✤ ประเทศไทยควรเปลี่ยนวิธีคิด เกี่ยวกับการตายและงานศพนำประเพณีดั้งเดิมกลับมาใช้

ถ้ายึดหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา เราจะเห็นว่าการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมชาติ
เป็นเรื่องธรรมดามากๆ ที่ทุกคนที่เกิดมาต้องเจอวันใดก็วันหนึ่ง
แต่ เพราะการที่เรานำวัฒนธรรมของทางตะวันตกมาใช้ ทำให้คนเรารู้สึกสูญเสีย หรือ เศร้าโศก
ทำให้สังคมเวลาไปงานศพ รู้สึกว่าต้องเศร้าโศกเสียใจ มันมีผลต่อจิตใจคนที่ยังมีชีวิตอยู่

จากการศึกษาค้นคว้าทางโบราณคดีของคุณ สุจิตต์ วงษ์เทศ ประเพณีดั้งเดิมของไทยมีมายด์เซ็ต 
หรือ วิธีคิด ที่ถูกต้องเป็นดั้งเดิมอยู่แล้ว คือ การตายของคน คือการย้ายขวัญ (ขวัญ ไม่ใช่วิญญาณ) 
เมื่อมีคนตายคนไทยดั้งเดิมจะมีวิธีคิดว่า ขวัญกำลังจะย้าย จึงมีการเก็บศพไว้ เผื่อขวัญจะกลับมา 
ประเพณีของไทยจึงเก็บศพไว้ 3 วัน 7 วัน เผื่อขวัญจะกลับมาเข้าร่างอีกที แต่ถ้าไม่กลับมาค่อยทำฌาปนกิจ

จริงๆ ความเชื่อว่าผู้ตายจะฟื้น ก็เหมือนของทางตะวันตก ทางตะวันตกจึงฝังศพแทนที่จะเผา

ด้วยความเชื่อดั้งเดิมของไทย การจัดงานศพของไทย จึงไม่ใช่งานสีดำ
ดังนั้นปรพเพณีไทยจึงไม่แต่งชุดดำไปงานศพ ผู้คนจะใส่สีอะไรไปก็ได้ และ มีงานมหรสพ 
หลักฐานของงานศพไทย ไม่ใช่งานที่โศกเศร้า คืด มีดนตรีวงปี่พาทย์บรรเลงเสมือนงานเลี้ยงส่งผู้ตาย

ต่อมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ท่านมาเปลี่ยนประเพณีจากงานศพที่เป็นงานรื่นเริง มาเป็นงานโศกเศร้าแทน
เพื่อให้พวกชาติตะวันตกเห็นว่าเราพัฒนา จะได้ไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตก อันนี้เข้างใจเหตุผลของพระองค์ท่าน

เราจึงมีประเพณีไปงานศพ ต้องเศร้าโศกเสียใจ แทน ต้องใส่ชุดสีดำไปงาศพ
ทำให้ตอกย้ำถึงความสูญเสียเศร้าโศกแก่ญาติผู้ตาย

ถ้าเราเปลี่ยนวิธีคิดของสังคมได้ ให้มองเรื่องความตายเป็นเรื่องธรรมดา
ไม่จำเป็นต้องใส่ชุดสีดำ และไม่ต้องมีบรรยากาศแห่งความเศร้าโศกเสียใจ 

ซึ่งในหมู่บ้านของผม เวลาไปงานศพ เขาก็ร้องเพลงคาราโอเกะ เผลอๆ เปิดตลกให้แขกที่มางานศพฟัง

ผมว่าจะเปิดบริษัทออแกนไนซ์ จัดงานศพแบบไม่มีบรรยากาศของความโศรกเศร้า 
ให้เป็นแบบงานศพแบบธรรมดา

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่