The Spirit of Rwanda : ตอนที่ 1 : เปิดม่าน...รวันดา
https://ppantip.com/topic/41691262
The Spirit of Rwanda : ตอนที่ 2 : จาก คิกาลี ถึง ทุ่งน้ำกาโชรา
https://ppantip.com/topic/41692927
.............................................................................................
ผมตื่นขึ้นมาตั้งแต่เช้ามืด (จริง ๆ ก็ตื่นเช้ามืดทุกวันนั่นแหละ)
วันนี้เรามีนัดกับรถจี๊ป 3 คัน และทีมงานของโจเซฟ เวลาตี 5 ครึ่ง (ตามเวลาท้องถิ่น) จุดหมายปลายทางอยู่ที่ อุทยานแห่งชาติอกาเกรา (Akagera National Park) ซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคตะวันออก (Est) ห่างจากกรุงคิกาลีออกไป 120 กิโลเมตร แต่เมื่อนั่งดูนาฬิกา ตี 3 กว่าจะจัดกระเป๋า กว่าจะเซ็ทกล้อง โน่นนี่นั่น เดี๋ยวก็ถึงเวลานัดเองนั่นแหละ เราต้องมูฟทุกอย่างยัดเข้าไปยังรถจี๊ปทั้ง 3 คัน เพราะคืนนี้ยังไม่รู้เลยว่าที่หลับที่นอนจะมีปัญหาอะไรอีกมั้ย เพราะต้องวกกลับมานอนที่คิกาลีอีกคืน
และในระหว่างที่รอรถมารับ ผมขอเล่าที่มาที่ไปของประเทศที่เคยเป็น "Failed State" แต่กลับฟื้นร่างจากติดลบไปอยู่ในประเทศที่น่าลงทุนที่สุดของแอฟริกาลำดับที่ 2 ในช่วงเวลาที่มืดมนของรวันดา เกิดอะไรในช่วงเวลานั้น ขอกระชับเวลาแบบเอาเข้าใจง่าย ๆ สั้น ๆ ไม่ต้องอ่านกันให้ยืดยาว
Rwandan genocide หรือ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
ขอย้อนไปในยุดที่รวันดาถูกยึดครองโดยประเทศเบลเยี่ยม เจ้าอาณานิคมในขณะนั้น กลวิธีแบ่งแยกแล้วปกครองคือสิ่งที่เบลเยี่ยมเลือกใช้กับดินแดนใต้อาณานิคมของตัวเองทั้งบุรุนดีและรวันดา (ในขณะนั้นถูกเรียกขานว่า รูอันดา-อูรุนดี) กล่าวคือ แบ่งคนที่ผิวขาวกว่าเป็น ทุตซี คนที่สูงกว่า ผิวดำกว่าเป็น ฮูตู ชนชั้นคนรวย คือ ทุตซี่ คนจนกว่า คือ ฮูตู และอีกสารพัดวิธี ทำให้คนรวันดาถูกแบ่งแยกออกเป็น 2 เผ่า อย่างชัดเจน แต่เผ่าทุตซี ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีจำนวนน้อยกว่ากลับได้มีบทบาทในด้านการบริหารประเทศ ทำให้ชนเผ่าฮูตูที่มีคนมากกว่าไม่พอใจ ปัญหาดังกล่าวเกิดการประทบกระทั่งกันขึ้นมาโดยตลอด เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง กระทั่ง เจ้าอาณานิคมอย่างเบลเยี่ยมถอนตัวออกไป เมื่อไม่มีตัวกลางคอยห้ามปราม คราวนี้ทั้งสองเผ่าก็ตีกันยับ ผู้นำผลัดกันขึ้น ผลัดกันลง กระทั่งมีการเซ็นสัญญาสันติภาพกันขึ้น โดยเรียกข้อตกลงนี้ว่า สนธิสัญญาข้อตกลงอารูชา แต่มันก็ไม่ได้ส่งผลอะไรมากนัก ฮับยาริมานา ประธานาธิบดีของรวันดา ชาวฮูตู ในขณะนั้น ถูกลอบสังหารในระหว่างที่โดยสารเครื่องบินออกจากสนามบินคิกาลี ชาวฮูตูจึงเข้าใจว่าเป็นเพราะฝีมือของชาวทุตซี นี่จึงเป็นชนวนเหตุที่ทำให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา นับตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน ถึง 15 กรกฎาคม 1994 ซึ่งรวมระยะร่วม 100 วัน ชาวฮูตูปลุกระดมผู้คนให้หยิบมีดมาเชเต้ (Machete) ขึ้นมาเข่นฆ่าชาวทุตซี สร้างความเกลียดชังในทุกรูปแบบ กระทั่งมีชาวทุตซี่และชาวฮูตูสายประนีประนอม เสียชีวิตจากการถูกชาวฮูตูตามล่าและเข่นฆ่ามากกว่า 1 ล้านคน ทุกอย่างสิ้นสุดลงเมื่อพอล คากาเม ผู้นำกองกำลัง RPF ชาวทุตซี บุกเข้ามาควบคุมสถานการณ์และสั่งห้ามมีการเข่นฆ่าหรือล้างแค้นกันอีก สิ้นสุดห้วงเวลาแห่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นับแต่นั้นเป็นต้นมา
ถึงเวลาแล้ว ผมลากกระเป๋าออกจากที่พัก ต่างคนต่างลงมาพร้อมกันที่ลานจอดรถ โจเซฟ และคณะเดินทางมาถึงแล้ว
The Spirit of Rwanda : ตอนที่ 3 : ท่องซาฟารี Akagera National Park
https://ppantip.com/topic/41691262
The Spirit of Rwanda : ตอนที่ 2 : จาก คิกาลี ถึง ทุ่งน้ำกาโชรา
https://ppantip.com/topic/41692927
.............................................................................................
ผมตื่นขึ้นมาตั้งแต่เช้ามืด (จริง ๆ ก็ตื่นเช้ามืดทุกวันนั่นแหละ)
วันนี้เรามีนัดกับรถจี๊ป 3 คัน และทีมงานของโจเซฟ เวลาตี 5 ครึ่ง (ตามเวลาท้องถิ่น) จุดหมายปลายทางอยู่ที่ อุทยานแห่งชาติอกาเกรา (Akagera National Park) ซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคตะวันออก (Est) ห่างจากกรุงคิกาลีออกไป 120 กิโลเมตร แต่เมื่อนั่งดูนาฬิกา ตี 3 กว่าจะจัดกระเป๋า กว่าจะเซ็ทกล้อง โน่นนี่นั่น เดี๋ยวก็ถึงเวลานัดเองนั่นแหละ เราต้องมูฟทุกอย่างยัดเข้าไปยังรถจี๊ปทั้ง 3 คัน เพราะคืนนี้ยังไม่รู้เลยว่าที่หลับที่นอนจะมีปัญหาอะไรอีกมั้ย เพราะต้องวกกลับมานอนที่คิกาลีอีกคืน
และในระหว่างที่รอรถมารับ ผมขอเล่าที่มาที่ไปของประเทศที่เคยเป็น "Failed State" แต่กลับฟื้นร่างจากติดลบไปอยู่ในประเทศที่น่าลงทุนที่สุดของแอฟริกาลำดับที่ 2 ในช่วงเวลาที่มืดมนของรวันดา เกิดอะไรในช่วงเวลานั้น ขอกระชับเวลาแบบเอาเข้าใจง่าย ๆ สั้น ๆ ไม่ต้องอ่านกันให้ยืดยาว
Rwandan genocide หรือ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
ขอย้อนไปในยุดที่รวันดาถูกยึดครองโดยประเทศเบลเยี่ยม เจ้าอาณานิคมในขณะนั้น กลวิธีแบ่งแยกแล้วปกครองคือสิ่งที่เบลเยี่ยมเลือกใช้กับดินแดนใต้อาณานิคมของตัวเองทั้งบุรุนดีและรวันดา (ในขณะนั้นถูกเรียกขานว่า รูอันดา-อูรุนดี) กล่าวคือ แบ่งคนที่ผิวขาวกว่าเป็น ทุตซี คนที่สูงกว่า ผิวดำกว่าเป็น ฮูตู ชนชั้นคนรวย คือ ทุตซี่ คนจนกว่า คือ ฮูตู และอีกสารพัดวิธี ทำให้คนรวันดาถูกแบ่งแยกออกเป็น 2 เผ่า อย่างชัดเจน แต่เผ่าทุตซี ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีจำนวนน้อยกว่ากลับได้มีบทบาทในด้านการบริหารประเทศ ทำให้ชนเผ่าฮูตูที่มีคนมากกว่าไม่พอใจ ปัญหาดังกล่าวเกิดการประทบกระทั่งกันขึ้นมาโดยตลอด เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง กระทั่ง เจ้าอาณานิคมอย่างเบลเยี่ยมถอนตัวออกไป เมื่อไม่มีตัวกลางคอยห้ามปราม คราวนี้ทั้งสองเผ่าก็ตีกันยับ ผู้นำผลัดกันขึ้น ผลัดกันลง กระทั่งมีการเซ็นสัญญาสันติภาพกันขึ้น โดยเรียกข้อตกลงนี้ว่า สนธิสัญญาข้อตกลงอารูชา แต่มันก็ไม่ได้ส่งผลอะไรมากนัก ฮับยาริมานา ประธานาธิบดีของรวันดา ชาวฮูตู ในขณะนั้น ถูกลอบสังหารในระหว่างที่โดยสารเครื่องบินออกจากสนามบินคิกาลี ชาวฮูตูจึงเข้าใจว่าเป็นเพราะฝีมือของชาวทุตซี นี่จึงเป็นชนวนเหตุที่ทำให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา นับตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน ถึง 15 กรกฎาคม 1994 ซึ่งรวมระยะร่วม 100 วัน ชาวฮูตูปลุกระดมผู้คนให้หยิบมีดมาเชเต้ (Machete) ขึ้นมาเข่นฆ่าชาวทุตซี สร้างความเกลียดชังในทุกรูปแบบ กระทั่งมีชาวทุตซี่และชาวฮูตูสายประนีประนอม เสียชีวิตจากการถูกชาวฮูตูตามล่าและเข่นฆ่ามากกว่า 1 ล้านคน ทุกอย่างสิ้นสุดลงเมื่อพอล คากาเม ผู้นำกองกำลัง RPF ชาวทุตซี บุกเข้ามาควบคุมสถานการณ์และสั่งห้ามมีการเข่นฆ่าหรือล้างแค้นกันอีก สิ้นสุดห้วงเวลาแห่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นับแต่นั้นเป็นต้นมา
ถึงเวลาแล้ว ผมลากกระเป๋าออกจากที่พัก ต่างคนต่างลงมาพร้อมกันที่ลานจอดรถ โจเซฟ และคณะเดินทางมาถึงแล้ว