https://www.prachachat.net/finance/news-1110285
แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจนก็คือ การเปลี่ยนจาก “นักสู้” เป็น “นักเลือก” หรือถ้าจะพูดให้ถูกต้องกว่าก็คือ เป็น “นักเลือก-ก่อนที่จะสู้” และนั่นนำมาสู่ภาคปฏิบัติที่สำคัญมากก็คือ ก่อนที่จะทำอะไร ผมจะ “คิดก่อนทำ” ไม่ใช่ “คิดก่อนว่าจะทำอย่างไร” แต่มักจะเป็น “คิดก่อนว่าจะทำหรือไม่”
จริง ๆ แล้ว ช่วงที่เป็น VI ใหม่ ๆ ผมเองก็ยังต้องทำสิ่งที่ตนเองไม่ชอบทำและทำไปก็ไม่ทำให้ตนเองเก่งขึ้นหรือเป็นประโยชน์ในอนาคต แต่ต้องทำเพราะมันเป็น “อาชีพ” ที่หาเงินได้ดี และทำให้เรา “มีสถานะในสังคม” และทั้งสองอย่างนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นในช่วงที่เรายังไม่มี “อิสรภาพทางการเงิน” ดังนั้น การเป็นนักเลือกที่มีอิสระในการเลือกว่าจะทำอะไรก็ได้จริง ๆ นั้น ขึ้นอยู่กับว่าเรามีความมั่งคั่งเพียงพอแค่ไหนด้วย
ในช่วงหลังจากที่ผมมีอิสรภาพทางการเงินสมบูรณ์และออกจากการทำงานประจำเมื่ออายุประมาณ 50 ปีเศษ ผมก็เริ่มที่จะเข้มงวดขึ้นในการที่จะรับงานหรือทำงานอะไรที่ตนเองไม่ชอบ นอกจากนั้น งานที่มีความสนใจและอาจที่จะอยากทำ ผมก็จะ “คิดก่อนที่จะทำ” โดยเฉพาะถ้าเป็นการทำที่ใช้เวลาและเป็นเรื่องต่อเนื่องระยะยาว ผมจะคิดอย่างถี่ถ้วนว่าผมจะทำได้ดีหรือไม่ และผมจะ “ชนะ” ไหม?
และทั้งหมดนั้น ผมก็นำมาประยุกต์ใช้กับบริษัทจดทะเบียนทั้งหลายในตลาดหลักทรัพย์ที่เราเข้าไปเลือกซื้อหุ้นแบบ “VI” ในแบบ “ซุปเปอร์สต็อก” ที่บอกว่าเราต้องการเลือกหุ้น “ผู้ชนะ” ในราคาที่ไม่แพง วิธีการก็คือ ดูว่าในอุตสาหกรรมหรือธุรกิจของบริษัท อะไรคือปัจจัยสำคัญในการแข่งขัน ซึ่งแต่ละอุตสาหกรรมก็จะไม่เหมือนกันแม้ว่าจะมีปัจจัยบางอย่างร่วมกันอยู่ ตัวอย่างเช่น เรื่องของขนาด ซึ่งบางอุตสาหกรรมขนาดอาจจะไม่ใช่ปัจจัยที่สำคัญมาก แต่ในธุรกิจค้าปลีกนั้น ขนาดหรือเครือข่ายที่ใหญ่จะได้เปรียบค่อนข้างมาก และเมื่อใหญ่ถึงจุดหนึ่ง การแข่งขันก็มักจะแทบหมดไป รายใหญ่แทบจะชนะเสมอ
การวิเคราะห์ว่าใครหรืออะไรจะแพ้หรือชนะนั้น สำหรับผมแล้ว เป็นเรื่องที่จำเป็นมากสำหรับ “นักเลือก” โดยเฉพาะการเป็น “นักลงทุนระยะยาว” ที่ความสำเร็จหรือล้มเหลวแทบทั้งหมดขึ้นอยู่กับว่าคุณเลือกหุ้นหรือหลักทรัพย์ถูกตัวไหม และสิ่งที่จะต้องศึกษาและรู้จริงก็คือ อะไรที่เป็นปัจจัยสำคัญในการแข่งขันหรือในความสำเร็จของผู้เล่น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่จะเรียนรู้หรือเข้าใจได้เอง ส่วนมากแล้วก็จะมาจากการวิเคราะห์วิจัยของ “กูรู” ทางธุรกิจที่ได้เขียนหนังสือหรือแบบเรียนให้นักศึกษาเรียนรู้ การอ่านหนังสือประวัติศาสตร์หรือกรณีศึกษาทางธุรกิจเองก็มีความสำคัญที่จะทำให้เราเข้าใจและนำมาใช้วิเคราะห์ได้เช่นเดียวกัน และนี่ก็คือเหตุผลที่นักลงทุนเอกของโลกทั้งหลายมักจะเป็น “นักอ่านตัวยง” ทั้งนั้น
น้องกวางหันมามองตัวเอง ที่ผ่านมาก็ทำงานแบบไม่ได้ชอบมากนัก แต่เพราะมันทำเงินได้มาก ก็เลยทำทำไป ยังไม่มีโอกาสเลือก
แต่เมื่อเรามีวินัยทางการเงิน เก็บเงินมาลงทุนได้เยอะพอสมควร พออายุระดับนึงก็เริ่มเป็น "ผู้เลือก" ได้
ลดเวลาทำงานลง รายได้จากการทำงานลดลง ในขณะที่รายได้จากปันผลเพิ่มขึ้น
นักลงทุนต่างจากนักเก็งกำไรตรงที่ว่า พอเริ่มที่0แล้ว นักลงทุนก็ทบต้นไปเรื่อยเป็น 1 2 4 8 16 ต่างจากนักเก็งกำไรที่ต้องเริ่มต้นที่0นับครั้งไม่ถ้วน
ถ้าเราเป็นผู้เลือกที่เก่งแล้ว หุ้นที่เราถือที่มีความได้เปรียบทางการแข่งขันก็มีแต่จะผลิดอกออกใบ ปันผลให้นักลงทุนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละปี
น้องกวางพอร์ตยังไม่โตเท่าดร.นิเวศน์ แต่สักวัน ขอได้สักครึ่งนึงของอ.ก็ยังดีค่ะ อิอิ
ดร.นิเวศน์ : ชีวิต “นักเลือก-คิดก่อนทำ” และความสำเร็จเรื่องสุดท้ายที่ต้องการ
https://www.prachachat.net/finance/news-1110285
แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจนก็คือ การเปลี่ยนจาก “นักสู้” เป็น “นักเลือก” หรือถ้าจะพูดให้ถูกต้องกว่าก็คือ เป็น “นักเลือก-ก่อนที่จะสู้” และนั่นนำมาสู่ภาคปฏิบัติที่สำคัญมากก็คือ ก่อนที่จะทำอะไร ผมจะ “คิดก่อนทำ” ไม่ใช่ “คิดก่อนว่าจะทำอย่างไร” แต่มักจะเป็น “คิดก่อนว่าจะทำหรือไม่”
จริง ๆ แล้ว ช่วงที่เป็น VI ใหม่ ๆ ผมเองก็ยังต้องทำสิ่งที่ตนเองไม่ชอบทำและทำไปก็ไม่ทำให้ตนเองเก่งขึ้นหรือเป็นประโยชน์ในอนาคต แต่ต้องทำเพราะมันเป็น “อาชีพ” ที่หาเงินได้ดี และทำให้เรา “มีสถานะในสังคม” และทั้งสองอย่างนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นในช่วงที่เรายังไม่มี “อิสรภาพทางการเงิน” ดังนั้น การเป็นนักเลือกที่มีอิสระในการเลือกว่าจะทำอะไรก็ได้จริง ๆ นั้น ขึ้นอยู่กับว่าเรามีความมั่งคั่งเพียงพอแค่ไหนด้วย
ในช่วงหลังจากที่ผมมีอิสรภาพทางการเงินสมบูรณ์และออกจากการทำงานประจำเมื่ออายุประมาณ 50 ปีเศษ ผมก็เริ่มที่จะเข้มงวดขึ้นในการที่จะรับงานหรือทำงานอะไรที่ตนเองไม่ชอบ นอกจากนั้น งานที่มีความสนใจและอาจที่จะอยากทำ ผมก็จะ “คิดก่อนที่จะทำ” โดยเฉพาะถ้าเป็นการทำที่ใช้เวลาและเป็นเรื่องต่อเนื่องระยะยาว ผมจะคิดอย่างถี่ถ้วนว่าผมจะทำได้ดีหรือไม่ และผมจะ “ชนะ” ไหม?
และทั้งหมดนั้น ผมก็นำมาประยุกต์ใช้กับบริษัทจดทะเบียนทั้งหลายในตลาดหลักทรัพย์ที่เราเข้าไปเลือกซื้อหุ้นแบบ “VI” ในแบบ “ซุปเปอร์สต็อก” ที่บอกว่าเราต้องการเลือกหุ้น “ผู้ชนะ” ในราคาที่ไม่แพง วิธีการก็คือ ดูว่าในอุตสาหกรรมหรือธุรกิจของบริษัท อะไรคือปัจจัยสำคัญในการแข่งขัน ซึ่งแต่ละอุตสาหกรรมก็จะไม่เหมือนกันแม้ว่าจะมีปัจจัยบางอย่างร่วมกันอยู่ ตัวอย่างเช่น เรื่องของขนาด ซึ่งบางอุตสาหกรรมขนาดอาจจะไม่ใช่ปัจจัยที่สำคัญมาก แต่ในธุรกิจค้าปลีกนั้น ขนาดหรือเครือข่ายที่ใหญ่จะได้เปรียบค่อนข้างมาก และเมื่อใหญ่ถึงจุดหนึ่ง การแข่งขันก็มักจะแทบหมดไป รายใหญ่แทบจะชนะเสมอ
การวิเคราะห์ว่าใครหรืออะไรจะแพ้หรือชนะนั้น สำหรับผมแล้ว เป็นเรื่องที่จำเป็นมากสำหรับ “นักเลือก” โดยเฉพาะการเป็น “นักลงทุนระยะยาว” ที่ความสำเร็จหรือล้มเหลวแทบทั้งหมดขึ้นอยู่กับว่าคุณเลือกหุ้นหรือหลักทรัพย์ถูกตัวไหม และสิ่งที่จะต้องศึกษาและรู้จริงก็คือ อะไรที่เป็นปัจจัยสำคัญในการแข่งขันหรือในความสำเร็จของผู้เล่น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่จะเรียนรู้หรือเข้าใจได้เอง ส่วนมากแล้วก็จะมาจากการวิเคราะห์วิจัยของ “กูรู” ทางธุรกิจที่ได้เขียนหนังสือหรือแบบเรียนให้นักศึกษาเรียนรู้ การอ่านหนังสือประวัติศาสตร์หรือกรณีศึกษาทางธุรกิจเองก็มีความสำคัญที่จะทำให้เราเข้าใจและนำมาใช้วิเคราะห์ได้เช่นเดียวกัน และนี่ก็คือเหตุผลที่นักลงทุนเอกของโลกทั้งหลายมักจะเป็น “นักอ่านตัวยง” ทั้งนั้น
น้องกวางหันมามองตัวเอง ที่ผ่านมาก็ทำงานแบบไม่ได้ชอบมากนัก แต่เพราะมันทำเงินได้มาก ก็เลยทำทำไป ยังไม่มีโอกาสเลือก
แต่เมื่อเรามีวินัยทางการเงิน เก็บเงินมาลงทุนได้เยอะพอสมควร พออายุระดับนึงก็เริ่มเป็น "ผู้เลือก" ได้
ลดเวลาทำงานลง รายได้จากการทำงานลดลง ในขณะที่รายได้จากปันผลเพิ่มขึ้น
นักลงทุนต่างจากนักเก็งกำไรตรงที่ว่า พอเริ่มที่0แล้ว นักลงทุนก็ทบต้นไปเรื่อยเป็น 1 2 4 8 16 ต่างจากนักเก็งกำไรที่ต้องเริ่มต้นที่0นับครั้งไม่ถ้วน
ถ้าเราเป็นผู้เลือกที่เก่งแล้ว หุ้นที่เราถือที่มีความได้เปรียบทางการแข่งขันก็มีแต่จะผลิดอกออกใบ ปันผลให้นักลงทุนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละปี
น้องกวางพอร์ตยังไม่โตเท่าดร.นิเวศน์ แต่สักวัน ขอได้สักครึ่งนึงของอ.ก็ยังดีค่ะ อิอิ