางแนนเป็น line up หลักในทุกๆแมตช์การแข่งขัน %การตบของแนนทำไปถึง 55.2% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยฤดูกาลที่แล้ว 51.6% สูงกว่า +3.6% ถือว่าสุดยอดมากๆค่ะ ณ วันนี้ JT เจอมาครบทุกทีมในลีกแล้ว และถ้าดู % ในแต่ละนัด นัดที่ทำผลงานได้ดีที่สุดคือนัดที่เจอกับ Kurobe ในเลกแรกและนัดล่าสุดที่เจอกับ PFU ต้องบอกว่า 2 ทีมนี้เมื่อเทียบความสามารถการบล็อกของบอลเร็วค่อนข้างอ่อนกว่าทีมอื่นๆค่ะ เลยทำให้ %ตบแนนค่อนข้างสูง แต่ใช่ว่าแนนจะมี %ตบสูงเฉพาะทีมที่ไม่แข็งมากเพราะก็ยังทำผลงานกับทีมหัวตารางได้เช่นกัน อย่างอาเงโอะ, โตโยต้าหรือสปริงส์เองที่ตัว MB ก็แข็งระดับทีมชาติทั้งนั้นค่ะ
อันที่จริง %ตบ แนนตอนนี้สูงกว่าอันดับ 1 วีลีกน้องยามาดะ NEC นะคะ แต่ด้วยความที่จำนวนการตบต่อเซตน้อยไปหน่อยทำให้ตก criteria ของทางวีลีก ต้องมาลุ้นว่า JT จะเพิ่มจำนวนการบุกด้วยบอลเร็วในนัดที่เหลือรึเปล่าค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
((ประสิทธิภาพการบล็อค & %คะแนนจากการบล็อคให้ทีม))
สำหรับประสิทธิภาพการบล็อคของแนนคงไม่ต้องพูดอะไรเยอะ เพราะการันตีด้วยอัตราการบล็อคต่อเซตสูงที่สุดมาเป็นอันดับ 1 ของลีกนะคะ พอมาดู performance ในเลกที่ 2 ต้องบอกว่าฟอร์มแนนถือว่าเสถียรจะเห็นว่าแมตช์ที่ทำคะแนนบล็อคมากน้อยสลับกันไป อาจจะยังไม่มีแมตช์ที่พีคเป็นพิเศษเหมือนเลกแรก
หากดูสัดส่วนคะแนนการบล็อคของแนนเทียบกับคะแนนจากการบล็อคทั้งหมดของทีม แนนบล็อคให้ทีมคนเดียวไปถึง 34.4% คิดเป็น 1 ใน 3 ของทั้งทีมเลย ต้องบอกว่าสูงมากๆค่ะ นี่ยังไม่รวมลูกที่สามารถรีบาวน์ให้ทีมกลับไปตั้ง counter attact ได้อีก แนวโน้มการทำคะแนนก็ค่อนข้างต่อเนื่อง ยังไงแนนก็ยังเป็นหัวใจสำคัญของ JT ในเกมส์บล็อคค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
((%การทำคะแนนให้ทีม))
สุดท้ายสำหรับ %การทำคะแนนทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการบล็อค เสิร์ฟและตบ แนนทำคะแนนให้ทีมไป 9.4% ไม่ได้เยอะเท่าไหร่ เนื่องจากหากมองจากวิธีการบุกของ JT ในฤดูกาลนี้ ทีมไม่เน้นทำคะแนนจากบอลเร็วค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
2. เตย หัตถยา < Toyota >
((ประสิทธิภาพการตบ))
มาที่สาวยูริกันบ้าง %การตบเฉลี่ยทั้ง 22 นัดของเตยเท่ากับ 44.5% สูงกว่าค่าเฉลี่ยฤดูกาลที่แล้ว 40.4% อยู่ที่ +4.1% ถือว่าเตยก็เป็นอีกคนที่มีพัฒนาการที่ดีขึ้นค่ะ โดยนัดที่ทำ %ตบได้สูงที่สุดคือนัดที่เจอกับ Himeji #1 ทำไปถึง 75% เลยทีเดียว หากดูจากกราฟแยกเลก 1 และ 2 จะค่อนข้างเห็นชัดว่าในเลกที่ 2 เตยทำผลการในด้านการตบโดยภาพรวมดีขึ้นโดยเฉพาะ 4 นัดหลังสุดที่ %ตบ สูงกว่าฤดูกาลที่แล้ว ถึงแม้ทีมจะแพ้ใน 3 นัดหลังสุดแต่ผลงานส่วนตัวเตยอยู่ในระดับที่ค่อนข้างดีและยิ่งเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทีมจะเห็นเลยว่าเตยโดดเด่นกว่าเพื่อนในทีมชัดเจนค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
((ประสิทธิภาพการบล็อค & %คะแนนจากการบล็อคให้ทีม))
สำหรับประสิทธิภาพการบล็อคของเตยก็เช่นเดียวกับสาวแนนค่ะ ที่การันตีด้วยอันดับที่ 4 ของลีกที่ทำไป 0.66 แต่ยังไงก็ตามยังคงน้อยกว่าค่าเฉลี่ยในปีที่แล้วที่เท่าไว้ 0.72 และหากดูในเลกที่ 2 5-6 นัดหลังเตยทำได้ค่อนข้างต่ำกว่ามาตรฐานตัวเองไปพอสมควร ยังไงก็ต้องเอาใจช่วยสาวยูริให้พัฒนาฟอร์มด้านการบล็อกไปจนจบฤดูกาลนะคะ
สำหรับสัดส่วนคะแนนการบล็อกถึงแม้ฟอร์มการบล็อกจะดูดร็อปไปหน่อยแต่ภาพรวมนั้นเตยสามารถทำคะแนนบล็อกไปถึง 29.6% เกือบๆ 1 ใน 3 ของคะแนนบล็อกทั้งหมดเช่นเดียวกันกับแนน ก็ต้องบอกว่าเตยคือหัวใจหลักของทีมในเกมส์การบล็อคเช่นกัน นี่มองว่าหากดู MB ในทีมเป็นไปได้ค่อนข้างสูงว่า Toyota จะต่อสัญญากับเตยแน่ๆ เพราะเรื่องตบและบล็อคเตยดีกว่าตัวโลคอลของทีมแบบห่างชั้นมากๆค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
((%การทำคะแนนให้ทีม))
มาถึง %การทำคะแนน แข่งมาจนถึงนัดที่ 22 เตยทำคะแนนให้ทีมไปแล้ว 11.2% ใกล้เคียงกับแนนมากๆค่ะ นี่ว่าเตยแนน กาสะลองซ้องปีบ อลินอลันเว่อๆ คือ performance และวิธีการทำคะแนนของ JT กับ Toyota คล้ายกันมากๆค่ะ ไม่เน้นทำคะแนนจาก MB ทั้งๆที่สถิติเอยอะไรเอยดีกว่าชาวบ้านทั้งหมด แล้วยิ่งของเตยแนวโน้มการทำคะแนน สอดคล้องกับ %ตบ คือเลก 2 มีพัฒนาการที่ค่อนข้างดี มองกว่า Toyota น่าจะเฉลี่ยการทำคะแนนมาให้บอลเร็วมากกว่านี้ได้เลย เพราะหวังพึ่งแต่สาวคัตติโน่หรือโลคอลที่ 3-4 นัดหลังฟอร์มไม่ค่อยมาเท่าไหร่จะลำบากในนัดที่เหลือค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
3. บีม พิมพิชยา < Kurobe >
((ประสิทธิภาพการตบรวม & ประสิทธิภาพการตบ 3 เมตร))
มาต่อสาวพิมพิชค่ะ สำหรับ %ตบผ่านมาแล้ว 20 นัด ทำไปถึง 40.8% สูงกว่าค่าเฉลี่ยปีที่แล้ว 33% อยู่ถึง +7.8% สำหรับบีมคงไม่มีใครมีข้อกังขากับน้องในลีกฤดูกาลนี้อีกแล้วค่ะ ผลงานดีมากๆและหากดูการแข่งขันในเลก 2 ไม่มีนัดไหนเลยที่น้อง %ตบ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปีที่แล้วและยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยทีมเกือบทุกนัด
และสำหรับบีมที่น่าสนใจคงเป็น %การตบ 3 เมตร (กราฟล่าง) ที่ก้าวกระโดดมากเพราะทำไปถึง 35.9% เทียบกับปีที่แล้ว 28.8% สูงกว่าถึง +7.1% และในหลายๆนัดเกิน 50% เลยด้วยซ้ำ ต้องจับตามองต่อไปสำหรับ 3 เมตรของบีมเพราะในเลก 2 ทีมเริ่มวนตำแหน่งให้น้องไปตบ 3 เมตรกลางในหลายๆนัดแล้วค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
((%การทำคะแนนให้ทีม & %การทำคะแนนจากการตบ 3 เมตร))
สุดท้ายมาดู %การทำคะแนนให้ทีมบีมทำไปถึง 24.7% ของคะแนนทั้งหมด คิดง่ายๆก็ 1 ใน 4 เป็นคะแนนจากน้องเลย
และคิดเป็นคะแนนที่ทำจากการตบ 3 เมตรไปถึง 31.7%ของคะแนนทั้งหมดที่น้องทำได้ เทียบกับปีที่แล้ว 9.7% สูงกว่าถึง +22% ต้องบอกว่าปีนี้ทีมใช้งานน้องได้คุ้มมากๆกับบทบาท killer ถือว่าทำการบ้านมาดีทีเดียวค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
4. โมเม ธนัชชา < Okayama >
((ประสิทธิภาพการตบรวม & ประสิทธิภาพการตบ 3 เมตร))
มาถึงน้องเล็กคนสุดท้ายอย่างสาวโมเมกันค่ะค่าเฉลี่ย %ตบผ่านมา 20 นัดทำไปถึง 38.2% สูงมากกก หากนำไปเทียบกับบีม ที่ทำไป 40.8% น้อยกว่าไปเพียง -2.6% เท่านั้น เอามาเทียบตรงๆเลยอาจจะไม่ได้เพราะจำนวนครั้งในการตบบีมค่อนข้างเยอะกว่ามากๆ แต่เมื่อมองในมุมของ performance ต่อโอกาสในการตบที่ได้รับต้องถือว่าโมเมทำได้ดีมากๆค่ะ และหากใครติดตามการเล่นในทุกๆนัดของน้องจะเห็นถึงพัฒนาการด้านการตบของโมเมที่ชัดมากๆ เรื่องนึงที่ชัดเจนคือการเลือกการทำแต้มโดยดูฝั่งตรงข้ามและมีการเข้าทำที่มีมิติกว่าในทีมชาติหรือในทีมไทยลีกเอง ตรงนี้พัฒนาการค่อนข้างชัดเจนค่ะ ลูกฉลาดเยอะเลยทีเดียว
สำหรับลูกตบจาก 3 เมต (กราฟล่าง)จะเห็นว่า Okayama หยุดการทำคะแนนจากการตบ 3 เมตร ของนักกีฬาไปตั้งแต่กลางเลกแรกจนถึงท้ายๆเลกเพราะนอกจาก 2 นัดแรกที่โมเมฟาด %ตบ 3 เมตรไป 50% ก็ไม่สามารถทำคะแนนได้อีกเลย ทีมคงจะกลับไปฝึกให้มั่นใจกว่านี้ แต่ในเลกที่ 2 เปลี่ยนคู่บีหลังกับตัวเซตจากอูกาจินเป็นมิยาชิตะแล้วทีมก็เริ่มกลับมาทำคะแนนจาก 3 เมตรมากขึ้น ต้องบอกว่าในบรรดาหัวเสาทั้งหมดของ Okayama น้องทำคะแนนตบ 3 เมตรได้เยอะที่สุดและสม่ำเสมอที่สุดค่ะ เด็กปั้นอย่างน้องไซกิกับน้องนากาโมโตะยังทำได้ไม่ดีเท่าโมเมค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
((%การทำคะแนนให้ทีม & %การทำคะแนนจากการตบ 3 เมตร))
ผ่านมา 20 นัด โมเมทำคะแนนให้ทีมคิดเป็น 11.6% ของคะแนนทั้งหมดของทีม ก็ถือว่าไม่เยอะนะคะ แต่ถ้าหากดูในรายละเอียด น้องไม่ได้ยืนเป็นตัวหลักของทีมและถึงแม้จะเป็น starting line up แต่ถือว่าเป็นตัวไว้แก้เกมส์มากกว่า เพราะตัวหลักของทีมจะเป็นหัวเสาและบอลเร็ว และยิ่งในนัดหลังๆน้องถูกวางเป็นตัวเปลี่ยนเกมส์ซะด้วยซ้ำ สำหรับนัดที่ทำคะแนนได้เยอะที่สุดก็คงเป็นนัดที่เจอคุโรเบะนัดที่ 2 ที่เป็นศึกระหว่างบีหลังทีมชาติไทยทั้ง 2 คนแลกกันหมัดต่อหมัด สนุกมากค่ะแมตช์นั้น
และหากดู %การทำคะแนนจากการตบ 3 เมตรที่ทำไปทั้งหมด 5.2% ก็ถือว่า 3 เมตรยังไม่เด่นแต่ก็ต้องติดตามพัฒนาการทีมต่อไปที่เริ่มเปิดโหมด 3 เมตรให้โมเมมากขึ้นแล้วค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
อ้างอิงจาก www.vleague.jp