Heikegani/Heike ปูหน้าคน

.

.
.

ในสวนริมทะเลเล็ก ๆ ใกล้กับ
สะพาน Kanmonkyo
ในเมือง Shimonoseki
มีรูปปั้นทองสัมฤทธิ์ 2 รูป
รูปนักรบซามูไร 2 คน
ในท่วงท่าทำการรบอยู่
ณ ที่นี่เมื่อ 800 ร้อยปีก่อน

เมืองนี้ยังเป็นสนามรบ
ญี่ปุ่นกับอีก 4 ชาติตะวันตก
ในช่วงก่อนญี่ปุ่นพัฒนาชาติ
.
.

.
©  Hidetsugu Tonomura/Flickr
.
.

.
© Hidetsugu Tonomura/Flickr
.
.

.
© Hidetsugu Tonomura/Flickr
.
.

.
.

.
.
.


ในปี 1185
กองเรือรบซามูไร 2 ฝ่าย
ฝ่ายแรกของสกุล Taira (Heike)
ส่วนอีกฝ่ายของสกุล Minamoto
ต่างมุ่งหน้ามาต่อสู้รบกัน
เพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ในญี่ปุ่น
จนเกิดเป็นตำนานเรื่องราว  Heike

ทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้ากัน
ในเช้าวันหนึ่งในเดือนเมษายน
ที่อ่าวเล็ก ๆ ที่ชื่อว่า Dan-no-ura
และเป็นตำนานชื่อสงครามครั้งสำคัญ
ในเขตทะเลตอนในของญี่ปุ่น
.
.

.
.
.


ผลการต่อสู้อย่างดุเดือดเลือดพล่าน
นักรบซามูไรหลายร้อยคนเสียชีวิต
และศพต่างร่วงหล่นลงสู่ก้นทะเลทั้งหมด

สกุล Taira (Heike)พ่ายแพ้ในการรบครั้งนี้
จักรพรรดิ์ Antoku วัย 6 ขวบ
ที่อยู่กับฝ่ายยาย Taira no Tokiko
ผู้นำสกุล Taira (Heike)
ได้อุ้มจักรพรรดิ์กระโดดลงน้ำยอมตาย
เพื่อไม่ให้พวกศัตรูจับกุมเป็นเชลยศึก
.
.

.
จักรพรรดิ์ Antoku
.
.

.
Nii no Ama ช่วยเหลือหลานชาย
จักรพรรดิ์ Antoku จากมังกร
(อสูรร้าย/ฝ่ายศัตรูของสกุล)
วาดโดย Yoshitsuya Ichieisai
.
.
.


Minamoto no Yoritomo
จึงมีชัยชนะเด็ดขาดในการรบ
แล้วเถลิงอำนาจเป็นโชกุนคนแรก
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ผู้ชี้ขาดข้อพิพาททางกฎหมาย
เสนาบดีสูงสุด  (แบบ 3 in 1)

(นักประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นบางคนระบุว่า
Minamoto no Yoritomo
เป็นนักฉวยโอกาส/ขุนศึกหน้าตัวเมีx
เอาเปรียบผู้นำสตรีสกุล Taira (Heike)
ทั้งยังไม่สนใจความเป็นความตาย
ของยุวจักรพรรดิ์ในช่วงเวลานั้น
ทึ่อยู่ในการดูแลอนุบาลของยาย
แบบอยากเป็นใหญ่ต้องหน้าด้านใจดำ/เหี้x
เหมือนขุนศึกศักดินาในหลายประเทศ
แบบใจดำมั่งมี  ใจดีฉิxหาย)
.
.

.
Minamoto no Yoshitsune (1159-1189)
.
.
.

The Battle of Dan-no-ura
ได้ก่อให้เกิดตำนานมากมาย
เรื่องที่แปลกประหลาดที่สุดคือ ปู
ปูชนิดนี้มีกระดองปูที่โดดเด่น
มีตะปุ่มตะป่ำเหมือนกระดองปูทั่วไป
แต่มีลวดลายคล้ายใบหน้าโกรธของซามูไร
ที่เคยตายและจมลงสู่ก้นทะเลในอดีต
ดวงวิญญาณของซามูไรจึงย้ายที่อยู่
มาสิงสถิตย์อยู่ในพวกปูตลอดกาล

ปูขนิดนี้เรียกว่า ปู Heikegani หรือ ปู Heike
บางครั้งเรียกอีกอย่างว่า ปู Samurai
.
.
.
.

.
.

.
Heikegani กับใบหน้าคล้ายคน
ภาพอูกิโยะ ukiyo-e
โดย Utagawa Kuniyoshi
.
.
.

Carl Sagan คาร์ล เซเกน
นักดาราศาสตร์และนักเขียนชื่อดัง
เคยคาดการณ์ว่า ความคล้ายคลึงกันนั้น
เกิดจากการคัดเลือกโดยมนุษย์
ชาวประมงที่จับปลาในน่านน้ำของญี่ปุ่น
จะโยนปูที่มีเปลือกเหมือนหน้าซามูไรทิ้งไป
เพราะให้ความเคารพต่อสกุล Taira/Heike
ที่ต่างสูญเสียชีวิตหมดโคตรในการรบ
.
.

.
.


การกระทำแบบนี้ทุกครั้ง
จึงช่วยรักษา DNA ของปู Heikegani
ที่มีใบหน้าโกรธของซามูไรไว้ได้
ในขณะเดียวกันก็ค่อย ๆ
สลาย DNA ของปูสายพันธุ์อื่นเช่นกัน
(เพราะไม่มีการคัดปูโยนทิ้งทะเล)
.
.

.
The structure of the DNA double helix. 
The atoms in the structure are 
colour-coded by element and 
the detailed structures of two base pairs 
are shown in the bottom right.
.
.
.


แต่ปู  Heike/Heikegani มีขนาดเล็ก
ประมาณสี่เซนติเมตร และไม่มีใครกินเลย
ชาวประมงจึงโยนพวกมันลงในทะเล
หลังจากที่แกะพวกมันออกจากอวนแล้ว

นอกจากนี้
ยังพบปูที่มีกระดองเหมือนหน้าคนอยู่รอบโลก
รอยพับและรอยย่นที่คล้ายกับใบหน้าซามูไร
คือ จุดที่กล้ามเนื้อติดกับกระดอง
ทำให้ดูเหมือนใบหน้าซามูไรผู้โกรธเกรี้ยว

ปรากฎการณ์ Pareidolia 
ปรากฏการณ์เห็นสิ่งของเป็นหน้าคน
ที่มีอยู่ในคนเราส่วนหนึ่งโดยกำเนิด
ทำให้ค้นหาใบหน้าในวัตถุแบบสุ่มโดยตลอด
.
.

.
.


เรียบเรียง/ที่มา

https://bit.ly/3Nxtd2J
https://bit.ly/3zIy3of
https://bit.ly/3E0h4Qy
.

.
.

.
© Lonmelo/Flickr
.
.

.
© Timothy Takemoto/Flickr
.
.

.
สะพาน Kanmon
.
.

.
ใจกลางเมือง Shimonoseki 
และช่องแคบ Kanmon 
.
.

.
การยึดปืนใหญ่ที่ Shimonoseki ในปี 1864
สงครามโดยพวก 4+1 รุม 1
Great Britain France  Netherlands  USA
ร่วมกับไดเมียวแคว้น Chōshū
รบกับโชกุนสกุล Tokugawa 
ช่วงสมัย Edo (1600-1871) ยุคโชกุน
.
.

.
เรือรบ The USS Wyoming ทำการรบที่
ช่องแคบ Shimonoseki  กับเรือรบ Choshu 
Daniel Webster, Lanrick and Lancefield
.
.

.
กองทัพและนาวิกโยธินของอังกฤษ
บุกยึดป้อมปราการ Shimonoseki
The Illustrated London News (ธค.1864)
.
.

.
เรือรบฝรั่งเศส Tancrède กับ Semiramis 
ภายใต้การนำของ พลเรือเอก Charles Jaurès
บุกเข้าไปยึด Shimonoseki
Le Monde illustré, October 10th, 1863
.
.

.
กองทัพไดเมียวแคว้น Chōshū 
รบกับกองทัพ Shogunal ใน Kyōto 
วันที่ 20 สิงหาคม 1864  (กบฏ Kinmon)
.
.

.
เรือรบยิงโจมตี Shimonoseki 
Jean Baptiste Henri Durand-Brager(1865)
.
.

.
เรือรบ Tancrède ของฝรั่งเศส (ลำหลัง)
กำลังยิงโจมตี Shimonoseki  
และเรือธง Semiramis ของพลเรือเอก (ลำหน้า)
Jean-Baptiste Henri Durand-Brager 1865
.
.

.
กองทัพเรือฝรั่งเศสเข้ายึด
ปืนใหญ่ญี่ปุ่นที่ Shimonoseki
.
.

.
ปืนใหญ่จำลองขึ้นใหม่เพื่อรำลึกสงครามในอดีต
.
.


เรื่องเล่าไร้สาระ


ปูนาดองเค็มทึ่มีขนาดเล็กในไทย
คนไทยนิยมนำมาทำส้มตำ ตำไทยใส่ปู
แต่ตอนนี้ปูนาดองเค็มส่วนใหญ่จะนุ่งโสร่ง
(มาจากพม่าเพราะของในไทยเหลือน้อยมาก)
รองลงมาที่กำจัดปูนาได้ครั้งละมากมาก
คือ น้ำปู/น้ำปู๋ แถวล้านนา
คนไม่ชอบจะบอกกลิ่นฉอง(ฉุน) มาก
พอ ๆ กับกลิ่นปลาร้า กลิ่นน้ำบูดู ของปักษ์ใต้

น้ำปู๋ เป็นวิธีทำเครื่องปรุงอาหารอย่างหนึ่ง
และกำจัดศัตรูพืชของนาข้าว แบบ 2 in 1
ที่ทำกันมายาวนานในยุคอาณาจักรล้านนา

แต่ครั้งหนึ่งมีตำนานเล่าว่า
ปูนาระบาดมากจนสร้างปัญหากับเจียงใหม่
เจ้าอ้าวจึงสั่งให้แต่ละครอบครัวออกไปจับปูนา
แล้วตำใส่ไห(คงขนาดเล็ก) แล้วส่งน้ำปู๋ให้ดู
ทำให้ปูนาทึ่ระบาดหดหายไปอย่างรวดเร็ว
ชาวบ้านเหน็ดเหนื่อยจากการจับ/ตำปูนามาก
จะทิ้งของก็เสียดายเลยจับมาทำน้ำพริก
กินให้สาแก่ใจ/ล้างแค้นที่ทำให้เหนื่อยยาก

เจ้าอ้าว พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์
เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 6
ราชวงศ์ทิพย์จักร นครรัฐเจียงใหม่
พระนิสัยที่เด็ดขาดเป็นที่เคารพยำเกรง
ในหมู่ข้าราชบริพารและพสกนิกร
เมื่อทรงพิจารณาตัดสินว่าคดีความใดแล้ว
หากทรงเอ่ยว่า  อ้าว  เมื่อใด
หมายถึงนักโทษต้องถูกตัดศีรษะประหารชีวิต
ชาวบ้านต่างถวายพระสมัญญาว่า เจ้าชีวิตอ้าว

ในแง่พฤติการณ์แล้ว
พระองค์คือ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
ที่ทรงอำนาจมากที่สุดในบรรดาทุกองค์
และทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครที่ได้รับพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ สถาปนาเลื่อนพระเกียรติยศ
ขึ้นเป็น พระเจ้าประเทศราช องค์ที่ 5
(3 กค. พ.ศ. 2404 - 29 มิย. 2413)
ในรัชสมัยรัชกาลที่ 4
.
.

ความเชื่อดั้งเดิมของสยาม
ศพนักรบที่ตายในสนามรบ
มักจะเผารวมกันเป็นจำนวนมาก
และเชื่อกันว่า วิญญาณ/ผี ยังคงอยู่
เดินป้วนเปี้ยนขอส่วนบุญอยู่แถวนั้น
จนกว่าได้ Visa/Borderpass ให้ไปเกิด

ที่เขาชนไก่ เข้าเขตเมืองกาญจน (วรรณคดี)
สนามฝึกทหารรักษาดินแดน (รด.)
มักจะมีเรื่องเล่าเจอผีของนักศึกษา รด.
เพราะที่นี่เป็นทางผ่านยกทัพไปยุดยา
จึงกลายเป็นสนามรบหลายครั้ง
ระหว่างทหารพม่ากับทหารสยาม
ชาวบ้านมักเจอของเก่าบริเวณป่าแถวนั้น
เช่น อาวุธโบราณ กระดูกช้าง/คน ภาชนะ

การตั้งศาลให้พวกผีอยู่กัน
ความเชื่อเรื่องมิติซ้อนกัน
เชื่อว่าผีขยายขนาดและลดขนาดได้
ศาลเล็กแค่ไหน ใหญ่แค่ไหน ก็เข้าไปอยู่ได้
กอปรกับทุก ๆ ที่มี นายหัวผี (Boss ใหญ่)
จึงสามารถกำราบบังคับให้ผีทุกตัว
อยู่ในร่องในรอยไม่เกะกะเกเรได้
ไม่ไปสิงคน สิงสัตว์ เพื่อกินอาหาร
หรือสิงคนขอกินอาหาร ขอส่วนบุณย์

มีแต่ผีดื้อที่ไม่เชื่อฟัง ผีโรนิน (สัมภเวสี)
อันนี้บังคับจัดการลำบากให้อยู่ในกฏของผี
เพราะเป็นพวกผีบ้า ผีเร่ร่อน ผีไม่อยู่กับที่

เรื่องผี ปีศาจ นางพราย ของไทย
แต่ก่อนมีมากในหนังสือที่มีภาพประกอบ
ของ เหม เวชกร บางครั้งท่านก็แต่งเอง
หลวงเมือง ก็มีเรื่องผีหลายเรื่องมาก
และหนังสือเกจิอาจารย์ พระธุดงค์ ฯลฯ
.
.

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่