ด้วยปัจจุบัน สำนักงาน ก.พ.ได้ออกระเบียบการ โอน/ย้าย ข้าราชการฉบับบใหม่ซึ่งบังคับใช้ตั้งแต่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นมา
1.สำหรับข้าราชการบรรจุใหม่ จะสามารถ "โอน" ข้ามหน่วยงาน (เฉพาะสังกัดข้าราชการพลเรือน) ได้
โดยไม่ต้องรอพ้นระยะทดลองราชการ มีเงื่อนไขเดียวคือต้นทางปล่อย ปลายทางรับ (ตามระเบียบเปิดช่อง แต่ความเป็นจริงทำได้ยาก เรียกว่าโอกาสสำเร็จ 1% เพราะมีปัจจัยหลายอย่าง ไม่ขออธิบายในทีนี้)
2.สำหรับข้าราชการบรรจุใหม่ที่ยังไม่พ้นทดลองราชการ หรือพ้นทดลองราชการแล้ว ที่ประสงค์ "ย้าย" ในหน่วยงานเดียวกัน ก็จะขึ้นกับระเบียบภายในขององค์กรด้วยว่าถูกกำหนดเวลาไว้ที่เท่าใด ระหว่าง 1-2 ปี
3.สำหรับข้าราชการที่ประสงค์เปลี่ยนตำแหน่ง จะสามารถทำได้ตามระเบียบหากเป็นกลุ่มตำแหน่งเดียวกัน
เช่น สายสนับสนุน ไป สายสนับสนุน หรือ สายวิชาการ ไป สายวิชาการ ในระดับเดียวกัน (กรณีตำแหน่งเกื้อกูล)
แต่การเปลี่ยนตำแหน่งจาก สายสนับสนุน ไป สายวิชาการ ในระดับเดียวกัน ถึงแม้ตามระเบียบใหม่จะทำได้ แต่โอกาสสำเร็จมีเพียง 1% เป็นไปได้น้อยมาก (ปัจจัยมีมาก ไม่ขออธิบาย ณ ที่นี้) ถึงแม้ผู้นั้นจะมีคุณวุฒิปริญญา ตรงกับตำแหน่งที่ประสงค์ขอเปลี่ยนก็ตาม ยกเว้นบางหน่วยงานที่สายวิชาการของหน่วยงานเปิดรับ ปริญญา ในทุกสาขาวิชา ขอยกตัวอย่างเช่น นักวิชาการพัฒนาชุมชน นักวิชาการวัฒนธรรม ที่เปิดรับวุฒิปริญญาในทุกสาขาวิชา
ต่างจากในอดีต เช่น นักประชาสัมพันธ์ (มีวุฒิทางการเกษตร) ก็สามารถขอโอนไปเป็น นักวิชาการส่งเสริมเกษตร ได้หากต้นทางปล่อย ปลายทางรับ โดยไม่ติดเงื่อนไขอื่นใด ต่างจากปัจจุบันที่ทำได้ยากมาก
4.หากใครบ้านไกล เป็นคนติดบ้าน ต้องไปบรรจุไกลครอบครัว จงคิดให้ดีไม่ใช่ทุกหน่วยงานจะให้ท่านย้ายกลับบ้านได้ง่ายๆ จะย้ายต้องหาคนมาแทนด้วย แถมให้ท่านหาเอง หากหาไม่ได้ก็ไม่ได้ย้ายกลับบ้าน บางคนทำงานจนโรคซึมเศร้าถามหา ข้าราชการปัจจุบันเป็นซึมเศร้ากันเยอะนะครับ แค่เขาปิดบังไม่อยากให้เพื่อนร่วมงานล้อเลียนเท่านั้นเอง
- ดังนั้น อยากฝากถึงข้าราชการที่จะบรรจุใหม่ สังกัดข้าราชการพลเรือนทุกท่านว่า
หากสอบบรรจุราชการให้เลือกสอบในตำแหน่งงานที่ตัวเองถนัดจริงๆ หากทำงานไปแล้วไม่ชอบเนื้องาน อึดอัด หนทางไปมีเพียงสอบบรรจุใหม่เท่านั้น ข้าราชการรุ่นพี่รุ่นใหม่ๆจะบอกต่อกันเลยว่า น้องสอบใหม่ง่ายกว่าขอโอน
ขอบคุณครับ
สวัสดี
ฝากคำแนะนำไว้ให้รุ่นน้องบรรจุใหม่ (เรื่อง การโอน/ย้าย/เปลี่ยนตำแหน่ง) สังกัดข้าราชการพลเรือน
1.สำหรับข้าราชการบรรจุใหม่ จะสามารถ "โอน" ข้ามหน่วยงาน (เฉพาะสังกัดข้าราชการพลเรือน) ได้
โดยไม่ต้องรอพ้นระยะทดลองราชการ มีเงื่อนไขเดียวคือต้นทางปล่อย ปลายทางรับ (ตามระเบียบเปิดช่อง แต่ความเป็นจริงทำได้ยาก เรียกว่าโอกาสสำเร็จ 1% เพราะมีปัจจัยหลายอย่าง ไม่ขออธิบายในทีนี้)
2.สำหรับข้าราชการบรรจุใหม่ที่ยังไม่พ้นทดลองราชการ หรือพ้นทดลองราชการแล้ว ที่ประสงค์ "ย้าย" ในหน่วยงานเดียวกัน ก็จะขึ้นกับระเบียบภายในขององค์กรด้วยว่าถูกกำหนดเวลาไว้ที่เท่าใด ระหว่าง 1-2 ปี
3.สำหรับข้าราชการที่ประสงค์เปลี่ยนตำแหน่ง จะสามารถทำได้ตามระเบียบหากเป็นกลุ่มตำแหน่งเดียวกัน
เช่น สายสนับสนุน ไป สายสนับสนุน หรือ สายวิชาการ ไป สายวิชาการ ในระดับเดียวกัน (กรณีตำแหน่งเกื้อกูล)
แต่การเปลี่ยนตำแหน่งจาก สายสนับสนุน ไป สายวิชาการ ในระดับเดียวกัน ถึงแม้ตามระเบียบใหม่จะทำได้ แต่โอกาสสำเร็จมีเพียง 1% เป็นไปได้น้อยมาก (ปัจจัยมีมาก ไม่ขออธิบาย ณ ที่นี้) ถึงแม้ผู้นั้นจะมีคุณวุฒิปริญญา ตรงกับตำแหน่งที่ประสงค์ขอเปลี่ยนก็ตาม ยกเว้นบางหน่วยงานที่สายวิชาการของหน่วยงานเปิดรับ ปริญญา ในทุกสาขาวิชา ขอยกตัวอย่างเช่น นักวิชาการพัฒนาชุมชน นักวิชาการวัฒนธรรม ที่เปิดรับวุฒิปริญญาในทุกสาขาวิชา
ต่างจากในอดีต เช่น นักประชาสัมพันธ์ (มีวุฒิทางการเกษตร) ก็สามารถขอโอนไปเป็น นักวิชาการส่งเสริมเกษตร ได้หากต้นทางปล่อย ปลายทางรับ โดยไม่ติดเงื่อนไขอื่นใด ต่างจากปัจจุบันที่ทำได้ยากมาก
4.หากใครบ้านไกล เป็นคนติดบ้าน ต้องไปบรรจุไกลครอบครัว จงคิดให้ดีไม่ใช่ทุกหน่วยงานจะให้ท่านย้ายกลับบ้านได้ง่ายๆ จะย้ายต้องหาคนมาแทนด้วย แถมให้ท่านหาเอง หากหาไม่ได้ก็ไม่ได้ย้ายกลับบ้าน บางคนทำงานจนโรคซึมเศร้าถามหา ข้าราชการปัจจุบันเป็นซึมเศร้ากันเยอะนะครับ แค่เขาปิดบังไม่อยากให้เพื่อนร่วมงานล้อเลียนเท่านั้นเอง
- ดังนั้น อยากฝากถึงข้าราชการที่จะบรรจุใหม่ สังกัดข้าราชการพลเรือนทุกท่านว่า
หากสอบบรรจุราชการให้เลือกสอบในตำแหน่งงานที่ตัวเองถนัดจริงๆ หากทำงานไปแล้วไม่ชอบเนื้องาน อึดอัด หนทางไปมีเพียงสอบบรรจุใหม่เท่านั้น ข้าราชการรุ่นพี่รุ่นใหม่ๆจะบอกต่อกันเลยว่า น้องสอบใหม่ง่ายกว่าขอโอน
ขอบคุณครับ
สวัสดี